1 / 306

การกระทำที่เป็นละเมิด

พระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539. การกระทำที่เป็นละเมิด. ป.พ.พ. มาตรา 420 บัญญัติไว้ว่า

Télécharger la présentation

การกระทำที่เป็นละเมิด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539

  2. การกระทำที่เป็นละเมิดการกระทำที่เป็นละเมิด ป.พ.พ. มาตรา 420 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหายจนถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”

  3. กรณีที่จะเป็นละเมิดได้จะต้องเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย กระทำโดยจงใจ จงใจทำให้เสียหาย เป็นการกระทำโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตน ถ้ารู้ว่าการกระทำนั้น จะเกิดผลเสียหายแก่เขาแล้ว ถือว่าเป็นการกระทำโดยจงใจ ส่วนจะเสียหายมากหรือน้อยเพียงใดไม่สำคัญ

  4. ในกรณีที่กระทำโดยสุจริต แต่เข้าใจผิดในข้อเท็จจริง ไม่ถือว่าเป็นการกระทำโดยจงใจ จงใจ เทียบกับคำว่า เจตนา “เจตนา”ตาม ป.อาญา ม.59 บัญญัติว่า “กระทำโดยเจตนา” ได้แก่การกระทำโดยรู้สำนึก ในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น

  5. เจตนาทางอาญา 1. เจตนาประสงค์ต่อผล 2. เจตนาย่อมเล็งเห็นผล

  6. เจตนาประสงค์ต่อผล รู้ถึงผลเสียหายที่จะเกิดแก่เขา และผู้กระทำประสงค์จะให้เกิดผลขึ้นด้วย ใกล้เคียงกับคำว่า “จงใจ” คือ ผู้กระทำรู้ว่าความเสียหายจะเกิดแก่เขาเหมือนกัน ส่วนผลเสียหายจะเกิดมากหรือน้อยก็ถือว่าเป็นจงใจหมด เจตนาประสงค์ต่อผลในทางอาญา ผลเกิดมากกว่า ที่ประสงค์ไว้ ก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องประสงค์ต่อผล

  7. เจตนาย่อมเล็งเห็นผล ผู้กระทำไม่ประสงค์ต่อผล แต่ได้ฝืนกระทำไป ทั้งๆ ที่เห็นว่าผลจะเกิด แต่ผู้กระทำไม่ไยดีในผล

  8. การกระทำโดยประมาทเลินเล่อการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ การกระทำโดยไม่จงใจ แต่ผู้กระทำ ได้กระทำโดยขาดความระมัดระวัง ตามสมควร

  9. ประมาท ตาม ป.อาญา ม.59 วรรค 4 กระทำโดยประมาท กระทำความผิดมิใช่เจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จักต้อง มีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ ให้เพียงพอไม่

  10. ประมาทเลินเล่อในทางแพ่งประมาทเลินเล่อในทางแพ่ง การกระทำที่ขาดความระมัดระวังตามสมควร สมควร=กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้น แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่

  11. ในภาวะเช่นนั้น บุคคล การวินิจฉัย วิสัย พฤติการณ์

  12. บุคคล คนที่ประมาทเลินเล่อ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ คนหนุ่ม คนแก่ คนพิการ คนขับรถเป็น คนขับรถไม่เป็นแล้วไปขับรถ ความระมัดระวังย่อมแตกต่างกัน

  13. การวัดความระมัดระวังของบุคคลที่กระทำละเมิดว่าประมาทเลินเล่อหรือไม่ จะต้องคำนึงถึง เพศ อายุ ฐานะ

  14. ในภาวะเช่นนั้น บุคคลที่อยู่ในภาวะเดียวกับผู้กระทำ โดยเทียบดูว่า บุคคลทั่วไปหรือวิญญูชนที่อยู่ในภาวะเช่นนั้นควรใช้ความระมัดระวังแค่ไหน

  15. วิสัย ลักษณะที่เป็นอยู่ของบุคคลผู้กระทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย เช่น วิสัยเด็กต้องซุกซน คนพิการทางกายหรือใจทำอะไรบางอย่างเหมือนคนปกติไม่ได้

  16. พฤติการณ์ ข้อเท็จจริงที่ประกอบการกระทำของผู้กระทำให้เกิดความเสียหาย นอกจากคำนึงถึงบุคคลในภาวะที่เกิดขึ้นและวิสัยของผู้นั้นแล้ว จะต้องดูพฤติการณ์ภายนอกประกอบด้วย เช่นการขับรถ ถนนเรียบขับได้ตรง ปกติ นิ่ง ถนนมีหลุมพยายามหลบหลีก หากหลบไม่ได้ก็โยกคลอน ถนนลูกรัง มีฝุ่นฟุ้ง ก้อนหินดีดกระเด็น ที่สว่าง มองเห็นได้ชัด ที่มืด มองอะไรไม่เห็น

  17. มาตรา 4 “เจ้าหน้าที่” ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่นไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้ง ในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด

  18. “หน่วยงานของรัฐ”กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติด้วย

  19. มาตรา5 หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหาย ในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรงแต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง

  20. มาตรา6 ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่ การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้

  21. มาตรา7 ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิขอให้ศาลที่พิจารณาคดีนั้นอยู่เรียกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐแล้วแต่กรณีเข้ามาเป็นคู่ความในคดี

  22. ถ้าศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้รับผิดให้ขยายอายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้อง รับผิด ซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีออกไปถึง6 เดือนนับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด

  23. มาตรา8 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง

  24. ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง การประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงแต่ละกรณีไป ความประมาทเลินเล่อ การกระทำที่มิใช่โดยเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผล แต่เป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์

  25. ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง บุคคลได้กระทำลงไปโดยขาดความระมัดระวัง ที่เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์มาตรฐานอย่างมาก เช่น คาดเห็นได้ว่าความเสียหายอาจเกิดขึ้นได้หรือหากระมัดระวังสักเล็กน้อยก็คงได้คาดเห็นการอาจเกิดความเสียหายเช่นนั้น

  26. สิทธิเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจะมีได้เพียงใดให้คำนึงถึงระดับความร้ายแรง แห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์ โดยมิต้องให้ใช้เต็มจำนวนของความเสียหายก็ได้

  27. ถ้าการละเมิดเกิดจากความผิดหรือ ความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐ หรือระบบการดำเนินงานส่วนรวม ให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าว ออกด้วย

  28. ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคนมิให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ ร่วมมาใช้บังคับและเจ้าหน้าที่แต่ละคน ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน เฉพาะส่วนของตนเท่านั้น

  29. มาตรา11 ในกรณีที่ผู้เสียหายเห็นว่า หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดตามมาตรา 5 ผู้เสียหายจะยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดแก่ตนเองก็ได้ ในการนี้หน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐานและพิจารณาคำขอนั้นโดยไม่ชักช้าเมื่อหน่วยงานของรัฐ

  30. มีคำสั่งเช่นใดแล้วหากผู้เสียหายยังไม่พอใจในผล การวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐก็ให้มีสิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัยให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาคำขอที่ได้รับตาม วรรคหนึ่ง ให้แล้วเสร็จภายใน180วันหากเรื่องใด

  31. ไม่อาจพิจารณาได้ทันในกำหนดนั้นจะต้องรายงานปัญหาและอุปสรรคให้รัฐมนตรี เจ้าสังกัดหรือกำกับหรือควบคุมดูแลหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นทราบและขออนุมัติ ขยายระยะเวลาออกไปได้ แต่รัฐมนตรีดังกล่าวจะพิจารณาอนุมัติให้ขยายระยะเวลาให้อีก ได้ไม่เกิน 180 วัน

  32. มาตรา9 ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย สิทธิที่จะเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตน ให้มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ ค่าสินไหมทดแทนนั้นแก่ผู้เสียหาย

  33. มาตรา10 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นอยู่ในสังกัดหรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้ามิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  34. สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ทั้งสองประการตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและ รู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนและ กรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ ผู้นั้นไม่ต้อง รับผิดแต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่า ต้องรับผิดให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้น มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐ มีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง

  35. มาตรา12 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา 8 หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 10 ประกอบกับมาตรา 8 ให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชำระเงินดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนด

  36. มาตรา13 ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดตามมาตรา 8 และมาตรา 10 สามารถผ่อนชำระเงินที่จะต้องรับผิดนั้นได้ โดยคำนึงถึงรายได้ฐานะครอบครัวและ ความรับผิดชอบและพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วย

  37. มาตรา14 เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นแล้ว สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัย ร้องทุกข์ตามมาตรา 11 ให้ถือว่า เป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

  38. การฟ้องคดีละเมิด เดิม ฟ้องศาลยุติธรรมและใช้หลักเกณฑ์ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ฟ้องต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ใน พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของ จนท.พ.ศ.2539และอาจฟ้องที่ศาลปกครองหรือศาลยุติธรรมแล้วแต่กรณี ปัจจุบัน

  39. การฟ้องคดีละเมิดต่อศาลปกครองการฟ้องคดีละเมิดต่อศาลปกครอง ผู้ฟ้องต้องพิจารณาก่อนว่า เป็นคดีละเมิดที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองหรือที่เรียกว่า “คดีละเมิดทางปกครอง” หรือไม่ ซึ่งจะต้องพิจารณาตาม ม.9(1) (2) (3)ของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ

  40. คดีละเมิดที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองคดีละเมิดที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง คดีละเมิดอาจมีบุคคล 3 ฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง 1. ผู้เสียหาย 2. เจ้าหน้าที่ 3. หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้น สังกัด หรือกระทรวงการคลัง ซึ่งอาจฟ้องศาลปกครองได้หลายกรณี ดังนี้

  41. คดีปกครองที่เป็นการฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองตาม ม.9 วรรคหนึ่ง(1) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ ได้แก่ กรณี ที่หน่วยงานของรัฐใช้อำนาจตาม ม.12 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดฯ ออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ที่กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงาน ของรัฐ ภายในเวลาที่กำหนด

  42. คดีปกครองเกี่ยวกับการที่หน่วยงาน ทางปกครองละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรตาม ม.9 วรรคหนึ่ง (2) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดฯ

  43. ในกรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ต่อบุคคลภายนอก ผู้เสียหายย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากหน่วยงานของรัฐได้ 2 วิธี 1. ฟ้องคดีต่อศาล 2. ยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

  44. คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตาม ม.9 วรรคหนึ่ง (3) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ

  45. คดีละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง จะต้องเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ประการ ดังนี้ 1. เป็นคดีหรือข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องกับ การปฏิบัติหน้าที่ในทางปกครองของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ

  46. 2. แม้จะเป็นคดีตามข้อ 1 ผู้เสียหายจะฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ก็ต่อเมื่อเป็นคดีหรือข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติใน 4 กรณี (1) การใช้อำนาจตามกฎหมาย (2) การออกกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น (3) การละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ให้ต้องปฏิบัติ (4) การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

  47. เงื่อนไขการฟ้องคดีละเมิดต่อศาลปกครองเงื่อนไขการฟ้องคดีละเมิดต่อศาลปกครอง 1. เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้มีสิทธิฟ้องคดีและความสามารถของผู้ฟ้องคดี 2. เงื่อนไขเกี่ยวกับคำขอให้ศาลมีคำบังคับเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายของผู้ฟ้องคดี 3. เงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายของผู้ฟ้องคดี

  48. 4. เงื่อนไขเกี่ยวกับคำฟ้องและเอกสารที่ยื่นส่งศาล 5. เงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาในการฟ้องคดี 6. เงื่อนไขเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมศาล 7. เงื่อนไขเกี่ยวกับความจำเป็นต้องขอให้ศาลออกคำบังคับเพื่อแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหาย 8. เงื่อนไขเกี่ยวกับข้อห้ามในการฟ้องคดีต่อศาล และเงื่อนไขอื่นๆ

  49. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

More Related