1 / 90

การส่งเสริมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

สำนักงาน ป.ป.ช. การส่งเสริมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต. โดย นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. CPI คืออะไร.

nova
Télécharger la présentation

การส่งเสริมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สำนักงาน ป.ป.ช. การส่งเสริมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดย นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช.

  2. CPI คืออะไร ดัชนีวัดความโปร่งใส (Corruption Perception Index : CPI) เป็นดัชนีที่จัดทำขึ้นโดยการรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ และค่าดัชนีขององค์กรต่างๆ ที่สำรวจความคิดเห็นความพึงพอใจ และการประเมินสภาพการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอรัปชั่นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก แล้วนำมาประเมินค่าพร้อมกับจัดเรียงลำดับเผยแพร่เป็นข้อมูลที่มุ่งกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการต่อต้านการทุจริตในการทำธุรกิจข้ามชาติ ดัชนี CPI นี้เริ่มนำมาใช้ในปี พ.ศ. 2538 โดยการพัฒนาขององค์กรระหว่างประเทศที่มีชื่อว่า Transparency International หรือ TI ซึ่งตั้งอยู่ ใน กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ปี 2538-2554 คะแนนมีค่าสูงสุด 10 หมายถึงประเทศนั้น ไม่มีปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นเลย และยิ่งค่าดัชนีต่ำลงแสดงว่าประเทศนั้น ๆ ยิ่งมีปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นสูง

  3. ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันของประเทศไทยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2538 - 2555

  4. ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ประจำปี พ.ศ.2555 ของประเทศในภูมิภาคเอเชีย เฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไม่รวมเอเชียกลางและตะวันออกกลาง) /อันดับที่ 12...

  5. ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ประจำปี พ.ศ.2555 ของประเทศในภูมิภาคเอเชีย เฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไม่รวมเอเชียกลางและตะวันออกกลาง) ที่มา:วิเคราะห์ข้อมูลจาก http://www.transparency-thailand.org/

  6. CPI(Corruption Perceptions Index 2555) แต่ในปี 2555 ทางองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ได้ปรับวิธีการคำนวณและใช้ฐานคะแนนเต็มเป็น 100 คะแนน จากเดิมที่ใช้ 10 คะแนนโดยคะแนน 0 คะแนน ถือว่าคอร์รัปชั่นมาก จนถึง 100 คะแนน (โปร่งใสมาก) และมีข้อสังเกตว่าประเทศที่มีอันดับ ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนอย่างในภูมิภาคเอเชีย เช่น จีน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เพราะคนรู้สึกว่าในประเทศนั้นๆ มีการจัดการปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง สามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้จริงและมีความเชื่อมั่นในเจตต์จำนงของผู้นำประเทศ

  7. ความหมายของคำว่า คอร์รัปชัน คืออะไร ภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index–CPI) เป็นดัชนีแสดงถึงการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการคอร์รัปชันของ “ภาครัฐ (Public Sector)” ในประเทศ “ภาครัฐ” หมายถึง หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐทั้งหมด ทั้งนักการเมือง ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างมีฐานข้อมูลมาจาก 1. ผู้เชี่ยวชาญและนักธุรกิจที่อาศัยอยู่ในประเทศนั้น 2. สถาบัน หน่วยงานวิจัย และองค์กรอิสระที่ได้รับการยอมรับ จากทั่วโลก

  8. ความหมายของคำว่า คอร์รัปชัน คืออะไร (ต่อ) การคอร์รัปชันขนาดใหญ่ (Grand corruption) เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงเพื่อบิดเบือนนโยบาย หรือใช้อำนาจรัฐในทางมิชอบ เพื่อให้ผู้นำหรือผู้บริหารประเทศได้รับผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรของชาติ การคอร์รัปชันขนาดเล็ก (Petty corruption) เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐระดับกลาง ระดับล่าง ต่อประชาชนทั่วไป โดยการใช้อำนาจที่ได้รับมอบหมายในทางมิชอบ

  9. ความหมายของคำว่า คอร์รัปชัน คืออะไร (ต่อ) การติดสินบน (Bribery)เป็นการเสนอให้ สัญญาว่าจะให้ผลประโยชน์ ในรูปของเงิน สิ่งของ และสิ่งตอบแทนต่างๆ เพื่อจูงใจให้เกิดการกระทำผิดกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี การยักยอก (Embezzlement)คือ นำเงินหรือสิ่งของที่ได้รับมอบหมายให้ใช้ในราชการ มาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือกิจกรรมอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้อง การอุปถัมภ์ (Patronage) การเล่นพรรคเล่นพวก ด้วยการคัดเลือกบุคคลจากสายสัมพันธ์ทางการเมือง (connection) เพื่อเข้ามาทำงานหรือเพื่อให้รับผลประโยชน์ โดยไม่คำนึงถึงคุณสมบัติและความเหมาะสม

  10. ความหมายของคำว่า คอร์รัปชัน คืออะไร (ต่อ) การเลือกที่รักมักที่ชัง (Nepotism) เป็นรูปแบบการเล่นพรรคเล่นพวก โดยจะใช้อำนาจที่มีในการให้ผลประโยชน์หรือให้หน้าที่การงานแก่เพื่อน ครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิด โดยไม่คำนึงถึงคุณสมบัติและความเหมาะสม ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest) คือ การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัว กับผลประโยชน์ส่วนรวม

  11. แหล่งข้อมูลทั้งหมดที่ใช้ในการประเมินดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ปี 2555 แหล่งข้อมูลที่มาจากนักวิเคราะห์ความเสี่ยง หรือผู้เชี่ยวชาญจากองค์การระหว่างประเทศ มี 13 แห่ง ประกอบด้วย 1. การจัดอันดับธรรมาภิบาลของธนาคารพัฒนาแอฟริกา: African Development Bank Governance Ratings 2011 (AFDB) 2. ดัชนีธรรมาภิบาลด้านความยั่งยืนของมูลนิธิเบอร์เทลสแมนน์: Bertelsmann Foundation Sustainable Governance Indicators 2011 (BF_SGI) 3. ดัชนีการปฏิรูปของมูลนิธิเบอร์เทลส์แมนน์: Bertelsmann Foundation Transformation Index 2012 (BF_BTI) 4. การประเมินความเสี่ยงรายประเทศของอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต: Economist Intelligence Unit Country Risk Assessment (EIU) 5. รายงานการปฏิรูปรายประเทศของฟรีดอม เฮ้าส์ : Freedom House Nations in Transit 2012 (FH) 6. การจัดอันดับความเสี่ยงรายประเทศของโกลบอล อินไซด์: Global Insight Country Risk Ratings (GI)

  12. แหล่งข้อมูลทั้งหมดที่ใช้ในการประเมินดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ปี 2555 7. รายงานอันดับความสามารถในการแข่งขันของสถาบันเพื่อการพัฒนาผู้บริหารสากล: IMD World Competitiveness Yearbook 2012 (IMD) 8. รายงานความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและการเมืองประจำปี 2012 ของเอเซียน อินเทลลิเจนซ์: Political and Economic Risk Consultancy Asian Intelligence 2012 (PERC) 9. รายงานทิศทางความเสี่ยงรายประเทศของโพลิติคัล ริสก์ เซอร์วิสเซส : Political Risk Services International Country Risk Guide (ICRG) 10. ผลการจัดอันดับสินบนขององค์กรเพื่อความโปร่งใสสากล : Transparency International Bribe Payers Survey 2011 (TI) 11. การประเมินผลงานรายประเทศและศักยภาพของสถาบัน : World Bank-Country Policy and Institutional Assessment 2011 (WB) 12. ผลสำรวจความเห็นผู้บริหารจากเวิลด์ อีโคโนมิกส์ ฟอรั่ม 2012 : World Economic Forum Executive Opinion Survey 2012 (WEF) 13. ดัชนีเปรียบเทียบหลักนิติรัฐของเวิลด์ จัสติส โปรเจ็กต์ : World Justice Project Rule of Law Index (WJP)

  13. เมื่อพิจารณาจากแหล่งข้อมูล พบว่า 1. องค์กรที่ให้คะแนนประเทศไทยต่ำสุดจากแหล่งข้อมูลทั้งหมด 8 แห่ง คือ Political Risk Services International Country Risk Guide–ICRG ให้ประเทศไทย 31 คะแนน โดยการสำรวจของ ICRG มุ่งเน้นไปที่ การคอร์รัปชัน ที่เกิดขึ้นในระบบการเมือง การเรียกหรือรับสินบน และการเล่นพรรคเล่นพวกที่เกิดขึ้นในระบบอุปถัมภ์ 2. ส่วนแหล่งข้อมูลที่ให้คะแนนประเทศไทยสูงสุดคือ ดัชนีการปฏิรูปของมูลนิธิเบอร์เทลสแมนน์ : Bertelsmann Foundation Transformation Index 2012 (BF_BTI) ให้ประเทศไทย 45 คะแนน โดยผลการสำรวจดัชนีการปฏิรูปของมูลนิธิเบอร์เทลสแมนน์ เกิดจากการไปถามกลุ่มตัวอย่างถึงความถี่ในการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะโดนลงโทษจากการทุจริต หรือการมีกลไกในการตรวจสอบภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ

  14. จะทำอย่างไรให้ประเทศไทยมีดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันเพิ่มขึ้นจะทำอย่างไรให้ประเทศไทยมีดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันเพิ่มขึ้น การศึกษากรณีตัวอย่างของประเทศที่มีคะแนนดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันสูง เป็นบทเรียนที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการช่วยพัฒนาประเทศไทยให้มีดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันเพิ่มขึ้น โดยพบว่าประเทศที่มีดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันสูงสุด 3 อันดับแรก คือ นิวซีแลนด์ เดนมาร์ก และฟินแลนด์ ทั้ง 3 ประเทศ ล้วนมีระบบการเข้าถึงข้อมูล ที่มีประสิทธิภาพ มีกลไกการตรวจสอบภาครัฐที่เข้มแข็ง

  15. จะทำอย่างไรให้ประเทศไทยมีดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันเพิ่มขึ้น (ต่อ) โดยอีกสิ่งที่เหมือนกันคือ มีการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ และมีการวางรากฐานต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันมาอย่างยาวนาน ตัวอย่างในปี พ.ศ.2309 ขณะที่หลายประเทศยังไม่รู้ว่าความโปร่งใสคืออะไร แต่สวีเดนกลับเป็นประเทศแรกที่มีการออกกฎหมายให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือเอกสารสำคัญทางราชการได้ตั้งแต่ตอนนั้น

  16. จะทำอย่างไรให้ประเทศไทยมีดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันเพิ่มขึ้น (ต่อ) อีกด้านหนึ่ง จากการศึกษาขององค์กรความโปร่งใสสากลได้พบว่า ทั้ง 3 ประเทศนี้ เป็นประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยและมีสื่อมวลชนที่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นสูง โดยพบว่า ความเป็นประชาธิปไตยและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่เพิ่มขึ้น มีความสัมพันธ์กับปัญหาคอร์รัปชันที่ลดลง

  17. จะทำอย่างไรให้ประเทศไทยมีดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันเพิ่มขึ้น (ต่อ) นอกจากนั้น ทั้ง 3 ประเทศ ยังมีจีดีพีต่อหัวของประชากรสูง มีความเหลื่อมล้ำทางรายได้ต่ำ มีอัตรา รู้หนังสือเกือบ 100 % มีการให้ความสำคัญกับประเด็นทางสิทธิมนุษยชน เช่น ความเท่าเทียมกันทางเพศ และเสรีภาพของข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกในการสร้างความโปร่งใสของภาครัฐ การมีภาคประชาสังคมที่เข้ามามีส่วนร่วม ล้วนเป็นกลไกสำคัญที่จะสร้างให้เกิดความโปร่งใส

  18. จะทำอย่างไรให้ประเทศไทยมีดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันเพิ่มขึ้น (ต่อ) ดังตัวอย่างของประเทศสวีเดน ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลได้ หรือประเทศเดนมาร์กที่บังคับให้รัฐมนตรีทุกคนต้องเปิดเผยค่าใช้จ่ายรายเดือนทุกอย่าง รวมไปถึง ค่าเดินทางและค่าของขวัญที่ซื้อให้ผู้อื่น

  19. จะทำอย่างไรให้ประเทศไทยมีดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันเพิ่มขึ้น (ต่อ) ทั้งหมดนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่า ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนในการทำให้ประเทศเหล่านี้จัดการรับมือกับปัญหาคอร์รัปชันได้ดีคือ ในประเทศต้องมีภาคประชาชนที่มีส่วนร่วมในการจับตาสอดส่องการทำงานของภาครัฐและมีหน่วยงานของรัฐที่มีความโปร่งใส สามารถเปิดเผยข้อมูลให้องค์กรอื่นๆ ตรวจสอบได้นั่นเอง

  20. สาเหตุของการทุจริต  กระแสบริโภคนิยม วัตถุนิยม  โครงสร้างสังคมไทย ระบบอุปถัมภ์  กระบวนการยุติธรรมไม่เข้มแข็ง  การแทรกแซงจากผู้มีอิทธิพลและนักการเมือง  ความเบื่อหน่ายและเพิกเฉยของประชาชนต่อการทุจริต

  21. ผู้มีอำนาจ ผู้ไม่มีอำนาจ

  22. ABAC POLL ระบุว่า คนไทยส่วนใหญ่ “ยอมรับได้” ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย ข้อมูลเดือนสิงหาคม 2555

  23. ABAC POLL ทัศนคติต่อการยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย

  24. ABAC POLL คนไทยส่วนใหญ่ “รับได้” หากรัฐบาลทุจริต แล้วทำให้ชาติรุ่งเรือง ประชาชนอยู่ดีกินดี และตนเองได้รับประโยชน์ คุณ “เชื่อ” หรือไม่ว่า หากรัฐบาลทุจริตคอร์รัปชั่นแล้ว ทำให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนกินดีอยู่ดี ตนเองได้รับประโยชน์ด้วย

  25. ผลการวิจัยกรณีรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ผลประโยชน์ มหาวิทยาลัย UCSI มาเลเซีย สำรวจประชาชนคนมาเลเซียส่วนใหญ่ “ต่อต้าน”ร้อยละ 63.1 สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ สำรวจประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ “ยอมรับ”ร้อยละ 68.5 ข้อมูล 19 ก.ย. – 9 ต.ค. 2555

  26. สาเหตุแห่งการกระทำความผิดของข้าราชการสาเหตุแห่งการกระทำความผิดของข้าราชการ 1. ไม่รู้ 2. จำเป็น 2.1 เพื่อประโยชน์ของทางราชการ 2.2 เกรงกลัว 3. ทุจริต

  27. “ทุจริตต่อหน้าที่” “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือปฏิบัติหรือ ละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่า มีตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหา ประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

  28. ระบบกล่าวหา เป็นระบบค้นหาความจริงตามระบบกฎหมายคอมมอลลอร์(COMMON LAW) คือ จะมีคู่ความคือโจทก์และจำเลยต่อสู้กัน โดยจำเลยอาจมีทนายความมาช่วยเหลือในการดำเนินคดีโดยมีกติกาที่เท่าเทียมกัน ศาลจะทำหน้าที่เป็นคนกลางควบคุมคู่ความทั้งสองฝ่ายให้ปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด โจทก์มีหน้าที่หรือภาระการพิสูจน์โดยหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดของจำเลย ถ้าโจทก์ไม่อาจหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดได้ หรือพิสูจน์ได้แต่พยานหลักฐานนั้นยังเป็นที่สงสัย ศาลก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย โดยศาลจะพิพากษายกฟ้อง ระบบนี้ศาลจะพิจารณาเฉพาะพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนความของศาลเท่านั้น ข้อเท็จจริง อย่างอื่นที่ไม่ได้จดบันทึกไว้ศาลจะไม่นำมารับฟัง

  29. ระบบไต่สวน เป็นระบบค้นคว้าหาความจริงตามระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (CIVIL LAW) ซึ่งเป็นเรื่องของศาลกับจำเลย โจทก์และทนายจำเลยมีหน้าที่ช่วยเหลือศาลในการค้นหาความจริง ศาลมีบทบาทในการแสวงหาความจริงให้ได้มากที่สุด โดยมีอำนาจเต็มที่ มีอำนาจลงไปล้วงลึกถึงพยานหลักฐานต่างๆ ได้เอง ศาลจะซักถามพยานบุคคลด้วยตนเอง แม้คู่ความมิได้นำพยานหลักฐานเข้าสู่สำนวนความของศาล ศาลก็ย่อมนำมาได้ เมื่อได้ความจริงอย่างไรค่อยพิพากษาตามนั้น ซึ่งอาจจะพิพากษาตามนั้นโดยพิพากษายกฟ้องหรือลงโทษ ไม่มีการยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย คือ ถ้าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ก็ฟังไม่ได้เลย ศาลจะไม่เคร่งครัดกฎกติกาในการรับฟังพยานหลักฐานมากนัก

  30. สำนักงาน ป.ป.ช. “รัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554กับบทบาทภารกิจที่ต้องเปลี่ยน” โดย นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช.

  31. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่เปลี่ยนไปเมื่อมีคณะกรรมการ ป.ป.ท. สำนักงาน ป.ป.ช. อำนาจไต่สวนและวินิจฉัยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง หรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป ร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม รวมทั้งดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการในระดับต่ำกว่าที่ร่วมกระทำความผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวหรือกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือที่กระทำความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรดำเนินการด้วย (รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 250 (3))

  32. เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะกรรมการ ป.ป.ท. สำนักงาน ป.ป.ช.

  33. เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะกรรมการ ป.ป.ท. สำนักงาน ป.ป.ช.

  34. ความเกี่ยวข้องระหว่าง ป.ป.ช. และ ป.ป.ท. สำนักงาน ป.ป.ช. • เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นกรรมการ ป.ป.ท. โดยตำแหน่ง • ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ส่งเรื่องกล่าวหาให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการ • (มาตรา 19 พ.ร.บ. ป.ป.ท.) • เรื่องกล่าวหาบุคคลซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐแต่อยู่ในอำนาจคณะกรรมการ ป.ป.ช. • เรื่องกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจหน้าที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. • เรื่องกล่าวหาที่คณะกรรมการ ป.ป.ท.แจ้งให้ส่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณา • คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจดำเนินการกับเรื่องกล่าวหาเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. • (มาตรา 84 (7)) • คณะกรรมการ ป.ป.ช. อาจเรียกให้โอนเรื่องกล่าวหาซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้รับไว้ • พิจารณาและส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องมาให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการต่อไปได้ • (มาตรา 87/1)

  35. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. (มาตรา 19) สำนักงาน ป.ป.ช. • ไต่สวนและวินิจฉัยเจ้าหน้าที่ของรัฐกรณีร่ำรวยผิดปกติเพื่อร้องขอให้ทรัพย์สิน • ตกเป็นของแผ่นดิน • ไต่สวนและวินิจฉัยความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรดำเนินการ • กำกับดูแลคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง • มอบหมายให้พนักงานไต่สวนผู้รับผิดชอบดำเนินการไต่สวนและตรวจสอบแทนได้ • มอบหมายให้เลขาธิการฯ และพนักงานเจ้าหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงก่อน • การดำเนินการไต่สวน (มาตรา 44/1) • ดำเนินการเกี่ยวกับด้านการต่างประเทศโดยเป็นศูนย์กลางความร่วมมือระหว่าง • ประเทศเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไป • ตามพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศในการต่อต้านการทุจริต

  36. การไต่สวนข้อเท็จจริง สำนักงาน ป.ป.ช. • อำนาจในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับผู้เกี่ยวข้องในเรื่องที่กล่าวหา (มาตรา 25/1) • การมอบหมายให้พนักงานไต่สวนดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวม • พยานหลักฐานแทน (มาตรา 26 วรรคสอง และวรรคสาม) • การมอบหมายให้ลงนามในหนังสือ (มาตรา 27) • กรณียื่นคำร้องต่อศาล หรือการฟ้องคดีเอง (มาตรา 28/2) • การตรวจสอบความถูกต้อง ความมีอยู่จริง และการเปลี่ยนแปลงของ • ทรัพย์สินและหนี้สิน (มาตรา 37/2 และมาตรา 42) • การไต่สวนข้อเท็จจริง รวบรวมพยานหลักฐาน และสรุปสำนวนเสนอ • คณะกรรมการ กรณีได้รับมอบหมายให้ไต่สวนข้อเท็จจริง (มาตรา 45/1)

  37. การไต่สวนข้อเท็จจริง สำนักงาน ป.ป.ช. • มีอำนาจไต่สวนถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งเนื่องจากกระทำผิดมาตรฐานทาง • จริยธรรมร้ายแรง (มาตรา 43 (1)) • มอบหมายให้เลขาธิการฯ ให้ดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ • เพียงพอต่อการไต่สวนตามมาตรา 43 โดยเลขาธิการฯ อาจมอบหมายให้พนักงาน • เจ้าหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการได้ (มาตรา 44/1) • มอบหมายให้พนักงานไต่สวนทำการไต่สวนข้อเท็จจริง รวบรวมพยานหลักฐานและสรุป • สำนวนเสนอคณะกรรมการ (มาตรา 45/1) • คณะอนุกรรมการไต่สวนไม่จำต้องมีกรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ • เว้นแต่กรณีตามมาตรา 63 และ 66 (มาตรา 45) • การจัดให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าตรวจดูเหตุผลในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า • ข้อกล่าวหาไม่มีมูล (มาตรา 53)

  38. การตรวจสอบทรัพย์สิน สำนักงาน ป.ป.ช. • การตรวจสอบธุรกรรมทางการเงิน และอำนาจเช่นเดียวกับคณะกรรมการ • ป.ป.ง. และคณะกรรมการธุรกรรม กรณีการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของ • ทรัพย์สินหากมีพฤติการณ์หรือเหตุอันควรสงสัย (มาตรา 37/2) • กำหนดในการยื่นบัญชีทรัพย์สิน ให้แสดงทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ • หรืออยู่ในความครอบครองดูแลของบุคคลอื่นด้วยไม่ว่าโดยทางตรงหรือ • โดยทางอ้อม (มาตรา 32) • ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีฯ สามารถขอใช้บัญชีเดิมแทนการยื่นใหม่ได้ • กรณีทรัพย์สินไม่เปลี่ยนแปลง และให้นำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ • (มาตรา 33)

  39. การตรวจสอบทรัพย์สิน สำนักงาน ป.ป.ช. • การเปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายกรัฐมนตรี • รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา (มาตรา 35) • เสนอเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัย • กรณีจงใจไม่แสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินหรือแสดงรายการอัน • เป็นเท็จ (มาตรา 34) • อำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติเป็นการชั่วคราวในระหว่างที่ยัง • ไม่มีคำสั่งของศาลฎีกาฯ (มาตรา 38) • การตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินกรณีมีพฤติการณ์หรือ • เหตุอันควรสงสัย สามารถใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ง. และ • คณะกรรมการธุรกรรมได้ (มาตรา 42)

  40. การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองการดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สำนักงาน ป.ป.ช. • อัยการสามารถร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนการกระทำหรือคำสั่งทางปกครองที่เป็นการละเมิด และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการให้ผู้ถูกกล่าวหาชดใช้ค่าเสียหายได้ (มาตรา 73/1) • มิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีในระหว่างถูกดำเนินคดีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ (มาตรา 74/1)

  41. การร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินการร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน สำนักงาน ป.ป.ช. • คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจดำเนินการได้กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติในขณะพ้นจากตำแหน่งไม่เกินห้าปี (มาตรา 75) • สามารถกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติด้วยวาจาได้ (มาตรา 76) • กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าร่ำรวยผิดปกติ คณะกรรมการ ป.ป.ช. สามารถดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไป (มาตรา 77) • ให้ผู้ถูกกล่าวหาได้รับการเยียวยากรณีศาลยกคำร้องกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ (มาตรา 81/1)

  42. การตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สำนักงาน ป.ป.ช. • ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจเรียกสำนวนจากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอื่นมาดำเนินการได้เองในกรณีที่เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ (มาตรา 87/1) • ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจพิจารณาส่งเรื่องกล่าวหาให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยหรือให้พนักงานสอบสวนดำเนินการทางอาญาได้ (มาตรา 89/2) • คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจเรียกสำนวนจากพนักงานสอบสวนมาดำเนินการ • ไต่สวนใหม่ได้ หากไม่เห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานสอบสวน (มาตรา 89/3) • การให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาอุทธรณ์ดุลยพินิจการกำหนดโทษของผู้บังคับบัญชา (มาตรา 96) • ให้ศาลยึดรายงานและสำนวนคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นหลักและใช้ระบบ • ไต่สวน (มาตรา 98/1)

  43. การส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต สำนักงาน ป.ป.ช. • คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้มีมาตรการในการคุ้มครองผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ทำคำร้อง ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ให้ถ้อยคำ หรือผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อมูล • (มาตรา 103/2) • ให้ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเท่าที่จำเป็นจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ (มาตรา 103/2 วรรคสอง) • การให้รางวัลตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใดแก่บุคคลผู้ให้ถ้อยคำ หรือผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อมูล (มาตรา 103/3)

More Related