180 likes | 596 Vues
รศ.ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์ . มหาวิทยาลัยข่อนแก่น. การจำแนกทางอนุกรมวิธาน Nelson (1984) ได้จัดลำดับชั้นของปลากัดไว้ดังนี้ Superclass : Osteichthyes Class : Actinopterygii
E N D
รศ.ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์ มหาวิทยาลัยข่อนแก่น การจำแนกทางอนุกรมวิธาน Nelson (1984) ได้จัดลำดับชั้นของปลากัดไว้ดังนี้ Superclass : Osteichthyes Class : Actinopterygii Order : Perciformes -- perch-like fishes Suborder : Anabantoidei -- labyrinthfishes Family : OsphronemidaeBleeker, 1859 -- giant gouramis Subfamily : MacropodinaeLiem, 1963 Genus : Betta การเพาะเลี้ยงปลากัด ประวัติของปลากัด ปลากัดเป็นปลาพื้นบ้านของไทย ในธรรมชาติชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง เช่น หนอง บึง หรือชายทุ่งนา โดยมักพบตามชายฝั่งที่ตื้นๆและมีพรรณไม้น้ำมาก เป็นปลาที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับพวก Labyrinth Fish ได้แก่ พวกปลากระดี่ทั้งหลาย ซึ่งเป็นกลุ่มปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจ ทำให้ปลาอาศัยอยู่ในที่มีออกซิเจนต่ำได้ จึงทำให้สามารถเลี้ยงปลากัดในขวดต่างๆที่มีปากขวดแคบๆได้ ปลากัดจัดว่าเป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร โดยจะชอบกินแมลงและตัวอ่อนของแมลงต่างๆ (Insectivores) การจำแนกเพศปลากัด ปลากัดเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะภายนอกที่แสดงความแตกต่างกัน ซึ่งพอจะสังเกต ได้หลายประการ คือ 5.1 สีของลำตัว ปลาเพศผู้จะมีสีของลำตัวและครีบ เข้มและสดกว่าปลาเพศเมียอย่างชัดเจน เมื่อปลามีอายุตั้งแต่ 2 เดือน หรือมีขนาดตั้งแต่ 3 เซนติเมตรขึ้น 5.2 ขนาดของตัว ปลาที่เลี้ยงในครอกเดียวกันปลาเพศผู้จะเจริญเติบโตเร็วกว่าปลาเพศเมีย 5.3 ความยาวครีบ ปลาเพศผู้จะมีครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นยาวกว่าของปลาเพศเมียมาก ยกเว้นปลากัดหม้อจะยาวต่างกันไม่มากนัก 5.4 เม็ดไข่นำ ปลาเพศเมียจะมีเม็ดหรือจุดขาวๆอยู่ 1 จุด ใกล้ๆกับช่องเปิดของช่องเพศ ลักษณะคล้ายกับไข่ของปลากัดเอง เรียกจุดนี้ว่าไข่นำ ส่วนปลาเพศผู้ไม่มี . ลักษณะรูปร่างของปลากัด ปลากัดจัดเป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวมีความยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ลักษณะลำตัวเรียวยาว แบนข้าง ปากมีขนาดเล็กเชิดขึ้นด้านบนเล็กน้อย ส่วนหัวมีเกล็ดปกคลุม ครีบก้นมีฐานครีบค่อนข้างยาว มีจำนวนก้านครีบ 23 - 26 อัน ครีบท้องเล็กยาว สีของลำตัวเป็นสีเทาแกมดำ สีของครีบและเกล็ดบริเวณใกล้ครีบจะเป็นสีสดเข้มสีใดสีหนึ่งทั้งตัว เช่น ปลากัดสีแดง จะมีครีบทุกครีบและเกล็ดที่อยู่ใกล้ครีบเป็นสีแดงทั้งหมด . การเลี้ยงปลากัด บ่อเลี้ยงปลากัดถ้าเป็นบ่อดินควรมีขนาด 10 - 30 ตารางเมตร ถ้าเป็นบ่อซีเมนต์ควรมีขนาด 2 - 6 ตารางเมตร มีความลึกประมาณ 50 - 60 เซนติเมตร คัดแยกลูกปลาจากบ่ออนุบาลโดยคัดเอาเฉพาะปลาเพศผู้มาเลี้ยง เนื่องจากปลาเพศผู้เป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่าและราคาสูงกว่าปลาเพศเมียมาก ปล่อยเลี้ยงในอัตรา 150 - 200 ตัว ต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตรสำหรับบ่อดิน และอัตรา 100 - 150 ตัว ต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตรสำหรับบ่อซีเมนต์ แล้วเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดลอยน้ำ นอกจากนั้นควรใส่พรรณไม้น้ำพวกสาหร่าย และสันตะวา เพื่อป้องกันการทำอันตรายจากปลาด้วยกันเอง ใช้เวลาเลี้ยงอีกประมาณ 50 - 60 วัน ปลาจะมีขนาดประมาณ 5 เซนติเมตร สามารถคัดแยกใส่ขวดเพื่อรอจำหน่ายต่อไป .