1 / 33

เป้าประสงค์

การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขสำหรับ ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ( SRRT) (Public Health Emergency Management,PHEM ). เป้าประสงค์. เตรียมความพร้อมองค์ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังเหตุการณ์ฉุกเฉิน ประเมินและจัดการความเสี่ยง เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น

nyoko
Télécharger la présentation

เป้าประสงค์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขสำหรับทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT)(Public Health Emergency Management,PHEM)

  2. เป้าประสงค์ • เตรียมความพร้อมองค์ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังเหตุการณ์ฉุกเฉิน • ประเมินและจัดการความเสี่ยง • เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น • การประเมินสถานการณ์และการตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างฉับพลัน • อธิบายหลักการสอบสวนทางระบาดวิทยา • การจัดการระบบข้อมูล

  3. โครงสร้างของเนื้อหา13 หน่วย • หน่วยที่ 1 บทนำ การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (PHEM) • หน่วยที่ 2 การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขในประเทศไทย • หน่วยที่ 3 ความท้าทายและบทบาทหน้าที่ของ SRRT ใน งานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (PHER) • หน่วยที่ 4 การประเมินและการจัดการความเสี่ยงในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • หน่วยที่ 5 การเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • หน่วยที่ 6 การวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉิน ทางสาธารณสุข

  4. โครงสร้างของเนื้อหา (ต่อ) • หน่วยที่ 7 การประเมินสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • หน่วยที่ 8 การสอบสวนทางระบาดวิทยา • หน่วยที่ 9 การควบคุมโรคและภัยในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • หน่วยที่ 10 การจัดส่งกำลังบำรุงในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • หน่วยที่ 11 การสื่อสารความเสี่ยง • หน่วยที่ 12 การจัดการระบบข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวังโรคและภัย ในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • หน่วยที่ 13 การฟื้นฟูบูรณะ

  5. หน่วยที่ 1 บทนำ การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (PHEM)

  6. วัตถุประสงค์ • อธิบายความหมาย ประเภท ผลกระทบของภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้ • อธิบายความหมาย เรื่อง การจัดการภาวะฉุกเฉินโดยรวม และแนวคิดทั้ง 3 ด้านได้ • เข้าใจระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข และอธิบายกระบวนการฉุกเฉินทางสาธารณสุขทั้ง 4 ระยะได้ • เข้าใจระบบบัญชาการการเหตุฉุกเฉินที่เป็นสากล

  7. ภาวะฉุกเฉิน (Emergency) • เหตุการณ์ที่ต้องรีบแก้ไขอย่างฉับพลันโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ เป็นภัยต่อความมั่นคง ความปลอดภัยต่อสังคม ชีวิต ทรัพย์สิน • ระดับ : บุคคล ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ ภูมิภาคโลก • สาเหตุ : ไม่มีความรู้ ไม่ใส่ใจ ไม่ได้เตรียมการล่วงหน้า

  8. ภัยพิบัติ (Disaster) • เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือมนุษย์เป็นผู้ก่อให้เกิด มักเกิดขึ้นทันทีครั้งเดียว หรือต่อเนื่อง ส่งผลให้ชุมชนที่ได้รับผลกระทบรุนแรงต้องตอบโต้ด้วยมาตรการที่เกินขีดความสามารถของชุมชนอย่างฉับพลัน • ภาวะฉุกเฉินมีผลกระทบต่อระบบนิเวศ ชุมชนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากภายนอก

  9. ประเภทภัยพิบัติ • ด้านกายภาพ : การบาดเจ็บ : อุบัติเหตุทางหลวง เครื่องบินตก ตึกถล่ม พายุไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ดินถล่ม ฯลฯ • ด้านวัตถุอันตรายรั่วไหล : สารเคมี รังสี : Methyl isocyanate in India,1984 • ด้านชีวภาพ : การระบาดของโรคติดต่ออันตราย : อหิวาตกโรค, กาฬโรค,ไข้หวัดนก,SARS • ด้านสังคม : การจลาจล การก่อการร้าย สงคราม

  10. รถแก๊ซคว่ำและเพลิงไหม้, เพชรบุรีตัดใหม่ กันยายน 2532 • LPG Explosion, Bangkok, September 1989; Killed 81

  11. อุทกภัย อ.หาดใหญ่ ปี 2542

  12. ใต้ฝุ่นเกย์ พฤศจิกายน 2532 • Typhoon Gay Southern, November 1989; killed >600

  13. ภัยแล้ง

  14. Tsunami ธันวาคม2547 น้ำทะเลลดลงหลายร้อยเมตรขณะเกิดสึนามิ น้ำขึ้นอย่างรวดเร็ว

  15. SARS

  16. มลภาวะ ละอองฝุ่น

  17. ภาวะวิกฤติ (Crisis) • สถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จำเป็นต้องใช้กระบวนการตัดสินใจเพื่อกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง • เหตุการณ์หรือเรื่องราวที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อบุคคล ชุมชน สังคม • สถานการณ์ที่มีคุณลักษณะของความฉุกเฉินมีผลกระทบทั้งร่างกาย และจิตใจ จำเป็นต้องมีการปฏิบัติการอย่างฉับพลันทันที

  18. ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (Public Health Emergency-PHE) เหตุการณ์ที่เป็นโรคและภัยคุกคามสุขภาพ มีเกณฑ์อย่างน้อย 2 ใน 4 ประการ  เกิดผลกระทบทางสุขภาพที่มีความรุนแรง  เป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติ หรือไม่เคยพบมาก่อน  มีโอกาสแพร่ไปสู่พื้นที่อื่น  ต้องจำกัดการเคลื่อนที่ของผู้คนหรือสินค้า

  19. ประเภทภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขประเภทภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • อาวุธทางชีวภาพ : แอนแทรกซ์ ไข้ทรพิษ • ภาวะฉุกเฉินจากสารเคมี :Chlorine sarine • ภาวะฉุกเฉินจากรังสี : ก่อการร้าย • อุบัติเหตุกลุ่มชน : ระเบิด การบาดเจ็บ • ภัยจากธรรมชาติและภาวะอากาศเลวร้าย : วาตภัย อุทกภัย ฯลฯ • การระบาดของโรคที่พบบ่อยในพื้นที่ และอุบัติการณ์ของโรคที่สำคัญ : อาหารเป็นพิษ ไข้เลือดออก เลปโตสไปโรซิส

  20. ผลกระทบของภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขผลกระทบของภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • มีการป่วย การตายเพิ่ม • ผลกระทบต่อสุขภาพจิต • ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม • การสัมผัสสารพิษ สารเคมี รังสี • การทำลายระบบบริการพื้นฐานที่สำคัญต่อชีวิต • การทำลายระบบบริการและผู้ให้บริการพื้นฐานต่างๆ • การอพยพย้ายที่อยู่ของประชากร • การล่มสลายของระบบสังคม • การสูญเสียระบบข้อมูลข่าวสาร • ผู้ให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข

  21. การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข(Public health Emergency response) • การดำเนินการต่างๆเพื่อหยุดภาวะฉุกเฉิน/สถานการณ์รุนแรงให้กลับสู่ภาวะปกติในระยะสั้นที่สุด • ด้วยมาตรการที่มีความพร้อมไว้รับมืออย่างมีประสิทธิผลสูงสุด • การป้องกัน ควบคุม ยับยั้งไม่ให้โรคและภัยสุขภาพแพร่กระจายออกไปในวงกว้าง

  22. การจัดการภาวะฉุกเฉินโดยรวมการจัดการภาวะฉุกเฉินโดยรวม การเตรียมความพร้อมที่ใช้ครอบคลุมถึงอันตรายทุกประเภท ประกอบด้วย 3 แนวคิด คือ • แนวคิดที่ 1 การครอบคลุมอันตรายทุกด้าน • แนวคิดที่ 2 ภาคีเครือข่ายในการจัดการภาวะฉุกเฉิน • แนวคิดที่ 3 วงจรการจัดการภาวะฉุกเฉิน

  23. วงจรการจัดการภาวะฉุกเฉิน มี 4 ระยะ • ระยะบรรเทาภัย (Mitigation) • ระยะเตรียมความพร้อม (Preparedness) • ระยะตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉิน (Response) • ระยะฟื้นฟูบูรณะ (Recovery)

  24. PHE. Management Cycle Impact Pre-impact Post-impact

  25. Mitigation Phase • การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อกำจัดหรือลดโอกาสการเกิด หรือลดผลกระทบของการเกิดภัยพิบัติ หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข เช่น • จัดให้มีระบบเฝ้าระวังหรือข่าวกรองที่ดี เพื่อให้สามารถเตือนภัยล่วงหน้าได้ • มีการประเมินและค้นหาความเสี่ยง/ภัยคุกคามสุขภาพต่อเนื่อง แล้วหาทางลดปัจจัยเหล่านั้นลง

  26. Preparedness Phase • เป็นระยะที่ต้องเตรียมความพร้อมทุกด้านก่อนที่จะเกิดภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข เช่น • การพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • การเตรียมแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข มีการซ้อมแผน และมีการเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ไว้ให้พร้อม เป็นต้น

  27. Response Phase เมื่อเกิดภัยพิบัติที่ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ทีมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข จะเข้าพื้นที่ประสบภัยทันที เพื่อดำเนินการทุกวิถีทางที่จะให้การช่วยเหลือและบรรเทาความเสียหายต่อสุขภาพของคนในในพื้นที่ประสบภัย รวมทั้งดำเนินการป้องกันควบคุมโรคระบาดหรือผลแทรกซ้อนอื่นที่อาจเกิดตามหลังการเกิดภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขด้วย

  28. Recovery Phase

  29. ระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินแบบบูรณาการ(An Integrated Emergency Management System,IEMS) เป็นระบบจัดการภาวะฉุกเฉินที่อาศัยหลักการจัดการภาวะฉุกเฉินโดยรวม มีเป้าหมายหลัก ดังนี้ • ให้ความสนับสนุนการดำเนินการร่วมกันอย่างใกล้ชิดในทุกระดับ • มุ่งเน้นดำเนินงานตามมาตรการที่มีประสิทธิภาพ • บูรณาการแผนการจัดการในภาวะฉุกเฉินแต่ละพื้นที่ให้เป็นไปในทางเดียวกันกับนโยบายระดับจังหวัด เขต ส่วนกลาง • นำแผน ระบบการจัดการในภาวะฉุกเฉินที่มีอยู่แล้วในพื้นที่มาขยายความครอบคลุม ประยุกต์ใช้ได้กับภาวะฉุกเฉินทุกประเภท

  30. ระบบบัญชาการเหตุฉุกเฉิน (Incident Command System-ICS) ระบบจัดการตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างเป็นระบบ ที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับขยายให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ได้ มีประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในระบบ ICS ( 4 C ) คือ • การวางระบบบัญชาการและสั่งการที่ชัดเจน(Command) • การประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ(Coordination) • การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือให้เกิดการผนึกกำลัง(Cooperation) • การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์(Communication)

  31. โครงสร้างระบบบัญชาการเหตุฉุกเฉิน (ICS) Incident Commander Command Staff Operation Logistics Planning Administration/ Finance

  32. สรุปบทเรียนการเตรียมความพร้อมและการตอบโต้เหตุฉุกเฉินสรุปบทเรียนการเตรียมความพร้อมและการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน • ทำความเข้าใจเรื่องการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข • ทำความเข้าใจว่างานในส่วนใดที่ SRRT ต้องให้ความร่วมมือหรือสนับสนุน หรือวางแผน ทั้งด้าน Mitigation, Preparedness, Response และ Recovery • สร้างภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานในทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน

  33. สวัสดีค่ะ พบกันใหม่คราวหน้า(?)

More Related