1 / 77

พระราชบัญญัติป่าไม้

พระราชบัญญัติป่าไม้. พุทธศักราช 2484. นโยบายป่าไม้แห่งชาติ. กำหนดให้มีพื้นที่ป่า 40 % ของพื้นที่ประเทศ เป็นป่าอนุรักษ์ 25 % ของพื้นที่ประเทศ เป็นป่าเศรษฐกิจ 15 % ของพื้นที่ประเทศ. ป่าเศรษฐกิจ 48 ล้านไร่. 15%. 25%. ป่าอนุรักษ์ 80 ล้านไร่.

Télécharger la présentation

พระราชบัญญัติป่าไม้

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

  2. นโยบายป่าไม้แห่งชาติ กำหนดให้มีพื้นที่ป่า 40% ของพื้นที่ประเทศ เป็นป่าอนุรักษ์ 25% ของพื้นที่ประเทศ เป็นป่าเศรษฐกิจ 15% ของพื้นที่ประเทศ ป่าเศรษฐกิจ 48 ล้านไร่ 15% 25% ป่าอนุรักษ์ 80 ล้านไร่ พื้นที่ประเทศไทย 320.7 ล้านไร่

  3. กฎหมายกับการจัดการป่าไม้กฎหมายกับการจัดการป่าไม้ การจัดการป่าไม้เพื่ออนุรักษ์ การจัดการป่าไม้เพื่อเศรษฐกิจ ทำไม้และของป่าเพื่อใช้ประโยชน์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พ.ร.บ. สวนป่า พ.ศ. 2535 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 อุทยานแห่งชาติ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504

  4. พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ไม้หวงห้าม (ม.6 , 7) การควบคุมสิ่งประดิษฐ์ (ม.53 ตรี) การควบคุมไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างฯ (ม.39 ตรี) ของป่าหวงห้าม(ม.27) การควบคุมไม้ ของป่า และพื้นที่ป่าไม้

  5. การทำไม้ (ม.11) แปรรูปไม้ ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ ตั้งโรงค้าไม้แปรรูป มีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง (ม.48) มีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง (ม.69) เก็บหาของป่า (ม.29) ค้าหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้าม (ม.29 ทวิ) นำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ (ม.38 , 39) นำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่เข้าเขตด่าน และผ่านด่านป่าไม้(ม.40 ,41) การแผ้วถางป่า (ม.54)

  6. ลักษณะของ พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 1. เป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญา 2. เป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติวิธีพิจารณาความเป็นพิเศษ แตกต่างจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ๏ยึดของกลาง (ม.64 ทวิ) ๏คืนของกลาง (ม.64 ตรี) ๏ริบของกลาง (ม.74 , 74 ทวิ) ๏เปรียบเทียบปรับ (ม. 74 ตรี)

  7. 3. เป็นกฎหมายปกครอง ให้ฝ่ายบริหารออกกฎหมายลำดับรองในบางเรื่อง ๏ พระราชกฤษฎีกา ๏ กฎกระทรวง ๏ ข้อกำหนด ๏ ประกาศกระทรวง ๏ ประกาศรัฐมนตรี ๏ ระเบียบ ให้ฝ่ายบริหารใช้ดุลยพินิจในการอนุญาตหรือ ไม่อนุญาต , สั่งพักใช้ เพิกถอนใบอนุญาต

  8. ม. 4(1)“ป่า” หมายความว่าที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มา ตามกฎหมายที่ดิน “ที่ดิน” หมายความว่า พื้นที่ดินทั่วไปและให้หมายความรวมถึง ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และ ที่ ชายทะเล ด้วย (ป.ที่ดิน) บุคคล หมายถึง บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ซึ่งเป็นบุคคล ที่เป็นเอกชนมิใช่หน่วยงานของรัฐ ถ้าเป็นหน่วยงานของรัฐก็ต้องเป็น หน่วยงานที่กระทำในฐานะเอกชน

  9. ได้มาตามกฎหมายที่ดินหมายถึง การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองตามกฎหมายที่ดิน เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมายที่ดิน (1) โฉนดที่ดิน (3) โฉนดตราจอง (2) โฉนดแผนที่ (4) ตราจองที่ตราว่า“ได้ทำประโยชน์แล้ว”

  10. เอกสารแสดงสิทธิครอบครองในที่ดินตามกฎหมายที่ดินเอกสารแสดงสิทธิครอบครองในที่ดินตามกฎหมายที่ดิน (1) หลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) (2) หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 , น.ส.3 ก) (3) ใบจอง (น.ส.2) (4) ใบไต่สวน หรือใบนำ (5) ใบเหยียบย่ำ

  11. ม. 4(2)“ไม้” ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยไว้ว่า “เหง้า”หมายถึง ต้นไม้เล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่ว่าโดยการแตกแขนงจากต้นเดิมหรืองอกจากเมล็ด เมื่อโตขึ้นก็เป็นต้นไม้นั่นเอง จึงเป็น“ไม้”ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(2) คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ให้ความเห็นตามหนังสือที่ นร 0601/167 ลว. 15 มี.ค. 38 ไว้ว่า (1) กล้าไม้สัก และเหง้าไม้สักเป็น “ไม้” ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ ม.4(2)

  12. (2) การนำเหง้าสักเคลื่อนที่ต้องมีใบเบิกทางกำกับ ตาม ม.39 (3) แม้ว่ากล้าไม้จะเป็นชนิดเดียวกับไม้หวงห้าม แต่เมื่อไม่ได้ขึ้นอยู่ในป่า กล้าไม้นั้นย่อมไม่ใช่ไม้หวงห้าม แต่เมื่อนำมาปลูกในป่า เมื่อนั้นกล้าไม้ชนิดนั้นย่อมเป็นไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ. ป่าไม้(4)การย้ายกล้าไม้หวงห้ามไปปลูกนอกเขตป่าต้องมีใบเบิกทาง และเมื่อนำกล้าไม้นั้นไปปลูกในที่ดินที่มิใช่ป่า ก็จะมิใช่ไม้หวงห้ามอีกต่อไป

  13. มาตรา 4(3) “แปรรูป” จากคำนิยามศัพท์ใน ม.4(3) สามารถสรุปได้ว่า การแปรรูปไม้ คือการกระทำแก่ไม้ ดังนี้ 1. เลื่อย ผ่า ถาก ขุด หรือกระทำด้วยประการอื่นใดแก่ไม้ให้เปลี่ยนรูปหรือขนาดไปจากเดิม (ไม่รวมถึงการลอกเปลือกหรือตกแต่งอันจำเป็นแก่การชักลาก) 2. เผา อบ บด หรือกระทำด้วยประการอื่นใดแก่ไม้ให้เปลี่ยนแปรสภาพไปจากเดิม เพื่อถือเอาวัตถุธาตุหรือผลพลอยได้จากไม้นั้น

  14. มาตรา 4(4) “ไม้แปรรูป” จากคำวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 4(4) อาจแยกลักษณะไม้แปรรูปออกได้เป็น 4 ลักษณะ คือ 1. ไม้ที่ได้แปรรูปแล้ว 2. ไม้ที่อยู่ในสภาพพราง ว่าเป็นสิ่งปลูกสร้าง หรืออยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างอันไม่ชอบด้วยลักษณะสิ่งปลูกสร้างทั่วๆ ไปหรือที่ผิดปกติวิสัย 3. ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ที่ไม่ชอบด้วยลักษณะของเครื่องใช้ที่ใช้เป็นปกติในท้องที่นั้นหรือที่ผิดปกติวิสัย

  15. 4. ไม้ที่เคยเป็นสิ่งปลูกสร้าง หรือเครื่องใช้มาแล้วแต่ยังไม่ครบ 2 ปี สำหรับไม้อื่น และยังไม่ครบ 5 ปี สำหรับไม้สัก ฎ.1058/2522ไม้เคี่ยมสับเป็นชิ้นเล็กๆเกิดจากการแปรรูปไม้ แม้จะเป็นเพียงเศษไม้ชิ้นเล็กๆ ใช้ใส่ในน้ำตาลกันบูดก็ยังมีสภาพเป็นไม้ ถือว่าเป็นไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.4(4) ฎ.531/2507 โครงเรือนที่ทำไว้ชั่วคราวโดยมิได้มีเจตนาทำไว้เพื่ออยู่อาศัย หากแต่ทำพรางไว้เพื่อหลีกเลี่ยง กฎหมาย จึงไม่ถือว่าไม้โครงเรือนนั้นอยู่ในสภาพสิ่งปลูกสร้างแต่ถือว่าเป็นไม้แปรรูป

  16. ฎ.361/2508 ไม้ของกลางเป็นไม้สด ไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรัฐบาลขาย และไม่ปรากฎว่าจำเลยซื้อมาจากที่ไหน จำเลยได้เอาไม้ของกลางนี้มาฝังดินทำเป็นเสาเรือน โดยไม่ได้บากให้เป็นช่องรับไม้รอดที่ตียึดเสากลับตีพุกประกับช่วยเป็นการแสดงเจตนาให้เห็นว่าจำเลยเอามาทำเสาเรือนเพื่อพราง มิใช่เพื่อให้เป็นเสาเรือนอย่างถาวร ไม้ของกลางจึงเป็นไม้ แปรรูป

  17. ฎ.1276/2520ไม้สักแผ่นเล็ก ๆ รวม 15 ชิ้น ตัดเป็นรูปคล้ายค้างคาวและปลา ตรงกลางขุดเซาะเป็นแอ่ง ตัดและขุดเป็นรูปหยาบๆ ยังไม่เป็นรูปสัตว์ และดูไม่ออกว่าเป็นภาชนะใส่อะไร ไม่ได้ตกแต่งตามรอยตัด ไม่ลบเหลี่ยม มีเสี้ยนและรอยสิ่วรอยมีดไม่ขัดทาน้ำมันลักษณะดังนี้ถือได้ว่ายังเป็นไม้แปรรูปอยู่ ยังไม่เป็นภาชนะใส่อาหาร ตั้งบนโตกอันจะเป็นเครื่องใช้

  18. ฎ.257/2506 ไม้ที่ต่อเป็นรูปเรือที่ยังไม่เสร็จเรียบร้อย โดยส่วนบนลำเรือยังไม่ได้ปูกระดานและยังไม่ได้ยาชันตามแนวประสานยังไม่สามารถลงน้ำเพื่อใช้สอยได้ถือว่าไม่อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้แต่เป็นไม้แปรรูป ฎ.437/2511 วินิจฉัยว่า เรือไม้แม้ไม่เสร็จเรียบร้อยทั้งหมด แต่อยู่ในสภาพลงน้ำใช้การได้แล้ว ถือว่าเป็นเครื่องใช้

  19. จากบทบัญญัติ คำจำกัดความ “ไม้แปรรูป” ตาม ม.4 (4) สามารถสรุปลักษณะหรือสภาพของไม้แปรรูปได้ ดังนี้ 1. ไม้ที่ได้แปรรูปแล้ว ซึ่งได้แก่ ไม้ที่ได้จากการแปรรูปไม้ทั่วๆไป เช่น ไม้เสา ไม้พื้น ไม้ฝา ฯลฯ 2. ไม้ที่อยู่ในสภาพพรางว่าเป็นสิ่งปลูกสร้าง 3. ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างอันไม่ชอบด้วยลักษณะสิ่งปลูกสร้างทั่วๆไป

  20. 4. ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ผิดปกติวิสัย 5. ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ที่ไม่ชอบด้วยลักษณะของเครื่องใช้ที่ใช้เป็นปกติในท้องที่นั้น 6. ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ที่ผิดปกติวิสัย 7. ไม้ที่เคยอยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยอยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้มาแล้ว น้อยกว่าสองปีสำหรับไม้อื่นที่มิใช่ไม้สักและน้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้สัก

  21. หากตรวจสอบพิจารณาแล้ว ปรากฏว่าอยู่ในลักษณะหรือสภาพข้อหนึ่งข้อใดใน 7 ข้อดังกล่าว ก็เป็นไม้แปรรูป ตาม ม.4(4) แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 แต่หากตรวจสอบพิจารณาแล้วปรากฎว่าไม่อยู่ในลักษณะหรือสภาพทั้ง 7 ข้อดังกล่าวข้างต้น มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูป กรณี “เป็นสิ่งประดิษฐ์หรือเครื่องใช้หรือไม่”นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องพิจารณาตามลักษณะและสภาพของไม้ นั้นๆ มิใช่พิจารณาตามขนาดความกว้าง หนา หรือยาว ของไม้ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะหรือสภาพของสิ่งประดิษฐ์หรือเครื่องใช้ได้ ดังนี้

  22. 1. ไม่อยู่ในสภาพพรางว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือเครื่องใช้ 2. ไม่อยู่ในลักษณะหรือสภาพเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือเครื่องใช้ที่ผิดปกติวิสัย และ 3. ไม่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือเครื่องใช้ที่ไม่ชอบด้วยลักษณะสิ่งประดิษฐ์หรือเครื่องใช้ที่ใช้เป็นปกติในท้องที่นั้น

  23. หากตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่าไม่อยู่ในลักษณะหรือสภาพทั้ง 3 ข้อดังกล่าว ก็เป็นสิ่งประดิษฐ์หรือเครื่องใช้ แต่หากตรวจสอบพิจารณาแล้วปรากฏว่าอยู่ในลักษณะหรือสภาพข้อหนึ่งข้อใดใน 3 ข้อดังกล่าวข้างต้น ก็มิใช่สิ่งประดิษฐ์ หรือเครื่องใช้ แต่เป็นไม้ แปรรูป ตาม ม.4(4)

  24. มาตรา 4(5) “ทำไม้” ฎ.115/2537 ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ต้นยางที่จำเลยตัดมีขนาดเส้นรอบ วง 1.80 ม. และสูง 16 ม. มีร่องรอยการตัดด้วยเลื่อยเพียง 2 รอย ลึกเพียง 1 นิ้ว และยาว 5 นิ้วเท่านั้น และต้นยางมิได้โค่นล้มการกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นเพียงการลงมือกระทำความผิดฐานทำไม้ แต่กระทำไปไม่ตลอด เป็นความผิดฐานพยายามทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ มาตรา 11 ป.อาญา มาตรา 80

  25. มาตรา 4(7) “ของป่า” จากคำนิยามศัพท์ใน ม.4(7) มีข้อสังเกต ดังนี้ 1. ลักษณะสำคัญของ “ของป่า” จะต้องเป็นบรรดาของที่เกิดหรือมีขึ้นในป่าตามธรรมชาติ (แต่ถ้าเกิดหรือมีขึ้นในที่ดินที่บุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดินแล้วของนั้นไม่ใช่ของป่า” เช่น รังนกนางแอ่น รังผึ้งในที่ดินที่มีกรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครองตามกฎหมายที่ดิน) 2. ถ่านไม้ที่บุคคลทำขึ้นเป็น “ของป่า” 3. แร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ไม่ใช่ “ของป่า”

  26. มาตรา 4(8) “ไม้ฟืน” ฎ.1752/2532 ไม้ท่อนที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นไม้พื้นปาเก้ ลูกกรงหรือซี่ลูกกรงได้ไม่มีลักษณะที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงยิ่งกว่าจะใช้ประโยชน์อย่างอื่น จึงไม่เป็นไม้ฟืนตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 4(8)

  27. มาตรา 4(13)“โรงงานแปรรูปไม้” ฎ.1572/2505 เมื่อได้ตั้งโรงงานขึ้นไว้เป็นที่ทำการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะอยู่ในระหว่างลองเครื่องและตั้งใจว่าเมื่อลองเครื่องเรียบร้อยแล้วจะไปขออนุญาตก็ตาม ย่อมมีความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้ ฯ ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 48

  28. ฎ.1221/2523 จำเลยตั้งโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา ซึ่งมิใช่ไม้หวงห้ามด้วยเครื่องจักรเพื่ออุตสาหกรรมทำลังไม้โดยได้รับใบอนุญาตจากกระทรวง อุตสาหกรรมแล้ว แต่มิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ แม้ไม้ที่นำมาแปรรูปมิใช่ไม้หวงห้ามก็ตาม จำเลยก็ต้องมีความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้ฯตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มาตรา 48

  29. มาตรา 5 1. สิ่งที่ต้องคัดสำเนาประกาศตาม ม.5 มี 2 ประเภท คือ พระราชกฤษฎีกา และประกาศรัฐมนตรี 2. ถ้ายังไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรานี้ พระราชกฤษฎีกาหรือประกาศรัฐมนตรี ไม่มีผลบังคับสำหรับท้องที่นั้น ๆ (ฎ.1521-1522/2495) 3. สถานที่ประกาศ คือ ที่ว่าการอำเภอในท้องที่ซึ่งเกี่ยวข้อง (รวมทั้งกิ่งอำเภอด้วย) และที่ทำการกำนันในท้องที่ซึ่งเกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเทศบาล (ต้องติดประกาศทั้ง 2 แห่ง ถ้าติดประกาศแห่งเดียวไม่มีผลบังคับ)

  30. มาตรา 6 ไม้หวงห้ามมีสองประเภท คือ ประเภท ก. ไม้หวงห้ามธรรมดา ประเภท ข. ไม้หวงห้ามพิเศษ - ไม้หวงห้ามกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา (มาตรา 7) - ตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 ได้กำหนดชนิดไม้ในป่าเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. จำนวน 158 ชนิด และไม้หวงห้ามประเภท ข. จำนวน 13 ชนิด

  31. มาตรา 7“ไม้หวงห้าม” 1. กรณีไม้สัก ไม้ยาง พนักงานเจ้าหน้าที่,พนักงานสอบสวน , พนักงานอัยการ ไม่ต้องพิสูจน์ว่าเป็นไม้ที่ขึ้นในป่า เพียงพิสูจน์ว่าเป็นไม้สัก-ยาง 2. กรณีไม้กระยาเลย (นอกจากไม้สัก ไม้ยาง) พนักงานเจ้าหน้าที่ , พนักงานสอบสวน, พนักงานอัยการ ต้องพิสูจน์ว่าเป็นไม้ที่ขึ้นในป่าและหน้าที่พิสูจน์ข้อนี้ตกอยู่กับฝ่ายผู้กล่าวหาคือ รัฐ(ยกเว้น มาตรา 69)

  32. ฎ.193/2490 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตัดไม้หวงห้าม (ไม้กระยาเลย) ในป่าโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่(ม.11) โจทก์จะต้องพิสูจน์ว่าที่ที่จำเลยตัดไม้นั้นเป็นป่าเมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าที่ที่จำเลยตัดไม้เป็นป่าแล้วศาลก็ย่อมลงโทษจำเลยไม่ได้ (*คำพิพากษาฎีกานี้ ฟ้องความผิดฐานทำไม้ (ม.11) แต่ถ้าฟ้องฐานมีไม้หวงห้ามที่ยังมิได้แปรรูปฯ ไว้ในครอบครอง (ม.69) ไม่ต้องพิสูจน์ว่าเป็นไม้ในป่า

  33. หลักในเรื่องหน้าที่นำสืบในคดีมีไม้หวงห้าม (ไม้ท่อน) ไว้ในครอบครอง ถ้าจำเลยต่อสู้ว่าไม้ของกลาง มิใช่ไม้หวงห้าม แต่เป็นไม้ที่ขึ้นในที่ดินเอกชนเช่นนี้ โจทก์หน้าที่นำสืบในชั้นต้นมีเพียงว่าไม้ดังกล่าวเป็นไม้ชนิดหวงห้าม ซึ่งจำเลยมีไว้ในครอบครอง หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องพิสูจน์ว่าไม้ดังกล่าวไม่เป็นไม้หวงห้ามเพราะเหตุใด ถ้าจำเลยพิสูจน์ไม่ได้จำเลยก็ต้องมีความผิด (ฎ.1569/2498)

  34. มาตรา 11“ความผิดฐานทำไม้” มาตรา 11 ควบคุมการทำไม้เฉพาะไม้หวงห้าม ฎ.20/2524 ข้อเท็จจริงที่ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ที่ทำจากป่าหรือไม่ เป็นข้อสำคัญแห่งคดีที่จะวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ เมื่อปรากฎในทางพิจารณาตามคำแถลงของโจทก์ว่า โจทก์ไม่ทราบว่าไม้ของกลางเป็นไม้ที่ได้มาจากป่าหรือไม่ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพคดีก็ลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้ (คดีนี้ฟ้องข้อหาทำไม้ ตาม ม.11)

  35. มาตรา 11 “ความผิดฐานทำไม้ฯ” ฎ.282/2507 การตัดฟันและการมีไม้ที่ตนตัดฟันไว้ในครอบครองเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน แม้ผู้นั้นจะกระทำการต่อเนื่องกัน ฎ.588/2507 จำเลยกระทำผิดฐานแผ้วถางป่าและตัดฟันไม้หวงห้ามโดยมิได้รับอนุญาตในระหว่างวันเวลาเดียวกัน เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกันแต่ผิดกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษบทหนักสุดตาม ป.อาญา มาตรา 90

  36. ฎ.219/2532 ความผิดฐานทำไม้ , แปรรูปไม้และมี ไม้แปรรูปไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11 , 48 , 73 แม้จำเลยจะกระทำต่อไม้จำนวนเดียวกัน การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

  37. มาตรา 25 (นำไม้ที่มิใช่ไม้หวงห้ามเข้าเขตด่านป่าไม้ฯ) คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีความเห็นตามหนังสือด่วนมาก ที่ สร 0601/1155 ลว. 2 เม.ย. 25 ว่าไม้ชนิดอื่น (นอกจากไม้สักไม้ยาง) ที่มิได้ขึ้นอยู่ในป่าไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 25 เพราะว่า พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มิได้ควบคุมไปถึงไม้ในที่ดินเอกชน (ยกเว้นไม้สักไม้ยาง) แม้เจ้าของไม้จะขอเสียค่าภาคหลวงเช่นเดียวกับไม้หวงห้ามหรือจะขอเสียค่าธรรมเนียมผ่านด่านป่าไม้ตามมาตรา 25 ก็ไม่อาจทำได้เพราะกฎหมายมิได้กำหนดให้กระทำได้เช่นนั้น

  38. มาตรา 27 (ของป่าหวงห้าม) ลักษณะสำคัญของ “ของป่า” จะต้องเป็นบรรดาของที่เกิดหรือมีขึ้นในป่าตามธรรมชาติ แต่ถ้าเกิดหรือมีขึ้นบนที่ดินที่บุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดินแล้ว ของนั้นไม่ใช่ของป่า เช่น รังนกนางแอ่นที่นกนางแอ่นเข้าไปทำรังในบ้านเอกชน - ของป่าหวงห้ามกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา - ตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ. 2530 ได้กำหนดของป่าเป็นของป่าหวงห้าม จำนวน 18 ชนิด

  39. มาตรา 29 (เก็บหาของป่าหวงห้าม) - เก็บหาของป่าหวงห้าม หรือทำอันตรายด้วยประการใดแก่ของป่าหวงห้ามในป่า มาตรา 29 ทวิ (ค้าหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้าม) คำว่า “ค้า” มีความหมายกว้างกว่าคำว่าขาย หรือจำหน่ายค้าหมายถึง การกระทำเพื่อแสวงหากำไร “มีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้าม” หมายถึง การยึดถือของป่าหวงห้ามไว้โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน , ไม่จำต้องยึดถือไว้ด้วยตนเอง เช่น ลูกจ้างยึดถือไว้ให้ก็ถือว่านายจ้างมีของป่าหวงห้ามไว้ในครอบครอง (ฎ.3345/2535 , ฎ.701/2502) สำหรับลูกจ้างมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน ตามป.อาญา มาตรา 86

  40. “การมีไว้ในครอบครองไม่จำต้องมีไว้เพื่อการค้าแม้มีไว้เพื่อใช้สอยส่วนตัว ก็อยู่ในความควบคุมของ มาตรา 29 ทวิ” - การมีไว้ในครอบครอง ซึ่งของป่าหวงห้าม ที่จะมีความผิดตาม มาตรา 29 ทวิ จะต้องเป็นการครอบครองของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ - รัฐมนตรีฯ ได้มีประกาศกระทรวงฯ ลงวันที่ 22 มกราคม 2531 ออกประกาศไว้ดังนี้

  41. 1. ผู้ใดค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งของป่าหวงห้าม ทุกจำนวนต้องรับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ 2. ให้มีของป่าหวงห้ามไว้ในครอบครองเพื่อใช้สอยในครัวเรือนแห่งตนไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายประกาศนี้ได้โดยไม่ต้องขอรับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น - กล้วยไม้ป่าทุกชนิด 20 ต้น - ถ่านไม้ทุกชนิด 130 กิโลกรัม - น้ำมันยาง 20 ลิตร - เฟิร์นกระเช้าสีดา 10 ต้น - หวายทุกชนิด 10 กิโลกรัม

  42. มาตรา 34(ตราประทับไม้ของรัฐบาล - ตราประทับไม้ของรัฐบาลใช้ประทับเพื่อความหมายใด จะให้มีลักษณะอย่างใด ให้รัฐมนตรีประกาศกำหนดฯ - ประกาศกระทรวงฯ เรื่อง กำหนดลักษณะและความหมายการใช้ตราประทับไม้ของรัฐบาลตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2523

  43. มาตรา 39 (นำเคลื่อนที่) 1. ไม้หรือของป่าที่จะต้องมีใบเบิกทางกำกับตาม มาตรา 39 คือไม้หรือของป่าตามที่ระบุไว้ในมาตรา 38 (1) ถึง(4) เท่านั้น ๏ ไม้หรือของป่าที่ทำออกหรือเก็บหาโดยมิชอบ หรือมีไว้ครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ถ้านำเคลื่อนที่ไปโดยไม่มีใบเบิกทางกำกับก็ไม่ผิดมาตรา 39 (ฎ.1018/2496 144/2498 , 1500/2507 , 790/2519)

  44. สำนักงานอัยการสูงสุด ได้มีความเห็นตามหนังสือด่วนมาก ที่ อส 0017/4216 ลว. 31 มี.ค.38 ว่า การนำไม้ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตเคลื่อนที่โดยไม่มีใบเบิกทางกำกับไม่มีความผิดตาม ม.39 2. ระยะทางสั้นหรือยาวแค่ไหน นำเคลื่อนที่เป็นครั้งที่เท่าใด จำนวนเท่าใด ก็อยู่ในบังคับมาตรา 39

  45. 3. ผู้ที่ต้องปฏิบัติตามมาตรานี้ ไม่จำกัดว่าต้องเป็นเจ้าของ หรือผู้ครอบครอง ผู้ช่วยเหลือรับฝากหรือผู้รับจ้าง เช่น คนขับรถประจำทางก็ต้องอยู่ในบังคับมาตรา 39 ทั้งสิ้น (ฎ. 424/2507) เว้นแต่ว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองจะโดยสารรถไปด้วย 4. ไม้หรือของป่าที่นำเคลื่อนที่ฝ่าฝืนมาตรา 39 ไม่ถือว่าเป็นไม้หรือของป่าที่ได้มา หรือมีไว้เนื่องจากการกระทำผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์จะต้องริบตาม มาตรา 74 (ฎ. 846/2491) ยานพาหนะ สัตว์-พาหนะ หรือ อุปกรณ์ อื่น ๆ ที่ใช้ในการนำเคลื่อนที่ก็ไม่ริบเช่นกัน

  46. มาตรา 39 ตรี(ไม้สักเรือนเก่า กว่า 5 ปี) - นำไม้สักที่เคยอยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยอยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้มาแล้วกว่า 5 ปี เคลื่อนย้ายออกนอกเขตจังหวัด ซึ่งเป็นที่ตั้งสิ่งปลูกสร้างหรือเป็นที่ประกอบเครื่องใช้นั้น ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

  47. มาตรา 40(แจ้งเข้าเขตด่านป่าไม้) - นำไม้หรือของป่าเข้าเขตด่านป่าไม้ ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ ภายในกำหนด 5 วันนับแต่วันที่เข้าเขตด่าน มาตรา 41(ผ่านด่านป่าไม้) - นำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ผ่านด่านป่าไม้ในระหว่างเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นหนังสือ (มาตรา 40 และ 41 มีข้อยกเว้นตามมาตรา 42)

  48. มาตรา 47(เขตควบคุมการแปรรูปไม้) - รัฐมนตรีฯ ได้ออกประกาศกระทรวงฯ เรื่อง กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2499 กำหนดให้ทุกจังหวัดเป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้

  49. มาตรา 48ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ รัฐมนตรีฯ ประกาศให้เป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้ ตามมาตรา 47 การบรรยายฟ้องผู้กระทำผิดมาตรา 48 พนักงานอัยการจะต้องบรรยายความข้อนี้ด้วย เพราะถือว่าเป็นองค์ประกอบความผิดอย่างหนึ่ง แม้ว่าปัจจุบันจะได้กำหนดให้ทุกท้องที่ทุกจังหวัดเป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้ก็ตาม และถ้าจำเลยต่อสู้ว่า ท้องที่ที่จำเลยทำการแปรรูปไม้ฯ นั้น มิใช่เขตควบคุมการแปรรูปไม้แล้ว พนักงานอัยการก็ต้องนำสืบความข้อนี้ด้วย ถ้าไม่นำสืบก็ต้องถูกยกฟ้อง (ฎ.444/2510 1834/2525)

  50. ความผิดตามมาตรา 48 1. ฐานแปรรูปไม้ โดยไม่ได้รับอนุญาตฯ 2. ฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้ โดยไม่ได้รับอนุญาตฯ 3. ฐานตั้งโรงค้าไม้แปรรูป โดยไม่ได้รับอนุญาตฯ 4. ฐานมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตฯ 5. ฐานมีไม้หวงห้ามแปรรูปเกิน 0.20 ม.ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตฯ

More Related