770 likes | 896 Vues
Chapter 04. Networking:Computing, Collaboration. Learning Objectives. ทำความเข้าใจแนวความคิดของ Internet และ Web ความสำคัญและศักยภาพมัน ทำความเข้าใจถึงบทบาทของ intranets extranets และ corporate portal ขององค์กร ต่างๆ บ่งชี้แนวทางต่างๆ ที่มีการสื่อสารบน Internet
E N D
Chapter 04 Networking:Computing, Collaboration
Learning Objectives • ทำความเข้าใจแนวความคิดของ Internet และ Web ความสำคัญและศักยภาพมัน • ทำความเข้าใจถึงบทบาทของ intranets extranets และ corporate portal ขององค์กร ต่างๆ • บ่งชี้แนวทางต่างๆ ที่มีการสื่อสารบน Internet • อธิบาถึงแนวทางที่ผู้คนร่วมมือกันโดยใช้ Internet intranets และ extranets ผ่านทาง เครื่องมือสนับสนุนที่หลากหลาย • อธิบายถึงความสามารถของ groupware • อธิบายและวิเคราะห์แนวทางของ e-learning และ distance learning . • ทำความเข้าใจกับข้อได้เปรียบและข้อด้อยของ telecommuting ทั้งในแง่ของผู้ว่าจ้าง และลูกจ้าง
Super Bowl XXXIX Collaboration Portal • The business problem: • Jacksonville ถูกกำหนดเป็นเจ้าภาพ Super Bowl ครั้งที่ 39 ในปี 2005 ซึ่งในอดีตนั้น ได้เคยเป็นเจ้าภาพมาแล้วครั้งหนึ่งคือครั้งที่ 34 ในปี 2000 และพบว่า ปัญหาหลัก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย คือ การจราจร และ ฝูงชน โดยผลของเหตุการณ์การก่อการร้าย Sep 11 ที่ผ่านมา ทำให้รัฐบาลกลางบังคับใช้กระบวนการและแนวทางปฏิบัติใหม่ ๆ อันต้องทำงานร่วมกับ federal และ national security agency ต่าง ๆ • การสนับสนุนเกี่ยวกับความปลอดภัยและ logistic ในซูเปอร์โบล์วครั้งที่ 39 นั้น Jacksonville Sheriff’s office (JSO) ต้องเกี่ยวข้อกับ inspector 150,000 คน เพื่อดูแลความปลอดภัยประมาณ 6,000 สถานการณ์ และต้องประสานงานกับตัวแทนต่าง ๆ จาก53 ภาคส่วน
IT Solution: • John Rutherford ได้ใช้ real-time Web-based communication ชื่อ E-Sponder มาใช้ร่วมกับ IE6 browser (ลองโหลดวิดีโอจาก e-sponder.com/dowloads/Superbowl-large.wmv มาชม) และ collaborate portal (convergencecom.com) มาใช้งาน • นักศึกษาควรเข้าไปโหลดแล้วมาอ่านดู จะได้เข้าใจถึงแนวทางประยุกต์ใช้ที่ประสบผลสำเร็จ • http://www.e-sponder.com/ • http://www.convergencecom.com/
The Results: • ประโยชน์หลัก ๆ ของ collaborate tool คือ • ฟังก์ชันการควบคุมดำเนินการได้จากส่วนกลาง • การสื่อสารและการร่วมมือกัน (collaboration) เป็นแบบ real-time • Optimized situational awareness • การนำมาใช้งานใช้เวลาฝึกอบรมน้อย จึงเหมาะสมกับกรอบเวลาที่มีจำกัด • เมื่อใช้เครื่องมือข้างต้นทำให้ JSO ป้องกันเหตุร้ายได้ตามที่วางกรอบไว้
4.1 Network Computing- Overview and Driver • การให้บริการสารสนเทศที่หลากหลายอันได้แก่ ข้อมูล (data)และ เอกสาร (document), เสียง(voice) ภาพ (video) สิ่งเหล่านี้จะมีฟังก์ชันอิสระจากกัน และมักจะส่งออกไปโดยอาศัยโปรโตคอล (Protocol) และโครงข่าย (Network) ที่ต่างกัน ดังตารางที่ 4.1 • การจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารเพื่อส่งออกไป จะต้องเปลี่ยนข้อมูลและเอกสารข้างต้นให้เป็น ดิจิตอล แพคเก็ต (digital packet)ซึ่งอยู่ในรูปแบบ(format)ของ Internet Protocol (IP) แล้วจัดส่งโดยอาศัยโครงข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) หรือ LAN แพคเก็ต จะถูกส่งออกไปโดยใช้โปรโตคอล Transmission Control Protocol (TCP) เมื่อรวมทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน (format กับ protocol) จะเรียกว่า TCP/IP model ซึ่งใช้ในอินเตอร์เน็ตปัจจุบันนี้ • กรณีเสียงและภาพให้อ่านจากตารางที่ 4.1 เพิ่มเติม
Network, Protocols and Transfer Methods of Information Services
Packet Technologies: An Enabler • Packet Technologiesเป็นการเปลี่ยน เสียง วิดีโอ และ ข้อมูลให้อยู่ในรูปของแพกเก็ต (packet) ที่สามารถส่งออกไปโดยใช้ single, high speed network • Converged Networks: A powerful architecture • หมายถึงสถาปัตยกรรมใหม่ที่มีพลัง มันก่อให้เกิดการบรรจบกัน (convergence) ทั่วทั้งองค์กร และเกิดการรวมสียง ข้อมูล วิดีโอ และการประยุกต์ใช้การสื่อสารอื่น ๆ เข้าด้วยกัน ถือเป็นการปรับปรุงการร่วมมือกัน (collaboration) ตลอดทั่วทั้งสายโซ่อุปทาน (Supply chain) พันธมิตร ซัพพลายเออร์ (supply) ลูกค้า อ่านเพิ่มเติมใน IT at Work 4.1 “The Future and Force of Convergent Solution” page 122
SIP (Session initiation Protocol) • เป็นมาตรฐานในการกำหนดสัญญาณของการเรียขานหรือ การสื่อสาร (signaling of call or communication) ระหว่างอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน จากผู้ขายที่แตกต่างกัน เช่น IP Phone, Instant Message (IM) clients, soft phone, smart phone เป็นต้น • เมื่อใช้ร่วมกันได้ ก้เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านต้นทุนของโครงข่าย • อ่านเพิ่มเติมใน A Closer Look 4.1 “ Tech-Fueled Productivity Gains” page 123
The internet and WWW • วิถีทางการดำเนินชีวิตหรือการทำงานในศตวรรตที่ 21 จะเกี่ยวข้องกับเวป(Web)ของโครงข่ายที่มีอยู่มากมาย หรือ บางทีเรียกว่า ทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway) ซึ่งมักจะรู้จักกันในนาม “อินเตอร์เน็ต (Internet)” (ซึ่งถือว่าเป็น a global network of computer networks) • การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ตในเชิงการค้าจะทำในสี่ส่วนหลัก ๆ คือ • 1) การแนะนำสินค้า (presence) • 2) การค้าขายเชิงอิเลคทรอนิคส์(e-commerce) • 3) การร่วมมือกัน (collaboration) • 4) การรวมตัวกัน (integration)
Internet Application Categories • แต่ถ้าเรามองในเชิงนำเอาอินเตอร์เน็ตไปสนับสนุนงานแล้ว จะแยกได้เป็น • การค้นพบ (Discovery)อันประกอบด้วย การเรียกดูและการเรียกใช้สารสนเทศ และทำให้ลูกค้าสามารถดูสารสนเทศในฐานข้อมูล ดาวน์โหลด และ/หรือประมวลสาร สนเทศข้างต้น การกระทำข้างต้นมักกระทำผ่านทาง Software agents • การสื่อสาร (Communication)อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดช่องทางในการสื่อสารต่างๆ ที่เร็ว และไม่แพง ตั้งแต่การส่งข้อความไปยัง online bulletin boards จนกระทั่งถึงการแลก เปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างองค์กรทั้งหลาย • การประสานงาน (Collaboration)ผลจากการปรับปรุงการสื่อสาร ทำให้การประสาน งานกันทางด้านอิเล็กทรอนิคส์ ระหว่างบุคคล และ/หรือกลุ่ม และระหว่างองค์กรกับ องค์กรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
The Network Computing Infrastructure: • สิ่งที่เพิ่มเติมจาก internet และ Web ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลัก ๆ ของ Network Computing คือ • The Intranet: คือเน็ตเวิร์กที่ถูกออกแบบให้รองรับรองรับความต้องการใช้งานสาร สนเทศภายในองค์กรหนึ่ง ๆ โดยการใช้แนวความคิดและเครื่องมือต่างๆ ของอิน เตอร์เน็ต ทำให้มันมีความสามารถในการตรวจดูและค้นหาสารสนเทศได้ง่าย และ มีราคาถูก • Extranet: เป็นการเชื่อมต่ออินทราเน็ตหลายๆวงจากหลาย ๆ องค์กรเข้าด้วยกันโดยผ่านทางอินเตอร์เน็ตที่มีระบบการสื่อสารที่ปลอดภัย เพื่อใช้เป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจ
Information Portals • การใช้งานของ intranet และ internet เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ดังนั้นหลาย ๆ องค์กร กำลังเผชิญกับปัญหา information overload สารสนเทศมหาสารเหล่านี้ จะกระจาย อยู่ในรูปของ เอกสาร e-mail database ในสถานที่แตกต่างกันและระบบที่แตกต่างกัน การค้นหาสารสนเทศที่ต้องการอาจใช้เวลานานและต้องเข้าสู่ระบบที่แตกต่างกัน หลายระบบ เพื่อแก้ปัญหานี้จึงนำพอร์ตตอล(Portal)มาใช้ มาดูกันว่า Portal มีกี่ประเภท ก่อนอื่นมานิยามพอร์ตตอลกว้าง ๆ กันก่อน • Portal:เป็น Web-based ส่วนบุคคลใช้เป็นช่องทางผ่านเข้าออก (gateway)ของสารสนเทศและองค์ความรู้ซึ่งเป็นสารสนเทศจากระบบ IT หลากหลายระบบและอินเตอร์เน็ต โดยการใช้เทคนิคของการค้นหาขั้นสูง (advanced search) และเทคนิคของการอินเด็กซ์ (indexing technique) ต่าง ๆ Portal แบ่งออกได้หลายชนิด
Portal มี 7 แบบ ได้แก่ • 1) Commercial (Public) Portal:เวปไซต์ (Web site)ที่ให้รายละเอียดในการสื่อสารแบบทั่วๆไป เป็นพอร์ตตอลที่นิยมมากที่สุดในอินเตอร์เน็ต โดยให้ผู้ใช้เป็นเพียงทำการเชื่อมต่อ(interface)ตามรูปแบบที่กำหนดให้เท่านั้น ตัวอย่างเช่น yahoo.com, lycos.com and msn.com • 2) Publishing Portal:เวปไซต์ที่มีจุดมุ่งหมายสำหรับกลุ่มชนที่มีความสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเจาะจง โดยยอมให้ปรับแต่งเนื้อหาเพียงเล็กน้อย แต่ขยายการใช้การค้นหาแบบonline และบางแห่งมีความสามารถในการตอบโต้ ตัวอย่างเช่น techweb.com, zdnet.com • 3) Personal Portal:เวปไซต์ที่มีเป้าหมายจำเพาะในการกรองสารสนเทศเอาเฉพาะเป็นเรื่องๆไป โดยให้ narrow content ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ใช้แต่ละราย • 4) Affinity Portal:เวปไซต์ที่ให้ a single point of entry เพื่อเข้าสู่การสื่อสารทั้งหมด ที่เกี่ยวพันกับสิ่งที่เราสนใจ
Portals cont. • 5) Mobile Portal:เวปไซต์ที่เข้าถึงได้โดยใช้ mobile device ต่างๆ • 6) Voice Portal:เวปไซต์ที่มี audio interface ยอมให้มีการเข้าถึงโดยใช้รูปแบบมาตรฐาน หรือ cell phone ใช้ทั้ง speech recognition และ text- to speech technologies ตัวอย่าง เช่น AOLbyPhone, tellme.com, i3mobile.com • 7) Corporate Portal:เวปไซต์ที่มี single point of access ไปยัง critical business information ที่วางอยู่ภายใน หรือ ภายนอกองค์กร • อ่านเพิ่มใน “Kaiser Performanente Uses Google to Build a Portal”, page 127 • ที่ผ่านมาเป็น Portal แบบที่ของบริษัทเดียว Industrywide Communication Networks (Portals) เป็น Portal ที่ใช้ทั่วทั้งอุตสาหกรรมต่างๆ (รวมกันหลายบริษัทในกลุ่มอุตสาห กรรมเดียวกัน) เช่น chaindrugstore.net ซึ่งเชื่อมต่อผู้ขายต่างๆและโรงงานผู้ผลิตต่างๆ นอกจาก นั้นยังมีการรายละเอียดของสินค้า ข่าวสารต่างๆ การเรียกสินค้ากลับ และราย ละเอียด ของรายการส่งเสริมการขายต่าง ๆ
Factors determining the uses of information technologies for communicationการสื่อสาร (Communication) • สถานที่และเวลาสามารถนำมากำหนดกรอบการทำงาน(framework)ในการแบ่งชั้นของ IT communication และเทคโนโลยีต่างในการสนับสนุนความร่วมมือกัน เมื่อมองในเชิง ของเวลาแล้ว จะสามารถแบ่งการสื่อสารได้เป็นสองแบบคือ • Asynchronous Communicationการสื่อสารที่ข้อความถูกส่งออกที่เวลาหนึ่ง แล้วถูก รับในเวลาหลังจากนั้น เช่น การใช้ e-mail • Synchronous (real- time) Communicationการสื่อสารที่ข้อความถูกส่งออกไป แล้วถูก รับภายในเวลาที่ใกล้เคียงกัน เช่น การใช้โทรศัพท์คุยกัน
ในแง่ของ Web แล้ว เราแยกการสื่อสารออกเป็น 3 โหมด คือ • 1) People-to-people เช่น คนใช้ e-mail คุยกัน • 2) People-to-machine เช่น คนใช้ Web ค้นหาสารสนเทศต่าง ๆ เช่น Google search • 3) People and machine-to-machine เช่น โปรแกรมประยุกต์หนึ่งคุยกับอีกโปรแกรมหนึ่ง จะเป็นระบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติก็ตาม และจะต้องมีคนเข้าไปมีส่วนร่วม
แฟกเตอร์หลัก ๆ ที่ถูกนำมาพิจารณาในการจัดหาเรื่องการสื่อสาร คือ • 1) Participant จำนวนคนที่รับส่งข้อมูล • 2) Nature of sources and destinations หมายถึงต้นทางและปลายทางของข้อมูล วึ่งอาจเป็นคน ฐานข้อมูล ตัวตรวจจับ (sensor) และ อื่น ๆ • 3) Media การสื่อสารอาจมีหลายสื่อ เช่น ข้อความ เสียง ภาพ สื่อที่ต่างกันอาจให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่แตกต่างกัน (ในแง่ ความเร็ว ความจุ คุณภาพ) • 4) Place (Location) ผู้ส่งและผู้รับอยู่ในห้องเดียวกัน (face-to-face) หรือต่างสถานที่กัน • 5) Time แบ่งเป็น Synchronous และ Asynchronous ดังได้กล่าวผ่านมาแล้ว
แต่เมื่อมองทั้งทางด้านสถานที่และเวลา จะสามารถแบ่ง ได้ 4 แบบคือ • 1) same time/same place ผู้มีส่วนร่วมสื่อสารกันซึ่งหน้า ที่ที่ใดที่หนึ่งในเวลาเดียวกัน เช่น คุยกันในห้องประชุมห้องเดียวกัน • 2) same time/different place ผู้มีส่วนร่วมสื่อสารกันโดยอยู่คนละที่ แต่ในเวลาเดียว กัน เช่น โทรศัพท์คุยกัน • 3) different time/same place ผู้มีส่วนร่วมสื่อสารกันที่ใดที่หนึ่ง แต่ต่างเวลากัน เช่น เขียนบันทึกช่วยจำวางไว้บนโต๊ะ • 4) different time/different place ผู้มีส่วนร่วมสื่อสารโดยอยู่กันคนละที่ และต่างเวลา กัน เช่น การใช้ web-board เป็นต้น • รูปในหน้าถัดไปจะแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถานที่กับเวลา
4.2 Discovery, Search and Customized Delivery • อินเตอร์เน็ตยินยอมให้ผู้ใช้เข้าถึงสารสนเทศที่อยู่ในฐานข้อมูลต่างๆ กระจายอยู่ทั่ว โลก ความสามารถในการค้นพบยังประโยชน์ให้เกิดกับวงการศึกษา การให้บริการ ต่าง ๆ ของรัฐ ความบันเทิง และ การค้าขาย • การค้นพบจะทำโดยการ browsing และ searching แหล่งข้อมูลต่าง ๆ บนเวป ปัญหาใหญ่ในการค้นพบก็คือการมีสารสนเทศมากมายมหาศาล เพื่อแก้ปัญหานี้ เราคงต้องเลือกใช้ การค้นหาหลายๆ รูปแบบและซอฟท์แวร์ที่แตกต่างกันออกไป • The Role of Internet Software Agents • Software agent :โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่ประกอบด้วยชุดของกลุ่มคำสั่ง ของ คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการและให้องค์ความรู้บางอย่างออก มาสอดรับกับเป้าประสงค์ของผู้ใช้
The Role of Internet Software Agents • เราลองมาดู agent บางตัวที่พบบ่อย ๆ • Search Engines, Directory และ Various Software Agents: • เราประมาณว่า จำนวนสารสนเทศบน Web เพิ่มขึ้นเท่าตัวทุก ๆ ปี ทำให้การใช้ Web และการเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการมีความยุ่งยากมากขึ้น Search engines และ Directories เป็นตัวช่วยขั้นพื้นฐานที่อยู่บน Web ที่มีความแตกต่างกัน • Search engine:โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับ network resource ต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต เพื่อทำการค้นหาสารสนเทศที่ต้องการผ่านทาง key word ที่ต้องการ และรายงานผลต่าง ๆ ออกมาให้ทราบ เช่น Google เป็นต้น Search engine จะอาศัย index Web page อยู่หลายร้อยล้าน page ซึ่ง search engine จะใช้ index นี้ค้นหา page ที่ตรงกับ key word ที่ผู้ใช้ต้องการ
ทุก ๆ Search engine จะดำเนิน 3 งานพื้นฐาน ได้แก่ • 1) มันจะค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตโดยอาศัย Keyword • 2) มันจะเก็บดัชนี (ฐานข้อมูล)ของคำต่าง ๆ ที่มันค้นพบ และ ที่ ๆ มันค้นพบเอาไว้ • 3) มันจะยอมให้ผู้ใช้ค้นหาคำต่าง ๆ หรือ คำที่ผสมกันในดัชนีข้างต้น • Search engineจะมีสามแบบด้วยกัน คือ • 1) ทำงานโดย Intelligence agents สร้าง Index ขึ้นมาเช่น S/W agent, robots หรือ botsIndex ข้างต้นจะถูกสร้างและ update โดยใช้ Software Robot เรียกสั้น ๆ ว่า Softbot • ซอฟท์บอต (Softbot): Software robots ที่กระทำงานต่างๆ ในลักษณะที่ซ้ำๆ ( เช่น ดูแลรักษา search engines) เพื่อยังประโยชน์ให้กับผู้ใช้ต่าง ๆ
Software Robot will visit your Web site Search Engine spiders are robots that traverse your website in order list it on Search Engines. This report shows a breakdown of which spiders have visited your site. (Feb 18,04) http://www.mach5.com/support/analyzer/annotated-report/index-files/
Two types of search facilities available on the web: • 2) ทำงานโดย คนเข้ามาดำเนินการสร้าง Directory ขึ้นมาในส่วน Directories จะเป็น software agent ที่ต่างออกไป ซึ่งหลายคนสับสนกับ Search engine • Directory:เป็นการจัดรวบรวมแบบระดับชั้น(hierarchically organized collection)ของ link ไปยัง web pageต่าง ๆ มีการสร้างโดยใช้ manual (เช่น Yahoo, About.com)ซึ่งแตกต่างกับ search engine index ที่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นมา • 3) ใช้สองวิธีข้างต้นผสมกัน • อ่านเพิ่มเติมใน IT at Work 4.3 “Browsers Compete for Business”, page 131 • อ่านเพิ่มเติมใน A Close Look 4.2 “Web Search Leader Google Simplifies Data Sharing”
Blog and Weblogging (Blogging) • Blogs เริ่มมาจากInternet journaling และ personal publishing tools • ปัจจุบัน Enterprise ใช้ blogs แทนเมล์ และ support collaborative work • Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog (บางคนอ่านว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่บ่งบอกถึงความหมายเดียวกันคือบล็อก (Blog) • ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
Blog ต่างจาก Web อย่างไร ? • Blog จะแตกต่างจากเว็บไซต์แบบ Static ตรงที่ Blog จะมีเรื่องให้น่าติดตาม ไม่ว่าจะเป็นบทความใหม่ ๆ ที่มีให้อ่านมากกว่า มีพื้นที่ให้ผู้อ่านได้โต้ตอบได้ จนกระทั่งมีผู้กล่าวไว้ว่า Blog จะมาแทนที่เว็บไซต์นิ่ง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนโบรชัวร์ออนไลน์สำหรับประเด็นที่ทำให้ Blog แตกต่างจากเว็บไซต์ทั่วไป มีดังนี้ • 1. มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้เขียนและผู้อ่านได้ หรือที่เรียกว่า Interactive นั่นเอง • 2. บทความใน Blog จะเขียนในรูปแบบที่เป็นกันเอง และดูเหมือนการสนทนา มากกว่าในเว็บไซต์ • 3. ระบบที่ใช้เขียน Blog นั้นง่าย ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเซียนคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเขียน Blog ได้ • 4. อัพเดทได้บ่อยมาก และยิ่งอัพเดทบ่อย จะยิ่งดีต่อการมาเก็บข้อมูลของ Search Engine 5. Blog เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำการตลาดแบบไวรัส (Viral Marketing) • (นำมาจาก http://www.keng.com)
WIKIS • Wikiคือ web-based writing environment ซึ่ง (a) ทำการ link ข้าม page ต่าง ๆ ได้ง่ายมาก ๆ (b) ใช้ some simple text formats เพื่อไม่ให้ผู้ใช้ต้องเกิดปัญหาในการขียน HTML tag ต่าง ๆ • เริ่มต้นนั้น Wiki ออกแบบมาให้กลุ่มใช้เป็น collaborative writing environment ดังนั้นสมาชิกในกลุ่มสามารถแก้ไข any page at any time. • Wikilog (หรือ Wikiblog) คือรูปแบบหนึ่งของ Wiki หรือ เป็นส่วนขยายของ blogทั้งนี้เนื่องจาก blog นั้น มักจะสร้างขึ้นโดยคน ๆ หนึ่ง (หรือกลุ่มเล็ก ๆ) และ อาจใช้เป็น discussion board แต่ Wikilog คือ blog ที่ยอมให้ทุกคนเข้าไปมีส่วนร่วมในฐานะคนในกลุ่มหนึ่ง ๆ (a peer) ทุกคนสามารถเพิ่ม ลบ เปลี่ยน เนื้อหาได้ • การรวมกันระหว่าง Wikis กับ Blogs บางทีเรียกว่า Bliki
Podcasting • Podcastingหรือ Podcastคือขั้นตอนของสื่อชนิดหนึ่งบนระบบอินเตอร์เน็ตที่ยินยอมให้ผู้ใช้ทั่วไปทำการสมัครเพื่อรับ feed news • มันเริ่มได้รับความนิยมประมาณปลายปี 2004 ที่ผ่านมา ตัว feed news นี้จะทำงานอัตโนมัติ เพื่อทำการดาวด์โหลดไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ เข้าสู่ computer หรือ portable music player (เรียกติดปาก ว่า mp3 player) • คำว่า Podcasting หลายๆ คนคิดว่าอาจจะเป็นคำคว]มาจากคำว่า Broadcasting กับ iPod แต่ตามข้อกำหนดแล้ว มันเป็นการเข้าใจผิด แต่เป็นความบังเอิญ อันสอดคล่องพอดี หรือประจวบเหมาะ กับ iPod ของ Apple นั้นเอง ซึ่ง Steve Jobs ก็ใช้โอกาสนี้ โฆษณา feature ใหม่เป็น Broadcasting + iPod = Podcasting นั้นเอง
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้น ตั้งแต่ที่ได้ยินมานับตั้งแต่ Podcasting เกิดขึ้นมาบนโลกมา ระบบนี้สามารถใช้ได้กับ iPod หรือพวก portable music player อื่นๆ และรวมไปถึงเครื่อง computer ได้อยู่แล้ว ซึ่งในความเป็นจริง แล้วนั้น ตั้งแต่ กันยายน ปี 2004 นั้น ได้มีการบัญญัติคำว่า POD ซึ่งเป็นคำย่อมาจาก “Personal On-Demand” หรือ "อุปสงค์ส่วนบุคคล" นั้นเอง เมื่อรวมกับ Broadcasting ก็กลายเป็น PODcasting นั้นเอง ซึ่ง Broadcasting เป็นการนำสื่อต่างๆ มาอยู่ในรูปของภาพ และเสียง ต่างๆ มากมาย ไม่ขึ้นกับ formatของไฟล์ หรือ type ของไฟล์แต่อย่างใด นำมาเผยแพร่ให้บุคคลภายนอก (The public in general) ฟังโดยที่ไม่จำเป็นเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ และเป็นเทคโนโลยีในการถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียง ผ่านสื่อต่างๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นเทคโนโลยีที่สามารถโยกย้ายข้อมูลขนาดมหึมาของภาพและเสียงจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่งระหว่างเครือข่ายชนิดต่างๆ • http://www.thaicyberpoint.com/ford/blog/id/168/
RSS • RSS คืออะไร? • ปัจจุบัน RSS ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปแบบกลางในการบริหารข้อมูลทางธุรกิจ และมีการแข่งขันกันสูง โดยเฉพาะธุรกิจที่มี การแชร์ข้อมูล เช่น เว็บไซต์ข่าว เว็บล็อก ซึ่งจะมีการแสดงข้อมูลบนหน้าต่างพรีวิวแยกต่างหาก เพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสน รวมถึง สามารถสืบค้นข้อมูลได้ • RSS ย่อมาจาก Really Simple Syndication คือ บริการที่อยู่บนระบบ อินเตอร์เน็ท จัดทำข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบ XML เพื่ออำนวยความสะดวกให้ กับผู้ใช้ โดยส่งข่าวหรือข้อมูลใหม่ๆ ให้ถึงเครื่องตลอดเวลาที่มีการ Updateไม่ต้อง เสียเวลาเปิดเว็บไซต์เข้ามาค้นหา • ข้อดีของ RSSRSS ช่วยลดข้อจำกัดในการคัดลอกข้อมูลในเว็บไซต์ โดยเฉพาะกรณีการละเมิด ลิขสิทธิ์ขณะที่ผู้สร้างไม่ต้องเสียเวลาทำหน้าเพจแสดงข่าว ซึ่งต้องทำทุกครั้งเมื่อ ต้องการเพิ่มข่าว โดย RSS จะดึงข่าวมาอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลในเว็บไซต์เป็น ศูนย์กลางมากขึ้น
จุดเด่นของ RSS คือ ผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อดูว่ามีข้อมูล อัพเดทใหม่หรือไม่ ขณะที่เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัพเดท ไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ใช้ยังอาจหลงลืมจนเข้าไปดูเนื้อหาอัพเดทใหม่บนเว็บไซต์ ไม่ครบถ้วน รูปแบบ RSS จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถรับข่าวสารอัพเดทใหม่ได้ โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและ ฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์ • รู้ได้อย่างไรว่าเว็บไหนมีบริการ RSSสังเกตได้จากสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย ส่วนใหญ่มักอยู่บริเวณเมนูหลักของเว็บ หรือบริเวณส่วนล่างของหน้าเว็บเพจ
XML และ XBRL • XMLคืออะไรXML ย่อมาจากคำว่า e X tensible M arkup L anguage เป็นภาษาที่ใช้กำหนดรูปแบบของคำสั่งภาษา HTML หรือที่เรียกว่า Meta Data ซึ่งจะใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของคำสั่ง Markup ต่าง ๆ แต่มีข้อแตกต่างกับ HTML ที่เป็น Markup Language ซึ่ง XML ได้รับการพัฒนามาจาก SGML (Standard Generalized Markup Language) ที่เป็นข้อกำหนดในการสร้างหรือจัดทำเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่กำหนดโดย W3C หรือ World Wide Web Consortium ซึ่งเป็นภาษาที่นิยมใช้และได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานบนเว็บ โดย XML จะประกอบด้วย 3 ส่วนพื้นฐานด้วยกัน คือ เอกสารข้อมูล (Data document) เอกสารนิยามความหมาย (definition document ) และ นิยามภาษา (definition language) • http://www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php?aid=17792
XBRL (eXtensible Business Reporting Language)เป็นนวัตกรรมรูปแบบใหม่ในการรายงานงบการเงินผ่านอินเตอร์เน็ทที่ใช้มาตรฐานและหลักปฏิบัติด้านการรายงานทางการเงินที่ได้รับการยอมรับเพื่อแปลรายงานทางการเงินให้เป็นข้อมูลที่นักลงทุนทุกประเภทสามารถเข้าถึงและนำมาวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจลงทุนได้ทันที • XBRL เป็นภาษามาตรฐานของการรายงานงบการเงิน (Financial Reporting Standards) แต่ไม่ใช่มาตรฐานการบัญชี (Accounting Standards) ดังนั้นการนำเอา XBRL มาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย จึงเป็นเพียงการจัดทำภาษาของรายงานงบการเงินให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน เพื่อให้สามารถนำงบการเงินมาเปรียบเทียบกันได้ทั้งในระดับองค์กร ระดับอุตสาหกรรม ระดับประเทศ และระดับสากลได้ โดยไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการแก้ไขมาตรฐานบัญชีในประเทศไทยแต่อย่างใด • http://www.set.or.th/th/xbrl/about.html
4.3 Communication • CDMA Network • CDMA (Code Division Multiple Access) • Code Division Multiple Access (CDMA) จัดเป็นระบบโทรศัพท์มือถือที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดในช่วงที่ผ่านมา เทคนิคการส่งสัญญาณแบบ 'เข้ารหัส' ชนิดนี้ ถูกมองว่าเป็นเทคนิคการส่งสัญญาณสำหรับโทรศัพท์มือถือยุคอนาคต ซึ่งก็คือยุค 3G หรือคลื่นลูกที่ 3 ของเทคโนโลยีการส่งข้อมูลที่กำลังจะเกิดขึ้น
GSM (Global System for Mobile Communications Services) • GSMนั้นเป็นระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเซลลูล่าร์ชนิด ดิจิตอลเซลลูล่าร์ (Digital Cellular) ซึ่งคำว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเซลลูล่าร์ หรือ Cellular Network หรือ Cellular System นั้น หมายถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ติดต่อกับเครือข่ายซึ่งจำแนกพื่นที่การใช้งานโดยแบ่งเป็น เซลล์ (cell) ถ้าจะเปรียบเทียบลักษณะการใช้งาน กับระบบ อนาลอกเซลลูล่าร์ (Analog Cellular) แล้วมีข้อดีกว่ากันมาก เช่น ความปลอดภัยจากการดักฟัง และด้านการโทรข้ามประเทศหรือ International Roaming (เพราะเนื่องจาก มาตรฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ อนาลอก ได้ออกมมาตรฐานาจากหลายประเทศ และไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้ ทำให้โทรข้ามเครือข่าย ไปยังประเทศอื่นไม่ได้) เป็นต้น โดยย่อมาจาก Global System for Mobile ครับ
3GSM • 3GSM (Third-generation Global System for Mobile Communications Services) • Cellular => GSM (CDMA) => GPRS => EDGE => W-CDMA • 1G 2G 2.5G 2.75G 3G • เทคโนโลยี 3G คืออะไร3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต • 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น
ลักษณะการทำงานของ 3Gเมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ ,รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ
SMS (Short Message Service) • Point-to-point SMS กับ cell-broadcast SMS • SIM Card • ย่อมาจาก Subscriber Indentity Module เป็นอุปกรณ์ซึ่งใส่ในเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อให้เครื่องสามาถติดต่อกับเครือข่ายได้
EDGE Network • EDGE (Enhanced Data rates for GSM Evolution) • EDGE - (Enhanced Data rates for Global Evolution) ทางเลือกก่อนก้าวเข้าสู่ยุค 3G อย่างต่อเนื่อง และคุ้มค่าเทคโนโลยี 'EDGE' คือเทคโนโลยีที่ใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ TDMA (Time Division Multiple Access) หรือพูดง่ายๆ คือระบบ 'GSM' นั่นเอง (GSM คือหนึ่งในระบบ TDMA) ระบบ TDMA เป็นระบบการแบ่งเวลากันใช้ในช่องสัญญาณเดียวกัน สามารถอธิบายการทำงานง่ายๆ โดยเปรียบช่องสัญญาณให้เป็นเสมือนขนมชั้นที่ถูกวางอยู่ในแนวตั้ง เมื่อใดที่มีการใช้โทรศัพท์ เครื่องโทรศัพท์แต่ละเครื่องก็จะถูกจัดสรรเวลาให้ใช้ภายในช่องความถี่เดี่ยวกัน การใช้วิธีจัดสรรเวลาในระบบ TDMA มีข้อดีคือ เวลาของผู้ใช้ทุกคนจะเท่ากันหมด ถือว่าทุกคนมีช่องเวลาที่ชัดเจนตายตัว จึงทำให้ง่ายต่อการจัดการข้อมูล โดยเฉพาะเรื่องของเสียง อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องใช้ส่งข้อมูลปริมาณมากๆ ปัญหาด้านความเร็วจึงได้เกิดขึ้น (เนื่องจาก TDMA ถูกจำกัดความเร็วต่อช่องสัญญาณที่ 9.6 กิโลบิตต่อวินาทีเท่านั้น) ดังกล่าว ในเวลาต่อมา ผู้ประกอบการจึงหาวิธีแก้ปัญหาโดยการนำเอาช่องสัญญาณหลายๆ ช่องมารวมกัน เพื่อให้ได้ความเร็วที่สูงขึ้น ซึ่งนั่นคือที่มาของเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) นั่นเอง
แม้ว่าเทคโนโลยี GPRS จะให้ความเร็วที่สูงกว่าเดิม แต่ GPRS ก็มีข้อจำกัดทางด้านความเร็วอยู่ดี นั่นคือใน 1 ช่องสัญญาณ จะส่งข้อมูลได้ 9.6 กิโลบิตต่อวินาที และเมื่อได้รวมทุกช่องสัญญาณเข้าด้วยกันแล้ว บนการใช้งานจริง GPRS ก็ยังให้ความเร็วการส่งข้อมูลสูงสุดที่ประมาณ 40 กิโลบิตต่อวินาทีเท่านั้น และด้วยความเร็วระดับนี้ แม้การส่งข้อมูลภาพ เสียง หรือข้อมูล จะสามารถจัดการได้ดีพอสมควร หากแต่ในส่วนของวิดีโอคลิป ความเร็วของ GPRS ก็ยังจัดว่าเป็นความเร็วที่รองรับได้ไม่สมบูรณ์อยู่ดี ในวันนี้เอง จึงได้มีการนำเอาระบบ EDGE เข้ามา ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดของ GPRS และถูกเรียกกันว่าเทคโนโลยียุค 2.75 G (อย่างไม่เป็นทางการ) โดยมีความหมายในเชิงเปรียบเทียบถึงเทคโนโลยีการเชื่อมต่อที่อยู่ในช่วงกลางระหว่างยุค 2.5G และ 3G • ในทางทฤษฎี เทคโนโลยี EDGE จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลมากกว่า GPRS ประมาณ 3 เท่า หรือมีความเร็วสูงสุดประมาณ 384 กิโลบิตต่อวินาที อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น GPRS หรือ EDGE ก็ตาม ความเร็วการส่งข้อมูลที่ได้บนการใช้งานจริงจะต่ำกว่านั้น เนื่องจากข้อจำกัดของระบบ TDMA ที่ต้องมีการแบ่งช่องสื่อสารสำหรับการใช้งานด้านเสียงไว้ด้วย (Technical Limited) ดังกล่าว บนการใช้งานจริง ความเร็วในการใช้งาน EDGE จึงอยู่ที่ประมาณ 80-100 กิโลบิตต่อวินาที (ประมาณ 40 กิโลบิตต่อวินาที สำหรับเทคโนโลยี GPRS)
WI-FI Network • Wi-Fi (Wireless fidelity) • ในอดีตนั้น การที่ คอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องจะมาเชื่อมต่อกัน เพื่อประโยชน์ในการแชร์ข้อมูลซึ่งกันและกันหรือ เอามาแชร์ Internet เพื่อใช้งาน (เสมือนว่า ต่อ Internet เพียงแค่เครื่องเดียว เครื่องอื่นๆที่อยู่ในเครือข่ายก็สามารถใช้งาน Internet ได้ด้วย) ซึ่งการต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องเข้าด้วยกันนี้ แต่เดิมจะใช้สาย Lan ต่อเข้ากับ Lan card ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเพื่อจะเชื่อมเข้าหากัน ซึ่งการต่อแบบใช้สายนี้มันมีค่าใช้จ่ายไม่แพงมาก แต่จะยุ่งยากหน่อยก็ตรงที่ในบ้าน หรือใน office ที่จะเชื่อมต่อนั้น จะต้องเดินสาย Lan เหมือนกับเดินสายไฟภายในบ้านซึ่งมันก็วุ่นมากทีเดียว
ปัจจุบัน มีผู้คิดค้นวิธีเชื่อมต่อ Lan แบบใหม่ขึ้นมาโดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงสายให้มันวุ่นวาย แต่คราวนี้เราจะใช้คลื่นวิทยุเชื่อมแทน หรือ Wireless LAN นั่นเอง • ด้วยระบบเทคโนโลยี Lan ไร้สาย 802.11 จึงเกิดขึ้นมาโดยการพัฒนาจากสถาบันวิศวกรไฟฟ้า และ อิเลคทรอนิคส์ หรือ Institute of Electrical and Electronics Engineering (IEEE) นั่นเอง เลยทำให้กลายเป็นศัพท์ใหม่ที่เห็นกันบ่อยๆว่า IEEE 802.11 ซึ่งก็ได้มีการพัฒนากันมาเรื่อยจาก 802.11 ธรรมดา มาเป็น 802.11b 802.11a 802.11g ซึ่งมันจะต่างกันเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลเป็นหลัก