1.12k likes | 2.11k Vues
ความเข้าใจเกี่ยวกับปุ๋ยเคมีที่คลาดเคลื่อน. รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม ภาควิชาปฐพีวิทยา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง โทร 02-3264101. ความจริงเกี่ยวกับธาตุอาหารและการดูดใช้ธาตุอาหารของพืช. ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช. 16 (17) ธาตุ แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
E N D
ความเข้าใจเกี่ยวกับปุ๋ยเคมีที่คลาดเคลื่อนความเข้าใจเกี่ยวกับปุ๋ยเคมีที่คลาดเคลื่อน รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม ภาควิชาปฐพีวิทยา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง โทร 02-3264101
ความจริงเกี่ยวกับธาตุอาหารและการดูดใช้ธาตุอาหารของพืชความจริงเกี่ยวกับธาตุอาหารและการดูดใช้ธาตุอาหารของพืช
ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช 16 (17) ธาตุ แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่ได้มาจากน้ำและอากาศ • คาร์บอน (C) • ไฮโดรเจน (H) • ออกซิเจน (O)
2. กลุ่มที่ได้มาจากดิน – 14 ธาตุ ธาตุที่ต้องการน้อย (จุลธาตุ) • เหล็ก (Fe) • แมงกานีส (Mn) • สังกะสี (Zn) • ทองแดง (Cu) • โบรอน (B) • โมลิบดินัม (Mo) • คลอรีน (Cl) • นิกเกิล (Ni) ธาตุที่ต้องการมาก • ไนโตรเจน (N) • ฟอสฟอรัส (P) • โพแทสเซียม (K) • แคลเซียม (Ca) • แมกนีเซียม (Mg) • กำมะถัน (S)
ทำไมจึงจัดว่าธาตุใดเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช ? 1. ถ้าพืชไม่ได้รับธาตุอาหารนั้น พืชจะไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นไปตามปกติจนครบวงจรชีวิต (life cycle) ของพืชได้
2. เมื่อพืชได้รับธาตุอาหารนั้นไม่เพียงพอ พืชจะแสดงอาการผิดปกติออกมาให้เห็น และเป็นอาการเฉพาะสำหรับธาตุนั้นๆ
L I M I T I N G FACTOR L A W O F T H E พืชต้องได้รับธาตุอาหารครบทุกธุาตและสมดุล
การดูดใช้ธาตุอาหารของพืชการดูดใช้ธาตุอาหารของพืช
พืชดูดใช้อาหารทั้งหมดในรูปไอออน (ion) เท่านั้น อาจเป็นไอออนบวก (cation)หรือไอออนลบ (anion)ไม่ว่าจะใส่ปุ๋ยในรูปอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมีก็ตาม
รูปของธาตุอาหารที่พืชนำไปใช้ได้รูปของธาตุอาหารที่พืชนำไปใช้ได้ ธาตุรูปที่พืชนำไปใช้ ธาตุ รูปที่พืชนำไปใช้ ไนโตรเจน (N) NH4+ , NO3- เหล็ก (Fe)Fe+2 ฟอสฟอรัส (P)H2PO4-,HPO4-2 แมงกานีส (Mn)Mn+2 สังกะสี (Zn)Zn+2 โพแทสเซียม (K) K+ ทองแดง (Cu)Cu+2 แคลเซียม (Ca) Ca+2 โบรอน (B)BO3-3 (H3BO3) แมกนีเซียม(Mg)Mg+2 กำมะถัน (S) SO4-2 โมลิบดินัม(Mo)MoO4-2 คลอรีน (Cl)Cl-
การดูดใช้ธาตุอาหารของพืชการดูดใช้ธาตุอาหารของพืช H+ H+ Ca ++ รากขนอ่อน NO3- HCO3- การดูดใช้ธาตุอาหารเป็นขบวนการแลกเปลี่ยนไอออน
การดูดใช้ธาตุอาหารของพืชแบบมีพาหะนำไอออนต้องใช้พลังงานการดูดใช้ธาตุอาหารของพืชแบบมีพาหะนำไอออนต้องใช้พลังงาน ช่องภายนอก ช่องภายใน • NO3- การดูดแบบไม่ใช้พลังงาน NO3- NO3- K+ พาหะนำไอออน (Carrier ion) Free Space เยื่อหุ้มเซลล์
ไม่ว่าจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมีก็ตามไม่ว่าจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมีก็ตาม รูปของธาตุที่พืชจะนำไปใช้ได้จะเหมือนกัน ปุ๋ยอินทรีย์NH4+ NO3- พืชนำไปใช้ ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ย 21-0-0
การสลายตัวของอินทรียวัตถุ (ซากพืชซากสัตว์ต่าง ๆ) จะปลดปล่อยธาตุอาหารต่าง ๆ ออกมาอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ได้ N, P, K, Ca, Mg, Fe, Mn, Zn, Cu, Mo, B ฯ ปริมาณมาก-น้อยขึ้นกับแหล่งของอินทรียวัตถุ อินทรียวัตถุ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการผลิตแบบอินทรีย์และเคมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการผลิตแบบอินทรีย์และเคมี การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินจะใช้สารเคมี 100% ทั้ง 13 (14) ธาตุมาจากสารเคมีทั้งหมด คนส่วนมากเรียก ผักที่ได้เรียกว่า “ผักอนามัย ??”
ผลผลิตเกษตรที่มาจากการใส่ ปุ๋ยเคมี ไม่ใช่สารพิษ เพราะพืชดูดธาตุอาหารไปใช้ในรูปไอออนเหมือนกัน ไม่ว่าเราจะใส่ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์ก็ตาม
ปุ๋ยคืออะไร ปุ๋ยคือสารอินทรีย์ (organic) หรือ สารอนินทรีย์ (inorganic) ซึ่งอาจเกิดชึ้นโดยธรรมชาติ หรือทำขึ้นมาก็ได้ เพื่อใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืช
ปุ๋ยเคมี : ปุ๋ยที่สังเคราะห์ขึ้นมาโดยวิธีทางเคมี หรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติแต่ค่อนข้างบริสุทธิ์ ปุ๋ยอินทรีย์ : ปุ๋ยที่มาจากสิ่งที่มีชีวิต : ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก มูลสัตว์ต่าง ๆ น้ำหมักชีวภาพต่าง ๆ ปุ๋ยชีวภาพ : จุลินทรีย์ต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดปุ๋ย หรือช่วยละลายปุ๋ย พวกที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศ (ไรโซเบียม) หรือไมโคไรซา (ช่วยดูดธาตุฟอสฟอรัส)
ข้อกล่าวหาที่ได้ยินเสมอ !! การเกษตรสมัยใหม่ก่อให้เกิดปัญหาทางการเกษตรมากดังนี้ • ความอุดมสมบูรณ์ลดลง2. ต้องใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีจึงจะได้รับผลผลิตเท่าเดิม
ความจริง !!! การเกษตรทุกระบบ ถ้ามีการนำผลผลิตออกจากพื้นที่ จะทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลงทั้งนั้น เพราะมีธาตุอาหารติดไปกับผลผลิต ผลผลิตยิ่งสูงยิ่งสูญเสียธาตุอาหารมาก ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง
ตัวอย่างที่เห็นง่าย ๆ คือ ป่าเป็นระบบนิเวศที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีพืชขึ้นหนาแน่น แต่นำผลผลิตออกไปน้อย เมื่อแผ้วถางป่า อินทรียวัตถุที่สะสมอยู่ เมื่อมีการไถพรวนจะมีขนาดเล็กลง และสัมผัสกับอากาศมากขึ้น จึงสลายตัวอย่างรวดเร็ว พืชดูดไปใช้ไม่ทัน บางส่วนถูกน้ำชะล้างไป ดินที่เคยอุดมสมบูรณ์ก็ลดความสมบูรณ์ลงทั้ง ๆ ที่ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี
ปัญหาของการผลิตโดยใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวปัญหาของการผลิตโดยใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว • อินทรียวัตถุลดลง ทำให้ดินแน่นทึบ การอุ้มน้ำ และดูดยึดธาตุอาหารเกิดได้ไม่ดี • ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น (ขึ้นกับชนิดของปุ๋ยที่ใช้) แก้ไขปัญหาข้างต้นได้ไหม ? คำตอบคือ “ได้”
ในระบบการเกษตรที่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่เคยมีการปฏิเสธการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การปลูกพืชคลุมดิน การไถกลบเศษพืช การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักต่าง ๆ มีผลทำให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้น และใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะให้ผลดีที่สุด
ปัญหาในการทำเกษตรอินทรีย์1. ผลผลิตจะไม่ออกทั้งปี แต่ออกตามฤดูกาล หรือไม่ออก บางปี ถ้าผลผลิตปีที่แล้วมาก ปีนี้อาจไม่ออกผล 2. ราคาผลผลิตจะสูงกว่า เพราะแม้จะใช้ปัจจัยในการผลิต ลดลงแต่ต้องใช้แรงงานในการดูแลและเอาใจใส่
ผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์ต้องขายได้ราคาแพงกว่าผลผลิตจาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจาก • ค่าแรงงานสูงกว่า • ผลผลิตต่ำกว่า
การผลิตแบบอินทรีย์ ถ้าไม่ใช้สาร อนินทรีย์เลย จะไม่สามารถทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ได้ตามต้องการ
สารอนินทรีย์ (สารเคมี) ที่อนุญาติให้ใช้ในการผลิตในระบบอินทรีย์ หินและแร่ธาตุ ได้แก่- หินบด - หินฟอสเฟต- หินปูนบด(ไม่เผาไฟ)- ยิบซั่ม- แคลเซียม- ซิลิเกต - แมกนีเซียมซัลเฟต- แร่ดินเหนียว- แร่เฟลด์สปาร์- แร่เพอร์ไลท์- ซีโอไลท์- เบนโทไนท์- หินโพแทส
แคลเซียมจากสาหร่ายทะเล และ สาหร่ายทะเล- เปลือกหอย- เถ้าถ่าน- เปลือกไข่บด- กระดูกป่น และ เลือดแห้ง- เกลือสินเธาว์- โบแร็กซ์- กำมะถัน- ธาตุอาหารเสริม (โบรอน ทองแดง เหล็ก • แมงกานีส โมลิบดินัม และสังกะสี)
สรุป • การผลผิตโดยใช้ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยอินทรีย์ผลผลิตที่ได้ปลอดภัยเหมือนกัน • ปุ๋ยเคมีเป็นธาตุอาหารพืช ไม่ใช่สารพิษ
โดยทั่วไป ราคาต่อหน่วยของปุ๋ยที่มาจากปุ๋ยเคมีจะถูกที่สุด • ปุ๋ยสูตรยิ่งสูง ราคาต่อหน่วยจะถูก เช่น ยูเรีย มี 45-46% N (ราคา 720 บาท) แอมโมเนียมซัลเฟต 21 % N(ราคา 720 บาท)
ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ (ถูกกว่า ??) • ใช้น้ำหมักชีวภาพ (แทนปุ๋ยเคมี ??) ปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารน้อย ต้องใช้ในปริมาณมากเพื่อให้ได้ธาตุอาหารเท่ากัน
ธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ทำจากฟางข้าวธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ทำจากฟางข้าว
ปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยชนิดต่าง ๆ กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร 2540
ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง :เป็นปุ๋ยที่ได้จากการนำวัสดุอินทรีย์หรืออนินทรีย์ธรรมชาติทางการเกษตรที่มีธาตุอาหารสูงมาผ่านการหมักจนสลายตัวสมบูรณ์ หรือนำมาผสมกับวัสดุอินทรีย์หรืออนินทรีย์ธรรมชาติที่มีธาตุอาหารสูง เช่นกระดูกป่น มูลค้างคาว หรือปุ๋ยหินฟอสเฟต
ปริมาณธาตุอาหารในของวัตถุดิบที่มีธาตุอาหารหลักสูงปริมาณธาตุอาหารในของวัตถุดิบที่มีธาตุอาหารหลักสูง วารสารอนุรักษ์ดินและน้ำ ปีที่ 24 ธันวาคม 2551
ปริมาณธาตุอาหารในของเหลือทางการเกษตรปริมาณธาตุอาหารในของเหลือทางการเกษตร หนังสือปฐพีวิทยาเบื้องต้น
การทำปุ๋ยอินทรีย์สูตรคุณภาพสูง 3-4%N, 5-9%P2O5, 1-2% K2O รวมเป็นเนื้อปุ๋ย 3+5+1 = 9หน่วย หรือ 4+9+2 =15 หน่วย หมักส่วนผสมกับกากน้ำตาล 26-30 ลิตร + สารเร่ง
การทำปุ๋ยอินทรีย์สูตรคุณภาพสูง 3-4%N, 5-9%P2O5, 1-2% K2O รวมเป็นเนื้อปุ๋ย 3+5+1 = 9หน่วย หรือ 4+9+2 =15 หน่วย ฟอสฟอรัสส่วนใหญ่ได้มาจากหินฟอสเฟตซึ่งราคาถูก แต่ไม่ละลายทันที
การทำปุ๋ยอินทรีย์สูตร 3-4%N, 5-9%P2O5, 1-2% K2O รวมเป็นเนื้อปุ๋ย 3+5+1 = 9หน่วย หรือ 4+9+2 =15 หน่วย ฟอสฟอรัสส่วนใหญ่ได้มาจากหินฟอสเฟต ละลายเร็ว 3% อีก 12-14% ละลายช้า ๆ ปุ๋ย 1 หน่วย คิดเป็นเงิน 56.3-93.8 บาท 844/15 = 56.3 บาท หรือ 844/9 = 93.8 บาท
ราคาปุ๋ยเคมี เดือนพฤษภาคม 2552
ถ้าจะผลิตปุ๋ยสูตรเดียวกันโดยใช้ปุ๋ยเคมี และใช้หินฟอสเฟตเหมือนปุ๋ยสูตรอินทรีย์ ในการทำปุ๋ยอินทรีย์สูตรคุณภาพสูง 3-4%N, 5-9%P2O5, 1-2% K2O คิดเป็นราคาต่อหน่วย = 618/15 = 41.2บาทต่อกิโลกรัม
ถ้าเราใช้ปุ๋ยสูตร 18-46-0 จำนวน 25 กก. จะให้เนื้อปุ๋ยเท่ากับ 4.5-11.5-0 คิดเป็นเงิน 1,650/2 = 825 บาท ต้องการโพแทสเซียมเท่ากับ 2% K2O ใช้สูตร 0-0-60 จำนวน 3.4 กก. เป็นเงิน 193 บาท ได้ปุ๋ย สูตร 4.5-11.5-2 = 18 หน่วย เป็นเงินรวม 825+193 = 1018 บาท ราคาต่อหน่วยปุ๋ยเท่ากับ 1018/ 18 = 56.6 บาท ฟอสฟอรัสที่ได้จากปุ๋ยนี้ละลายเร็วกว่าหินฟอสเฟตและ ราคาไม่แพง เมื่อเทียบกับปุ๋ยอินทรีย์
สรุปได้ว่าปุ๋ยเคมีไม่ได้แพงกว่า แต่การใช้ปุ๋ยเคมีไม่ได้อินทรียวัตถุ ซึ่งอินทรียวัตถุจะช่วยให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น และให้ธาตุอาหารที่ต้องการน้อย ดังนั้น การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์จะดีกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียวหรือเคมีอย่างเดียว
ใช้ปุ๋ยถูกวิธี มีกำไร ใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพ • ปรับปรุงดินให้ธาตุอาหารละลายออกมามากที่สุด • ใส่เฉพาะธาตุที่ต้องการ • ใส่ในปริมาณที่เหมาะสม • เลือกปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดของดิน
สิ่งที่ต้องการในการตัดสินใจสิ่งที่ต้องการในการตัดสินใจ • ค่าวิเคราะห์ดิน (นำดินมาวิเคราะห์) • ค่าวิเคราะห์พืช (ในไม้ผลสำคัญมาก)
L I M I T I N G FACTOR L A W O F T H E พืชต้องได้รับธาตุอาหารครบทุกธุาตและสมดุล