1 / 55

กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ : การชำระราคา

กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ : การชำระราคา. อาจารย์ อิทธิพล ปรีติประสงค์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย วันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๗. ทำความเข้าใจกันก่อน. ในการค้าระหว่างประเทศมีนิติสัมพันธ์อะไรบ้าง???. นิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในทางการค้าระหว่างประเทศ. สัญญา ซื้อขาย. การเงิน

paul2
Télécharger la présentation

กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ : การชำระราคา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ: การชำระราคา อาจารย์ อิทธิพล ปรีติประสงค์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย วันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๗

  2. ทำความเข้าใจกันก่อน ในการค้าระหว่างประเทศมีนิติสัมพันธ์อะไรบ้าง???

  3. นิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในทางการค้าระหว่างประเทศนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในทางการค้าระหว่างประเทศ สัญญา ซื้อขาย การเงิน ชำระราคา ขนส่ง สินค้า ประกันภัย ระงับ ข้อพิพาท

  4. นิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในทางการค้าระหว่างประเทศนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในทางการค้าระหว่างประเทศ กฎเกณฑ์ที่ใช้กับนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ในทางการค้าระหว่างประเทศ สัญญา ซื้อขาย การเงิน ชำระราคา ขนส่ง สินค้า ประกันภัย ระงับ ข้อพิพาท United Nations Convention on Contracts for the International Sale of Goods,1980 (CISG) Vienna Convention

  5. นิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในทางการค้าระหว่างประเทศนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในทางการค้าระหว่างประเทศ กฎเกณฑ์ที่ใช้กับนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ในทางการค้าระหว่างประเทศ การเงิน ชำระราคา ขนส่ง สินค้า ประกันภัย ระงับ ข้อพิพาท สัญญา ซื้อขาย L/CThe uniform Custom and Pactice for Documentary Credit No.500 (UCP 500)Documentary Collection Uniform Rules foe Collection No.522

  6. นิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในทางการค้าระหว่างประเทศนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในทางการค้าระหว่างประเทศ กฎเกณฑ์ที่ใช้กับนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ในทางการค้าระหว่างประเทศ สัญญา ซื้อขาย ขนส่ง สินค้า ประกันภัย ระงับ ข้อพิพาท การเงิน ชำระราคา SeaUnited Nations Convention on the Carriage of Goods by Sea,1978 (Hamburg Rules)Air Convention for the Unification of Certain Rules Relating to International Carriage by Air, 1929 (Warsaw Convention)Road  Convention on the Contract for the International Carriage of Goods by Road,1956

  7. กฎเกณฑ์ที่ใช้กับนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกฎเกณฑ์ที่ใช้กับนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ในทางการค้าระหว่างประเทศ สัญญา ซื้อขาย การเงิน ชำระราคา ประกันภัย ระงับ ข้อพิพาท ขนส่ง สินค้า The Marine Insurance Act 1906

  8. กฎเกณฑ์ที่ใช้กับนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกฎเกณฑ์ที่ใช้กับนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ในทางการค้าระหว่างประเทศ สัญญา ซื้อขาย การเงิน ชำระราคา ขนส่ง สินค้า ระงับ ข้อพิพาท ประกันภัย • Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Awards (New York Convention)- International Convention on the Settlement of Investment Dispute between States and National of Others States (Washington Convention)- UNCITRAL Model Law on International Commercial Arbitration

  9. กฎเกณฑ์ที่ใช้กับนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกฎเกณฑ์ที่ใช้กับนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ในทางการค้าระหว่างประเทศ สัญญา ซื้อขาย การเงิน ชำระราคา ขนส่ง สินค้า ประกันภัย ระงับ ข้อพิพาท - Conflict of law (Choice of Law , Choice of Forum)- Convention on the Law Applicable to Contractual obligation 1980

  10. การชำระเงินตามสัญญา ซื้อขายระหว่างประเทศ (Finance of International Sales)

  11. Finance of International Sales ๑.หลักการทั่วไป ๒. วิธีการในการชำระเงิน ๓. การชำระเงินแบบ L/C

  12. หลักการทั่วไป นิติสัมพันธ์ที่มีลักษณะระหว่างประเทศ ใช้กฎเกณฑ์ที่มีความใกล้ชิดกับนิติสัมพันธ์ กฎหมายขัดกัน Choice of Law , Customary Law , General Principle Law Uniform Customs & Practice for Documentary Credit (UCP 500)

  13. วิธีการ ชำระ ราคา การชำระเงินสดล่วงหน้าAdvance Payment การเปิดบัญชีOpen Account การใช้ตั๋วแลกเงินBill of Exchange เลตเตอร์ออฟเครดิตLetter of Credit

  14. วิธีการ ชำระ ราคา การชำระเงินสดล่วงหน้าAdvance Payment การเปิดบัญชีOpen Account การใช้ตั๋วแลกเงินBill of Exchange ไม่ผ่านธนาคาร ผ่านธนาคาร เลตเตอร์ออฟเครดิตLetter of Credit

  15. วิธีการ ชำระ ราคา การชำระเงินสดล่วงหน้าAdvance Payment การเปิดบัญชีOpen Account การใช้ตั๋วแลกเงินBill of Exchange ไม่ผ่านธนาคาร เลตเตอร์ออฟเครดิตLetter of Credit

  16. ๑.การชำระเงินสดล่วงหน้า๑.การชำระเงินสดล่วงหน้า Advance Payment ผู้ซื้อจะชำระเงินพร้อมกับการสั่งซื้อสินค้า เป็นการชำระเงินล่วงหน้า ผู้ซื้อเสียเปรียบ แต่ผู้ขายได้เปรียบ สินค้าหายาก และคู่สัญญาคุ้นเคยกันดี

  17. ๒.การเปิดบัญชี Open Account ผู้ขายส่งสินค้าให้ก่อน และลงบัญชีค่าสินค้าไว้ในบัญชีเงินเชื่อ(Open Account)และผู้ซื้อจะชำระเงินให้ผู้ขายตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ Cash with Order Sight Payment Cash Against Document

  18. ๓.การใช้ตั๋วแลกเงิน Bill of Exchange เมื่อผู้ขายได้จัดส่งสินค้าลงเรือแล้ว ผู้ขายจะออกตั๋วแลกเงินสั่งให้ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน มาตรา 908 อันว่าตั๋วแลกเงินนั้นคือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้สั่งจ่าย” สั่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้รับเงิน” เป็นตราสารที่เปลี่ยนมือได้ ผู้ขายนำไปขายลดได้ทันที ผู้ซื้อได้รับเครดิตเวลาหนึ่ง ผู้ขายออกตั๋วแลกเงินพร้อมมอบเอกสารการขนส่งสินค้าส่งให้แก่- ธนาคารตัวแทนในประเทศของผู้ขายเพื่อส่งให้ธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ซิ้อและสั่งให้ธนาคารส่งตั๋วแลกเงินให้ผู้ซื้อ- ส่งให้แก่ตัวแทนของผู้ขายในประเทศผู้ซื้อเพื่อยื่นให้แก่ผู้ซื้อโดยตรง จ่ายเงิน รับรอง

  19. UCP 500 ๔.Letter of Credit Art 2เครดิตที่มีเอกสารประกอบ (Documentary Credit)และสแตนด์บาย เลตเตอร์ออฟเครดิต (Standby letter of credit) ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า เครดิต หมายถึง ข้อตกลงใดๆไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าอย่างไร ซึ่ง ธนาคารผู้เปิดเครดิต (The Issuing Bank)ดำเนินการตามคำขอหรือคำสั่งของลูกค้า (The Applicant)หรือในนามของธนาคาร ที่จะ ๑.ชำระเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) หรือตามคำสั่งของผู้รับประโยชน์ หรือรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินที่ออกโดยผู้รับประโยชน์ ๒. มอบหมายให้ธนาคารอื่นชำระเงินหรือรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินนั้น ๓. มอบหมายให้ธนาคารอื่นรับซื้อตั๋วแลกเงินที่ผู้รับประโยชน์เป็นผู้ออกตั๋ว

  20. ใน L/C ต้องกำหนดอะไรไว้ ๑. ให้มีการชำระเงินเมื่อได้เห็น ๒. ให้มีการชำระเงินในวันใดวันหนึ่งในอนาคต - กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับประโยชน์ (ผู้ขาย) สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน และในเครดิตนั้นเองจะกำหนดให้ธนาคารผู้เปิดเครดิต (Issuing Bank) ธนาคารผู้ได้รับมอบหมาย (Nominated Bank) หรือธนาคารผู้ยืนยันเครดิต (Confirm Bank) เป็นผู้ลงนามรับรองตั๋วแลกเงิน- แล้วนำตั๋วแลกเงินนั้นไปขายลดราคา จะได้เงินเร็วขึ้น ๓. รับรองตั๋วแลกเงิน ๔. เจรจาซื้อตั๋วแลกเงิน

  21. ๓. การชำระเงินแบบ L/C

  22. ๑.ผังวงจรของ L/C ๒.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ L/C ๓.ชนิดของ L/C ๔.หลักกฎหมาย L/C

  23. ๓.๑ ผังวงจร L/C

  24. ขั้นตอนในการทำเลตเตอร์ออฟเครดิตขั้นตอนในการทำเลตเตอร์ออฟเครดิต 1 Sales Contract ผู้ขายหรือผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) ผู้ซื้อหรือผู้ขอเปิดเครดิต (Applicant) ส่งสินค้า 2 ชำระหนี้ให้กับธนาคาร หรือทำ ทรัสต์รีซีท(Trust Raciept) ยื่นคำขอให้ธนาคารในประเทศของตนเปิด L/C ให้แก่ผู้ขาย และธนาคารตกลง แจ้งการเปิดเครดิตให้แก่ผู้ขาย ยื่นเอกสารการส่ง (Shipping Document) ชำระหนี้ แจ้งให้มาตรวจเอกสารให้แก่ธนาคาร ชำระหนี้ ธนาคารผู้แจ้งเครดิต (Advising Bank) ธนาคารผู้เปิดเครดิต (Issuing Bank) ส่งเอกสารการส่ง แจ้งการเปิดเครดิต และอาจให้ธนาคารอื่นยืนยัน 3

  25. ระยะเวลาในการเปิด เลตเตอร์ออฟเครดิต ๑. กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขาย โดยอาจจะกำหนดไว้ในปีปฏิทิน หรือเปิดในทันทีทันใด หรือเมื่อผู้ขายได้แจ้งแก่ผู้ซื้อว่าสินค้าพร้อมที่จะส่งลงเรือแล้ว ๒. ในกรณีที่ไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญา ผู้ซื้อจะต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในระยะเวลาอันสมควร ซึ่งหมายถึงระยะเวลาล่วงหน้าก่อนที่ผู้ขายจะส่งสินค้าเพื่อให้ผู้ขายทราบถึงหลักประกันในการชำระเงิน ถ้าผู้ซื้อไม่ปิดเครดิตในระยะเวลาอันสมควร ผู้ขายก็มีสิทธิไม่ส่งสินค้า บอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายได้ ระยะเวลาสิ้นสุดของ เลตเตอร์ออฟเครดิต ๑. เครดิตที่ต้องการเอกสารทุกฉบับจะต้องระบุวันสิ้นสุดของเครดิต การยื่นขอรับชำระเงิน ให้รับรอง หรือโอนต่อไป เมื่อพ้นกำหนดดังกล่าว ธนาคารตัวแทนย่อมจะปฏิเสธไม่รับเอกสารต่างๆจากผู้ขาย อย่างไรก็ตาม คู่สัญญาอาจตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ (UCP 500 Art 42)๒. เครดิตที่ต้องการเอกสารขนส่งควรกำหนดช่วงระยะเวลาที่แน่นอนหลังจากวันส่งสินค้าเพื่อการยื่นเอกสาร หากไม่มีกำหนดระยะเวลาไว้ ธนาคารจะปฏิเสธเอกสารที่ยื่นเกินกว่า ๒๑ วันนับจากวันดังกล่าว อย่างไรก็ตามต้องยื่นเอกสารไม่ช้ากว่าวันสินสุดของธนาคาร (UCP 500 Art 43)

  26. ๓.๒ เอกสารเกี่ยวข้องกับL/C

  27. ตั๋วแลกเงิน (Drafts) ใบตราส่ง(Bill of Lading)เอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้เพื่อแสดงว่าผู้ขนส่งได้รับของตามที่ระบุไว้ในความดูแลหรือบรรทุกลงเรือแล้ว เพื่อนำไปส่งมอบให้กับผู้มีสิทธิรับของ เมื่อ่ได้รับเวนคืนใบตราส่ง(มาตรา ๓ พ.ร.บ.รับขนของทางทะเล ๒๕๓๔)- ใบตราส่งอาจระบุชื่อผู้ซื้อเป็นผู้รับตราส่งโดยตรง (Straight Bill of Lading)- หรือระบุว่าตามคำสั่งของผู้ซิ้อหรือบุคคลที่สามหรือตามคำสั่งของผู้ขาย (OrderBill of Lading) กรมธรรม์ประกันภัย(Insurance Policy)เอกสารแสดงภาระผูกพันที่บริษัทรับประกันภัยจะชำระค่าเสียหายตามจำนวนเงินที่กำหนดแก่บุคคลที่ระบุไว้ เมื่อเกิดความเสียหายแก่สินค้าที่ขนส่ง ใบแสดงน้ำหนักรายการสินค้า(Weight List) ใบรับรองน้ำหนักสินค้ารวม(Weight Certificate) ใบกำกับสินค้า(Invoice) ใบรับรองคุณภาพสินค้า(Inspection Certificate) ใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า(Certificate of Origin) ใบกำกับหีบห่อ(Package List) ใบรับรองของกงสุล(Consular Invoice) ใบรับรองของศุลกากร(Custom Invoice) Sanitary or Health Certificate

  28. ๓.๓ ชนิดของL/C

  29. ชนิดของเครดิต ยืนยัน เพิกถอนได้ ไม่ยืนยัน เพิกถอนไม่ได้ Advising Bank Issuing Bank

  30. เพิกถอนได้ Revocable UCP 500 Art 8เครดิตที่ธนาคารผู้ออกเครดิตสามารถแก้ไข หรือยกเลิกได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้รับประโยชน์ทราบ เงื่อนไข ชดใช้ให้ธนาคารอื่น หากธนาคารอื่นได้ใช้เงินหรือรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงิน ตามที่ระบุในเครดิต หากธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องตรงตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิต และเป็นชนิดระบุวันชำระเงิน ไม่ได้เป็นผลดีต่อผู้ขาย (ผู้รับประโยชน์) แต่ต้องก่อนเวลาที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิต

  31. เพิกถอนไม่ได้ Irrevocable UCP 500 Art 9เครดิตที่ธนาคารผู้เปิดเครดิตรับภาระที่แน่นอนในการชำระหนี้ตามเครดิตและการเปลี่ยนแปลงแก้ไขต้องได้รับความยินยอมจากผู้เกี่ยวข้องในเครดิตทั้งหมด หากไม่ระบุให้ถือว่าเป็นแบบเพิกถอนไม่ได้ เงื่อนไข ใช้เงิน (sight payment) เสนอเอกสารครบถ้วน ชำระเงินตามกำหนด (deferred payment) รับรอง มีการเจรจาซื้อ (Negotiation) เป็นผลดีต่อผู้ขาย (ผู้รับประโยชน์) การที่ธนาคารซึ่งได้รับมอบอำนาจให้ทำการ เจรจาซื้อได้ให้มูลค่าของตั๋วแลกเงิน เอกสารแล้ว

  32. ยืนยัน Confirmed UCP 500 Art 9(b)ธนาคารผู้เปิดเครดิตจะตกลงกับธนาคารในประเทศผู้ซื้อให้เพิ่มความรับผิดลงไปในเครดิตด้วย โดยให้ธนาคารนั้นยืนยัน L/C เมื่อได้ยืนยัน ธนาคารมีความรับผิดชอบตลอดไปแม้ว่าธนาคารผู้เปิดเครดิตจะเลิกกิจการไปแล้ว บริษัทในประเทศจอร์แดน(โจทก์)ได้สั่งซื้อเหล็กเส้นจากบริษัทในประเทศอังกฤษ โดยมีข้อตกลงให้แบ่งส่งสินค้าเป็น ๒ เที่ยวเรื่อ การชำระราคาโดยเปิด L/C ชนิดยืนยัน ๒ ฉบับ ฉบับละเที่ยว ได้มีการเปิดเครดิตตามสัญญาโดยถูกต้องและมีการยืนยันเครดิตไปยังผู้ขายแล้ว แต่ปรากฏว่าเมื่อส่งสินค้างวดแรกและได้มีการชำระเงินไปแล้ว ผู้ซื้อพบว่าสินค้าเที่ยวแรกไม่ถูกต้องตรงตามสัญญา ผู้ซื้อจึงยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลสั่งห้ามชั่วคราวมิให้ผู้ขายเรียกเก็บเงินในการขนส่งเที่ยวที่ ๒ ศาลอุทธรณ์ยกคำร้อง โดยวินิจฉัยว่า ธนาคารซึ่งยืนยันเครดิตมีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงว่าจะมีการปฏิบัติผิดสัญญาระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายหรือไม่ และผู้ขายย่อมได้หลักประกันว่าจะไม่มีสิ่งใดๆมาขัดขวางมิให้ตนรับชำระราคาได้

  33. ไม่ยืนยัน Unconfirmed UCP 500 Art 7,12ธนาคารผู้แจ้งเครดิตเพียงแต่แจ้งเครดิตให้กับผู้รับประโยชน์เท่านั้น จึงไม่เข้าไปยืนยันเครดิตฉบับนั้นด้วย ผล ธนาคารผู้แจ้งไม่มีความรับผิดชอบใดๆเลย

  34. วิธีการใช้เครดิต

  35. เครดิตชนิดเพิกถอนได้ เครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ เครดิตที่ไม่มีการยืนยัน เครดิตที่มีการยืนยัน เครดิตชนิดที่โอนได้ รีวอลวิ่งเครดิต เครดิตหนุนเครดิต เครดิตตัวแดง เครดิตเพื่อการบรรจุ เครดิตโอนขายได้ แสตนด์บายเครดิต

  36. โอนได้ Transferable UCP 500 Art 48เป็นเครดิตที่ผู้รับประโยชน์ (First Beneficiary)สามารถร้องขอให้ธนาคารตัวแทน (Transferring Bank)จ่ายเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแก่ผู้รับประโยชน์รายเดียวหรือหลายราย (Second Beneficiaries) ผล จะต้องระบุธนาคารผู้ทำการโอนไว้ หากเป็นเครดิตที่มีการโอนได้อย่างอิสระ เครดิตจะโอนได้ก็ต่อเมื่อธนาคารผู้เปิดเครดิตได้ระบุไว้โดยแจ้วชัดว่าให้โอนได้ ธนาคารที่ได้รับมอบหมายให้ทำการโอนไม่มีพันธะที่จะต้องทำการโอน เว้นแต่จะอยู่ในขอบเขตและรูปแบบที่ให้ความยินยอมไว้โดยชัดแจ้ง เครดิตชนิดที่โอนไม่ได้ ไม่ห้ามผู้รับประโยชน์ที่จะโอนไปในลักษณะของการโอนสิทธิเรียกร้องUCP 500 Art 49

  37. Revolving ใช้กับการซื้อขายสินค้าที่มีการส่งสินค้าหลายครั้ง เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพียงครั้งเดียวและให้มีเวลาครอบคลุมการขนส่งทั้งหมด กรณีที่มีการสั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน เมื่อรวมกันอาจเกินวงเงินในเลตตอร์ออฟเครดิต กำหนดเงื่อนไขของการสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินไว้แตกต่างกัน กำหนดจำนวนวงเงินใหม่ทุกครั้ง กำหนดจำนวนเงินแน่นอนเป็นระยะ ในการสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินแต่ไม่สะสม

  38. เครดิตหนุนเครดิต Back to Back เครดิตที่ธนาคารเปิดขึ้นให้แก่ลูกค้าอีกฉบับหนึ่ง โดยลูกค้านำเครดิตเดิมมามอบไว้เป็นประกัน ใช้กับกรณีที่มีพ่อค้าคนกลางหลายคน นาย ทักษิณ นายมาราตี IB Back to Back MR.A

  39. เครดิตที่มี ข้อตัวแดง Red Clause Credit เครดิตที่ผู้ซื้ออนุญาตให้ธนาคารจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้ขายเพื่อนำไปจ่ายเกี่ยวกับการส่งสินค้าก่อนที่ผู้ขายจะได้มอบเอกสารต่างๆแก่ธนาคารตัวแทน อาจมีข้อกำหนดให้ผู้ขายหาหลักประกันมาวาง ใบรับฝากสินค้า ธนาคารค้ำประกัน

  40. เครดิตเพื่อ การบรรจุ Packing เครดิตที่ผู้ซื้ออนุญาตให้ธนาคารจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้ขายเพื่อนำไปจ่ายเกี่ยวกับการส่งสินค้าก่อนที่ผู้ขายจะได้มอบเอกสารต่างๆแก่ธนาคารตัวแทน แต่ อยู่ในดุลยพินิจและการเริ่ม ของธนาคารตัวแทนเอง เมื่อผู้ขายได้รับเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว แต่ไม่มีเงินเพียงพอในการจัดเตรียมส่งสินค้า ผู้ขายจึงติดต่อธนาคารผู้แจ้งเครดิต เพื่อขอรับเงินก่อน ธนาคารให้ผู้ขายนำเอกสารบางอย่างที่ไม่ใช่เอกสารแสดงการส่ง (Shipping Document) แต่เป็นเอกสารที่แสดงว่าสินค้ามีอยู่จริง เช่น ในรับของคลังสินค้า กำหนดให้ผู้ขายนำสินค้าไปฝากไว้ที่คลังสินค้าของธนาคาร หรือนำใบรับฝากสินค้าไปจำนำไว้กับธนาคาร ผู้ขายต้องรับรองต่อธนาคารเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะนำตั๋วแลกเงินและเอกสารต่างๆมายื่นต่อธนาคารก่อนเครดิตหมดอายุ

  41. เครดิตที่ โอนขายได้ Negotiation เป็นเครดิตที่อนุญาตให้ธนาคารรับซื้อตั๋วแลกเงิน (draft)ซึ่งโดยทั่วไปมักเรียกเก็บจากธนาคารผู้เปิดเครดิตพร้อมเอกสาร ธนาคารผู้เปิดเครดิตให้คำรับรองตัวแทนว่าจะชำระเงินแก่ผู้ซื้อตั๋วแลกเงิน (ซึ่งอาจมีเอกสารด้วย) เครดิตที่ โอนขายไม่ได้ Negotiation จ่ายเงินให้กับผู้รับประโยชน์แต่เพียงผู้เดียว

  42. Standby Credit เป็นวิธีที่ธนาคารตัวแทนให้ประกันการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายหรือบริการแก่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากสัญญาค้ำประกัน ไม่อาจยกความไม่สมบูรณ์ของสัญญาหลักหรือข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ และธนาคารต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัดเกี่ยวกับเอกสารและการชำระเงิน

  43. ทรัสต์รีซีท สัญญาระหว่างลูกค้ากับธนาคารทำขึ้นโดยอาศัยความเชื่อถือที่ธนาคารมีต่อลูกค้า โดยลูกค้าขอรับเอกสารการขนส่งสินค้าเพื่อนำไปรับสินค้าก่อน ลูกค้ารับรองว่าธนาคารมีกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้น และมีอำนาจที่จะเรียกกลับคืนมาหรือทำการจำหน่ายแทนได้ทุกโอกาส และในการจำหน่ายสินค้านั้น ลูกค้าจะกระทำไปเพื่อประโยชน์ของธนาคาร และจะนำเงินที่ขายสินค้านั้นมาชำระเงินแก่ธนาคาร

  44. ฎ ๒๕๔๖/๒๕๑๗ สัญญารับมอบสินค้าเชื่อหรือทรัสต์รีซีท คือสัญญาระหว่างธนาคารผู้เปิดเครดิตและลูกค้าผู้ขอเปิดเครดิต โดยธนาคารสัญญาจะมอบเอกสารที่จะใช้ในการรับมอบสินค้าให้ผู้ขอเครดิตเพื่อไปรับสินค้าและนำสินค้านั้นไปขายได้ แต่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังเป็นของธนาคารอยู่ และทางฝ่ายผู้ขอเปิดเครดิตก็สัญญาว่าจะยึดถือเอกสารที่จะใช้ในการรับมอบสินค้นกับสินค้าที่รับมารวมทั้งเงินที่ขายสินค้าได้ไว้ในนามของธนาคาร และจะนำเงินชำระให้แก่ธนาคารเพื่อหักรวมกับเงินหนี้ตามดราฟท์ สัญญาเช่นนี้มีผลผูกพันคู่กรณีตามกฎหมาย กรณีเช่นนี้หาใช่สัญญาก่อตั้งทรัสต์รีซีทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๘๖ ไม่

  45. ๓.๔ หลักกฎหมายของL/C หลักการทั่วไป ความเกี่ยวพันตามกฎหมายระหว่างคู่สัญญาต่างๆใน L/C ความมีผลของสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต

  46. หลักการที่สำคัญของ L/C ๑. สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นสัญญาที่แยกเป็นเอกเทศจากสัญญาประธาน UCP 500 Art 3(a) เครดิตโดยสภาพเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากสัญญาซื้อขาย หรือสัญญาอื่นอันเป็นสัญญาหลักและธนาคารไม่เกี่ยวข้องหรือผูกพันตามสัญญานั้นถึงแม้จะมีการอ้างอิงไว้ในสัญญา ดังนั้นภาระผูกพันที่ธนาคารจะต้องชำระเงิน จึงไม่ขึ้นอยู่กับข้อเรียกร้องหรือโต้แย้งของผู้ขอเปิด (Appicant) ที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างตนกับธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือกับผู้รับประโยชน์ Midland Bank Ltd.v.Seumour(1955)ผู้ชื้อในประเทศอังกฤษได้สั่งซื้อขนเป็ดจากผ็ขายในฮ่องกงโดยวิธีการเปิดเลตเอตร์ออฟเครดิตกับธนาคาร เมื่อผู้ขายยื่นเอกสารต่อธนาคารถูกต้อวครบถ้วนตามเงื่อนไขในเครดิตธนาคารจึงจ่ายเงินให้ผู้ขาย ต่อมาปรากฏว่าผู้ขายส่งสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ผู้ซื้อไม่ยอมชำระเงินให้ธนาคาร ศาลอังกฤษพิพากษาว่า สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขาย ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น ถ้าธนาคารได้ตรวจสอบเอกสารเห็นว่าถูกต้องตรงตามเครดิต ธนาคารก็ต้องจ่ายเงิน และผู้ซื้อซึ่งขอเปิดเครดิตต้องชำระเงินให้ธนาคาร

  47. หลักการที่สำคัญของ L/C ๒. เลตเตอร์ออฟเครดิตเกี่ยวข้องเฉพาะเอกสารเท่านั้น ธนาคารจะตรวจสอบเฉพาะเอกสารที่ผู้รับประโยชน์นำมาแสดงว่าครบถ้วนและถูกต้องตามที่ระบุไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือไม่เท่านั้น โดยจะไม่พิจารณาถึงสินค้า บริการและ/หรือการปฎิบัติการอื่นใดที่อาจเกี่ยวข้องกับเอกสารนั้น (UCP 500 Art 15) ภาระผูกพันที่ธนาคารจะต้องชำระเงิน จึงไม่ขึ้นอยู่กับข้อเรียกร้องหรือโต้แย้งของผู้ขอเปิด (Appicant) ที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างตนกับธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือกับผู้รับประโยชน์ (UCP 500 Art 3(a)) และในขณะเดียวกัน ในการปฏิบัติการเกี่ยวกับเครดิต ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับเอกสารและไม่เกี่ยวข้องกับสินค้า บริหารหรือการปฏิบัติการอื่นใด ซึ่งเอกสารนั้นอาจเกี่ยวพันไปถึง (UCP 500 Art 4) ธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับแบฟอร์ม ความแท้จริง การปลอมแปลง ปัยหากฎหมายของเอกสารใดๆ ลักษณะ ประเภทสินค้า ปริมาณ นำหนัก คุณภาพ สภาพ การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง หรือมูลค่าของสินค้าที่ส่งมอบ

  48. ฎ ๗๗๕/๒๕๒๕ จำเลยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารโจทก์ โดยมีข้อตกลงว่า ในกรณีที่เอกสารต่างๆครบถ้วนแล้วและถูกต้องแล้ว ธนาคารโจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบในกรณีสินค้าที่ส่งมาเกิดความเสียหาย ขากจำนวนหรือบกพร่อง และตกลงให้ถือเอาระเบียบประเพณีและประเพณีปฏิบัติเกี่ยวกับเครดิตที่มีเอกาสารประกอบ (แก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ.๑๙๖๒) ของสภาหอการค้านานาชาติ “ซึ่งระบุว่าให้ถือเอาความถูกต้องของเอกสารเป็นหลัก” เป็นส่งหนึ่งของสัญญา เมื่อปรากฏว่าเอกสารต่างๆที่ส่งมา คือ รายการสินค้าที่ระบุไว้ในใบตราส่ง (Bill of Lading) และบัญชีสินค้า (Invoices) ทุกรายการถูกต้องกับรายการสินค้าในใบเสนอ ซึ่งแนบท้ายเลตเตอร์ออฟเครดิตและบริษัทผู้ขายได้เสนอเอกสารต่างๆครบถ้วน ถูกต้องตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว แม้สินค้าไม่ตรงตามรายการที่ระบุไว้ในใบตราส่ง บัญชีราคาสินค้าและใบเสนอราคาดังกล่าว และจำเลยได้สั่งให้ธนาคารโจทก์ระงับการจ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตที่เปิดไปแล้วก็ตาม จะเลยก็ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ทำกันไว้ Power Curber Int Ltd National Bank Kuwait SAK (1981) หลักความเป็นเอกเทศของเครดิตมีผลทำให้ผู้ซื้อไม่อาจกล่าวอ้างถึงความเสียหายอันเนื่องจากการผิดสัญญาของผู้ขายขึ้นหักกลบลบหนี้ต่อสิทธิของผู้ขายในการกเรียกร้องให้ธนาคารชำระเงินตามเครดิต

  49. หลักการที่สำคัญของ L/C ๓. ธนาคารต้องปฏิบัติตามเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยเคร่งครัด The Doctrine of Strict Compliance UCP 500 Art 13 ธนาคารต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในเครดิตโดยเคร่งครัดและต้องปฏิเสธไม่รับเอกสารและไม่รับรองตั๋วแลกเงินที่ออกตามเลตเตอร์ออฟเครดิต ซึ่งเรียกว่า หลักการปฏิบัติโดยเคร่งครัด ทั้งนี้โดยถือว่า ธนาคารที่ได้รับการแจ้งการเปิดเครดิต เป็นตัวแทนของธนาคารผู้เปิดเครดิต (Issuing Bank) ซึ่งเป็นตัวแทนอีกทีหนึ่งของผู้ซื้อ หากตัวแทนปฏิบัติเกินไปกว่าที่ตัวการมอบหมายไว้ก็ย่อมไม่ผูกพันตัวการและจะต้องเป็นผู้รับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเอง ในกรณีที่เอกสารไม่ถูกต้อง ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในเครดิต และธนาคารปฏิเสธไม่ยอมรับเอกสารดังกล่าว หากผู้ขายไม่สามาระแก้ไขเอกสารให้ถูกต้องตามที่กำหนดวิ้ส่งที่ผู้ขายจะต้องปฏิบัติก็คือผู้ขายจะต้องติดต่อกับผู้ซื้อโดยตรง และขอร้องให้ผู้ซื้อมีคำสั่งถึงธนาคารให้ยอมรับเอกสารดังกล่าว

  50. ฎ ๒๑๒๒/๒๔๙๙ จำเลยขอให้ธนาคารโจทก์เปิดเครดิตชำระค่าสินค้าค่าผ้าที่จำเลยสั่งซื้อจากบริษัทในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยให้จ่ายเงินเมื่อบริษัทผู้ขายได้ยื่นเอกสารต่างๆ รวมทั้งใบตราส่งแสดงถึงการส่งสินค้าว่าเป็นผ้ากากีค๊อตตอนทวิลล์ ๑๐,๐๐๐ หลาโดยจ่ายเงินโดยปรากฏว่าเอกสาร ๒ ฉบับไม่ตรงตามเงื่อนไข คือ ใบตราส่งและกรมธรรม์ประกันภัยระบุรายการสินค้าว่าเป็น “๑๖ มัด ผ้าด้ายเป็นชิ้น” เมื่อจำเลยรับสินค้าแล้ว ปรากฏว่าผ้าที่ส่งมานั้นเป็นเศษผ้าขี้ริ้วทั้งหมด จำเลยจึงปฏิเสธการจ่ายเงิน ศาลฎีกา วินิจฉัยว่า คำว่า “ผ้ากากีค๊อตตอนทวิลล์ ๑๐,๐๐๐ หลา” ก็แสดงว่าเป็นสินค้าที่ที่อาจแตกต่างกันไปได้มากมาย แม่แต่ผ้ากากีค๊อตตอนทวิลล์สีกากี กับสีอื่นก็อาจผิดความประสงค์ เป็นการผิดคำสั่งของจำเลยที่โจทก์ตกลงไปแล้ว นอกจากนี้ปริมาณของสินค้าที่ส่งตามที่จำเลยสั่งว่าต้องเป็นผ้า ๑๐,๐๐๐ หลา ก็กลับระบุเป็นว่า ๑๖ มัด เป็นหน้าที่ของตัวแทนโจทก์ที่ต้องได้เห็นเอกสารทั้งหลายว่าตรงกับคำสั่งของจำเลยก่อนจ่ายเงินไป เห็นว่า ผู้แทนธนาคารโจทก์ได้จ่ายเงินไปผิดจากคำสั่งของจำเลยตามที่ธนาคารโจทก์ได้ตกลงไว้ จะเลยจึงไม่มีหน้าที่จะต้องชดใช้เงินที่ผู้แทนธนาคารโจทก์จ่ายไปโดยผิดจากคำสั่งข้อตกลงของจำเลย พิพากษายกฟ้องโจทก์

More Related