1 / 35

จรรยาบรรณ และจรรยาบรรณวิชาชีพ เอกสารประกอบการสอน ปี 4 รุ่น 17 : ภาณุ อดกลั้น

จรรยาบรรณ และจรรยาบรรณวิชาชีพ เอกสารประกอบการสอน ปี 4 รุ่น 17 : ภาณุ อดกลั้น. หลักจริยธรรมวิชาชีพ หลักจริยธรรมวิชาชีพที่สำคัญประกอบด้วย 6 ประการ ดังนี้

paula-carr
Télécharger la présentation

จรรยาบรรณ และจรรยาบรรณวิชาชีพ เอกสารประกอบการสอน ปี 4 รุ่น 17 : ภาณุ อดกลั้น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. จรรยาบรรณ และจรรยาบรรณวิชาชีพ เอกสารประกอบการสอน ปี 4รุ่น 17 : ภาณุ อดกลั้น

  2. หลักจริยธรรมวิชาชีพ หลักจริยธรรมวิชาชีพที่สำคัญประกอบด้วย 6 ประการ ดังนี้ 1. การเคารพเอกสิทธิ์/ความเป็นอิสระ (Respect for Autonomy)หมายถึง เอกสิทธิ์ หรือ อิสระ ในการปกครองตนเอง สิทธิ อิสรภาพ ความเป็นส่วนตัว อิสรภาพในการทำตามความปรารถนาของตน เป็นคนริเริ่มพฤติกรรมตนเอง และความเป็นตัวของตัวเองหลักการข้อนี้ครอบคลุมทั้งการตัดสินใจและการกระทำ

  3. การตัดสินใจอย่างอิสระ (autonomous decisions) มีลักษณะดังนี้ (1) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณค่าและความเชื่อ (2) อาศัยข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ (3) เป็นอิสระจากการถูกบังคับ (4) อยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและความตั้งใจ

  4. การกระทำอย่างอิสระ (autonomous action) คือการกระทำที่มีลักษณะดังนี้ (1) กระทำด้วยความตั้งใจ (2) กระทำด้วยความเข้าใจ (3) ไม่มีอิทธิพลใดมาควบคุม

  5. 2. การทำประโยชน์ (Beneficence) หมายถึง การกระทำในสิ่งที่ดี เกิดผลดีทั้งผู้กระทำและผู้อื่น หลักการข้อนี้สนับสนุนการกระทำที่มีจริยธรรมว่า เป็นการกระทำที่บ่งบอกถึงความเมตตา กรุณา ความปรารถนาดี และความเอื้อเฟื้อแก่เพื่อนมนุษย์

  6. หลักจริยธรรมข้อนี้อยู่บนหลักการที่สำคัญ 2 ประการ คือ (1) การทำประโยชน์ ซึ่งประกอบด้วย การป้องกันสิ่งเลวร้าย หรืออันตราย การขจัดสิ่งเลวร้ายหรืออันตราย และการกระทำและส่งเสริมสิ่งที่ดี และ (2) ความสมดุลระหว่างประโยชน์และอันตราย

  7. 3. การไม่ทำอันตรายnonmaleficence) หมายถึง การไม่ทำอันตราย การกระทำที่ไม่นำสิ่งเลวร้าย หรืออันตรายมาสู่บุคคลอื่น ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ได้แก่ ห้ามฆ่า ห้ามทำให้เจ็บปวด ห้ามทำให้ไร้ความสามารถ ห้ามทำให้ปราศจากความสุข ห้ามจำกัดอิสรภาพ เป็นต้น

  8. ลักษณะการดูแลที่ถือว่าผิดหลักการไม่ทำอันตรายคือ การกระทำที่ประกอบด้วย 4ลักษณะต่อไปนี้ คือ (1) ผู้ประกอบวิชาชีพมีหน้าที่โดยตรงต่อบุคคลนั้น (2) ผู้ประกอบวิชาชีพละเลยหน้าที่ของตน (3)บุคคลนั้นได้รับอันตราย (4) อันตรายที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากการละเลยหน้าที่นั้น

  9. 4. ความยุติธรรม/เสมอภาค (Justice) หมายถึงความยุติธรรม ความเท่าเทียม ความไม่ลำเอียง ตามหลักเกณฑ์นี้ไม่ได้ระบุถึงเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ในการตัดสินความเท่าเทียม เกณฑ์ในการตัดสินการปฏิบัติ เป็นหลักการที่เน้นสิ่งที่ปรากฏ (material principles)

  10. แนวทางในการกระทำที่แสดงถึงความยุติธรรม (1) ให้แต่ละบุคคลเท่าๆ กัน (2) คำนึงถึงความต้องการของแต่ละบุคคล (3) คำนึงถึงความพยายามของแต่ละบุคคล (4) คำนึงถึงสิ่งที่แต่ละบุคคลได้กระทำ (5) คำนึงถึงความดีของแต่ละบุคคล (6) คำนึงถึงคุณค่าในสังคมของแต่ละบุคคล

  11. 5. การบอกความจริง (Veracity) หมายถึง การบอกความจริง (telling the truth) บุคคล ไม่โกหกหรือหลอกลวงผู้อื่น

  12. 6. ความซื่อสัตย์ (Fidelity) หมายถึง พันธะหน้าที่ของบุคคลที่จะต้องซื่อสัตย์ต่อข้อผูกพัน (commitment) ที่มีต่อตนเองหรือผู้อื่น ความซื่อสัตย์ครอบคลุมถึงการรักษาสัญญา และการปกปิดความลับ ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือไว้วางใจในสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

  13. “confidentiality” หมายถึง การปกปิดความลับ ซึ่งเป็นข้อตกลง สัญญา และพันธะหน้าที่ที่บุคคลหนึ่งทำกับอีกบุคคลหนึ่ง (ข้อมูลที่เป็นอันตรายหรือน่าอับอายของผู้ป่วย)

  14. แนวคิดทางจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล 1. การทำหน้าที่แทน(advocacy) หมายถึง การที่บุคคลกระทำเพื่อปกป้องผู้อื่น หรือช่วยให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ ดังนั้นในการทำหน้าที่แทนผู้ป่วย พยาบาลจะต้องช่วยผู้ป่วยและเป็นผู้แทนผู้ป่วย (surrogates) ในการตัดสินใจ และลงมือกระทำเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย

  15. 2. ความรับผิดชอบ (accountability/responsibility) ทำตามหน้าที่ดูแลความสุขสบายของผู้อื่น ทั้งทางจริยธรรม และทางกฎหมายได้โดยไม่ต้องมีผู้มาควบคุม สามารถที่จะอธิบายการกระทำ การคิด การตัดสินใจกระทำของตนเองได้

  16. 3. ความร่วมมือ(Cooperative) ร่วมกันปฏิบัติงานกับหลายวิชาชีพที่โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันคือ คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย ส่งเสริมให้เป้าหมายของทุกฝ่ายบรรลุถึงความสำเร็จได้มากกว่าการทำงานโดยลำพัง

  17. 4. ความเอื้ออาทร (Caring) หมายถึงพยาบาลมีหน้าที่ที่จะปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งการดูแลให้ผู้ป่วยมีภาวะสุขภาพที่ดี หลักจริยธรรมหลักๆ ที่สอดคล้องกับแนวคิดทางจริยธรรมข้อนี้คือ หลักการทำประโยชน์ และหลักการเคารพเอกสิทธิความเป็นอิสระ

  18. จรรยาบรรณวิชาชีพ พ.ศ. 2528 (สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย 26 ตุลาคม พ.ศ. 2528) ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลพึงประพฤติหรือปฏิบัติตนต่อประชาชน สังคมและประเทศชาติ วิชาชีพ ผู้ร่วมวิชาชีพ และผู้ประกอบวิชาชีพอื่น และต่อตนเอง เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก ทำให้ได้รับความเชื่อถือจากสังคม โดย มิจำเป็นต้องถูกบังคับด้วยกฎหมาย

  19. จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อประชาชนจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อประชาชน 1. ประกอบวิชาชีพด้วยความมีสติ ตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2. ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความเสมอภาคตามสิทธิมนุษยชน โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา และสถานภาพของบุคคล

  20. 3. ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่มีอคติ และการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน 4. พึงเก็บรักษาเรื่องส่วนตัวของผู้ใช้บริการไว้เป็นความลับ เว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้นั้น หรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมาย 5. พึงปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้ ความสามารถอย่างเต็มที่ ในการวินิจฉัยและแก้ปัญหาสุขภาพอนามัยอย่างเหมาะสม แก่สภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน 6. พึงป้องกันภยันตรายอันจะมีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

  21. จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อสังคมและประเทศชาติจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อสังคมและประเทศชาติ 1. พึงประกอบกิจแห่งวิชาชีพให้สอดคล้องกับนโยบายอันยังประโยชน์แก่สาธารณะ 2. พึงรับผิดชอบร่วมกับประชาชนในการริเริ่ม สนับสนุนกิจกรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุขและยกระดับคุณภาพชีวิต 3. พึงอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ

  22. จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อวิชาชีพจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อวิชาชีพ 1. พึงตระหนักและถือปฏิบัติในหน้าที่ความรับผิดชอบ ตามหลักการแห่งวิชาชีพการพยาบาล 2. พัฒนาความรู้และวิธีปฏิบัติให้ได้มาตรฐานแห่งวิชาชีพ 3. พึงศรัทธาสนับสนุน และให้ความร่วมมือในกิจกรรมแห่งวิชาชีพ 4. พึงสร้างและธำรงไว้ซึ่งสิทธิอันชอบธรรม ในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล 5. พึงเผยแพร่ชื่อเสียง และคุณค่าแห่งวิชาชีพให้เป็นที่ปรากฏแก่สังคม

  23. จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อผู้ร่วมวิชาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อผู้ร่วมวิชาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น 1. ให้เกียรติ เคารพในสิทธิและหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพและผู้อื่น 2. เห็นคุณค่า และยกย่องผู้มีความรู้ ความสามารถในศาสตร์สาขาต่างๆ 3. พึงรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดี กับผู้ร่วมงานทั้งภายในและภายนอกวิชาชีพ

  24. 4. ยอมรับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ และชักนำให้ประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร 5. พึงอำนวยความสะดวก และให้ความร่วมมือผู้ร่วมงานในการปฏิบัติภารกิจอันชอบธรรม 6. ละเว้นการส่งเสริมหรือปกป้องผู้ประพฤติผิดเพื่อประโยชน์แห่งตน หรือผู้กระทำการนั้นๆ

  25. จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อตนเองจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อตนเอง 1. ประพฤติตนและประกอบกิจแห่งวิชาชีพ โดยถูกต้องตามกฎหมาย 2. ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ 3. ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งในด้านการประกอบกิจแห่งวิชาชีพและส่วนตัวใฝ่รู้ พัฒนาแนวคิดให้กว้าง และยอมรับการเปลี่ยนแปลง 4. ประกอบกิจแห่งวิชาชีพด้วยความเต็มใจ และเต็มกำลังความสามารถ 5. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมีสติ รอบรู้ เชื่อมั่นและมีวิจารณญาณอันรอบคอบ

  26. จรรยาบรรณพยาบาล ฉบับปีพุทธศักราช 2546(สมาคมพยาบาลแห่งประเทศในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ข้อที่ 1พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาล และบริการสุขภาพพยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาล และบริการสุขภาพทั้งต่อปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และระดับประเทศ ในการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันความเจ็บป่วย การฟื้นฟูสุขภาพและการบรรเทาความทุกข์ทรมาน

  27. จรรยาบรรณพยาบาล ฉบับปีพุทธศักราช 2546 ข้อที่ 2 พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตากรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิต ความมีสุขภาพดีและความผาสุกของเพื่อนมนุษย์พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตากรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิตความมีสุขภาพดี และความผาสุกของเพื่อนมนุษย์ ช่วยให้ประชาชนดำรงสุขภาพไว้ใน ระดับดีที่สุด ตลอดวงจรของชีวิต นับแต่ปฏิสนธิ ทั้งในภาวะสุขภาพปกติ ภาวะเจ็บป่วย ชราภาพ จนถึงระยะสุดท้ายของชีวิต

  28. จรรยาบรรณพยาบาล ฉบับปีพุทธศักราช 2546 ข้อที่ 3 พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงาน และประชาชนด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษยชน ของบุคคลทั้งการพูด การแสดงความคิดเห็น การมีความรู้ การตัดสินใจ ค่านิยมความแตกต่างทางวัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนา ตลอดจนสิทธิในความเป็นเจ้าของ และความเป็นส่วนตัวของบุคคล

  29. จรรยาบรรณพยาบาล ฉบับปีพุทธศักราช 2546 ข้อที่ 4 พยาบาลยึดหลักความยุติธรรม และความเสมอภาคในสังคมมนุษย์ ช่วยให้ประชาชนที่ต้องการบริการสุขภาพ ได้รับความช่วยเหลือดูแลอย่างทั่วถึง และอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่จำกัดด้วยชั้น วรรณะ เชื้อชาติ ศาสนา เศรษฐานะ เพศ วัย กิตติศัพท์ ชื่อเสียง สถานภาพในสังคม และโรคที่เป็น

  30. จรรยาบรรณพยาบาล ฉบับปีพุทธศักราช 2546 ข้อที่ 5 พยาบาลประกอบวิชาชีพโดยมุ่งความเป็นเลิศ พยาบาลประกอบวิชาชีพ โดยมุ่งความเป็นเลิศปฏิบัติการพยาบาล โดยมีความรู้ในการกระทำ และสามารถอธิบายเหตุผลได้ในทุกกรณี พัฒนาความรู้ และประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง รักษาสมรรถภาพในการทำงาน ประเมินผลงานและประกอบวิชาชีพ ทุกด้านด้วยมาตรฐานสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้

  31. จรรยาบรรณพยาบาล ฉบับปีพุทธศักราช 2546 ข้อที่ 6 พยาบาลพึงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ และชีวิตของผู้ใช้บริการ ซึ่งเห็นว่าจะเกิดกับผู้ใช้บริการแต่ละบุคคล ครอบครัว กลุ่มหรือชุมชนโดยการกระทำของผู้ร่วมงาน หรือสภาพแวดล้อมของการทำงาน หรือในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง

  32. จรรยาบรรณพยาบาล ฉบับปีพุทธศักราช 2546 ข้อที่ 7 พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคม เกิดความเชื่อถือไว้วางใจต่อพยาบาล และต่อวิชาชีพการพยาบาล พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคม เกิดความเชื่อถือไว้วางใจต่อพยาบาล และต่อวิชาชีพการพยาบาล มีคุณธรรมจริยธรรมในการดำรงชีวิตประกอบวิชาชีพด้วยความมั่นคงในจรรยาบรรณ และเคารพต่อกฎหมายให้บริการที่มีคุณภาพเป็นวิสัย เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชน ร่วมมือพัฒนาวิชาชีพ ให้เจริญก้าวหน้าในสังคมอย่างเป็นเอกภาพ ตลอดจนมีมนุษยสัมพันธ์อันดีและร่วมมือกับผู้อื่นในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ทั้งในและนอกวงการสุขภาพ ในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ

  33. จรรยาบรรณพยาบาล ฉบับปีพุทธศักราช 2546 ข้อที่ 8 พยาบาลพึงร่วมในการทำความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพการพยาบาล พยาบาลพึงร่วมในการทำความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพการพยาบาลร่วมเป็นผู้นำทางการปฏิบัติการพยาบาลหรือทางการศึกษา ทางการวิจัยหรือทางการบริหารโดยร่วมในการนำทิศทางนโยบาย และแผนเพื่อพัฒนาวิชาชีพ พัฒนาความรู้ ทั้งในขั้นเทคนิคการพยาบาลทฤษฎีขั้นพื้นฐาน และศาสตร์ทางการพยาบาล ขั้นลึกซึ้งเฉพาะด้าน ตลอดจนการรวบรวม และเผยแพร่ความรู้ข่าวสารของวิชาชีพ ทั้งนี้ พยาบาลพึงมีบทบาททั้งในระดับรายบุคคล และร่วมมือในระดับสถาบัน องค์กรวิชาชีพ ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ

  34. จรรยาบรรณพยาบาล ฉบับปีพุทธศักราช 2546 ข้อที่ 9 พยาบาลพึงรับผิดชอบต่อตนเองเช่นเดียวกับรับผิดชอบต่อผู้อื่น พยาบาลพึงรับผิดชอบต่อตนเองเช่นเดียวกับรับผิดชอบต่อผู้อื่น เคารพตนเอง รักษาความสมดุลมั่นคงของบุคลิกภาพ เคารพในคุณค่าของงาน และทำงานด้วยมาตรฐานสูง ทั้งในการดำรงชีวิตส่วนตัว และในการประกอบวิชาชีพในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องเสียสละ หรือประนีประนอม พยาบาลพึงยอมรับในระดับที่สามารถรักษาไว้ซึ่งความเคารพตนเอง ความสมดุลในบุคลิกภาพ และความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของตน เช่นเดียวกับของผู้ร่วมงาน ผู้ใช้บริการ และสังคม

  35. จรรยาบรรณพยาบาล ฉบับปีพุทธศักราช 2546 ดูแลทุกผู้คนด้วยความเมตตา กรุณา ยุติธรรม นำวิชาชีพชั้นเลิศมาใช้ ให้เกิดมิตรถ้วนทั่ว รับผิดชอบตัวและสังคม

More Related