1 / 98

6 พฤษภาคม 2553

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF : HEd). รองศาสตราจารย์อุษณีย์ คำประกอบ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ . 6 พฤษภาคม 2553. ความเป็นมา. TQF. NQF. ปี 2545. ปี 2552.

Télécharger la présentation

6 พฤษภาคม 2553

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติThai Qualifications Framework for Higher Education (TQF : HEd) รองศาสตราจารย์อุษณีย์ คำประกอบ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 6 พฤษภาคม 2553

  2. ความเป็นมา TQF NQF ปี 2545 ปี 2552

  3. Status of Implementation of NQFs (worldwide)

  4. Status of NQFs in the Asia-Pacific Region Source : DEEWR. (March, 2008) p.16

  5. หลักการสำคัญของ TQF • เป็นเครื่องมือในการนำแนวนโยบายการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาตามที่กำหนดใน พ.ร.บ การศึกษาแห่งชาติฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรฐานการอุดมศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม • มุ่งเน้นที่ Learning Outcomesซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำเชิงคุณภาพเพื่อประกันคุณภาพบัณฑิต • มุ่งประมวลกฎเกณฑ์และประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเข้าไว้ด้วยกันและเชื่อมโยงให้เป็นเรื่องเดียวกัน

  6. หลักการสำคัญของ TQF • เป็นเครื่องมือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้าใจและความมั่นใจในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคม และสถาบันอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่คาดว่าจะพึงมี • มุ่งให้คุณวุฒิหรือปริญญาของสถาบันใดๆ ของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและเทียบเคียงกันได้กับสถาบันอุดมศึกษาที่ดีทั้งในและต่างประเทศ โดยเปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดหลักสูตรตลอดจนกระบวนการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลาย โดยมั่นใจถึงคุณภาพของบัณฑิต ซึ่งจะมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามที่มุ่งหวัง สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุขและภาคภูมิใจ เป็นที่พึงพอใจของนายจ้าง • ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

  7. วัตถุประสงค์ • เพื่อเป็นกรอบมาตรฐานให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และเพื่อประโยชน์ต่อการรับรองมาตรฐานคุณวุฒิในระดับอุดมศึกษา

  8. ระดับคุณวุฒิ ระดับที่ 1 อนุปริญญา (3 ปี) ระดับที่ 2 ปริญญาตรี ระดับที่ 3 ประกาศนียบัตรบัณฑิต ระดับที่ 4 ปริญญาโท ระดับที่ 5 ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ระดับที่ 6 ปริญญาเอก

  9. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการอุดมศึกษา ด้านคุณภาพบัณฑิต ด้านการบริหารจัดการ การอุดมศึกษา ด้านการสร้างและพัฒนา สังคมฐานความรู้และ สังคมแห่งการเรียนรู้ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (TQF)

  10. มาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษามาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา • ให้มีการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิตกันเองของแต่ละสาขาวิชา มีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในสาขา/สาขาวิชาที่ได้รับมอบหมายจาก กกอ. • ต้องเป็นสากล และเป็นที่ยอมรับของสถาบันอุดมศึกษา และ/หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย • เป็นประกาศกระทรวงที่ให้แนวทางในการดำเนินการแก่สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนสาขา/สาขาวิชานั้นๆ

  11. มาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษามาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา • หมายถึงกรอบที่กำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตในแต่ละคุณวุฒิของสาขา/สาขาวิชาหนึ่ง เพื่อให้หลักประกันว่า บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ มีคุณภาพไม่น้อยกว่าที่กำหนด • สถาบันอุดมศึกษาสามารถเพิ่มเติมได้อย่างอิสระ ตามความต้องการหรือเอกลักษณ์ของสถาบัน

  12. แนวปฏิบัติตามกรอบ TQF • ให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการพัฒนา/ปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ได้ 2 วิธี 1) ใช้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาของระดับคุณวุฒินั้น เป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตร 2) ใช้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตรกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการยังมิได้ประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาของระดับคุณวุฒินั้น

  13. มคอ.1 (มาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา) มคอ.5 (รายงานผลการดำเนินการ ของรายวิชา) มคอ.2 (รายละเอียดของหลักสูตร) มคอ.6 (รายงานผลการดำเนินการ ของประสบการณ์ภาคสนาม) มคอ.3 (รายละเอียดของรายวิชา) มคอ.7 (รายงานผลการดำเนินการ ของหลักสูตร) ขั้นตอนการปฏิบัติตามกรอบ TQF มคอ.4 (รายละเอียดของ ประสบการณ์ภาคสนาม)

  14. มคอ.1 มาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา

  15. มคอ. 1 (สาขาวิชา) • อุตสาหกรรมเกษตร • พยาบาล • เทคโนโลยีชีวภาพ • โลจิสติกส์ • การท่องเที่ยวและการโรงแรม • ครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ • เคมี • คอมพิวเตอร์ • วิศวกรรม

  16. กำหนดเนื้อหาสาระสำคัญของสาขา/สาขาวิชากำหนดเนื้อหาสาระสำคัญของสาขา/สาขาวิชา • ประกอบด้วยองค์ความรู้ที่ต้องการในรายวิชาที่กำหนดในหลักสูตร • เน้นให้รายวิชาที่กำหนดต้องครอบคลุมและสอดคล้องกับองค์ความรู้ 5 ด้าน

  17. มคอ.2 รายละเอียดของหลักสูตร(Program Specification)

  18. มคอ.2 รายละเอียดของหลักสูตร • เป็นคำอธิบายภาพรวมของการจัดหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนที่จะทำให้บัณฑิตบรรลุผลการเรียนรู้ของหลักสูตรนั้นๆ • ช่วยอธิบายให้นักศึกษาทราบว่าตนต้องเรียนวิชาอะไรบ้าง เข้าใจถึงวิธีการสอน วิธีการเรียนรู้ ตลอดจนวิธีการวัดและประเมินผล • ช่วยให้นักศึกษาเลือกเรียนในหลักสูตรที่เหมาะกับรูปแบบการเรียนรู้และความต้องการของตนเองได้ • ผู้ใช้บัณฑิตสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณารับบัณฑิตเข้าทำงาน ใช้ มคอ. 2 แทนเอกสารหลักสูตร อนุมัติโดยสภามหาวิทยาลัย และเสนอ สกอ.รับทราบภายใน 30 วัน

  19. เดิม TQF มคอ.2 รายละเอียดของหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร กลุ่มเนื้อหาสาระสำคัญ โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา วัตถุประสงค์ของหลักสูตร กลุ่มเนื้อหาสาระสำคัญ ผลการเรียนรู้ โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา

  20. ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) คืออะไร • ผลการเรียนรู้ ต้องวัดได้ และครอบคลุมถึง สาระความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชา ทักษะหรือความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ พฤติกรรม ทัศนคติ แนวคิด ความเชื่อ อุปนิสัย • สกอ. กำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้อย่างน้อย 5 ด้าน

  21. ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ ด้านความรู้ มาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning) + ด้านทักษะพิสัย

  22. ผลการเรียนรู้ของแต่ละหลักสูตรกำหนดจากข้อมูลใดผลการเรียนรู้ของแต่ละหลักสูตรกำหนดจากข้อมูลใด • สถานการณ์ภายนอก (เศรษฐกิจ/สังคม) • ปรัชญา ปณิธาน ของมหาวิทยาลัย • ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ของหลักสูตร • ความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต • กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ (ถ้ายังไม่มีมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา) • มาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา ซึ่งรวมถึง มาตรฐานวิชาชีพ (ถ้ามี) ความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตในสาขาวิชา

  23. การถ่ายทอดผลการเรียนรู้จากกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ สู่หลักสูตร กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา หลักสูตร

  24. มคอ.2 รายละเอียดของหลักสูตร กรรมการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย • อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อย 2 คน • ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอย่างน้อย 2 คน • หากมีองค์กรวิชาชีพ ให้มีผู้แทนองค์กรวิชาชีพร่วมเป็นกรรมการอย่างน้อย 1 คน

  25. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ถ้าจัดการเรียนการสอนมากกว่า 1 แห่ง ต้องเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรคนละชุดกัน

  26. 8) การประเมินและปรับปรุง การดำเนินการของหลักสูตร 4 1) ข้อมูลทั่วไป 7) การประกันคุณภาพ หลักสูตร 7 13 8 หมวด 2) ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร 2 6) การพัฒนา คณาจารย์ 2 5) หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา 3 5 3) ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร 3 4) ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอน และการประเมินผล 39

  27. หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป • รหัสและชื่อหลักสูตรทั้งไทยและอังกฤษ • ชื่อปริญญาและสาขาวิชา (ชื่อย่อ และชื่อเต็มทั้งไทย และอังกฤษ) • วิชาเอก (ถ้ามี) • จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

  28. หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป 5) รูปแบบของหลักสูตร 5.1 รูปแบบ (หลักสูตรปริญญาตรี โท หรือเอก .... ปี ) 5.2 ภาษาที่ใช้ (ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ) 5.3 การรับเข้าศึกษา (รับเฉพาะนักศึกษาไทย หรือต่างประเทศ หรือรับทั้ง 2 กลุ่ม) 5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น 5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา (สาขาเดียว หรือทวิปริญญา หรือ ปริญญาร่วม)

  29. หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป 6) สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร • หลักสูตรใหม่ พ.ศ....... หรือ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ...... • สภาวิชาการ เห็นชอบให้นำเสนอสภามหาวิทยาลัย เมื่อ ...../...../........ • สภามหาวิทยาลัย อนุมัติหลักสูตร เมื่อ ....../...../......... และเปิดสอนตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ ..../............. • สภาวิชาชีพให้การรับรอง เมื่อ ...../...../.......... (ถ้ามี)

  30. หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป • ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ระบุปีที่คาดว่าจะได้รับการเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบ TQF (เมื่อสถาบันได้เปิดสอนไปแล้วอย่างน้อยครึ่งระยะเวลาของหลักสูตร) • อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา • ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวบัตรประชาชน ตำแหน่ง คุณวุฒิการศึกษา ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (ให้ระบุสาขาวิชา และปีที่สำเร็จดัวย)

  31. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ถ้าจัดการเรียนการสอนมากกว่า 1 แห่ง ต้องเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรคนละชุดกัน

  32. หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป • สถานที่จัดการเรียนการสอน • สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร 11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม • ผลกระทบจากข้อ 11.1 และ 11.2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน 12.1 การพัฒนาหลักสูตร 12.2 ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

  33. หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป • ความสัมพันธ์ (ถ้ามี) กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน 13.1 กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรนี้ที่ต้องเรียนจากคณะ/ภาควิชาอื่น 13.2 กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ ภาควิชาอื่น 13.3 การบริหารจัดการ (แผนความร่วมมือหรือการประสานงาน ร่วมกับภาควิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง)

  34. หมวดที่ 2 ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร • ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร • แผนพัฒนาปรับปรุง 2.1 แผนการพัฒนา/เปลี่ยนแปลง (ระบุเวลาที่คาดว่าจะดำเนินการเสร็จ) 2.2 กลยุทธ์ 2.3 หลักฐาน/ตัวบ่งชี้

  35. หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร • ระบบการจัดการศึกษา 1.1 ระบบ (ทวิภาค ไตรภาค จตุรภาค) 1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน 1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค (ถ้ามีการจัดการศึกษา ระบบอื่นๆ ที่มิใช่ทวิภาค ให้แสดงการเทียบเคียงกับระบบ ทวิภาคให้ชัดเจน) • การดำเนินการหลักสูตร 2.1 วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน ภาคการศึกษาที่ 1 เดือน...........-............. ภาคการศึกษาที่ 2 เดือน...........-.............

  36. หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร 2.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา 2.3 ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า ระบุลักษณะเฉพาะของนักศึกษาที่จะสมัครเข้าเรียนในหลักสูตรที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณา เพื่อการกำหนดหลักสูตร ตัวอย่าง นักศึกษาที่สมัครเข้าเรียนในหลักสูตรที่ไม่ได้เรียนสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อาจมีพื้นฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศไม่เพียงพอ รวมทั้งทักษะและความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษา เนื่องจากตำรา เอกสารและข้อสอบจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด

  37. หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร 2.4 กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา/ข้อจำกัดของนักศึกษาในข้อ 2.3 2.5 แผนการรับนักศึกษา และผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ 5 ปี 2.6 งบประมาณตามแผน แสดงงบประมาณ โดยจำแนกรายละเอียดตามหัวข้อการเสนอตั้งงบประมาณ รวมทั้งประมาณการค่าใช้จ่ายต่อหัวในการผลิตบัณฑิตตามหลักสูตรนั้น

  38. หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร 2.7 ระบบการศึกษา • แบบชั้นเรียน • แบบทางไกลผ่านสื่อสิ่งพิมพ์เป็นหลัก • แบบทางไกลผ่านสื่อแพร่ภาพและเสียงเป็นสื่อหลัก • แบบทางไกลทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อหลัก (E-learning) • แบบทางไกลทางอินเตอร์เนต • อื่นๆ (ระบุ) 2.8 การเทียบโอนหน่วยกิต รายวิชาและการลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัย (ถ้ามี)

  39. หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร • หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน 3.1 หลักสูตร 3.1.1 จำนวนหน่วยกิต (รวมตลอดหลักสูตร) 3.1.2 โครงสร้างหลักสูตร (แสดงเป็นหมวดวิชาให้สอดคล้องกับ เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร) 3.1.3 รายวิชา ระบุรหัสรายวิชา (อธิบายความหมายของรหัสวิชาด้วย) ชื่อรายวิชาทั้งไทย และอังกฤษ จำนวนหน่วยกิต จำนวนชั่วโมงบรรยาย ปฏิบัติ และศึกษาด้วยตนเอง เช่น 001101 ม.อ.101 การฟังและพูดภาษาอังกฤษ 3(3-0-6)

  40. หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร 3.1.4 แสดงแผนการศึกษา 3.1.5 คำอธิบายรายวิชา 3.2 ชื่อ สกุล เลขประจำตัวบัตรประชาชน ตำแหน่งและคุณวุฒิของอาจารย์ 3.2.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร 3.2.2 อาจารย์ประจำ 3.2.3 อาจารย์พิเศษ ให้ระบุสาขาวิชาและสถาบันที่สำเร็จการศึกษา ผลงานทางวิชาการ การค้นคว้า วิจัย หรือการแต่งตำรา (ถ้ามี) รวมทั้งภาระงานสอนที่มีอยู่แล้ว และที่จะมีในหลักสูตรนี้ (อาจระบุไว้ในภาคผนวก)

  41. หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร • องค์ประกอบเกี่ยวกับประสบการณ์ภาคสนาม (การฝึกงาน หรือ สหกิจศึกษา) (ถ้ามี) 4.1 มาตรฐานผลการเรียนรู้ของประสบการณ์ภาคสนาม 4.2 ช่วงเวลา 4.3 การจัดเวลาและตารางสอน เช่น 3 วันต่อสัปดาห์เป็นเวลา 4 สัปดาห์ หรือจัดเต็มเวลาใน 1 ภาคการศึกษา เป็นต้น

  42. หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร • ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำโครงงานหรืองานวิจัย (ถ้ามี) 5.1 คำอธิบายโดยย่อ 5.2 มาตรฐานผลการเรียนรู้ (ระบุมาตรฐานผลการเรียนรู้หลักๆ ที่ต้องการจากการทำโครงงานหรืองานวิจัย) 5.3 ช่วงเวลา 5.4 จำนวนหน่วยกิต 5.5 การเตรียมการ 5.6 กระบวนการประเมินผล

  43. หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอน และการประเมินผล 1) การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา ระบุคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษาที่นอกเหนือไปจากความคาดหวังทั่วๆ ไป และชี้ให้เห็นถึงกลยุทธ์การสอนและกิจกรรมนักศึกษาที่จะใช้ในการพัฒนาคุณลักษณะเหล่านั้น

  44. หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอน และการประเมินผล • การพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน ตาม Domains of Learning 5 ด้าน อธิบายผลการเรียนรู้แต่ละด้าน ตามหัวข้อ ดังนี้ - คำอธิบายทั่วๆ ไปเกี่ยวกับผลการเรียนรู้ในด้าน คุณธรรม จริยธรรม - กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ในด้านคุณธรรม จริยธรรม - กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ในด้านคุณธรรม จริยธรรม

  45. หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอน และการประเมินผล • แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) แสดงให้เห็นว่าแต่ละรายวิชาในหลักสูตรรับผิดชอบต่อมาตรฐานผลการเรียนรู้ใดบ้าง (ตาม Domains of Learning 5 ด้าน) โดยระบุว่าเป็นความรับผิดชอบหลักหรือความรับผิดชอบรอง ซึ่งบางรายวิชาอาจไม่นำไปสู่มาตรฐานผลการเรียนรู้บางเรื่องก็ได้

  46. หมวดที่ 5 หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา • กฎระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน (เกรด) • กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา เช่น ทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ หรืองานที่มอบหมาย กระบวนการอาจต่างกันไปสำหรับรายวิชาที่แตกต่างกัน หรือสำหรับมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละด้าน 3) เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

  47. การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ • การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการหาหลักฐานเพื่อยืนยันหรือสนับสนุนว่า นักศึกษาทุกคนมีผลสัมฤทธิ์การศึกษาตรงตามมาตรฐานผลการเรียนรู้เป็นอย่างน้อย ซึ่งอาจได้จากผลการประเมินข้อสอบว่าครอบคลุมมาตรฐานผลการเรียนรู้ การให้คะแนนตรงตามความจริง การให้ข้อมูลย้อนกลับของผู้สำเร็จการศึกษา การประสบความสำเร็จในการทำงานของผู้สำเร็จการศึกษา มาตรฐานคุณวุฒิต้องให้แนวทางในการทวนสอบที่สถาบันการศึกษาสามารถเลือกใช้หรืออาจกำหนดวิธีการทวนสอบร่วมกัน เช่น การสอบออก (Exit Exam) โดยใช้ข้อสอบซึ่งคณาจารย์สถาบันต่างๆ ในสาขาวิชาร่วมกันจัดทำ

  48. หมวดที่ 6 การพัฒนาคณาจารย์ • การเตรียมการสำหรับอาจารย์ใหม่ อธิบายกระบวนการที่ใช้ในการปฐมนิเทศ และ/หรือ การแนะนำอาจารย์ใหม่และอาจารย์พิเศษให้มั่นใจได้ว่าอาจารย์เข้าใจถึงหลักสูตรและบทบาทของรายวิชาต่างๆ ที่สอนในหลักสูตรและรายวิชาที่ตนรับผิดชอบสอน • การพัฒนาความรู้และทักษะให้แก่คณาจารย์ 2.1 การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล 2.2 การพัฒนาวิชาการและวิชาชีพด้านอื่นๆ

More Related