1 / 26

สัตตศิลา หลักเจ็ดประการสำหรับ : การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้

สัตตศิลา หลักเจ็ดประการสำหรับ : การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้. Saruthipong Bhuwatvaranon 5120130105. URL : Bhuwatvaranon.com and e-Mail : Saruthipong@ Bhuwatvaranon.com. สัตตศิลาคืออะไร.

ping
Télécharger la présentation

สัตตศิลา หลักเจ็ดประการสำหรับ : การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สัตตศิลา หลักเจ็ดประการสำหรับ : การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ Saruthipong Bhuwatvaranon 5120130105 URL: Bhuwatvaranon.com and e-Mail : Saruthipong@ Bhuwatvaranon.com

  2. สัตตศิลาคืออะไร สัตตศิลาคือหลักเจ็ดประการ สำหรับการเปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ที่คณะผู้วิจัยของโครงการวิจัย “การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้” ได้เป็นข้อค้นพบจากการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย หลักที่ 1 คุณลักษณะบุคคลที่พึงประสงค์ หลักที่ 2 หลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียน หลักที่ 3 รูปแบบการเรียนการสอนแบบ CRP หลักที่ 4 การเสริมสร้างโอกาสการเรียนรู้ หลักที่ 5 การเสริมสร้างการรู้สารสนเทศ หลักที่ 6 การบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการสำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา หลักที่ 7 แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Best Practice)

  3. สัตตศิลาคืออะไร สัตตศิลาเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่คณะผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น โดยความมุ่งหวังว่าจะเป็นแนวทางหนึ่งในการเปลี่ยนผ่านการศึกษาให้สามารถพัฒนาคนให้ได้เต็มตามศักยภาพ เพื่อเป็นทรัพยากรที่มีค่าของประเทศ สามารถพัฒนาสังคมและประเทศให้ก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ ที่ความรู้เป็นฐานสำคัญของการผลิตและบริโภค เพื่อการแข่งขันโดยมีพื้นฐานของความเป็นไทย

  4. บทนำ การเปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (KBE) Saruthipong Bhuwatvaranon 08-1898-4477 URL: Bhuwatvaranon.com and e-Mail : Saruthipong@ Bhuwatvaranon.com

  5. บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 1 ประเด็นศึกษา เศรษฐกิจฐานความรู้ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ทำอย่างไรจึงให้เท่าทัน เท่าทันและสร้างสรรค์ด้วยตนเอง ฐานคิดที่เป็นของไทย ต้องปรับกระบวนทัศน์ของการศึกษา สัตตศิลาคือทางเลือก

  6. บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 2 เศรษฐกิจฐานความรู้ เศรษฐกิจฐานความรู้ เป็นแนวคิดและกิจกรรมการดำเนินงานในสังคมของประเทศตะวันตกที่ได้พัฒนาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว พร้อมกับนำความรู้นั้นมาสร้างขึ้นเป็นผลผลิตที่เกิดจากความรู้เป็นฐานหลัก และเมื่อความรู้นั้นพัฒนาขึ้นอยู่เรื่อย ๆ ก็มีผลให้ผลผลิตนั้นพัฒนาตามไปด้วย นิยามเศรษฐกิจฐานความรู้ตามแนวคิดตะวันตก : เป็นเศรษฐกิจที่ใช้ประโยชน์จากความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ (Dahlman,2004) แต่สำหรับแนวคิดของตะวันออกแล้วเศรษฐกิจฐานความรู้เป็นเศรษฐกิจที่มีความผสมกลมกลืนกับพื้นฐานความก้าวหน้าและการพัฒนาของประเทศตะวันออก โดยมีกระบวนการทางความรู้ที่สะสมได้เป็นเวลาอันยาวนานของโลกตะวันออกนำมาใช้ในระบบของเศรษฐกิจด้วย

  7. บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 3 เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ด้วยระบบของการพัฒนาวิชาการที่ใช้ความรู้เพื่อธุรกิจประกอบกับการเป็นโลกไร้พรหมแดนและการผลักดันของธุรกิจข้ามชาติ ทำให้กระแสเศรษฐกิจฐานความรู้เกิด เติบโต กระจายและขยายผลไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เศรษฐกิจฐานความรู้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก โดยเฉพาะประเทศเปิดอย่างประเทศไทย ความจำเป็นที่จะต้องรู้ให้ทันและคงความเป็นตะวันออกไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญ

  8. บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 4 ทำอย่างไรจึงให้เท่าทัน เมื่อเศรษฐกิจฐานความรู้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ทำอย่างไรเราจึงจะไม่ตกเป็นทาสทางปัญญาและทาสทางเศรษฐกิจของระบบธุรกิจฐานวิชาการ จนทำให้ประเทศของเรากลายเป็นลูกค้านักบริโภคนิยมเต็มตัวทำให้เขายิ่งเติบโตก้าวหน้าและร่ำรวยในขณะที่เราวิ่งไล่กวด พึ่งพาทางวิชาการ และแสวงหาความช่วยเหลือจากประโยชน์ที่เติบโตอย่างนี้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นประชาชนของประเทศจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ คิด และเข้าใจกับระบบที่เป็นอยู่ตามให้ทันกับการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงและการเติบโตของวิธีการโลก และไม่เป็นเครื่องมือของกระแสวิชาการ กระแสธุรกิจและกระแสการเมือง ในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้อย่างขาดสติ การติดตาม เข้าถึงและวิเคราะห์วิจารณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ

  9. บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 5 เท่าทันและสร้างสรรค์ด้วยตนเอง แม้การรู้เท่าทันและไม่ตกเป็นทาสทางปัญญาอย่างขาดสติจะนับเป็นฐานแรกของการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ แต่จะไม่มั่นคงและยั่งยืนถ้าเราไม่ยืนอยู่บนขาของตัวเองให้ ได้ด้วย การสร้างความรู้สร้างความคิดและสร้างผลผลิตทั้งในการร่วมสร้างและสร้างขึ้นมาเอง กระบวนการเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ นอกจากนั้นแล้วสิ่งที่คิดและสร้างขึ้นนั้นจะต้องมีคุณค่าและคุณภาพเพียงพอที่จะเป็นตัวเลือกให้กับสังคมไทยและสังคมโลกได้ ระบบของการสร้างสรรค์จึงต้องมีแนวคิดใหม่ มีผลงานที่สืบเนื่องมาจากแนวคิดใหม่ มีคุณภาพ ประสิทธิภาพที่เด่นพอ ชัดพอ การคิดสร้างสรรค์ คิดแจ้งแทงตลอดไปจนถึงการวิจัยค้นคว้า จึงเป็นสิ่งสำคัญตามมา

  10. บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 6 ฐานคิดที่เป็นของไทย แม้ความรู้และวิชาการที่เติบโตในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ จะเป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นความรู้สากล แต่ในความรู้สากลนั้นเมื่อคิดอะไรขึ้นใหม่ รู้อะไรขึ้นใหม่ ก็จะมีสิ่งที่ไม่รู้ตามมาด้วยเสมอ (Evors,H-G,Gerke,S. and Menkhoft, T.,2006) ความรู้จึงอยู่กับความไม่รู้อยู่ตลอดเวลาและในทุกสถานที่ความรู้ในท้องถิ่นต่าง ๆ ของโลก โดยเฉพาะความรู้ในประเทศไทยของเราที่สะสม สืบทอดและส่งต่อ ด้วยวิถีของไทยมานับเป็น 1000 ปี จึงเป็นสิ่งสำคัญในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ที่เข้าอยู่ในสังคมไทย ทั้งในเชิงความรู้ที่ยังไม่ได้มีการศึกษา พัฒนาและสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ ตลอดจนวิธีคิด ความเชื่อ วัฒนธรรมที่มีค่าแก่โลกได้อย่างมหาศาล การพัฒนาความรู้ที่ฝังตัวอยู่ในสังคมไทยเป็นเวลาอันยาวนานจึงควรได้รับการพัฒนาขึ้นมาควบคู่กับความรู้สมัยใหม่

  11. บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 7 ต้องปรับกระบวนทัศน์ของการศึกษา การศึกษาของไทยแต่เดิมเป็นการศึกษาแบบสมดุล คือ ความรู้ ความคิด วิธีการสอดคล้องและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสังคม ความรู้นำไปสู่ผลผลิตและการใช้ชีวิตที่สอดคล้องต่อสังคมทั้งบ้าน วัด และวัง สอนให้รู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ต่อมาเมื่อมีการรับความรู้ ความคิด และแบบแผนชีวิตของตะวันตกเข้ามา ในสมัยรัชกาลที่ 5 การศึกษาของไทยจึงเป็นลักษณะการศึกษาแบบต่างประเทศมาตลอด ส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมการศึกษาและวัฒนธรรมชีวิตที่เป็นวัฒนธรรมการรับ (ReceivingCulture) ทำให้สังคมไทยทั้งด้านความคิด ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจเป็นไปในรูปแบบของการรับเอาและการบริโภค สิ่งที่มาทำขึ้นและมาจากต่างประเทศโดยตลอดในปัจจุบัน

  12. บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 8 ต้องปรับกระบวนทัศน์ของการศึกษา ถ้า ปรากฏการณ์เศรษฐกิจฐานความรู้ไม่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและรวดเร็วอย่างที่เป็นอยู่ วัฒนธรรมการรับก็ยังคงดำเนินไปได้บ้าง แต่การเติบโตของความรู้และการใช้ความรู้กับเศรษฐกิจเช่นนี้ทำให้เราต้อง รู้เท่าทันสร้างสรรค์ด้วยตนเองและมีฐานคิดที่เป็นไทย ได้นั้น เราต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมเป็นวัฒนธรรมของการสร้าง (Producing Culture) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของเศรษฐกิจฐานความรู้ทั้งในระบบของความคิด การศึกษาและเศรษฐกิจ วัฒนธรรมการสร้างไม่ใช่เป็นการปฏิเสธตะวันตกหรือเป็นการปิดประเทศ แต่เป็นการเรียนรู้ของเราและสร้างสิ่งใหม่ขึ้นในระบบของเราเอง (Sinlarat,2006) ดังนั้นการเข้าสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ได้อย่างเท่าทันและเป็นอิสระได้ จึงจำเป็นต้องปรับการศึกษาให้เป็นวัฒนธรรมของการสร้างให้ได้

  13. บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 9 ต้องปรับกระบวนทัศน์ของการศึกษา นั่นคือ เราต้องรู้เท่าทันสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทั้งในเชิงความคิด เศรษฐกิจ และการเมือง เราต้องคิดสร้างระบบและผลผลิตของเราเองได้และให้ได้เพียงพอที่จะแข่งขันกับคนอื่น โดยมีพื้นฐานของเราเอง การศึกษาของเราที่ผ่านมาตกอยู่ในกระแสทางวัฒนธรรมการรับเป็นหลักใหญ่ เด็กและคนของเรา จึงกลายเป็นผู้บริโภคความคิด ความรู้ และพฤติกรรมของฝรั่งเป็นหลัก ดังนั้นการเข้าสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ได้อย่างเท่าทันและเป็นอิสระได้ จึงจำเป็นต้องปรับการศึกษาให้เป็นวัฒนธรรมของการสร้างให้ได้

  14. บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 10 สัตตศิลา คือ ทางเลือก (1) การที่จะเปลี่ยนการศึกษาเพื่อสร้างคนไทยให้มีคุณลักษณะของคนที่อยู่ในเศรษฐกิจฐานความรู้ได้ คือ การมีวัฒนธรรมของการสร้าง จำเป็นจะต้องเปลี่ยนผ่านการศึกษา ด้วยหลัก 7 ประการ หรือ สัตตศิลา ซึ่งเป็นผลที่พัฒนาขึ้นจากคณะวิจัยของโครงการ (ดังปรากฏในแผนภาพที่ 1 หลักสัตตศิลาเมื่อการเปลี่ยนผ่านการศึกษา หน้า จ)

  15. บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 11 สัตตศิลา คือ ทางเลือก (2) หลักการของสัตตศิลาในข้อแรก คือ คุณลักษณะของบุคคลที่พึงประสงค์ในเศรษฐกิจฐานความรู้จำเป็นจะต้องรู้จักคิดวิเคราะห์ มั่นใจในตนเอง กระตือรือร้นและตามทันโลก พร้อมทั้งเป็นผู้ผลิต ผู้สร้างได้อย่างดีและต้องสร้างให้ได้คุณภาพแข่งขันกับโลกได้ แต่ก็คำนึงถึงความเป็นไทยด้วยเช่นกัน ซึ่งประกอบไปด้วยคุณลักษณะ 4ร คือ รู้ทันรู้นำโลก เรียนรู้ชำนาญ เชี่ยวชาญปฏิบัติ รวมพลังสร้างสรรค์สังคม และรักษ์วัฒนธรรมไทย ใฝ่สันติP.3-9 เมื่อได้คุณลักษณะเป็นหลักที่ 1 แล้ว หลักที่ 2 และ 3 ก็จะตามมา คือ หลักสูตร ที่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างสนุกสนาน รู้จักตัวเอง รู้ว่าเน้นไปที่จุดใดและให้สำเร็จผลตามที่ตัวเองเน้นจึงเป็นเรื่อง Fun Find Focus และ FulfillmentP.18พร้อมกับตามมาด้วย หลักที่ 3 คือการสอนในแนวสร้างสรรค์และผลิตภาพ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบตกผลึกด้วยวิธีวิจัยและเชิงผลิตภาพ (CRP = Crystal Research Product) P.33

  16. บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 12 สัตตศิลา คือ ทางเลือก (3) หลักที่ 4คือ การสร้างโอกาสการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยเฉพาะผู้ปกครองที่ต้องมี การให้กำลังใจ การควบคุมดูแล และเป็นพี่เลี้ยงก็มีส่วนสำคัญต่อการจัดการศึกษา (P.45-54) เน้น P.48 3M โดยมี หลักที่ 5 คือ เป็นส่วนเสริมเข้ามา คือ การเสริมสร้างการรู้สารสนเทศสำหรับผู้เรียน เครือข่ายการเรียนรู้ต้องสนุกสนานและการเสริมสร้างสารสนเทศต้องเหมาะแก่บุคคล (P.59 NET)

  17. บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 13 สัตตศิลา คือ ทางเลือก (4) หลักที่ 6เป็นเรื่องของการบริหารจัดการในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ที่ต้องการการบริหารทั้งบริหารเขตพื้นที่และโรงเรียนในระบบบูรณาการ (Intergrated Educational Management System: iEMS) ที่จะต้องนำองค์ประกอบของการบริหารจัดการทุกอย่างผสมผสานกัน (P.66-72) หลักที่ 7 อันเป็นหลักสุดท้าย การศึกษาเปรียบเทียบในสิ่งที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดการศึกษาในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ในด้านต่าง ๆ (Best Practices) ของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ (P.74-83) สาระหลักหน้า จ. แผนภาพที่ 1

  18. เนื้อหาหลักโดยสรุป สิ่งที่กล่าวถึง/เนื้อหาหลักโดยสรุป เป็นงานวิจัยที่เป็นคณะเรื่องสัตตศิลา หลักเจ็ดประการสำหรับการ เปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้

  19. R สัตตศิลา P KBE ภาพรวม...จากการศึกษาเรื่องสัตตศิลา ผู้เรียน 4ร. 12ค.

  20. ใช้ออกแบบการเรียนการสอน แนวทางในการผลิตสื่อ ใช้ในงานวิจัย

  21. สิ่งที่ได้รับจากการศึกษา 1. ได้แนวคิด วิธีคิด หลักคิดในการทำวิทยานิพนธ์ เช่น ในเรื่องของการพัฒนารูปแบบฯ 2. เกิดการเรียนรู้ในเรื่องของการวิจัย การคิดนอกกรอบ ในเรื่องที่จะทำวิจัย 3. ได้แนวคิดในการพัฒนารูปแบบ...โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีมารองรับ P. 33 รูปแบบการเรียนการสอนแบบ CRP

  22. เอกสารอ้างอิง หนังสือ ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ,2549.สัตตศิลา หลักเจ็ดประการสำหรับ : การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุค เศรษฐกิจฐานความรู้. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

  23. คำคม คนนำเสนอ หรือ Education is growth การศึกษาคือการเจริญงอกงามทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมสติ ปัญญารวมทั้งประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นดีมีความรู้คู่คุณธรรม

  24. กราบขอบพระคุณ กระผม นายศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์ ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่เคารพนะครับที่ให้โอกาส กระผมในการนำเสนอ หากมีข้อบกพร่องผิดพลาดประการใดกระผมต้องกราบขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์มากครับ....ศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์ สาขาภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา....

  25. ประวัติผู้นำเสนอ ชื่อ สกุลนายศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์ วัน เดือน ปีเกิด19 มกราคม 2516 วุฒิ ชื่อสถาบัน ปีที่สำเร็จการศึกษา ค.บ. (ครุศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1) สถาบันราชภัฏยะลา 2540 ศษ.ม. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต เกรด 4.00 ) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2545 วิทยาเขตปัตตานี ป.บัณฑิต (เกรด 4.00) สถาบันราชภัฏสงขลา 2551ปัจจุบัน:ศึกษาต่อปริญญาเอกสาขาภาวะผู้นำและนวัตกรรมฯ ตำแหน่งและสถานที่ทำงานรองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านลำเปา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา : Saruthipong@Bhuwatvaranon.com

  26. ศึกษาอดีต เรียนรู้ปัจจุบัน ก้าวทันอนาคต Thank You !

More Related