1 / 39

วิชาชีพการพยาบาลกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน : โอกาส และแนวทาง

วิชาชีพการพยาบาลกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน : โอกาส และแนวทาง. รศ.ดร. สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ อุปนายกสภาการพยาบาลคนที่ ๑. ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community: AC). ชุมชนอาเซียน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่อาเซียนต้องการมุ่งไปให้ถึงในปี 2558 (2015 )

ponce
Télécharger la présentation

วิชาชีพการพยาบาลกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน : โอกาส และแนวทาง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชาชีพการพยาบาลกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน: โอกาสและแนวทาง รศ.ดร. สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ อุปนายกสภาการพยาบาลคนที่ ๑

  2. ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community: AC) • ชุมชนอาเซียน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่อาเซียนต้องการมุ่งไปให้ถึงในปี 2558 (2015) • ประชาคมอาเซียน ต้องมีกฎเกณฑ์ในการบริหารร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน จึงเกิด “กฎบัตรอาเซียน” (ASEAN Charter) เป็นธรรมนูญของอาเซียนที่เปลี่ยนสถานะอาเซียนจากสมาคม เป็น “องค์กรระหว่างประเทศ” • ผู้นำอาเซียนได้ลงนามกฎบัตรฯในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2550 (2007) และมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 51 (สำนักการค้าบริการและการลงทุน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)

  3. “กฎบัตรอาเซียน” (ASEAN Charter) กฎบัตรอาเซียนได้กำหนดกรอบโครงสร้างกลไกการดำเนินงานของอาเซียนออกเป็น 3 เสาหลัก รองรับการดำเนินงานไปสู่ประชาคมอาเซียน ได้แก่ 1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) 2) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) 3) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีการจัดทำ พิมพ์เขียว AEC (AEC Blueprint) สำหรับประเทศไทย Thailand AEC Blueprint 2555-2558

  4. แผนงานในพิมพ์เขียว AEC (AEC Blueprint) การเปิดเสรีการค้าบริการ • เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นให้กับนักลงทุนสัญชาติอาเซียน • ความตกลงการค้าบริการอาเซียน (AFAS) การลด/ยกเลิกกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าบริการในอาเซียน ทั้ง Market access and National Treatment • คณะกรรมการประสานงานด้านบริการ (CCS) กรอบความตกลงการค้าบริการอาเซียน(AFAS) ข้อตกลงการยอมรับร่วม (MRAs) (หมายเหตุ: CCS : Coordinating Committee on Services • MRAs : Mutual Recognition Arrangements • AFAS : ASEAN Framework Agreement on Services)

  5. ภาคบริการ (จำแนกตาม WTO) • บริการธุรกิจ • บริการสื่อสารโทรคมนาคม • บริการก่อสร้างและวิศวกรรมเกี่ยวเนื่อง • บริการจัดจำหน่าย • บริการการศึกษา • บริการสิ่งแวดล้อม • บริการการเงิน • บริการสุขภาพและบริการทางสังคม • บริการด้านการท่องเที่ยว • บริการด้านนันทนาการ วัฒนธรรม และกีฬา • บริการด้านการขนส่ง • บริการอื่นๆ

  6. แผนงานการจัดตั้งAEC (AEC Blueprint) • กำหนดเป้าหมายเปิดเสรีการค้าบริการ 4 Modes ดังนี้ • ไม่มีข้อจำกัดสำหรับการค้าบริการข้ามพรมแดน (Mode 1 และ 2) เว้นแต่มีเหตุผลอันควร (เช่น เพื่อความปลอดภัยของสาธารณชน) • ให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาลงทุนในธุรกิจบริการ (Mode 3) และสามารถถือหุ้นได้อย่างน้อยร้อยละ 51 และ 70 ในปี พ.ศ. 2553 และ 2558 ตามลำดับ • ให้เจรจาเพื่อกำหนดเป้าหมายการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา (Mode 4) ภายในปี พ.ศ. 2552

  7. การปรับตัวเพื่อสร้างโอกาสการปรับตัวเพื่อสร้างโอกาส • การค้าบริการ mode 1 ผู้ให้บริการควรศึกษาลู่ทางและโอกาสทางการตลาดสำหรับการค้าบริการข้ามพรมแดน เนื่องจากจะมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก • การค้าบริการ mode 2 ปัจจุบันมีความเป็นเสรีอยู่แล้ว เมื่อมีการเปิดเสรีอาจส่งผลให้มีคนไข้ต่างชาติเข้ามารับบริการในประเทศไทยมากขึ้น จึงต้องเตรียมพร้อมด้านบุคลากร และรักษาคุณภาพการบริการ เพื่อรักษาฐานลูกค้า รวมทั้งหาพันธมิตรทางธุรกิจ และสร้างจุดเด่นและความแตกต่างในธุรกิจ

  8. การปรับตัวฯ • การค้าบริการ mode 3 ภาคธุรกิจไทยสามารถขยายโอกาสไปให้บริการด้านสุขภาพในต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ เป็นปัจจัยท้าทายต่อการขยายตัวของธุรกิจไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ • การค้าบริการ mode 4 การประกอบวิชาชีพต้องเป็นไปตามกฎระเบียบภายในของแต่ละประเทศ ผู้ประกอบวิชาชีพฯจึงต้องเตรียมพร้อมด้านภาษา/วัฒนธรรมต่างประเทศ (ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)

  9. แผนปฏิบัติการของประเทศไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พ.ศ. 2555-2558 II. แผนปฏิบัติการตามพันธกรณีในแผนพิมพ์เขียวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) ประกอบด้วย พันธกรณี/เป้าหมาย การดำเนินการในช่วงปี และผู้รับผิดชอบ ในที่นี้ยกมาบางข้อที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

  10. 8. การเปิดเสรีการค้าบริการ • ขจัดข้อจำกัดต่อการค้าบริการอย่างมีนัยสำคัญสำหรับสาขาบริการทุกสาขาที่เหลืออยู่ภายในปี 2558 • MRAs • ให้ระบุและจัดทำข้อตกลงยอมรับคุณสมบัติวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ ภายในปี 2555 และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 • ผู้รับผิดชอบ สภาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ก.แรงงาน และกรมเจรจาฯ

  11. 11. การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี • (เฉพาะประเด็นการอำนวยความสะดวกและความร่วมมือในการพัฒนาและยกระดับแรงงานฝีมือ) • ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสมาชิกของเครือข่ายมหาวิทยาลัยของอาเซียน (AUN) เพื่อเพิ่มการเคลื่อนย้ายทั้งนักเรียนและเจ้าหน้าที่ภายในภูมิภาค (กระทรวงศึกษาธิการ) • เสริมสร้างขีดความสามารถในการวิจัยของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อสนับสนุนความชำนาญ การเข้าทำงาน และพัฒนาเครือข่ายข้อมูลด้านตลาดแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน (กระทรวง แรงงาน)

  12. 11. การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี • อำนวยความสะดวกในการตรวจลงตราและใบอนุญาตทำงานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพและแรงงานฝีมืออาเซียน ที่เกี่ยวข้องกับการค้าข้ามพรมแดน และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุน • พัฒนากรอบแผนงานมาตรฐานความสามารถและคุณสมบัติของงาน หรืออาชีพ และความชำนาญของผู้ฝึกอบรมในสาขาบริการสำคัญ (ภายในปี 2009) และสาขาบริการอื่นๆ (จากปี 2010 ถึงปี 2015)

  13. รูปแบบการค้าบริการ: โอกาสสำหรับวิชาชีพ Mode 1: การให้บริการข้ามพรมแดน สถานศึกษาไทยให้บริการ e-education /e-training กับนักเรียน/พยาบาลต่างชาติ ร่วมให้บริการ Telemedicine ร่วมให้บริการการให้คำปรึกษาการพยาบาลเฉพาะทางและหรือการบริหารการพยาบาลต่างๆ เป็นต้น

  14. รูปแบบการค้าบริการ: โอกาสสำหรับวิชาชีพ Mode 2: การบริโภคในต่างประเทศ ผู้ป่วยต่างชาติเข้ามารับบริการสุขภาพและการพยาบาลในไทย ดำเนินการมาแล้วอย่างต่อเนื่องและจะเพิ่มมากยิ่งขึ้น จากนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ (Medical Hub/Medical Tourism; แรงงานต่างชาติในภาคเอกชน)และการเข้าสู่ AC ในปี พ.ศ. 2558 ต่อไป • ผู้ป่วยต่างชาติ และผู้ป่วย/ผู้รับบริการ AC เข้ามารับบริการสุขภาพในไทย • นักท่องเที่ยวต่างชาติ และใน AC มารับบริการส่งเสริมสุขภาพ ในไทย • แรงงานต่างชาติจาก AC มาทำงานและมารับบริการบริการสุขภาพในไทย

  15. ภาพรวมการค้า/ธุรกิจบริการสุขภาพของไทยภาพรวมการค้า/ธุรกิจบริการสุขภาพของไทย • รัฐบาลไทยได้ประกาศนโยบายการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 เป็นต้นมา โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดวิสัยทัศน์ Thailand as World Class Healthcare Destination • กำหนดให้ไทยเป็น Academic Medical Hub of Asia เพื่อเพิ่มและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสุขภาพ โดยแบ่งบริการหลักออกเป็น • 1) ธุรกิจบริการรักษาพยาบาล • 2) ธุรกิจบริการส่งเสริมสุขภาพ • 3) ธุรกิจผลิตภัณฑ์สุขภาพและสมุนไพรไทย และ • 4) บริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

  16. ภาพรวมการค้า/ธุรกิจบริการสุขภาพของไทย (ต่อ) • ชาวต่างชาติที่เข้ามารับบริการทางการแพทย์ในไทยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี จาก 1,103,095 คน ในปี 2547 เป็น 1,390,000 คนในปี 2553 (กรมส่งเสริมการส่งออกและกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ , 2553) • จำนวนชาวต่างชาติจากประเทศสมาชิกอาเซียนที่มารับบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนไทยระหว่างปี 2546-2550 เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก จาก36,708 คน ในปี 2546 และเพิ่มขึ้นเป็น 115,561 คน ในปี 2550 ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยจากอาเซียนมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นไปได้อีกมากในอนาคต • โรงพยาบาลเอกชนไทยหลายแห่งได้ให้ความสำคัญกับผู้ป่วยในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น โดยเห็นได้จากการที่โรงพยาบาลได้จัดบุคลากรที่มีความรู้ด้านภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน “โครงการศึกษาเพื่อจัดทายุทธศาสตร์การพัฒนาภาคบริการของประเทศ” • นำเงินเข้าประเทศได้อย่างมาก /การท่องเที่ยว + การบริการสุขภาพ เป็น Medical Tourism และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง

  17. รูปแบบการค้าบริการ: โอกาสสำหรับวิชาชีพ • Mode 2: การบริโภคในต่างประเทศ ทำให้เกิดโอกาสให้: • สถานศึกษาพยาบาลในประเทศที่จะพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิตพยาบาลสำหรับประชาคมอาเซียนและนานาชาติ • พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลวิชาชีพเฉพาะทางและพยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง และผู้บริหารการพยาบาลที่ต้องพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นต่อการให้บริการผู้ป่วยต่างชาติ • พัฒนากำลังคนสาขาการพยาบาลให้กับประเทศอย่างต่อเนื่อง • และอื่นๆ

  18. รูปแบบการค้าบริการ: โอกาสสำหรับวิชาชีพ Mode 3: การจัดตั้งธุรกิจ • โรงพยาบาลไทยลงทุนและเปิดให้บริการสุขภาพในต่างประเทศ พยาบาลวิชาชีพไทยทำงานในโรงพยาบาลไทยในต่างประเทศ • โรงพยาบาลต่างประเทศมาร่วมลงทุนตั้งโรงพยาบาลในเครือของตนเองในไทยต้องมีผู้บริหาร/พยาบาลไทยทำงานกับผู้บริหารโรงพยาบาลและทีมสุขภาพต่างชาติ

  19. รูปแบบการค้าบริการ: โอกาสสำหรับวิชาชีพ Mode 4: การให้บริการโดยบุคคลธรรมดา นักเรียนพยาบาลปี 4 /พยาบาลวิชาชีพของประเทศอาเซียนมีความสนใจที่จะไปประกอบวิชาชีพในต่างประเทศภายในอาเซียนต้องเตรียมตัวอย่างไร? • เป็นโอกาสของผู้ประกอบวิชาชีพแต่ละคนที่จะแสวงหา • ที่ผ่านมาตั้งแต่อดีต พยาบาลไทยสนใจไปทำงานต่างประเทศ เช่น USA เป็นต้นปีละไม่มากนัก (กำลังศึกษาวิจัยสถานการณ์ ปัญหา ความพึงพอใจ ฯลฯ) • ผู้ประกอบวิชาชีพ ที่สนใจทำงานใน AC ต้องศึกษาข้อตกลงการยอมรับร่วมสาขาการพยาบาล (MRA on Nursing Service) และเตรียมตัวให้พร้อมที่จะต้องไปให้บริการผู้ป่วยในต่างวัฒนธรรม

  20. MRA on Nursing Service • Mode 4:การให้บริการโดยบุคคลธรรมดา • ความตกลง AFAS มีผลบังคับใช้เพื่อลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดและเพื่อให้มีการปฏิบัติเยี่ยงคนในชาติ • ข้อตกลงการยอมรับร่วม (MRAs) 7 สาขา • MRA สาขาการพยาบาล ลงนาม 8 ธันวาคม 2006 (พ.ศ. 2549) • การเคลื่อนย้ายเฉพาะผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อตกลงยอมรับร่วม MRA-NS (เริ่มในปี 2015) • กำหนดขึ้นเพื่อสร้างความเข้มแข็ง/ศักยภาพของผู้ประกอบวิชาชีพโดยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล ความรู้ การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญและ/หรือความเชี่ยวชาญต่างๆ ประสบการณ์และ best practice ตามความต้องการของประเทศสมาชิก

  21. MRA สาขาการพยาบาล • พยาบาลวิชาชีพ หมายถึง บุคคลธรรมดาที่ผ่านการทดสอบเพื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลและได้รับการประเมินโดยหน่วยงานผู้มีอำนาจกำกับดูแลด้านวิชาชีพพยาบาลของประเทศแหล่งกำเนิด (Country of Origin) ว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติทางด้านเทคนิค จริยธรรม และกฎหมาย ที่จะประกอบวิชาชีพพยาบาล และขึ้นทะเบียนและ/หรือได้รับใบอนุญาตสำหรับการประกอบวิชาชีพดังกล่าวจากหน่วยงานผู้มีอำนาจกำกับดูแลด้านวิชาชีพพยาบาลของประเทศแหล่งกำเนิด (Country of Origin) นั้น ทั้งนี้ คำว่าพยาบาลวิชาชีพไม่รวมถึงพยาบาลเทคนิค

  22. MRA สาขาการพยาบาล • พยาบาลวิชาชีพต่างชาติ หมายถึงพยาบาลวิชาชีพที่มีสัญชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนและ ได้ขึ้นทะเบียนและ/หรือได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศแหล่งกำเนิด และมาสมัครขอขึ้นทะเบียน และ/หรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศผู้รับ โดยต้องเป็นไปตามกฎระเบียบในประเทศผู้รับ • คุณสมบัติของพยาบาลวิชาชีพ หมายถึง คุณสมบัติการเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับจากสถาบันฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพซึ่งสถาบันดังกล่าวได้รับการยอมรับโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลวิชาชีพพยาบาล และ/หรือ หน่วยงานใดที่เหมาะสมในประเทศแหล่งกำเนิด

  23. คุณสมบัติในการเป็นพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ • พยาบาลวิชาชีพต่างชาติสามารถขอขึ้นทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศผู้รับ โดยต้องเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับของประเทศผู้รับ พยาบาลวิชาชีพต่างชาติต้อง: • สำเร็จการศึกษาวิชาชีพการพยาบาล; • จดทะเบียน และ/หรือได้รับใบอนุญาตจากประเทศแหล่งกำเนิด ที่ยังมีผลในปัจจุบัน; • มีประสบการณ์ในภาคปฏิบัติวิชาชีพพยาบาลไม่น้อยกว่า 3 ปีต่อเนื่อง ก่อนที่จะสมัครขอขึ้นทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาต ; • ปฏิบัติสอดคล้องตามนโยบายการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ของประเทศแหล่งกำเนิดในระดับที่น่าพอใจ;

  24. คุณสมบัติในการเป็นพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ (ต่อ) • ได้รับใบรับรองจากผู้มีอำนาจกำกับดูแลด้านวิชาชีพพยาบาล (NRA) ของประเทศแหล่งกำเนิดว่าไม่มีประวัติการกระทำผิดอย่างร้ายแรงด้าน เทคนิค มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ ระดับท้องถิ่นและระหว่างประเทศ ในการประกอบวิชาชีพพยาบาล; และ • มีคุณสมบัติด้านอื่น ๆ ตามที่กำหนด เช่น ต้องแสดงผลตรวจร่างกายหรือผ่านการทดสอบสมรรถภาพ หรือข้อกำหนดอื่นใดตามที่หน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานของรัฐในประเทศผู้รับเห็นสมควรในการกำหนดคุณสมบัติของการขอขึ้นทะเบียน และ/หรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาล

  25. สิทธิและหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ • สิทธิของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติภายใต้เงื่อนไขของกฎหมาย และข้อบังคับภายในประเทศของแต่ละประเทศ พยาบาลวิชาชีพต่างชาติซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุใน ข้อ 3.1 มีสิทธิในการเข้าไปประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศผู้รับได้ • หน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ ต้องปฏิบัติสอดคล้องตาม: • หลักประพฤติปฏิบัติทางวิชาชีพของท้องถิ่น สอดคล้องกับนโยบายด้านจรรยาบรรณและความประพฤติที่มีและใช้บังคับโดยประเทศผู้รับ; • กฎระเบียบ ข้อบังคับภายในประเทศของประเทศผู้รับรวมทั้ง กฎระเบียบข้อบังคับอื่นใดที่ใช้กำกับดูแลการประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศผู้รับ; • ข้อกำหนดใด ๆ สำหรับโครงการประกันความเสียหายในประเทศผู้รับ; • วัฒนธรรมและประเพณีนิยมในประเทศผู้รับ

  26. MRA: สภาการพยาบาลกับพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ • หน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาล(NRA) หมายถึงหน่วยงานที่ได้รับอำนาจจากรัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิก ให้มีหน้าที่กำกับดูแลการประกอบวิชาชีพพยาบาล • การประกอบวิชาชีพพยาบาล หมายถึง การให้บริการดูแลพยาบาลโดยพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย การส่งเสริม การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูรวมทั้งการศึกษา การวิจัย • สถาบันฝึกอบรมที่ได้รับการยอมรับ หมายถึง มหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่ให้การฝึกอบรมด้านการประกอบวิชาชีพพยาบาลที่ได้รับอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาล และ/หรือหน่วยงานอื่นที่เหมาะสม(เช่นกระทรวงสาธารณสุข)ในประเทศแหล่งกำเนิด

  27. MRA: สภาการพยาบาลมีความรับผิดชอบดังต่อไปนี้: • ประเมินคุณสมบัติและประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติ; • ขึ้นทะเบียน และ/หรือออกใบอนุญาตให้พยาบาลวิชาชีพต่างชาติในการเข้ามาการประกอบวิชาชีพพยาบาลในประเทศผู้รับ; • ติดตามตรวจสอบและประเมินการประกอบวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติที่ได้จดทะเบียน และ/หรือได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาล; และ • ตรวจสอบติดตาม เพื่อให้แน่ใจว่าพยาบาลต่างชาติจะรักษามาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพพยาบาลที่สอดคล้องกับหลักประพฤติปฏิบัติด้านวิชาชีพของประเทศผู้รับ

  28. คณะกรรมการประสานงานด้านพยาบาลวิชาชีพอาเซียน(ASEAN Joint Coordinating Committee on Nursing: AJCCN) • คณะกรรมการประสานงานด้านพยาบาลวิชาชีพอาเซียนต้องเป็นผู้วางกลยุทธ์ในการดำเนินตามมติของตนเอง เช่น • อำนวยความสะดวกในดำเนินการตามข้อตกลง ฯ; • สร้างความเข้าในร่วมกันทั้งด้านนโยบาย กระบวนการและการปฏิบัติในการพัฒนาและส่งเสริมกลยุทธ์ในการดำเนินการตามข้อตกลงฯ ; • ร่วมกันคิดค้นกระบวนการเพื่อนำไปสู่การสร้างมาตรฐานและหลักเกณฑ์การยอมรับร่วมกันสำหรับการดำเนินการตามข้อตกลงฯ; เป็นต้น

  29. ความก้าวหน้าในการดำเนินการของ AJCCN • ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ คืบหน้าช้า ประชุมแล้วกว่า 11 ครั้ง • ปรับเปลี่ยนวิธีการ MRA Roadmap. • ตกลงกันได้ในเรื่อง กำหนดองค์ประกอบของ สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอาเซียน • ประเทศสมาชิกกำลังดำเนินการให้มี กฎหมายและสภาการพยาบาลขึ้น • กำลังสรุปเรื่องข้อมูลจำเป็นที่ต้องเผยแพร่ใน Website สำหรับพยาบาลต่างชาติที่สนใจให้บริการในต่างประเทศ ศึกษาและเตรียมตัว • มีปัญหาในการสนับสนุนจากรัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อให้มีการดำเนินการตาม MRA

  30. ความก้าวหน้าในการดำเนินการความก้าวหน้าในการดำเนินการ • AJCCN และของสาขาสุขภาพ จะมีการประชุมกันครั้งสุดท้ายของปี 2556 ในเดือน มกราคม 2556และจะประชุมครั้งต่อไปในเดือนกรกฎาคม 2556 นี้ ประเทศไทยเป็นประธานที่ประชุมสำหรับปีนี้ • สภาการพยาบาลต้องดำเนินการตาม MRA: • ต้องมีการเตรียมสมาชิกผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้บริหารการพยาบาล อาจารย์ • ต้องจัดทำ Website ASEAN Nursing • ต้องเตรียมหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่มีขีดความสามารถทำงานตามหน้าที่ที่ระบุใน MRA • Regulations

  31. แนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์แนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ • คณะกรรมการเครือข่ายนานาชาติ สภาการพยาบาล • ศึกษาวิเคราะห์และกำหนด (ร่าง) แนวทางแนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากคณะกรรมการสภาการพยาบาล • ร่าง แนวทางฯ เป็นแนวทางเตรียมความพร้อมขององค์กรพยาบาลเพื่อโอกาสของแต่ละองค์กรที่เกี่ยวข้อง

  32. แนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์แนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ • แนวทางที่ 1 ส่งเสริมการผลิตกำลังคนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนไทยทุกคน และผู้รับบริการตามนโยบาย Medical Hub และแรงงานต่างชาติตามนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจในประชาคมอาเซียน เช่น.. • ยุทธวิธีที่ 1 วิเคราะห์ความต้องการกำลังคนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน วิเคราะห์ความต้องการกำลังคนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในประเทศสมาชิกอาเซียน วางแผนกำลังคน กำลังติดตามประเมินความต้องการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งประเมินผลกระทบต่อบริการสุขภาพ

  33. แนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ต่อ) • แนวทางที่ 1 ส่งเสริมการผลิตกำลังคนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ...(ต่อ) • ยุทธวิธีที่ 2การส่งเสริมการผลิตพยาบาลและผดุงครรภ์ให้มีปริมาณและคุณภาพและความสามารถตามสมรรถนะที่กำหนดและ ส่งเสริมการผลิตพยาบาลเฉพาะ พยาบาลผู้ปฏิบัติการขั้นสูง ครูพยาบาลและผู้บริหารการพยาบาลให้มีสมรรถนะการพยาบาลระดับต่างๆ ตามที่กำหนด • ยุทธวิธีที่ 6 ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาร่วมกับสถานบริการสุขภาพศึกษาวิจัยการแลกเปลี่ยนทั้งทางวิชาการและการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียน

  34. แนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ต่อ) • แนวทางที่ 2 การส่งเสริมให้หน่วยบริการพยาบาลมีศักยภาพและความพร้อมในการให้บริการสุขภาพประชาคมอาเซียนและนานาชาติ • ยุทธวิธีที่ 1 สร้างระบบ กลไก กลวิธีการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ระบบสุขภาพอาเซียนและการมีส่วนร่วมในประชาคมอาเซียนร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง • ยุทธวิธีที่ 2 การส่งเสริมให้ผู้บริหารการพยาบาลทุกระดับทั้งภาครัฐ เอกชน และทั้งในสถาบันการศึกษาและสถานบริการสุขภาพทุกระดับให้มีสมรรถนะผู้นำอาเซียนตามที่สำนักงาน ก.พ.กำหนด โดยการเข้าฝึกอบรมตามหลักสูตรฯที่กำหนด

  35. แนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ต่อ) • แนวทางที่2 การส่งเสริมให้หน่วยบริการพยาบาลมีศักยภาพและความพร้อมในการให้บริการสุขภาพประชาคมอาเซียนและนานาชาติ เช่น ยุทธวิธีที่ 3 พัฒนาระบบจัดการความรู้และข้อมูลระบบบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของประเทศและประชาคมอาเซียน ยุทธวิธีที่ 4 สร้างมาตรการและแรงจูงใจให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์มีการพัฒนาความสามารถในการให้บริการพยาบาลตามมาตรฐานสากล และการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  36. แนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ต่อ) • แนวทางที่3 การสร้างเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรวิชาชีพพยาบาลทุกระดับในการดำเนินงานในบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เช่น ยุทธวิธีที่ 1 ส่งเสริมการพัฒนาองค์กรวิชาชีพทางการพยาบาลให้เป็นผู้นำทั้งด้านการศึกษา การบริการ การบริหาร การวิจัย ในประชาคมอาเซียน ยุทธวิธีที่ 3 การปรับปรุงและพัฒนานโยบาย/กฎหมาย ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) สำหรับการเข้ามาประกอบวิชาชีพของพยาบาลต่างด้าวและสำหรับการไปประกอบวิชาชีพในประเทศประชาคมอาเซียน

  37. แนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ต่อ) • แนวทางที่3 การสร้างเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรวิชาชีพพยาบาลทุกระดับในการดำเนินงานในบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ต่อ) เช่น ยุทธวิธีที่ 4 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความรู้สุขภาพอาเซียนในประเด็นสำคัญ อาทิ การติดตามประเมินผลกระทบเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเสรีด้านบริการสุขภาพของผู้ประกอบวิชาชีพ ค่าใช้จ่ายการเข้าถึงบริการสุขภาพ ความต้องการและความคาดหวังด้านสุขภาพอาเซียน เป็นต้น

  38. เอกสารอ่านเพิ่มเติม • http://www.chinadaily.com.cn/bizchina/2012-01/07/content_14399278.htm Updated: 2012-01-07 13:22(Xinhua) • AyakaMatsunoNurse Migration: The Asian Perspective ILO/EU Asian program on the Governance of Labor Migration. Techical Note. • Pachanee C, Wibulpolprasert S (2007), Trade in Health Services in the ASEAN Context. In: Blouin C, Heymann J, and Drager N, editors. Trade and Health: Seeking Common Ground. Montreal: McGill-Queen’s University Press. • E-Health Bulletin. www.aseansec.org/.../E_Health • สำนักการค้าบริการและการลงทุน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ข้อผูกพันการเปิดเสรีของอาเซียนสาขาสุขภาพ และการจัดทำมาตรฐานวิชาชีพ (MRA) • ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่www.dtn.go.th, www.thaifta.com

  39. เอกสารอ่านเพิ่มเติม • เอกสารการบรรยายเรื่อง ข้อผูกพันการเปิดเสรีของอาเซียนสาขาสุขภาพ และการจัดทำมาตรฐานวิชาชีพ (MRA) ของสำนักการค้าบริการและการลงทุน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ • กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ • กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

More Related