1 / 7

ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน

ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จิราพร โช ตึก. นำเสนอคลิปเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน. วัดบ้านห้วย อำเภอ ราษี ไศล. ความหมายของการพัฒนาชุมชน.

quasar
Télécharger la présentation

ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชนทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จิราพร โชตึก

  2. นำเสนอคลิปเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนนำเสนอคลิปเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน • วัดบ้านห้วย อำเภอราษีไศล

  3. ความหมายของการพัฒนาชุมชนความหมายของการพัฒนาชุมชน • เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกด้านโดยประชาชน และมีหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนเป็นผู้ให้การสนับสนุน และการพัฒนาจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ

  4. ปรัชญาพัฒนาชุมชน • ปรัชญาพัฒนาชุมชน พัฒน์บุณยรัตพันธุ์ (2517 : 1 - 2) ได้กล่าวถึงหลักปรัชญามูลฐานของงานพัฒนาชุมชน ไว้ดังนี้           1.  บุคคลแต่ละคนย่อมมีความสําคัญและมีความเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกัน จึงมีสิทธิอันพึงได้รับการปฏิบัติด้วยความยุติธรรม  และอย่างบุคคลมีเกียรติในฐานะที่เป็นมนุษย์ปุถุชนอันหนึ่ง           2.  บุคคลแต่ละคนย่อมมีสิทธิ และสามารถที่จะกําหนดวิถีการดํารงชีวิตของตน ไปในทิศทางที่ตนต้องการ           3.  บุคคลแต่ละคนถ้าหากมีโอกาสแล้ว  ย่อมมีความสามารถที่จะเรียนรู้  เปลี่ยนแปลงทัศนะ ประพฤติปฎิบัติและพัฒนาขีดความสามารถให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูงขึ้นได้           4. มนุษย์ทุกคนมีพลังในเรื่องความคิดริเริ่ม ความเป็นผู้นํา และความคิดใหม่ๆซึ่งซ่อนเร้นอยู่ และพลังความสามารถเหล่านี้สามารถเจริญเติบโต  และนําออกมาใช้ได้ถ้าพลังที่ซ่อนเร้นเหล่านี้ได้รับการพัฒนา           5. การพัฒนาพลังและขีดความสามารถของชุมชนในทุกด้านเป็นสิ่งที่พึ่งปรารถนา และมีความสําคัญยิ่งต่อชีวิตของบุคคล ชุมชน และรัฐ

  5. แนวความคิดพื้นฐานในการพัฒนาชุมชนแนวความคิดพื้นฐานในการพัฒนาชุมชน              การศึกษาแนวความคิดพื้นฐานของงานพัฒนาชุมชนเป็นสิ่งสําคัญที่จะทําให้พัฒนากรสามารถทํางานกับประชาชนได้อย่างถูกต้อง  และทําให้งานมีประสิทธิภาพ  แนวคิดพื้นฐาน ในการพัฒนาชุมชนในระดับการปฏิบัติ มีดังนี้              1.  การมีส่วนร่วมของประชาชน (People Participation) เป็นหัวใจของงานพัฒนาชุมชน โดยยึดหลักของการมีส่วนร่วมที่ว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจวางแผนงาน การปฏิบัติการและร่วมบํารุงรักษา             2.  การช่วยเหลือตนเอง (Aided Self - Help) เป็นแนวทางในการพัฒนาที่ยึดเป็นหลักการสําคัญประการหนึ่ง คือ ต้องพัฒนาให้ประชาชนพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยมีรัฐคอยให้การช่วยเหลือ  สนับสนุน  ในส่วนที่เกินขีดความสามารถของประชาชน  ตามโอกาสและหลักเกณฑ?ที่เหมาะสม              3.  ความคิดริเริ่มของประชาชน (Initiative) ในการทํางานกับประชาชนต้องยึดหลักการที่ว่า  ความคิดริเริ่มต้องมาจากประชาชน  ซึ่งต้องใช?วิถีแห่งประชาธิปไตย  และหาโอกาสกระตุ้นให้การศึกษา  ให้ประชาชนเกิดความคิด  และแสดงออกซึ่งความคิดเห็นอันเป็น ประโยชน์ต่อหมู่บ้าน ตําบล             4.  ความต้องการของชุมชน (Felt - Needs) การพัฒนาชุมชนต้องให้ประชาชน และองค์กรประชาชนคิดและตัดสินใจบนพื้นฐานความต้องการของชุมชนเอง  เพื่อให้เกิดความคิดที่ว่างานเป็นของประชาชน และจะช่วยกันดูแลรักษาต่อไป              5.  การศึกษาภาคชีวิต (Life - Long Education) งานพัฒนาชุมชนถือเป็นกระบวนการให้การศึกษาภาคชีวิตแก่ประชาชน  เพื่อนําไปสู่การพัฒนาคน  การให้การศึกษา ต้องให้การศึกษาอย่างต่อเนื่องกันไป ตราบเท่าที่บุคคลยังดํารงชีวิตอยู่ในชุมชน

  6. หลักการและเป้าหมายของการพัฒนาชุมชนหลักการและเป้าหมายของการพัฒนาชุมชน  จากปรัชญาและแนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาชุมชนได้นํามาใช้เป็นหลักในการดําเนินงานพัฒนาชุมชน ดังต่อไปนี้              1.  ยึดหลักความมีศักดิ์ศรี และศักยภาพของประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้มากที่สุด  นักพัฒนาต้องเชื่อมั่นว่าประชาชนนั้นมีศักยภาพที่จะใช้ความรู้ ความสามารถที่จะปรับปรุงพัฒนาตนเองได้ จึงต้องให้โอกาสประชาชนในการคิด วางแผน เพื่อแก้ปัญหาชุมชนด้วยตัวของเขาเอง นักพัฒนาควรเป็นผู้กระตุ้น แนะนํา ส่งเสริม             2.  ยึดหลักการพึ่งตนเองของประชาชน นักพัฒนาตองยึดมั่นเป็นหลักการสําคัญว่าต้องสนับสนุนให้ประชาชนพึ่งตนเองได้  โดยการสร้างพลังชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชน ส่วนรัฐบาลจะช่วยเหลือ  สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง  และช่วยเหลือในส่วนที่เกินขีดความสามารถของประชาชน              3.  ยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมคิด ตัดสินใจ วางแผน ปฏิบัติตามแผน และติดตามประเมินผลในกิจกรรม หรือโครงการใด ๆ ที่จะทําในชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการดําเนินงาน อันเป็นการปลูกฝังจิตสํานึกในเรื่องความเป็นเจ้าของโครงการ หรือกิจกรรม              4.  ยึดหลักประชาธิปไตย ในการทํางานพัฒนาชุมชนจะต้องเริ่มด้วยการพูดคุย ประชุม ปรึกษาหารือร่วมกัน คิดร่วมกัน ตัดสินใจ และทําร่วมกัน รวมถึงรับผิดชอบร่วมกัน ภายใต้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย

  7. โครงสร้างและลักษณะของชุมชนโครงสร้างและลักษณะของชุมชน • โครงสร้างของชุมชน ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ1. กลุ่มคน หมายถึง การที่คน 2 คนหรือมากกว่านั้นเข้ามาติดต่อเกี่ยวข้องกัน และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันทางสังคมในชั่วเวลาหนึ่งด้วย ความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน • 2. สถาบันทางสังคม เมื่อคนมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มแล้ว และมีวิวัฒนาการไปถึงขั้นตั้งองค์กรทางสังคมแล้ว ก็จะมีการกำหนดแบบแผนของการปฏิบัติต่อกันของสมาชิกในกลุ่มเพื่อสามารถดำเนินการตามภารกิจ • 3. สถานภาพและบทบาทสถานภาพ หมายถึง ตำแหน่งทางสังคมของคนในกลุ่มหรือสังคมบทบาท หมายถึง พฤติกรรมที่คนในสังคมต้องทำตามสถานภาพในกลุ่มหรือสังคม

More Related