1 / 44

รู้เขารู้เรา : ท้องถิ่นไทยยืนหยัดได้ใน AEC

รู้เขารู้เรา : ท้องถิ่นไทยยืนหยัดได้ใน AEC. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. เนื้อหาการนำเสนอ. Myth. 1. Myth: ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนหรือ ‘ มายาคติ ’ ของคนไทยต่อ AEC. 2. Reality: ความเป็นจริงเกี่ยวกับการรวมกลุ่มทางภูมิภาคในอาเซียน. 3.

Télécharger la présentation

รู้เขารู้เรา : ท้องถิ่นไทยยืนหยัดได้ใน AEC

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รู้เขารู้เรา: ท้องถิ่นไทยยืนหยัดได้ใน AEC สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

  2. เนื้อหาการนำเสนอ Myth 1 Myth: ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนหรือ ‘มายาคติ’ ของคนไทยต่อ AEC 2 Reality: ความเป็นจริงเกี่ยวกับการรวมกลุ่มทางภูมิภาคในอาเซียน 3 Opportunity: โอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มทางภูมิภาค 4 Challenge: ความท้าทายของประเทศไทยในการเตรียมการเพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์ที่เกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด

  3. มายาคติ (Myth)

  4. มายาคติ 1: ในปี 2558 ประเทศไทยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงมหาศาลจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) “ค.ศ. 2015 อีก 3 ปีข้างหน้า กำแพงขวางกั้นทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนจะถูกทลายลง พร้อมกับการก่อกำเนิดของ AEC เมื่อช่วงเวลานั้นมาถึง จะเกิดความเปลี่ยนแปลงตามมามหาศาล ... นอกจากจะทำให้มีตลาดและฐานการผลิตร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว ยังส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการอย่างเสรี เคลื่อนย้ายการลงทุน และเงินทุนอย่างเสรี รวมทั้งเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี” (คอลัมนิสต์, ไทยรัฐ, 18 กรกฎาคม 2555) "เมื่อ ‘ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน’ เปิดจริง สิ่งที่เกิดขึ้นทันทีก็คือ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนก็จะไม่มี ‘พรมแดน’ ระหว่างประเทศ โดยเงินทุนและผู้คนจะสามารถเดินทางเข้าออกประเทศสมาชิกทั้งหมดได้อย่างเสรี" (คอลัมนิสต์, สยามรัฐ, 10 กันยายน 2555)

  5. ข้อเท็จจริง: ปี 2558 จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ต่อไทย • การเปิดเสรีการค้าสินค้า ด้วยการลดภาษีศุลกากรตามกรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA-CEPT) เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 และเสร็จสิ้นเกือบสมบูรณ์แล้ว • การเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุน ยังไม่มีความคืบหน้านัก • การเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพมีเพียง 8 วิชาชีพที่อยู่ภายใต้ข้อตกลง และยังไม่มีความคืบหน้านัก • การเลื่อน AEC ออกไป 1 ปี จะไม่ทำให้เกิดความแตกต่างมากนัก เพราะปัญหาสำคัญของ AEC ไม่ใช่มีเฉพาะความเร็วในการเปิดเสรีแต่ยังมีปัญหาของระดับของความผูกพันของข้อตกลง และการขาดความมุ่งมั่นในการเปิดเสรีของประเทศสมาชิก

  6. มายาคติ 2: เคลื่อนย้ายแรงงานทุกประเภทโดยเสรี “ในอนาคตเมื่อมี AEC แรงงานภาคการเกษตร ก่อสร้างอุตสาหกรรม ที่มีฝีมือจะถูกดูดไปที่อื่น แล้วแรงงานไร้ฝีมือจากเพื่อนบ้านจะทะลักเข้ามาแทนอย่างเสรี น่ากลัวครับ กรุงเทพฯ จะแออัด ขยะจะล้นเมืองโจรพูโล บีอาร์เอ็น ก่อการร้ายทั้งหลายจะสามารถเข้ากรุงเทพฯ ประเทศไทย ได้ง่ายกว่าเดิม” (คอลัมนิสต์, แนวหน้า, 15 เมษายน 2555) “อีกหน่อยคนไทยคงตกงานกันหมด เพราะเพื่อนบ้านเก่งๆ จะเข้ามาแย่งงานทำ”(คอลัมนิสต์, ข่าวสด, 10 สิงหาคม 2555) “ปัจจุบันมีชาวต่างชาติเข้ามาทำงานเป็นผู้ช่วยแพทย์ ที่ปรึกษาทางการแพทย์ในประเทศจำนวนมาก เพราะยังไม่สามารถให้การรักษาในฐานะแพทย์ได้เนื่องจากติดขัดข้อกฎหมาย แต่เมื่อถึงเวลาเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ กลุ่มคนเหล่านี้จะสามารถทำงานในฐานะแพทย์ได้ทันที” (ข้าราชการ, โลกวันนี้, 17 มกราคม 2555)

  7. ข้อเท็จจริง: การเคลื่อนย้ายแรงงานเกี่ยวข้องเฉพาะวิชาชีพ 8 สาขาภายใต้ข้อตกลงการยอมรับร่วม (MRAs) นักวิชาชีพท่องเที่ยว แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี นักสำรวจ

  8. การเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพเป็นไปตามกฎระเบียบไทยการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพเป็นไปตามกฎระเบียบไทย

  9. นักวิชาชีพอาเซียนที่จดทะเบียนยังคงมีน้อยมากนักวิชาชีพอาเซียนที่จดทะเบียนยังคงมีน้อยมาก ที่มา: Thailand Country Study AEC Blueprint Mid-Term Review, TDRI (เก็บข้อมูลเมื่อ 11 กรกฎาคม 2554)

  10. มายาคติ 3: ในปี 2558 นักลงทุนอาเซียนสามารถลงทุนในธุรกิจบริการในอาเซียนได้อย่างเสรี โดยไม่มีจำกัด “นับจากปี 2553 อุตสาหกรรมบริการกำหนดให้ปรับเกณฑ์การถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ จากให้ถือครองไม่เกินร้อยละ 49 เพิ่มเป็นร้อยละ 70 และจะทยอยปรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปี 2558 จะไม่มีการกำหนดการถือครองของต่างชาติเลย …ธุรกิจบริการของไทยสามารถเข้าไปลงทุนในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านได้โดยเสรี ไม่มีข้อกำหนดเรื่องหุ้นส่วน” (นักการเมือง, สยามธุรกิจ, 31 สิงหาคม 2555)

  11. ข้อเท็จจริง: ในปี 2558 ชาติอาเซียนจะถือหุ้นในธุรกิจบริการได้อย่างน้อย 70% โดยการเปิดเสรีขึ้นกับกฎหมายภายในประเทศ AEC Blueprint: “There will be substantially no restriction to ASEAN services suppliers in providing services and in establishing companies across national borders within the region, subject to domestic regulations” • อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดบริการที่สำคัญหลายประการเกิดจากกฎหมายในประเทศ

  12. มายาคติ 4: การรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียนคล้ายสหภาพยุโรป (EU) จึงมีความเสี่ยงในลักษณะเดียวกัน “การรวมตัวกันทางเศรษฐกิจของสมาชิกอาเซียนมีลักษณะคล้าย EU ของยุโรป เพียงแต่อาเซียนไม่ใช้เงินสกุลเดียวกัน” (คอลัมนิสต์, ข่าวสด, 2 กันยายน 2555) “ประชาคมอาเซียนลอกแบบมาจากประชาคมยุโรปทั้งดุ้น ซึ่งมันพังคาตาเราอยู่ อาเซียนก็จะพัง” (คอลัมนิสต์, บ้านเมือง, 13 กันยายน 2555) "ประชาคมอาเซียนลอกแบบมาจากประชาคมยุโรป เอา 10 ชาติอาเซียน .....มาเป็นประชาคมเดียวกัน แล้วจะมีการเปิดเสรีมากมายหลายอย่าง ทั้งการเงิน การทำงานของผู้คน เลื่อนไหลได้ตามใจ และอื่นๆ" (คอลัมนิสต์, บ้านเมือง, 27 กุมภาพันธ์ 2555)

  13. ข้อเท็จจริง: AEC ต่างจาก EU มาก ทั้งระดับการรวมกลุ่มและการจัดสรรอำนาจอธิปไตย จัดตั้งหน่วยงานที่มีอำนาจเหนือรัฐ (Supra-national authority) แต่ละรัฐคงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย (Intergovernmental method) ASEAN European Union นโยบายทางทหารและต่างประเทศร่วมกัน นโยบายการเงินร่วมกัน นโยบายเศรษฐกิจร่วมกัน เคลื่อนย้ายทุนและแรงงานเสรี เคลื่อนย้ายทุนและแรงงานเสรี เคลื่อนย้ายทุนและแรงงานเสรี อัตราภาษีเดียวกันกับประเทศนอกกล่ม อัตราภาษีเดียวกันกับประเทศนอกกล่ม อัตราภาษีเดียวกันกับประเทศนอกกลุ่ม อัตราภาษีเดียวกันกับประเทศนอกกล่ม ยกเลิกภาษีและโควต้า ยกเลิกภาษีและโควต้า ยกเลิกภาษีและโควต้า ยกเลิกภาษีและโควต้า ยกเลิกภาษีและโควต้า สหภาพเศรษฐกิจ สหภาพการเมือง สหภาพศุลกากร ตลาดร่วม เขตการค้าเสรี ที่มา: International Handbook on the Economics of Integration, Volume III, 2011

  14. ความเป็นจริง (Reality)

  15. ความเป็นจริงเกี่ยวกับการรวมกลุ่มทางภูมิภาคอาเซียนความเป็นจริงเกี่ยวกับการรวมกลุ่มทางภูมิภาคอาเซียน การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนในความเป็นจริง (de facto integration) ได้เกิดขึ้นแล้ว ทั้งในด้านการค้า การลงทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงาน แม้ว่า AEC จะยังไม่บรรลุเป้าหมายที่กำหนดในปี พ.ศ. 2558

  16. การเปิดเสรีการค้าในอาเซียนการเปิดเสรีการค้าในอาเซียน จำนวนรายการสินค้า(6 digit) แบ่งตามอัตราภาษีศุลกากร ณ ปี 2554 การลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างประเทศอาเซียนเดิมส่วนใหญ่ลดลงเหลือร้อยละ 0 แล้ว ร้อยละ CLMV (0-5%) = 93% ที่มา: กรมศุลกากรและกระทรวงพาณิชย์

  17. ความเป็นจริง: การค้ากับอาเซียน มูลค่าการค้าของไทยกับประเทศกลุ่มอาเซียนมีแนวโน้มสูงขึ้นแต่สัดส่วนเมื่อเทียบกับการค้าทั้งหมดเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ขณะที่สัดส่วนการค้ากับ CLMV เพิ่มสูงขึ้นในอาเซียน พันล้านบาท ร้อยละ ที่มา: กระทรวงพาณิชย์และ สศช.

  18. การลงทุนโดยตรงกับอาเซียนการลงทุนโดยตรงกับอาเซียน ธุรกิจไทยไปลงทุนในอาเซียนมากกว่าที่อาเซียนมาลงทุนในไทย มูลค่าการลงทุนโดยตรงระหว่างไทยกับอาเซียน (2548-2554) ธุรกิจไทยมีบทบาทมากขึ้นในฐานะนักลงทุนในอาเซียน โดยเฉพาะใน CLMV พันล้านบาท มูลค่าการลงทุนโดยตรงระหว่างไทยกับ CLMV(2548-2554) พันล้านบาท การลงทุนขาเข้าจาก CLMV มาไทย ที่มา: คำนวณจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย

  19. การลงทุนโดยตรงขาออกจากไทยไปอาเซียนการลงทุนโดยตรงขาออกจากไทยไปอาเซียน อาเซียนเป็นแหล่งลงทุนโดยตรงที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน CLMV สัดส่วนการลงทุนโดยตรงของไทยในอาเซียน (รายประเทศ) ปี 2548-2554 มูลค่าการลงทุนโดยตรงของไทยในประเทศที่สำคัญ ปี 2548-2554 พันล้านบาท สหภาพยุโรป ที่มา: คำนวณจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย

  20. การลงทุนโดยตรงขาออกจากไทยไปอาเซียนการลงทุนโดยตรงขาออกจากไทยไปอาเซียน ส่วนใหญ่อยู่ในสาขาพลังงาน สาธารณูปโภค วัสดุก่อสร้าง ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ปี 2554 บริษัทใน SET100* หมวดธุรกิจ/จำนวนบริษัทลูกและบริษัทร่วมทุนในอาเซียน 53 พลังงานและสาธารณูปโภค 38 วัสดุก่อสร้าง 28 ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 17 พาณิชย์ 17 อินโดนีเซีย 45 พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 13 สิงคโปร์ 38 หมวดธุรกิจอื่นๆ** 12 ฟิลิปปินส์ 23 ธุรกิจการเกษตร 11 มาเลเซีย 22 ขนส่งและโลจิสติกส์ 216 11 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กัมพูชา 24 5 อาหารและเครื่องดื่ม ลาว 23 4 ชิ้นส่วนอิเล็กฯ เมียนมาร์ 8 4 ธนาคาร บริษัทลูก/ร่วมทุนในอาเซียน เวียดนาม 33 2 การแพทย์ 1 การท่องเที่ยวและสันทนาการ ที่มา: รวบรวมจากรายงาน 56-1

  21. การลงทุนขาเข้าจากอาเซียนมาไทยการลงทุนขาเข้าจากอาเซียนมาไทย อาเซียนเป็นผู้ลงทุนโดยตรงในไทยลำดับต้นๆ รองจากญี่ปุ่น สัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากอาเซียน (รายประเทศ) ในไทย ปี 2548-2554 มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากประเทศที่สำคัญในไทย ปี 2548-2554 พันล้านบาท ที่มา: คำนวณจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย

  22. การเคลื่อนย้ายแรงงานจากอาเซียนมาไทยการเคลื่อนย้ายแรงงานจากอาเซียนมาไทย ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวจากเมียนมาร์ กัมพูชาและลาวเข้ามาทำงานกรรมกรและงานรับใช้ในบ้าน ปี 2553 ไม่รวมลักลอบทำงาน เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา แรงงานประเภท “มติ ครม. 3 สัญชาติ” เกษตรและปศุสัตว์ 149,333 11,048 11,476 5,812 13,046 กิจการก่อสร้าง 129,353 ต่อเนื่องประมงทะเล 99,031 1.35ล้านคน งานรับใช้ในบ้าน 71,771 12,502 1.14ล้านคน 6,024 4,322 การให้บริการต่างๆ 68,671 4,520 ผลิต/จำหน่ายเสื้อผ้าฯ 61,211 1.18ล้านคน 1.17ล้านคน 1.14ล้านคน 7,269 จำหน่ายอาหารฯ 39,863 แรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานทั่วประเทศ 4,000 มาจากอาเซียน มาจาก CLM ทำงานกรรมกรและงานรับใช้ มาจาก CLM แรงงานต่างด้าวจาก CLM ที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานกรรมกรและงานรับใช้ในบ้าน ค้าปลีก ค้าส่ง แผงลอย 32,900 ผลิต/จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง 12,991 36,097 51,196 แรงงานประเภทพิสูจน์สัญชาติ (กรรมกรและงานรับใช้) 122,751 ที่มา: คำนวณจากข้อมูลของสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว ปี 2553

  23. สรุป: ความเป็นจริง • การเป็น AEC ยังคงห่างไกลจากเป้าหมายในปี พ.ศ.2558 • เศรษฐกิจไทยได้ผนวกเข้ากับเศรษฐกิจอาเซียนแล้วในความเป็นจริง (de facto integration) โดยเฉพาะ CLMV ทั้งด้านการค้าระหว่างประเทศ การลงทุนโดยตรง และการเคลื่อนย้ายแรงงานไร้ฝีมือ ที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยได้รับประโยชน์สูง และยังมีโอกาสต่อประเทศไทยอีกมากในอนาคต

  24. โอกาส (Opportunities)

  25. โอกาสเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโอกาสเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค • ฐานการผลิต (Production base) • การใช้อาเซียนเป็นฐานการผลิตเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมไทย • ตลาดเดียว (Single market) • การรวมกลุ่มทางภูมิภาคทำให้เกิดขนาดตลาดที่ใหญ่ขึ้นและดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ • เวทีในการรวมกลุ่มทางภูมิภาคที่ใหญ่ขึ้น (Platform for greater regional integration) • อาเซียนเป็นฐานในการนำไปสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้น เช่น ASEAN+3 หรือ ASEAN+6 (RCEP)

  26. โอกาสจากการใช้อาเซียนเป็นฐานการผลิต: ปัญหาด้านแรงงานของไทย ประเทศไทยประสบภาวะแรงงานตึงตัวและแรงงานสูงอายุมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น จำนวนผู้ว่างงานและอัตราการว่างงาน สัดส่วนกำลังแรงงานจำแนกตามกลุ่มอายุ ร้อยละ แสนคน ปี 2553 3ล้านคน 38.6ล้านคน อายุ 60 ปีขึ้นไป กำลังแรงงานรวมทั้งประเทศ ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  27. แรงงานในอาเซียน ค่าจ้างแรงงานในประเทศเพื่อนบ้านหลายแห่ง ถูกกว่าไทยมาก กำลังแรงงาน (labor force)ในประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำกว่าไทย เมียนมาร์ กำลังแรงงาน เงินเดือนของแรงงานในโรงงานทั่วไป ลาว อัตราการว่างงาน เวียดนาม กัมพูชา 116.4ล้าน 50.1ล้าน 27.6ล้าน 3ล้าน 7.7ล้าน อินโดนีเซีย 4.01% 1.27% 1.6 % 4.6% 7.8% ที่มา: ผลสำรวจจากบริษัทญี่ปุ่นที่ลงทุนในประเทศต่างๆ โดย JETRO. The 19th – 22nd Survey of Investment Related Costs in Asia and Oceania (2008-2011). ที่มา: รวบรวมจากข้อมูลของธนาคารโลกและสำนักเลขาธิการอาเซียน

  28. โอกาสจากการใช้อาเซียนเป็นฐานการผลิต: การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ไฟฟ้าจากลาว ก๊าซธรรมชาติจากเมียนมาร์ และถ่านหินจากอินโดนีเซีย ข้อมูลปี 2554 10,710 12,275 7.2% 34.7% 830 ไฟฟ้าจากลาว (ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง) ของปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ทั้งประเทศ ถ่านหินจากอินโดนีเซีย(พันตัน) ของปริมาณถ่านหินที่ใช้ทั้งประเทศ ก๊าซธรรมชาติจากเมียนมาร์ (MMSCFPD) 19.3% ที่มา: คำนวณจากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ;การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ของปริมาณที่ใช้ทั้งประเทศ

  29. ศักยภาพด้านพลังงานของอาเซียนศักยภาพด้านพลังงานของอาเซียน อาเซียนมีศักยภาพด้านพลังงานค่อนข้างมากและหลากหลาย ศักยภาพด้านทรัพยากรพลังงานของอาเซียน พลังงานน้ำ พลังงานน้ำในการผลิตไฟฟ้า ไทย GMS : แม่น้ำโขง เมียนมาร์: แม่น้ำสาละวิน ลาว เมียนมาร์ ปริมาณน้ำมัน น้ำมัน-ก๊าซธรรมชาติ ไทย มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย เมียนมาร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ปริมาณก๊าซธรรมชาติ ไทย เมียนมาร์ มาเลซีย ถ่านหิน อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย ปริมาณถ่านหิน ไทย อินโดนีเซีย ที่มา: รวบรวมจาก ASEAN Power Grid < http://www2.egat.co.th/apg/>

  30. โอกาสจากการความเป็นตลาดเดียวของอาเซียน: ตลาดขนาดใหญ่ขึ้นและดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ขนาดเศรษฐกิจใหญ่ขึ้น จำนวนประชากรและคนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้น GDP หน่วย: US$billion ประชากรหน่วย: ล้านคน คนชั้นกลาง หน่วย: % 65% ไทย 345 64 24% 5 เท่า 9 เท่า 598 2010 2030 อาเซียน 1,851 ที่มา: รวบรวมจากข้อมูลของสำนักเลขธิการอาเซียนและธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย

  31. โอกาสจากการใช้อาเซียนเป็นเวทีในการรวมกลุ่มโอกาสจากการใช้อาเซียนเป็นเวทีในการรวมกลุ่ม ทางภูมิภาคที่ใหญ่ขึ้นในอนาคต • สัดส่วนของการค้าภายในภูมิภาค (intra-regional trade) เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง % ที่มา: JETRO (2012)

  32. อาเซียน+6เป็นตลาดใหญ่กว่าไทย48 เท่าและเติบโตเร็ว GDP หน่วย: US$billion 40 เท่า 48 เท่า 5 เท่า 5 เท่า 345 ไทย 16,761 อาเซียน 13,973 1,851 อาเซียน+6 64 อาเซียน+3 • คนชั้นกลาง • จีน:16% (2010) เป็น 83% (2030) • อินเดีย: 5% (2010) เป็น 68% (2030) ประชากรหน่วย: ล้านคน 598 2,116 52 เท่า 33 เท่า 9 เท่า ที่มา: รวบรวมจากข้อมูลของสำนักเลขธิการอาเซียนและธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย 3,358

  33. โอกาสเฉพาะสำหรับไทยจากการรวมกลุ่มทางภูมิภาคโอกาสเฉพาะสำหรับไทยจากการรวมกลุ่มทางภูมิภาค ประเทศไทยจะได้ประโยชน์มากที่สุดประเทศหนึ่ง เนื่องจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เป็นศูนย์กลาง (Hub) ของการเชื่อมต่อในภูมิภาค • 33 จังหวัดของไทยติดกับเพื่อนบ้าน • ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ทำให้ไทยเป็นจุดผ่านของ • East-West Corridor • North-South Corridor • Southern Corridor

  34. โอกาสเฉพาะสำหรับไทยจากการรวมกลุ่มทางภูมิภาคโอกาสเฉพาะสำหรับไทยจากการรวมกลุ่มทางภูมิภาค ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ได้เปรียบ จึงทำให้ประเทศไทยมีโอกาสสำคัญ • ความสะดวกในการย้ายหรือขยายฐานการผลิตสินค้าซึ่งมีมูลค่าเพิ่มไม่สูงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ควบคู่ไปกับการยกระดับการผลิตในประเทศให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น แล้วเชื่อมโยงการผลิตด้วยโครงข่ายคมนาคม • ไทยสามารถพัฒนาบริการต่างๆ ขึ้นมารองรับ เช่น ขนส่งและ โลจิสติกส์ ท่องเที่ยว รักษาพยาบาล • เงินบาทเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนในอนุภูมิภาค ควบคู่กับเงินสกุลหลัก หากไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงจากการเก็งกำไรค่าเงิน หรือสร้างปัญหาต่อการกำหนดนโยบายการเงิน

  35. ปัจจัยที่อีสานเหนือขยายตัวในปี 2554-2555 ราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าร้อยละ 10 ส่วนหนึ่งจากโครงการจำนำข้าว ราคายางพาราที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้จะชะลอตัวลงบ้างแต่พื้นที่เปิดกรีดที่เพิ่มขึ้น การส่งเงินกลับของแรงงานในต่างประเทศ การเชื่อมต่อเข้ากับเศรษฐกิจ GMS โดยเฉพาะลาว

  36. สรุป: โอกาสจากการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในอาเซียน • การใช้อาเซียนเป็นฐานการผลิต • การเข้าถึงตลาดขนาดใหญ่ • การใช้อาเซียนเป็นเวทีในการรวมกลุ่มทางภูมิภาคในอนาคต • การเก็บเกี่ยวประโยชน์จากการเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อในภูมิภาค

  37. ความท้าทาย (Challenges)

  38. ความท้าทาย: เก็บเกี่ยวประโยชน์จากโอกาสให้ได้เต็มที่ • 1. การปฏิรูปเชิงโครงสร้างและกฎระเบียบ เพื่อรองรับการรวมกลุ่มทางภูมิภาค • การเปิดเสรีการค้าอย่างต่อเนื่อง • - ผ่อนคลายกฎแหล่งกำเนิดสินค้า (rules of origin) ให้มีทางเลือกในการได้แหล่งกำเนิด และสะสมมูลค่าในภูมิภาคง่ายขึ้น • - ลดอุปสรรคการค้าจากมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร (NTM) โดยเลิกมาตรการกีดกัน (NTB) และทำความตกลงยอมรับร่วมกัน (MRA) • - เปิดเสรีบริการสำหรับธุรกิจในสาขาที่ยังผูกขาด-กึ่งผูกขาด • การอำนวยความสะดวกทางการค้า (trade facilitation) • - ปรับปรุงพิธีการศุลกากร การตรวจสอบและกักกันโรค (CIQ) ให้เป็นระบบsinglewindow ในแต่ละประเทศ และ singlestop ในระยะยาว • - เชื่อมโยงระบบการชำระเงิน (payment and settlement system) ระหว่างประเทศ

  39. ความท้าทาย:เก็บเกี่ยวประโยชน์จากโอกาสให้ได้เต็มที่ความท้าทาย:เก็บเกี่ยวประโยชน์จากโอกาสให้ได้เต็มที่ • 1. ปฏิรูปเชิงโครงสร้างและกฎระเบียบเพื่อรองรับการรวมกลุ่มทางภูมิภาค (ต่อ) • อำนวยความสะดวกทางการลงทุน (investment facilitation) • - ปรับปรุงการคืนภาษีให้สะดวกขึ้น ให้ได้ประโยชน์จากอนุสัญญาภาษีซ้อน • - สนับสนุน EXIM Bank ให้มีทุนเพียงพอสนับสนุนธุรกิจไทยไปลงทุน หรือ จัดกลไกในการค้ำประกันความเสี่ยงการไปลงทุนต่างประเทศ • - ตั้งหน่วยงาน one-stop service ให้ข้อมูล คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกแก่ธุรกิจเช่นเดียวกับ JETRO • อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงาน (labor mobility) • -กำหนดเวลาของวีซ่า และ work permit ของแรงงานต่างด้าว ให้สัมพันธ์กันและให้บริการแบบ one-stop service • - ปรับขยายเวลาในการรายงานตัวของแรงงานต่างด้าวให้สอดคล้องกับ work permit

  40. ความท้าทาย:เก็บเกี่ยวประโยชน์จากโอกาสให้ได้เต็มที่ความท้าทาย:เก็บเกี่ยวประโยชน์จากโอกาสให้ได้เต็มที่ • 2. สร้างความเสมอภาคในการพัฒนาในภูมิภาคและกระจายประโยชน์ให้เป็นธรรม • ให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา (ODA) แก่ประเทศเพื่อนบ้านในด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านสังคม ทั้งความช่วยเหลือทางการเงินและเทคนิค • คุ้มครองแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ในด้านการรักษาพยาบาล และการศึกษาพื้นฐานของลูกหลาน • ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนที่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศเพื่อนบ้าน • ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ไขปัญหาข้ามพรมแดน เช่น อาชญากรรม ยาเสพติด การค้ามนุษย์ และมลภาวะ

  41. ความท้าทาย:เก็บเกี่ยวประโยชน์จากโอกาสให้ได้เต็มที่ความท้าทาย:เก็บเกี่ยวประโยชน์จากโอกาสให้ได้เต็มที่ • 3. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยและคนไทยมีความเป็นสากลมากขึ้น • ปรับเลิกทัศนคติที่เห็นว่า เพื่อนบ้านเป็นศัตรู หรือคนไทยเหนือกว่า • ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมอาเซียนโดย • -การแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน เช่น การท่องเที่ยว • - การจัดทำโครงการเมืองพี่เมืองน้อง โดยใช้หัวเมืองใหญ่ของไทย • - การใช้สื่อบันเทิงในการเชื่อมความสัมพันธ์อันดี

  42. ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน คะแนนสอบ TOEFL ของคนอาเซียน นิสิตจุฬาฯ ที่เรียนภาษาอาเซียน คน ที่มา: ETS (2011) ที่มา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาค 1/2555

  43. มองเห็นการรวมกันทางภูมิภาคที่เกิดขึ้นจริงมองเห็นการรวมกันทางภูมิภาคที่เกิดขึ้นจริง มองหาโอกาสภายนอกจาก จุดแข็ง เร่งอำนวยความสะดวกการค้า+เปิดเสรีภาคบริการ เร่งกำหนดนโยบายแรงงานไร้ทักษะ เร่งปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ สรุป: จาก 2 ชุดความคิดสู่ 2 แนวนโยบาย ตื่นกลัวการเข้าสู่ AEC ในปี 2558 มองเข้า ข้างใน พยายามชะลอเปิดเสรีการค้าสินค้า ปกป้องแรงงานวิชาชีพ เลื่อน AEC ‘มายาคติ’ ‘ความเป็นจริง’

  44. ความท้าทายที่แท้จริง 3 ประการ การปฏิรูประบบเศรษฐกิจสร้างสมดุลระหว่างภาคส่งออก และภาคบริการ และเพิ่มผลิตภาพของภาคการผลิต การปฏิรูปกฎระเบียบและการดำเนินการของรัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การปรับทัศนคติของธุรกิจ ประชาชนและภาครัฐให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

More Related