370 likes | 557 Vues
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม. ความหมายของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์. สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ คือ การออกแบบส่วนต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน ดังนี้ สถาปัตยกรรมคำสั่ง ISA. (Instruction Set Architecture)
E N D
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม
ความหมายของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ความหมายของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ • สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ คือ การออกแบบส่วนต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน ดังนี้ • สถาปัตยกรรมคำสั่ง ISA. (Instruction Set Architecture) • สถาปัตยกรรม Hardware (Hardware System Architecture)
สถาปัตยกรรมคำสั่ง ISA. (Instruction Set Architecture) • คือ รูปแบบของการกำหนดภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูลต่างๆ ภาษาที่ใช้กับเครื่องประกอบกันขึ้นเป็นโปรแกรม หากโปรแกรมที่เขียนใช้กับเครื่องรุ่นเก่า และสามารถ Run กับเครื่องรุ่นใหม่ในตระกูลเดียวกันได้ เรียกเครื่องรุ่นใหม่นั้นได้ว่า "Upward Compatibility" ในทางกลับกันหากโปรแกรมที่เขียนขึ้นใช้กับเครื่องรุ่นใหม่แล้วไม่สามารถ Run กับเครื่องรุ่นเก่ากว่าได้ เรียกคอมพิวเตอร์รุ่นเก่านั้นไดว่า "Downward Compatibility"
สถาปัตยกรรม Hardware (Hardware System Architecture) • คือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น CPU , Storage System , Bus และ I/O System โดยพัฒนาขึ้นมาตามลำดับจากแนวคิดระบบคอมพิวเตอร์พื้นฐานของ Von Neumann ประกอบด้วย Hardware พื้นฐาน คือ 1. CPU (Central Processing Unit) -หน่วยประมวลผลกลาง 2. Main Memory System - ระบบหน่วยความจำ 3. Input/Output System - ระบบอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล/ อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ข้อมูล 4. Interconnection System(BUS) – ระบบเชื่อมต่ออุปกรณ์ ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
นอกจากนั้นคำสั่งจะต้อง Execute ทีละคำสั่งตามลำดับ และมีเส้นทาง (BUS) ในการขนถ่ายข้อมูลอย่างน้อย 1 เส้นทางระหว่าง CPU กับ Main Memory เรียกว่า "Von Neumann"
หน้าที่ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ ในอดีต คอมพิวเตอร์ คือเรื่องของงานชนิดต่าง ๆ ซึ่งจะต้องทำให้สำเร็จลุล่วงไปในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ในปัจจุบันจะมองว่าคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วย Hardware และ Software ซึ่งมีหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้คือ • ประมวลผลข้อมูลเก็บ • เก็บหรือบันทึกข้อมูล • เคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ภายนอก • ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ต่อพ่วง
1. ประมวลผลข้อมูล ข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีการประมลผลก่อน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือที่เรียกว่า “สารสนเทศ” การประมวลผลข้อมูลนั้น อาจจะเป็นเรื่องของการคำนวณ การเปรียบเทียบข้อมูล หรือการประมวลผลข้อมูลทางตรรกะ ซึ่งจุดประสงค์หลักของการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ ก็คือใช้ประมวลผลข้อมูลที่มีปริมาณมากแทนมนุษย์นั่นเอง
2. เก็บหรือบันทึกข้อมูล ข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ บางครั้งยังอาจจะไม่นำไปประมวลผลเลยทันทีอาจต้องรอข้อมูลอื่น ๆ อีกมาประกอบในการประมวลผล จึงจำเป็นต้องเก็บหรือบันทึกข้อมูลเหล่านั้นไว้ก่อน เมื่อถึงเวลาที่จะประมวลผล จึงดึงข้อมูลเหล่านั้นออกมาใช้หรืออีกในกรณีหนึ่ง ผลลัพธ์ของการประมวลผลข้อมูลแล้ว ยังไม่ได้นำไปใช้งานทันทีอาจจะบันทึกเก็บไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลก่อน เพื่อรอการใช้งานในอนาคต
3. เคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ รับข้อมูลจากภายนอกมาข้อมูลจะต้องเคลื่อนย้ายจากหน่วยรับข้อมูลจากนั้นข้อมูลจะเคลื่อนย้ายมายัง หน่วยประมวลผลข้อมูลและขณะเมื่อข้อมูลนั้นกำลังประมวลผลอยู่ภายในหน่วยประมวลผลข้อมูลนั้นข้อมูลนั้นก็ยังเคลื่อนย้ายไป-มา จนกระทั่งได้ข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว ซึ่งเป็นผลลัพธ์ จะเคลื่อนย้ายไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ หรือเคลื่อนย้ายไปยังอุปกรณ์ภายนอก ที่ต่อเชื่อมอยู่กับระบบคอมพิวเตอร์นั้น
4. ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ต่อพ่วง การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ นอกจากจะมีกลไกในการควบคุม การประมวลผลข้อมูลและ การไหลของข้อมูล ภายในหน่วยย่อยต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์แล้วระบบคอมพิวเตอร์ยังควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ภายนอก ที่ต่อพ่วงอยู่กับระบบอีกด้วย
แรงผลักดันในการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์แรงผลักดันในการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากปริมาณข้อมูลที่จะต้องประมวลผลมีอยู่มาก อีกทั้งกรรมวิธีในการประมวลผลข้อมูลนับวันก็ยิ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น การประมวลผลจำเป็นต้องใช้เวลาให้สั้นลงทันต่อเหตุการณ์ มีความถูกต้องแม่นยำสูงเพื่อให้สามารถพยากรณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
ซึ่งมีเรื่องของงานต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้ 1) การพยากรณ์อากาศ 2) สมุทรศาสตร์ 3) แผ่นดินไหวและค้นหาแหล่งน้ำมันเชื้อเพลิง 4) อากาศพลศาสตร์และการวิเคราะห์โครงสร้าง 5) ปัญญาประดิษฐ์ 6. การทหาร 7. เศรษฐศาสตร์
การพยากรณ์อากาศ ในการคาดหมายสภาวะของลมฟ้าอากาศ รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาข้างหน้าจำเป็นต้องทราบข้อมูลสภาวะของบรรยากาศ ที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณนั้นว่าประกอบด้วย ระบบลมฟ้าอากาศเป็นอย่างไรมีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงความรุนแรง เช่นไร หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดลักษณะอากาศประเภทใด
สมุทรศาสตร์ จะเป็นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการไหลเวียนของน้ำทะเล ตะกอนในทะเล และคุณภาพของน้ำบริเวณชายฝั่ง เช่นการแพร่กระจายของตะกอนแขวนลอยที่เกิดจากกิจกรรมเหมืองแร่ใน ทะเล นอกจากนั้นยังได้ศึกษาการแพร่กระจายของตะกอนบริเวณปากแม่น้ำต่าง ๆ ตลอดจนการพังทะลายของชายฝั่งทะเล
การวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวและการสำรวจแหล่งเชื้อเพลิงการวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวและการสำรวจแหล่งเชื้อเพลิง แผ่นดินไหวคืออาการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ซึ่งจะนำความเสียหายมาสู่มนุษย์ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพลังงานที่ปล่อยออกมา แผ่นดินไหวมีสาเหตุหลัก 3 สาเหตุคือ 1) โดยขบวนการแปรสันฐานของเปลือกโลกเอง 2) โดยขบวนการภูเขาไฟระเบิด 3) โดยขบวนการกระทำของมนุษย์ หรือเหตุอื่น ๆ เช่น อุกกาบาต การทดลองระเบิดนิวเคลียร์
อากาศพลศาสตร์และการวิเคราะห์โครงสร้างอากาศพลศาสตร์และการวิเคราะห์โครงสร้าง แรงทางอากาศพลศาสตร์ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับกระแสอากาศที่สัมพันธ์กับวัตถุ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง คุณลักษณะเกี่ยวกับมวล ความหนาแน่น ความเร็ว อุณหภูมิ จะทำให้เกิดแรงต่าง ๆ เช่น แรงขับ แรงต้าน แรงยก และแรงโน้มถ่วงเช่น เมื่อเครื่องบินเคลื่อนตัวไปข้างหน้า ก็จะปะทะกับกระแสอากาศ เกิดเป็นแรงต้าน(Drag)ที่มีทิศทางสวนไปข้างหลัง พยายามต้านให้ความเร็วลดลง แรงดันของอากาศภายใต้ปีกเครื่องบินที่เกิดจากกระแสอากาศ ขณะที่เครื่องบินผ่านอากาศ จะเกิดแรงยก น้ำหนักเครื่องบินจะทำให้เกิดแรงโน้มถ่วงสู่พื้นโลก โดยขณะที่เครื่องบิน บินอยู่ แรงขับจะต้องมากกว่าแรงดัน และแรงยกจะต้องมากกว่าแรงโน้มถ่วง
ปัญญาประดิษฐ์ เป็นการสร้างเครื่องจักรกล ให้ทำกิริยาบางอย่าง หรืองานบางอย่าง คล้ายกับการใช้ปัญญา หรือความคิดในการกระทำ หรือที่เรียกว่า “กิริยาปัญญาประดิษฐ์” โดยทำให้เครื่องจักรนั้นลอกเลียนกิริยาต่าง ๆ ของมนุษย์ ที่กระทำด้วยปัญญา เช่น การมองเห็น การสังเคราะห์เสียงพูด การเข้าใจภาษาพูดเป็นต้น
การทหาร กองทัพเป็นเครื่องมือของรัฐที่ใช้ในยามทั้งสันติและสงคราม ในยามสันติจะใช้ปฏิบัติการในลักษณะป้องปราม ในยามสงคราม จะใช้ปฏิบัติการของกองทัพในลักษณะของการรุกและป้องกันตนเอง โดยกองทัพจะใช้อาวุธยุทธโธปกรณ์ที่มีระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม เพื่อให้ปฏิบัติการกับเป้าหมายที่คาดว่าน่าจะเป็นภัยคุกคาม และเตรียมแผนเผชิญเหตุ อย่างรอบคอบ ทันเวลา และถูกต้องแม่นยำ เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปของเป้าหมาย
เศรษฐศาสตร์ นอกจากปัจจัยในการดำรงชีพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ แล้ว มนุษย์ยังมีความต้องการอื่น ๆ อีก คือ สินค้าและบริการ สินค้าและบริการ เกิดจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด จำเป็นจะต้องจัดการในเรื่องการผลิตและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการกระจายรายได้ระหว่างเจ้าของปัจจัยการผลิต การแลกเปลียนความเป็นเจ้าของสินค้าและบริการ โดยนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ให้บริการ ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้น จะนำมาใช้วิเคราะห์ โดยคอมพิวเตอร์ เพื่อจะได้ทราบเศรษฐกิจโดยรวมของรัฐ ๆ นั้น
ยุคต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ • ยุคที่ 1 (1944 - 1958)ยุคแห่งหลอดสุญญากาศ ใช้หลอดสูญญากาศ ความต้านทาน Capacitor และ สวิทช์ ในยุคนั้นคอมพิวเตอร์ใช้คำนวณค่าในตารางการยิงปืนใหญ่ ใช้ภาษาเครื่องจักร ใช้กำลังไฟฟ้ามาก • ยุคที่ 2 (1959 - 1964) ยุคแห่งทรานซิสเตอร์ ใช้ Transistor เป็นวงจรหลักของระบบคอมพิวเตอร์ ใช้ภาษาระดับสูง มีการคำนวณทางคณิตศาสตร์แบบFloating point
ยุคต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ • ยุคที่ 3 (1964 - 1974) ยุคแห่ง IC เริ่มใช้วงจรรวม (Integrated circuit) มีหน่วยความจำเป็นแบบ Semi conductor ขนาดของคอมพิวเตอร ์จึงมีขนาดเล็กลง • ยุคที่ 4 (1975 - ปัจจุบัน) ยุคแห่ง LSI ใช้เทคโนโลยี VLSI ประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น ในยุคนี้ขนาดของคอมพิวเตอร์จะมีขนาดเล็กลงมาก
ยุคต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ • ยุคที่ 5 (ปัจจุบัน - ????) ยุคปัญญาประดิษฐ์ VLSI , ULSI , Parallel System , Intelligence คาดว่าในยุคนี้จะเป็นยุคของปัญญาประดิษฐ์ การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานแบบขนานกันไป มีความเร็วในการประมวลผลสูงมาก
แนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์แนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์ • Data processing - เป็นพื้นฐานของการประมวลผลข้อมูล โดยที่ข้อมูลมีจำนวนมาก ใช้คอมพิวเตอร์เข้าช่วยเพื่อลดเวลาการประมวลผลเพื่อให้ได้ Information ทันเวลานั่นเอง • Information processing –ข่าวสาร หรือ Information ก็ยังมีอยู่มาก จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลให้ได้ข้อความรู้ (Knowledge)
แนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์แนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์ • Knowledge processing -เป็นการประมวลผล ข้อความรู้ เพื่อเลือกหนทางที่ดีที่สุด • Intelligence processing - เป็นการประมวลผลข้อความรู้ที่ดีที่สุด เพื่อใช้ในการตัดสินใจแทนมนุษย์ได้ ซึ่งนั่นหมายถึง เป็นการประมวลผลที่ซับซ้อนมากขึ้น ต้องใช้เหตุผลในการประมวลมากขึ้น และใช้ข้อมูลในการประมวลผลน้อยลง
การแบ่งแยกประเภทของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์การแบ่งแยกประเภทของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ • ระบบคอมพิวเตอร์ประเภท SISD (Single Instruction Single Data Stream) -จะเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีโปรเซสเซอร์เดียว ที่ Execute 1 คำสั่ง ต่อ 1 ชุดข้อมูล
การแบ่งแยกประเภทของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์การแบ่งแยกประเภทของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ • ระบบคอมพิวเตอร์ประเภท MISD (Multiple Instruction Single Data Stream) -จะเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มี โปรเซสเซอร์หลายตัวที่ทำงานพร้อมกันหรือที่เรียกว่า ทำงาน ขนานกัน (Parallel processing) โดยที่โปรเซสเซอร์แต่ละตัวจะ มีคำสั่งที่ใช้ Exexcute ของตนเอง แต่ทั้งหมดจะใช้ชุดข้อมูลชุด เดียว เช่น ให้คำนวณ f(x) = 2*x^2+4 จะสามารถทำตามขั้นตอน ได้ดังนี้คือ 1. หาค่า X^2 2. คูณผลลัพธ์ของ X^2 ด้วย 2 3. บวกค่า 4 เข้ากับ 2*X^2
การแบ่งแยกประเภทของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์การแบ่งแยกประเภทของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ นั่นคือ เมื่อ P1 Execute คำสั่งเสร็จก็จะส่งผลลัพธ์ให้ P2 และ เมื่อ P2 Execute คำสั่งเสร็จก็จะส่งผลลัพธ์ให้กับ P3 P3 ก็จะ Execute คำสั่ง โดยนำผลลัพธ์ที่ออกจาก P2 มาประมวลผล เมื่อ P1 และ P2 ทำงานหรือ Execute คำสั่งเสร็จ ก็จะรับข้อมูลและ คำสั่งชุดต่อไปมาทำการ Execute ต่อไปเรื่อย ๆ
การแบ่งแยกประเภทของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์การแบ่งแยกประเภทของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ • ระบบคอมพิวเตอร์ประเภท SIMD (Single Instruction Multiple Data Stream) –เป็นการทำงานของโปรเซสเซอร์หลายตัว ที่ทำงานพร้อมกันโดยโปรเซส เซอร์ทุกตัวใช้คำสั่งเดียวกันหมด เช่น การบวกเลข Matrix ที่ประกอบด้วยข้อมูล 3 ชุด ที่ต้องนำมาบวกกัน โดยจะต้องคำนวณข้อมูล 3 ชุด คือ X1 + Y1 , X2 + Y2 และ X3 + Y3 เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมา ซึ่งโปรเซสเซอร์ทุกตัว Excute คำสั่งมาบวกพร้อมกันทั้งหมด โดยมีข้อมูลต่างกัน
การแบ่งแยกประเภทของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์การแบ่งแยกประเภทของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ • ระบบคอมพิวเตอร์ประเภท MIMD (Multiple Instruction Multiple Data Stream) –เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ โปรเซสเซอร์หลายตัว แต่เชื่อมโยงกันเพื่อช่วยกันทำงาน โปรเซสเซอร์แต่ละตัวใช้คำสั่งและข้อมูลของตนเอง การ Execute คำสั่งของงาน แต่ละโปรเซสเซอร์เป็นอิสระต่อกัน แต่อาศัยการประสานงานที่ดี
การเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ (Coupling) ที่มีหลายโปรเซสเซอร์ มีการเชื่อมโยง 2 รูปแบบ คือ • การเชื่อมโยงอย่างหลวม (Loosely Coupling) -เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหลายโปรเซสเซอร์ แต่ละโปรเซสเซอร์มีหน่วยความจำของตนเอง (Local Memory) และทำงานขนานกันไป มีกลไกการควบคุมการทำงานของโปรเซสเซอร์เหล่านั้น โปรเซสเซอร์แต่ละตัวทำงานเป็นอิสระต่อกัน มีข้อมูลและคำสั่งเป็นของตนเอง โดยติดต่อรับส่งข้อมูลทางช่องทางสื่อสารร่วม การรับส่งข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของข้อมูล
การเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ (Coupling) ที่มีหลายโปรเซสเซอร์ • การเชื่อมโยงอย่างแน่น(Tightly Coupling) -เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหลายโปรเซสเซอร์และสามารถใช้หน่วยความจำร่วมกันได้ โดยเฉพาะหน่วยความจำหลัก แต่โปรเซสเซอร์แต่ละตัวอาจมีหน่วยความจำหลักเป็นของตนเองหรือไม่ก็ได้ จะมีโปรเซสเซอร์หนึ่งควบคุม (Master) และโปรเซสเซอร์อีกหลายๆ ตัวเป็น Slave จึงเรียกการทำงานแบบนี้ว่า Master-Slave
การวัดประสิทธิภาพของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์(System Performance) • Bench Mark -โปรแกรมมาตรฐานที่ใช้วัดประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ • Through Put -ประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ที่ดี จะดูที่ปริมาณงานที่ทำได้ต่อหน่วยเวลา • Response Time -เวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอบสนองต่อคำสั่ง ที่สั่งให้ทำ
การวัดประสิทธิภาพของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์(System Performance) • MIPS(Million Instructions per second) - CPU.Performance ที่ CPU.สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ กี่ล้านคำสั่งต่อวินาที • MFLOPS(Million of Floating-point Operations per second)- Numeric Processor ที่สามารถคำนวณตัวเลขทศนิยม
การวัดประสิทธิภาพของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์(System Performance) Bandwith : • Memory access time-เวลาเฉลี่ยที่ CPU.ใช้ Access ข้อมูลในตำแหน่งต่าง ๆ ของหน่วยความจำ มีหน่วยวัดเป็น Nano second, Milli second etc. • Memory size -ขนาดความจุของหน่วยความจำ มีหน่วยวัดเป็น Mega Bytes, Giga Bytes etc.
การวัดประสิทธิภาพของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์(System Performance) Bandwith : • Memory bandwidth -อัตราการส่งผ่านข้อมูล ระหว่างหน่วยความจำหลักกับ CPU. มีหน่วยวัดเป็น MBS.(Mega bytes per second) • I/O bandwidth -อัตราการส่งผ่านข้อมูล ระหว่างอุปกรณ์ I/O กับ CPU. หรือ อุปกรณ์อื่นๆ มีหน่วยวัดเป็น MBS.(Mega bytes per second)
การวัดคุณภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์การวัดคุณภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ • Generality -มีความสามารถใช้งานได้หลายประเภท เช่น วิศวกรรม , วิทยาศาสตร์, บัญชี เป็นต้น • Applicability -มีความสามารถใช้งานได้ตามจุดประสงค์ของงานนั้น ๆ • Efficiency -อัตราเฉลี่ยของเวลา ความคงทนต่องานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อทำงานตามสภาพปกติ • Ease of use -ใช้งานง่าย ในลักษณะ Friendly user และสามารถพัฒนา Software ได้ง่าย • Malleability -ดัดแปลงง่าย สามารถดัดแปลง นำไปใช้งานได้อย่างกว้างขวาง