1 / 46

ดนตรีตะวันออก

Oriental Music. ดนตรีตะวันออก. อ.คมสัน พิมพ์แพทย์ โรงเรียนมัธยมสาธิต มหาวิทยาลัยนเรศวร. ดนตรีตะวันออกคือดนตรีของใคร ??. ดนตรีตะวันออก ประกอบไปด้วยดนตรี 4 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ # ดนตรีเอเชียใต้ ได้แก่ ดนตรีอินเดีย บังคลาเทศ ลังกา # ดนตรีตะวันออกไกล ได้แก่ ดนตรีจีน ญี่ปุ่น เกาหลี

rachelle
Télécharger la présentation

ดนตรีตะวันออก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Oriental Music ดนตรีตะวันออก อ.คมสัน พิมพ์แพทย์ โรงเรียนมัธยมสาธิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

  2. ดนตรีตะวันออกคือดนตรีของใคร ?? ดนตรีตะวันออก ประกอบไปด้วยดนตรี 4 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ # ดนตรีเอเชียใต้ ได้แก่ ดนตรีอินเดีย บังคลาเทศ ลังกา # ดนตรีตะวันออกไกล ได้แก่ ดนตรีจีน ญี่ปุ่น เกาหลี # ดนตรีเอเชียตะวันออกกลาง ได้แก่ ดนตรีอิสราเอล อาหรับ อิรัก อิหร่าน # ดนตรีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ดนตรีไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์

  3. วัฒนธรรมดนตรี เนื่องด้วยดนตรีเป็นวัฒนธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นมา โดยถูกหล่อหลอมจากทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในสังคม ไม่ว่าจะเป็น ค่านิยม ความเชื่อ สภาพภูมิอากาศภูมิประเทศ ฯลฯ ทุกสิ่งที่กล่าวมาล้วนส่งผลต่อดนตรีที่เขาสร้างขึ้นมา ทำให้ดนตรีของแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน แม้ในประเทศเดียวกัน ก็ยังมีความหลากหลายของดนตรี และล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะของตนทั้งนั้น

  4. ความหลากหลายของวัฒนธรรมดนตรี ดนตรีในประเทศไทย ดนตรีพื้นบ้าน (Folk Music) ดนตรีแบบฉบับ (Thai Classical music) ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ ดนตรีพื้นบ้านอีสานเหนือ ดนตรีพื้นบ้านอีสาน ดนตรีพื้นบ้านอีสานใต้ ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้

  5. ประเภทของดนตรี (Kind of Music) ดนตรีเพื่อความบันเทิง (Entertainment music) ดนตรีพิธีกรรม (Ritual music) ดนตรีประกอบการแสดง (Theatrical music) ดนตรีพิธีกรรมในราชสำนัก ดนตรีพิธีกรรมประชาชนทั่วไปและกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ

  6. เครื่องดนตรี (Musical Instruments) การจำแนกประเภทของเครื่องดนตรีในแต่ละวัฒนธรรมมีการใช้เกณฑ์การจำแนกแตกต่างกัน ไทยใช้ลักษณะการบรรเลงมาเป็นเกณฑ์ ได้แก่ # ดีด (Plucked) # สี (Bowed) # ตี (Percussion) # เป่า (Wind)

  7. การจำแนกหมวดหมู่เครื่องดนตรีอินเดียการจำแนกหมวดหมู่เครื่องดนตรีอินเดีย การจำแนกประเภทของเครื่องดนตรีของอินเดียมีหลายระบบ แต่ระบบที่เก่าแก่และมีความเป็นสากลที่สุดคือ ระบบของท่านภรตะมุนี แบ่งเครื่องดนตรีเป็น 4 หมวดหมู่ดังนี้ # ตะตะ (เครื่องสาย) #สุษิระ (เครื่องเป่า) # อวนัทธะ(เครื่องหนัง) # ฆะนะ (เครื่องเคาะ)

  8. Sitar หรือ ซีต้าร์ มีรากศัพท์มาจากเปอร์เซีย แปลว่า สามสาย เป็นเครื่องดีดที่มีสามสาย ต่อมาเพิ่มเป็น 7 สายและ 20 สาย มีสามสายทำนองหลัก อีก 13 สายเป็นทำนองประสานเสียง ผู้ประดิษฐ์ชื่อ อมิร์กรุสโชว์ ชาวอินเดียเชื้อสายเปอร์เซีย ซีต้าร์จะบรรเลงร่วมกับตับบล้า และตานปุระ

  9. Vinaหรือ วีณา เป็นเครื่องดนตรีของอินเดียเหนือที่สำคัญมาก ต้นกำเนิดมาจากเครื่องเครื่องดีด ส่วนประกอบของกล่องเสียงทำจากน้ำเต้า 2 ลูก และมีคานไม้เป็นแกนขึงสาย

  10. Sarangiหรือ ซารังกี้ เป็นเครื่องประเภทสีในแถบอินเดียเหนือ นิยมบรรเลงประกอบการขับร้อง คล้ายกับไวโอลิน วางด้านซ้ายมือของผู้บรรเลงวางพาดหัวไหล่ซ้ายมือขวาถือคันชักสำหรับสี สายหลักมี 4 สาย ส่วนที่ทำเสียงประสานมี ไม่น้อยกว่า 20 สาย

  11. Mrdanga หรือ เมอร์ดันกา เป็นเครื่องหนังสองหน้าใช้ตีด้วยนิ้วมือรูปร่างแบบถัง หนังเป็นหนังสัตว์มีสายโยงเร่งเสียง มีหน้าใหญ่และหน้าเล็ก ตรงกลางของหน้าหนังมีจุดดำตรงกลางต้องมีการถ่วงเสียงด้วยผงเหล็กผสมกับข้าว

  12. Tabla หรือ ตับบล้า เป็นเครื่องหนังประเภทคู่สองใบ มีใบใหญ่และใบเล็ก เรียกชื่อเต็มว่า ตับบล้าและบายา เป็นเครื่องจังหวะที่มีบทบาทมากที่สุดสามารถทำเสียงจังหวะได้หลายรูปแบบ เป็นเครื่องหนังของอินเดียเหนือนิยมใช้ในการขับร้องและการแสดง นอกจากนี้ ยังนิยมใช้ประเทศปากีสถานและบังคลาเทศด้วย

  13. Pungi หรือ พันจี เป็นเครื่องเป่าที่มีลักษณะคล้ายเครื่องเป่าตะวันตกคือ ปี่คลาริเนต เป็นเครื่องดนตรีที่มีลิ้นใช้ลมเป่าเข้าออกมาถ้าต้องการให้เกิดเสียงสม่ำเสมอ ต้องใช้การระบายลมในการเป่า การเป่าโดยไม่ต้องหยุดลมหายใจแต่ใช้การเก็บลมหายใจไว้ในปากและสูดลมใหม่เข้ามาที่พร้อมกับเป่าก็ได้ลมที่ต่อเนื่อง ในไทยเรียกว่า เรไร

  14. Sahnai หรือ เซไนห์ ปี่ไม้ขนาดเล็กที่มีลิ้นคู่ มีเสียงแหลมเล็ก บรรเลงโดยใช้ลิ้นและลมหายใจ นิยมใช้เป่าเลียนเสียงคนขับร้อง จะเปลี่ยนเสียงตามการกดรูของปี่เลื่อนไปมา นิยมใช้อยู่ในอินเดียเหนือ ดนตรีพื้นเมืองของอินเดีย ในไทยจะเรียกปี่ทรงนี้ว่า ปี่ไฉน

  15. Kamanche หรือ คาเมนเช เป็นเครี่องดนตรีประเภทสีคล้ายไวโอลิน คล้ายกับสะล้อของไทย มี 3 สาย เดิมสายทำด้วยไหมปัจจุบันใช้สายที่เป็นโลหะแทน นิยมในวงดนตรีชั้นสูงอิหร่าน เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่18 การบรรเลงสามารถบรรเลงเดี่ยวก็ได้หรือจะบรรเลงเป็นวงก็ได้

  16. การจำแนกหมวดหมู่เครื่องดนตรีจีนการจำแนกหมวดหมู่เครื่องดนตรีจีน การจำแนกประเภทของเครื่องดนตรีของจีนได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื้อ ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับจักรวาล ดินและดวงดาว ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 ประเภทตามวัสดุที่นำมาใช้ทำ ดังนี้ # โลหะ (Kin)# หนัง (Ko) # หิน (Che) # ไม้ไผ่ (Chu) # ไม้ (Mu)# น้ำเต้า (P’o) # ดินเหนียว (T’u)# ไหม (Hien)

  17. Erhu หรือ เอ่อหู เป็นเครื่องดนตรีจีนประเภทสีมี 2 สาย และมีสายหนึ่งสวมคันชักที่ทำด้วยขนหางม้าไม่แยกออกจากตัวซอ ส่วนกล่องเสียงหรือกระบอกเสียงรูปทรงเป็นกล่องหกเหลี่ยม หุ้มด้านหน้าดัวยหนังงู ส่วนโขนซอมีลักษณะสูงยาวมาก หัวซอมักจะแกะสลักเป็นรูปมังกร หรือ ค้างคาว

  18. Pipa หรือ ปิปะ เป็นเครื่องดนตรีจีนประเภทเครื่องดีด รูปทรงเป็นรูหยดน้ำ ผู้บรรเลงตั้งดีดในแนวดิ่ง ดีขึ้นลงสลับกัน เครื่องดีดแบบเล่น ๆ ในยุคราชวงศ์เว่ย(ค.ศ.386-ค.ศ.534) เครื่องดนตรีใช้บรรเลงในงานเลี้ยงของราชสำนัก บทนิพนธ์เกี่ยวกับงานสงครามมักเขียนถึงปิปะด้วย

  19. Yueqin หรือ เยอะฉิน เป็นเครื่องดนตรีจีนประเภทดีด รูปร่างเป็นพิณกลมแบบดวงจันทร์คอสั้น สลักเชื่อมตัวเป็นโลหะ นิยมบรรเลงเป็นเสียงรัว ที่สั่นไหวทำให้เกิดความไพเราะ เยอะฉินบรรเลงประสานเสียงในเพลงและนิยมบรรเลงในวงบรรเลงงิ้วขนาดเล็ก

  20. Qin หรือ ฉิน เป็นเครื่องดนตรีจีนประเภทดีด จะเข้จีนโบราณเป็นต้นตระกูลของกู่เจิง ตัวเครื่องเป็นกล่องดำลงรักฝังเปลือกมุก มี 7 สายสายทำด้วยที่ขึงตรึงไว้ด้านล่าง ไม่มีนมกดเสียงและไม่มีหย่อง การใช้ขนาดสายที่แตกต่างกันและการกดสายในตำแหน่งที่แตกต่างกันทำให้เกิดเสียงแตกต่าง เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงได้ยากมาก

  21. Sheng หรือ เช็ง เป็นเครื่องเป่าของจีน เม้าท์ออร์แกนของจีนหรือแคนจีน นิยมเป่าอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาวเขาต่อมาราชสำนักนำมาใช้เป่าในวงราชสำนักด้วย นิยมเป่าทำนองประสานเสียงกับทำนองเครื่องอื่น ๆ ตัวเต้าแคนทำด้วยโลหะ ปัจจุบันนิยมบรรเลงอยู่ในวงออร์เครสตร้าจีนแบบใหม่

  22. Suona หรือ ซัวน่า เครื่องเป่าจีนหรือปี่จีนรูปทรงดอกลำโพง ใช้ปี่แบบสองลิ้น ในระยะแรกใช้ในกองทัพทหารเป่าเวลาออกศึกสงครามเดี๋ยวนี้ใช้ในวงออร์เครสตร้าประเพณีจีน นิยมเป่าเสียงพวกนก มักบรรเลงร่วมเครื่องเป่าอื่น ๆ เช่น ดี เช็งและขลุ่ยผิว

  23. Di หรือ ดี ขลุ่ยผิวของจีน เครื่องเป่าด้านข้างทำด้วยไม้ไผ่บางครั้งเหลี่ยมด้วยงาช้างหัวท้าย หรือบางครั้งแกะสลักเป็นหัวมังกรและหางมังกร เป่าด้วยลมหายใจหลายแบบเปลี่ยนตามรูเสียง นิยมเป่าเดี่ยวและร่วมวงออร์เครสตร้างิ้วจีนด้วย

  24. ดนตรี เกาหลี (Korean Music) เกาหลีคืออีกประเทศที่หนึ่งปะสำคัญในกลุ่มเอเชียตะวันออที่ประกอบไปด้วยประเทศ จีน,ญี่ปุ่นและ เกาหลีจากรากฐานของวัฒนธรรมดนตรีที่มีกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกัน  อีกทั้งตลอดระยะเวลาที่ได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน  จึงปรากฏพบเห็นเครื่องดนตรีจำนวนมากของประเทศทั้งสามที่มีลักษณะที่ใกล้เคียงกันโดยทั้ง  3วัฒนธรรมต่างก็มีข้อปลีกย่อยและรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป  ลักษณะของความสัมพันธ์ทางดนตรีที่ทั้ง  3วัฒนธรรมมีต่อกัน   น่าจะเปรียบได้กับวัฒนธรรมฆ้องของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ที่ประกอบไปด้วยลักษณะที่คล้ายคลึงและข้อที่แตกต่างในขณะเดียวกัน ดังนั้นจึงพบว่าในอดีตการแบ่งหมวดหมู่เครื่องดนตรีเกาหลี   อาศัยวิธีการแบ่งอยู่  2ระบบ คือ  ระบบจีนและระบบเกาหลี

  25. ตัวอย่าง เครื่องดนตรีเกาหลี (Korean Music Instrument)

  26. คายากึม (Kayageum) คายากึม (Kayageum) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเรื่องสาย ดีด ที่วางขนานยาวไปกับพื้นเหมือนกันกับจะเข้ของไทย ลักษณะโครง ของเครื่องดนตรีชิดนี้คล้ายๆกับ เจง (Cheng) ของจีน และโกโตะ (Koto) ของญี่ปุ่น

  27. อาเจ็ง (Ajaeng) อาเจ็ง (Ajaeng) เป็นเครื่องดนตรีประเภท เดียวกันกับคายากึม แต่ข้อแตกต่างที่ระหว่าง อาเจ็งกับคายากึมอยู่ตรงที่การกำเนิดเสียงของอาเจ็ง กระทำโดยวิธีการ สี

  28. แฮกึม(Haegeum) แฮกึม (Haegeum) เป็นซอ 2 สายมีลักษณะ คล้ายกับ เอ่อหู ของจีนและคล้ายกับ ซอด้วงของไทย

  29. ขลุ่ยเดกึม (Daegeum) เดกึม (Daegeum)เป็นขลุ่ยที่มีลักษณะ คล้ายขลุ่ยผิวของจีน มีวิธีการบรรเลงโดยการเป่าลมด้านข้าง เหมือน Flute ของดนตรีตะวันตก

  30. ขลุ่ยดันโซ (Dan so) ดันโซ (Danso) เป็นเครื่องดนตรีประเภท เครื่องเป่าเหมือนขลุ่ยเดกึมแต่ขลุ่ย ดันโซ จะมีวิธีการ บรรเลงต่างจากขลุ่ย เดกึม ตรงที่วิธีการเป่าจะเป่าใน แนวตั้งส่วนขลุ่ยเดกึมจะเป่าในแนวข้าง

  31. ปี่ พิริ (Piri) พิริ (Piri) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า ปี่ลิ้นคู่ ที่ทำด้วยไม้ไผ่ ลักษณะของลิ้น พิริ จะเหมือนลิ้นปี่ในของไทย และโอโบ ของดนตรีตะวันตก แต่จะต่างตรงที่วัสดุ ใช้ทำเพราะลิ้นปี่ไนทำด้วยใบตาล

  32. ชางกู (janggu) ชางกู (Janggu) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ ที่หุ้มด้วยหนังทั้ง 2 ข้าง มีลักษณะคล้ายกับรูปทรง นาฬิกาทราย

  33. ยองโกะ (Yonggo) ยองโกะ (Yonggo) ตามคำศัพท์แล้ว ยองโกะ หมายถึง “สิงโต”กลองชนิดนี้ ขึ้นหนังด้วยหมุดทั้ง 2 ข้าง นิยมใช้บรรเลงในการ เดินขบวนและการแสดงปันโซริ ซึ่งเป็นการแสดงดังเดิม ของชาวเกาหลี ผู้บรรเลงจะใช้เชือกร้อยกับลำตัวกลองและ คล้องพาดเฉลียงลงไปบนไหล่เพื่อสะดวกในการแสดง

  34. ดนตรีญี่ปุ่น (Japan Music Instrument)

  35. Koto หรือ โกโตะ เป็นเครื่องดนตรีญี่ปุ่นประเภทเครื่องดีด ที่ได้รับอิทธิพลจากกู่เจิงดนตรีจีน มี 13 สาย สายขึงบนกล่องเสียงโดยมีนมหนุนให้เกิดเสียงต่างกันไป การบรรเลงผู้ดีดจะใช้มือสองข้างดีดสลับกันไปมาบางครั้งจะดีดด้วยมือขวาและใช้เทคนิคนิ้วมือซ้ายกดห้ามเสียงหรือเลื่อนนมให้เกิดเสียงที่แตกต่าง

  36. Shamisen หรือ ซามิเซ็น เครื่องดนตรีญี่ปุ่นประเภทดีด มี 3 สาย เครื่องดีดที่มีคอยาว มีไม้ดีดรูปสามเหลี่ยม ใช้ด้านแหลมดีดขึ้นลงสลับไปมา ดีดทั้งสามสายพร้อมกันและบางครั้งดีดทีละสาย นิยมบรรเลงประกอบการขับร้อง

  37. Odaiko หรือ โอไดโกะ เป็นเครื่องดนตรีญี่ปุ่นกลองสองหน้ารูปทรงถังเบียร์ขึงหนังให้ตรึงด้วยหมุดเหล็ก ข้างกลองติดหูระวิง มีขาตั้งสำหรับตั้งกล่องให้สามารถตีได้ทั้งสองหน้า มีไม้ตีสองอัน นิยมใช้ตีในเทศกาล ตีกลองการเต้นรำและการแสดง

  38. Shakuhachi หรือ ชาคูฮาชิ เครื่องเป่าญี่ปุ่น ขลุ่ยเป่าด้านแนวดิ่งนิยมพำลงที่ทำนองเสียงยาว เป่าโดยไม่มีการหยุด มีการเป่าเสียงดังเบาตามความต้องการ มีการใช้เสียงลีลาต่าง ๆ ตามลมหายใจ

  39. Hichiriki หรือ ฮิชิริกิ เครื่องเป่าไม้สองลิ้นขนาดเล็กเสียงดังแบบออกทางจมูก เป่าอยู่ในดนตรีราชสำนักญี่ปุ่นที่เรียกว่า กากาคุ ยังใช้ในคากูราซึ่งเป็นประเพณีร้องและเต้นที่ฉลองของศาสนาชินโต

  40. เครื่องดนตรีอินโดนีเซีย เครื่องดนตรีอินโดนีเซีย (Indonesia Music Instrument)

  41. Bonang หรือ โบนัง บางทีเรียกว่าฆ้องราง เป็นเครื่องดนตรีแบบประเพณีอยู่ในวงกาเมลันของอินโดนีเซีย เป็นเครื่องเคาะที่เสียงหลักในการบรรเลงทำนองเป็นการประดับตกแต่งด้วยความรวดเร็ว โดยใช้ไม้ตีสองอัน มีสองขนาด ใหญ่และเล็ก

  42. Saron หรือ ซารอน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเคาะของอินโดนีเซียลักษณะรูปร่างแกะสลักเป็นรูปสัตว์ ต่าง ๆ เช่นรูปแมว หลังของสัตว์ มีที่วางแผ่นโลหะแผ่นคล้ายกับระนาดเหล็กจำนวนไม่มาก ใช้บรรเลงสอดแทรกประสานเสียงกับวงกาเมลัน

  43. Gender หรือ เกนเดอร์ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเคาะอยู่ในวงกาเมลันทำเป็นแผ่นโลหะบางแบบระนาดเหล็ก มี 7 คู่ ด้านล่าง ของเครื่องมีท่อลำไม้ไผ่ขยายเสียง บรรเลงโดยการใช้ใม้ตีกลมแบนตีด้วยมือข้างหนึ่งและใช้อีกมือคอยกดห้ามเสียงหรือปล่อยให้เสียงกังวาน

  44. Kendang หรือ เกนดัง เป็นเครื่องหนังลักษณะรูปร่างเหมือนถังหมักเบียร์มีหนังสองด้าน บรรเลงอยู่ในวงกาเมลัน ทำหน้าที่เป็นผู้ให้สัญญานขึ้นลงทำนองเพลงการเปลี่ยนจังหวะหลายลักษณะ ช้าเร็ว การหยุดบรรเลง

  45. Angklung หเรือ อังกะลุง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเคาะทำจากไม้ไผ่มาตัดส่วนให้ได้ตามเสียงที่ต้องการวางบนรางโดยเจาะช่องเสียบไว้ให้สามารถเขย่าเป็นทำนองโดยใช้หลายอันมาบรรเลงร่วมกัน ไทยนำเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 5

  46. Gong Ageng หรือ ฆ้องอะเก็ง ฆ้องชุดขนาดใหญ่ มีหลายใบใช้บรรเลงเป็นชุด กำกับจังหวะย่อยของทำนองเพลง มีลักษณะรูปร่างทำเป็นราวแขวนมีการแกะสลักลวดลายบอกถึง ใครเป็นเจ้าของ มีรุปมังกรแสดงความเป็นใหญ่ลงพื้นสีแดง ทำลวดลายปิดทอง

More Related