1 / 15

โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ปี 2554 -2558

โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ปี 2554 -2558. 1. ความเป็นมา. 1 มี.ค. 2554 : คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามมติ กพช . ในการประชุมเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 เรื่องนโยบายกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2554 - 2558. การปรับปรุงโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า.

Télécharger la présentation

โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ปี 2554 -2558

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ปี 2554-2558

  2. 1. ความเป็นมา • 1 มี.ค. 2554 : คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามมติ กพช. ในการประชุมเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 เรื่องนโยบายกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2554 - 2558 การปรับปรุงโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า • เนื่องจากหลักเกณฑ์ทางการเงินที่ใช้สำหรับการพิจารณากำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นข้อเสนอหลักเกณฑ์ทางการเงินที่ใช้สำหรับการพิจารณากำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าในปี 2549 – 2551 จึงควรมีการทบทวนโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศใหม่ เพื่อให้สอดคล้องสภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลง • ธ.ค. 2550 :พรบ. ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ได้มีผลบังคับใช้ซึ่งกำหนดให้ กกพ. กำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการของผู้รับใบอนุญาตแต่ละประเภทภายใต้นโยบายและแนวทางที่ กพช. ให้ความเห็นชอบ 2

  3. การปรับค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติการปรับค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีก โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายส่ง หลักการทั่วไป 2. นโยบายโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2554 – 2558 วัตถุประสงค์ 3

  4. 1. วัตถุประสงค์ 2. นโยบายโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2554 – 2558 • เพื่อกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทยให้สะท้อนถึงต้นทุนในการจัดหาไฟฟ้าที่เหมาะสมและเป็นธรรม • ส่งเสริมให้มีการใช้ไฟฟ้าที่สะท้อนถึงต้นทุนค่าไฟฟ้าที่แตกต่างกันตามช่วงเวลาในแต่ละวัน • ส่งเสริมให้มีการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจและ • คำนึงถึงการดูแลผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่มีรายได้น้อย 4

  5. 2. หลักการทั่วไป 2. นโยบายโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2554 – 2558 • อัตราค่าไฟฟ้าต้องมีความเหมาะสมกับลักษณะโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม โดยเป็นอัตราค่าไฟฟ้าที่สะท้อนถึงต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์มากที่สุด เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ไฟฟ้าอย่างคุ้มค่าและมีการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ • อัตราค่าไฟฟ้าจะต้องส่งเสริมความเสมอภาคของประชาชนในทุกภูมิภาค สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทเดียวกันต้องเป็นอัตราเดียวทั่วประเทศ (Uniform Tariff) ยกเว้นไฟฟ้าพิเศษสำหรับธุรกิจบนเกาะ • โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าจะมีการแยกต้นทุนของแต่ละกิจการ ได้แก่ กิจการผลิต กิจการระบบส่ง กิจการระบบจำหน่าย และกิจการค้าปลีก ออกให้เห็นอย่างชัดเจนและโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้อย่างเป็นระบบ • อัตราค่าไฟฟ้าจะต้องอยู่ภายใต้กรอบค่าใช้จ่ายการดำเนินงานของการไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ 5

  6. 2. หลักการทั่วไป 2. นโยบายโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2554 – 2558 • เพื่อให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง มีฐานะการเงินที่สามารถขยายการดำเนินงานได้อย่างเพียงพอในอนาคตซึ่งอัตราผลตอบแทนทางการเงินจะอ้างอิงจากอัตราส่วนผลตอบแทนการลงทุน (ROIC) เป็นหลักและให้ใช้อัตราส่วนรายได้สุทธิต่อการชำระหนี้ (DSCR) และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนทุน (Debt/Equity Ratio) ประกอบการพิจารณา • เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ใช้ไฟฟ้า ควรให้มีกลไกในการติดตามการลงทุนของการไฟฟ้าให้เป็นไปเพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพบริการและความมั่นคงของระบบไฟฟ้าโดยกำหนดให้มีบทปรับการลงทุนของการไฟฟ้าที่ไม่เป็นไปตามแผนการลงทุนที่เหมาะสมหรือการลงทุนในโครงการที่ไม่มีประสิทธิภาพ (Crawl Back) 6

  7. 3.โครงสร้างอัตราขายส่ง3.โครงสร้างอัตราขายส่ง 2. นโยบายโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2554 – 2558 • โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายส่งที่ กฟผ. ขายให้ กฟน. และ กฟภ. ควรกำหนดเป็นโครงสร้างเดียวกัน ประกอบด้วย ค่าผลิตไฟฟ้า และค่ากิจการระบบส่ง โดยค่าไฟฟ้าจะแตกต่างกันตามระดับแรงดันและช่วงเวลาของการใช้ไฟฟ้า (Time of Usage-TOU) • กำหนดบทปรับค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (Power Factor) ในระดับขายส่งสำหรับการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งและผู้ประกอบกิจการไฟฟ้าที่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน • กำหนดเงินชดเชยรายได้ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายในลักษณะที่ต้องติดตามตรวจสอบตามหน่วยจำหน่ายที่เกิดขึ้นจริง (Output Base)โดยผ่านกลไกกองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามมาตรา 97 (1) ของ พรบ. ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 7

  8. 4.โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีก4.โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีก 2. นโยบายโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2554 – 2558 • โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีก ประกอบด้วย • ค่าไฟฟ้าฐาน (G, T, D, R) ควรมีการทบทวนทุก 2 ปี • ค่าไฟฟ้าตามสูตรปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) • กำหนดให้อัตราค่าไฟฟ้าขายปลีกสะท้อนต้นทุนตามช่วงเวลาและลักษณะการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภทให้มากที่สุด เพื่อส่งสัญญาณในการประหยัดการใช้พลังงาน • ตลอดจนมีการดูแลผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่มีรายได้น้อยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน ทั้งนี้ บ้านอยู่อาศัยที่มีรายได้น้อยดังกล่าวจะได้รับการอุดหนุนค่าไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ • โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าฐานมีลักษณะเป็นอัตราก้าวหน้า (Progressive Rate) และมีการกำหนดอัตราค่าบริการรายเดือน ทั้งนี้ ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถเลือกใช้อัตราค่าไฟฟ้าที่แตกต่างกันตามช่วงเวลาของการใช้ • อัตราค่าไฟฟ้าควรเป็นอัตราที่มีการทบทวนหรือปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ โดยพิจารณาตามองค์ประกอบของต้นทุนที่แท้จริง เพื่อให้อัตราค่าไฟฟ้าต่อหน่วยไม่ผันผวนเกินสมควร รวมทั้งการบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการอุดหนุนระหว่างกลุ่มให้น้อยลงเท่าที่ทำได้ 8

  9. 4.โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีก4.โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าขายปลีก 2. นโยบายโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2554 – 2558 • กำหนดบทปรับค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (Power Factor) ในระดับขายปลีกสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และกิจการเฉพาะอย่าง เพื่อให้สะท้อนถึงภาระการลงทุนในการปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้า • อัตราค่าไฟฟ้าขายปลีกควรสะท้อนความมั่นคง ความถี่ของแรงดันไฟฟ้า ตามลักษณะความต้องการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทต่างๆ • กำหนดให้มีการคำนวณอัตราค่าบริการพิเศษสำหรับธุรกิจบนเกาะและอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าระบบเติมเงินเพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของการดำเนินโครงการของการไฟฟ้า 9

  10. 5.การปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ5.การปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ 2. นโยบายโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2554 – 2558 • การปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ โดยใช้สูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (ค่า Ft) เพื่อสะท้อนต้นทุนถึงการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของการไฟฟ้าอย่างแท้จริง มีความโปร่งใส เป็นธรรมต่อผู้ใช้ไฟฟ้า • ค่า Ft ควรประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง และค่าซื้อไฟฟ้า ที่เปลี่ยนแปลงไปจากค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าฐานที่ใช้ในการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า รวมถึงผลกระทบจากนโยบายของรัฐ เช่น ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เป็นต้น • ค่า Ft ควรมีการเปลี่ยนแปลงทุก 4 เดือน เพื่อมิให้เป็นภาระต่อการไฟฟ้า และเพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ต้องรับภาระความผันผวนของค่าไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงบ่อยเกินไป ดังนั้น จึงควรพิจารณาใช้ค่าถัวเฉลี่ย 4 เดือน 10

  11. โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าปี 2554-2558 โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ค่าไฟฟ้าฐาน ปี 2554 สูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ Ft

  12. โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า • ค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้า • ค่าก่อสร้างระบบสายส่ง • ค่าก่อสร้างสายจำหน่าย • ค่าการผลิตพลังงานไฟฟ้า • ราคาเชื้อเพลิงฐาน • อัตราแลกเปลี่ยน • อัตราเงินเฟ้อ ค่าเชื้อเพลิงปัจจุบัน VS ฐาน • ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและซื้อไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากค่าไฟฟ้าฐาน • ค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ ผลต่าง

  13. ราคาน้ำมันเตา 3.5%S ราคาก๊าซ และค่าไฟฟ้าม.ค.48-ส.ค.55

  14. ภาพรวมการใช้ไฟฟ้าปี 2554 การใช้ไฟฟ้าแยกตามเชื้อเพลิง (รวมทั้งสิ้น 163,668 กิกะวัตต์-ชั่วโมง) การใช้ไฟฟ้าแยกตามประเภทผู้ใช้ไฟ (จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้ารวม 19 ล้าน ครัวเรือน)

  15. ขอบคุณ

More Related