1 / 12

เรื่อง บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยการอ่านงานประพันธ์เฉพาะเรื่อง ท 30201 ปีที่ผลิตนวัตกรรม 2550

เรื่อง บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยการอ่านงานประพันธ์เฉพาะเรื่อง ท 30201 ปีที่ผลิตนวัตกรรม 2550. 4-5 เมษายน 2552 ณ ร.ร.สวนกุหลาบวิทยาลัย จ.นนทบุรี. นายรังสรรค์ กลิ่นแก้ว โรงเรียนพุทธจักรวิทยา 728/2 ถนนพระรามที่ 4 แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 โทร. 0868915381. นำเสนอ.

randy
Télécharger la présentation

เรื่อง บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยการอ่านงานประพันธ์เฉพาะเรื่อง ท 30201 ปีที่ผลิตนวัตกรรม 2550

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เรื่อง บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยการอ่านงานประพันธ์เฉพาะเรื่อง ท 30201ปีที่ผลิตนวัตกรรม 2550 4-5 เมษายน 2552 ณ ร.ร.สวนกุหลาบวิทยาลัย จ.นนทบุรี นายรังสรรค์ กลิ่นแก้ว โรงเรียนพุทธจักรวิทยา 728/2 ถนนพระรามที่ 4 แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 โทร. 0868915381 นำเสนอ

  2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา มาตรฐานการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยไม่สมบูรณ์ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนการสอน หนังสือเรียน หนังสือแบบฝึกหัด หนังสือนอกเวลาไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน ตำรา คู่มือครูไม่ทันสมัย นักเรียนเรียนรู้ช้า นักเรียนเรียนนอกเวลาเรียนไม่ได้ ความสามารถไม่สามารถทบทวนได้ สอนซ่อมเสริมไม่ถูกต้อง ครูเป็นผู้ควบคุมการเรียนของนักเรียน ครูเป็นผู้ดำเนินการเสียเอง เป็นผู้ป้อนความรู้ให้แก่นักเรียน เป็นผู้กำหนดว่านักเรียนควรรู้อะไร ควรเรียนอะไร จุดอ่อนคือครูบังคับให้ทุกคนต้องเรียนรู้ในอัตราความสามารถที่เท่ากันด้วยวิธีเดียวกัน ตัดสินใจให้นักเรียนเองทุกอย่างว่าจะต้องทำอะไร เมื่อไร และอย่างไร

  3. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักเรียนเรียนกับครูส่วนหนึ่ง 2. เพื่อให้นักเรียนเรียนด้วยตนเองส่วนหนึ่ง 3. เพื่อแก้ปัญหานักเรียนไม่มีตำราเรียน 4. เพื่อให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างอิสระเสรี 5. เพื่อให้ครูใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอน 6. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนตามวัตถุประสงค์การเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 7. เพื่อให้ครูมีพยานเอกสารหลักฐานประกอบการเรียนการสอนที่ถาวร 8. เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปตามแผนการจัดการเรียนรู้อย่างถูกต้องมากที่สุด 9. เพื่อให้ครูได้ทราบผลหลังการสอนจะได้ปรับปรุงแก้ไข 10. เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

  4. นวัตกรรม โดยหลักจิตวิทยาแล้ว นักเรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองตัดสินใจเรียนอะไรที่เขาต้องการเอง ผู้เรียนสามารถสร้างจุดประสงค์ในการเรียนรู้ สามารถหาแหล่งวิชาทำกิจกรรม ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง จุดประสงค์ของการสอนก็คือ ให้ผู้เรียนมีอิสระเต็มที่ เป็นตัวของตนเอง ครูเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และให้ความช่วยเหลือเท่านั้น บทบาทในทางตรงกันข้ามนี้ก็คือ วิธีการของ “บทเรียนสำเร็จรูป” ซึ่งได้มีวิวัฒนาการมาประมาณ 80 ปีแล้ว

  5. ความหมาย บทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนโปรแกรม (programmed text)หมายถึง เป็นบทเรียนที่สร้างขึ้นโดยกำหนดเนื้อหา วัตถุประสงค์ วิธีการ ตลอดจนอุปกรณ์การสอนไว้ล่วงหน้า ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าและประเมินผลการเรียนด้วยตนเองตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ และมีการเสริมแรงแก่ผู้เรียนเป็นระยะ ๆ โดยการเฉลยคำตอบให้ทันที โดยกำหนดเนื้อหาที่แบ่งเป็นตอนย่อย ๆ หรือกรอบ หรือเฟรม (frame) โดยเสนอเนื้อหาทีละน้อย มีคำถามให้นักเรียนคิด ทำกิจ-กรรมหรือตอบ แล้วเฉลยให้ทราบทันที จึงถือได้ว่าผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ด้วยตนเองและเป็นไปตามความสามารถของแต่ละบุคคล

  6. ลักษณะบทเรียนสำเร็จรูป ลักษณะบทเรียนสำเร็จรูป แบบเรียนที่นักเรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีครู และนักเรียนสามารถเรียนได้เร็วหรือช้าตามความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยใช้เวลาต่างกัน (ประทีป สยามชัย, 2510, หน้า 8) เป็นบทเรียนที่สร้างขึ้นโดยกำหนดเนื้อหา วัตถุประสงค์ วิธีการ ตลอดจนอุปกรณ์การสอนไว้ล่วงหน้า ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าและประเมินผลการเรียนด้วยตนเองตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ และมีการเสริมแรงแก่ผู้เรียนเป็นระยะๆ โดยการเฉลยคำตอบให้ทันที โดยกำหนดเนื้อหาที่แบ่งเป็นตอนย่อย ๆ หรือกรอบ หรือเฟรม (frame) โดยเสนอเนื้อหาทีละน้อย มีคำถามให้นักเรียนคิด ทำกิจ-กรรม หรือตอบ แล้วเฉลยคำตอบให้ทราบทันที จึงถือได้ว่าผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ด้วยตนเอง และเป็นไปตามความสามารถของแต่ละบุคคล

  7. นักการศึกษา Skinner (1971) แห่งมหาวิทยาลัย Harvard ได้พัฒนาทฤษฎีการเรียนรู้ในเรื่องการวางเงื่อนไขการกระทำ (operant conditioning)โดยใช้การเสริมแรงเพื่อเป็นการสร้างพฤติกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนจากเครื่องมือช่วยสอนของ Pressy ในลักษณะของ “programmed instruction” โดยใช้หลักการจากทฤษฎีการเรียนรู้ในเรื่องการวางเงื่อนไขการกระทำ ซึ่งการจัดสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมจะประกอบด้วยแนวทางต่อไปนี้

  8. ส่วนประกอบบทเรียนสำเร็จรูปส่วนประกอบบทเรียนสำเร็จรูป 1. เนื้อหาวิชาที่ต้องการให้ผู้เรียนเรียนจะแบ่งออกเป็นขั้นตอนเป็นส่วนย่อย ๆ 2. ในแต่ละส่วนของข้อความที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รู้นั้นเรียกว่า กรอบ (frame) 3. เมื่อผู้เรียนอ่านข้อความในแต่ละกรอบแล้วจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่กำหนด ไว้ในแต่ละกรอบ หรือตอบคำถาม โดยการเขียน 4. ผู้เรียนจะสามารถรู้ผลย้อนกลับการกระทำของตนเองได้ในทันทีว่า คำตอบ นั้นถูกต้องหรือไม่ ถ้าผู้เรียนตอบคำถามได้ถูกต้องก็จะได้รับการเสริมแรงให้ทำในกรอบ ต่อไป แต่ถ้าผู้เรียนตอบคำถามผิด ก็จะสามารถทราบคำตอบที่ถูกต้องได้ 5. ผู้เรียนจะศึกษา และอ่านกรอบต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งในแต่ละกรอบจะประกอบ ด้วยสิ่งเร้าการตอบสนอง การเสริมกำลังใจ จนจบเรื่องที่เรียนในบทเรียนแบบโปรแกรม

  9. ประโยชน์บทเรียนสำเร็จรูปประโยชน์บทเรียนสำเร็จรูป บทเรียนแบบโปรแกรมสามารถนำมาใช้ได้ในห้องเรียนปกติ หรือนำมาใช้ร่วมกับอุปกรณ์การสอนอื่นๆ เช่น ตำราเรียน ภาพยนตร์ โทร-ทัศน์ การบรรยาย และการปรึกษาหารือ หรือจะนำมาใช้เป็นหน่วยหนึ่งของการเรียนการสอนในกระบวนวิชาหนึ่ง

  10. (NEXT) หรือใช้บทเรียนแบบโปรแกรมทั้งกระบวนวิชาก็ได้ นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์สำหรับผู้เรียนซึ่งมีความแตกต่างจากผู้เรียนอื่นๆ ในชั้นเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่ต้องการมีความรู้เพิ่มเติมในเนื้อหาวิชาอื่นๆ มากกว่าการเรียนการสอนปกติในชั้นเรียน

  11. (NEXT) หรือ จะนำมาใช้สำหรับการซ่อมเสริมความรู้ให้แก่ผู้เรียนด้อยนอกเวลาเรียน บทเรียนแบบโปรแกรมจะมีประโยชน์มากสำหรับการเสริมความรู้ให้แก่ผู้เรียน เมื่อผู้จัดทำ หรือ ผู้สอนปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยอยู่เสมอ รวมทั้งพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้

More Related