1 / 96

การประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษา. สู่การปฏิบัติ.

Télécharger la présentation

การประกันคุณภาพการศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประกันคุณภาพการศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษา

  2. สู่การปฏิบัติ • พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 มาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก • กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 • การแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน ประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มสาระฯ) ข้อ 5 สถานศึกษาต้องมีการประกันคุณภาพภายในทุกปี ข้อ 6 สถานศึกษาจัดทำรายงานประจำปี เสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษาหน่วยงานต้นสังกัด และรายงานต่อสาธารณชน

  3. ข้อ 14 ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพในตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยดำเนินการดังต่อไปนี้ 1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 2. จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขอสถานศึกษา 3. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ 4. ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 5. จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 6. จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 7. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน 8. จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

  4. ข้อ 15 การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาตามข้อ 14 (1) ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาชาติ เอกลักษณ์ของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้อ 16 การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาตามข้อ 14 (2) ให้ดำเนินการดังนี้ แต่งตั้งตามคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาแผนกลยุทธ์ 1. ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการที่จำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ (Swot Analysis) 2. กำหนดวิสัยทัศน์ พัทธกิจ เป้าหมายและความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม 3. กำหนดวิธีดำเนินงานที่หลักวิชา ผลการวิจัยหรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างอิงไดให้ครอบคลุมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาด้านประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ 4. กำหนดแหล่งภายวิทยากรภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ 5. กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาและผู้เรียนรับผิดชอบและดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ 6. กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางการมีส่วนร่วมของบิดา มารดา ผู้ปกครองและองค์กรชุมชน 7. กำหนดการใช้งบประเมินและทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ 8. จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี

  5. ขยายความข้อ 16 สู่การปฏิบัติ วิเคราะห์ SWOT บริษัทภายใน จุดแข่ง, จุดอ่อน บริบทภายนอก โอกาส,อุปสรรค์ หลักสูตรสถานศึกษา ปัจจุบันเราอยู่จุดใด

  6. จัดทำแผนพัฒนา (แผนกลยุทธ์) ในอนาคตเราต้องไปสู่จุดใด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เราจะไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร เป้าประสงค์ เราจะสู่จุดนั้นใช้เวลาเท่าไร โครงการ/กิจกรรม สนองมาตรฐาน กลยุทธ์/แผนงาน โครงการ/กิจกรรม เราจะต้องทำอะไรหรือปรับเปลี่ยนอะไร แผนปฏิบัติการประจำปี สรุปผลการดำเนินการตามโครงการ จัดทำรายงานประจำปีSAR

  7. การประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2554 – 2558 เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้การนำมาตรฐานสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดทำคำอธิบายและระดับคุณภาพพร้อมทั้งเกณฑ์การผ่านมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้น เพื่อให้สถานศึกษา ตลอดจนเขตพื้นที่การศึกษาใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมตรวจสอบ และประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาต่อไป มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็น 5 ด้าน มี 15 มาตรฐาน แต่ละมาตรฐาน มีการกำหนดตัวบ่งชี้ที่ครอบคลุมและให้น้ำหนักความสำคัญกับกระบวนการบริหารและการจัดการ ร้อยละ 70 ส่วนผลของการบริหารและการจัดการคือคุณภาพผู้เรียนเป็นร้อยละ 30 มีรายละเอียดของมาตรฐานและน้ำหนักคะแนนดังนี้ ด้านที่ 1 มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน (น้ำหนัก 30 คะแนน) มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ (5 คะแนน) .1.1 มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพและออกกำลังกายสม่ำเสมอ (0.5 คะแนน) 1.2 มีน้ำหนัก ส่วนสูง และสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์มาตรฐาน (0.5 คะแนน) 1.3 ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงตนเองจากสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรค ภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ (1 คะแนน) 1.4 เห็นคุณค่าในตนเอง มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม (1 คะแนน) 1.5 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและให้เกียรติผู้อื่น (1 คะแนน) 1.6 สร้างผลงานจากการเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี / นาฏศิลป์ กีฬา/ นันทนาการตามจินตนาการ (1 คะแนน)

  8. มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ (5 คะแนน) 2.1 มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร (2 คะแนน) 2.2 เอื้ออาทรผู้อื่นและกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ (1 คะแนน) 2.3 ยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง (1 คะแนน) 2.4 ตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม (1 คะแนน) มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (5 คะแนน) 3.1 มีนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ และสื่อต่าง ๆ รอบตัว (2 คะแนน) 3.2 มีทักษะในการอ่าน ฟัง ดู พูด เขียน และตั้งคำถามเพื่อค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม (1 คะแนน) 3.3 เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการเรียนรู้ระหว่างกัน (1 คะแนน) 3.4 ใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน (1 คะแนน) มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุสมผล (5 คะแนน) 4.1 สรุปความคิดจากเรื่องที่อ่าน ฟัง และดู และสื่อสารโดยการพูด หรือเขียนตามความคิดของตนเอง (2 คะแนน) 4.2 นำเสนอวิธีคิด วิธีแก้ปัญหาด้วยภาษาหรือวิธีการของตนเอง (1 คะแนน) 4.3 กำหนดเป้าหมาย คาดการณ์ ตัดสินใจแก้ปัญหาโดยมีเหตุผลประกอบ (1 คะแนน) 4.4 มีความคิดริเริ่ม และสร้างสรรค์ผลงานด้วยความภาคภูมิใจ (1 คะแนน)

  9. มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร (5 คะแนน) 5.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยแต่ละกลุ่มสาระเป็นไปตามเกณฑ์ (1 คะแนน) 5.2 ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์ (1 คะแนน) 5.3 ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนเป็นไปตามเกณฑ์ (2 คะแนน) 5.4 ผลการทดสอบระดับชาติเป็นไปตามเกณฑ์ (1 คะแนน) มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต (5 คะแนน) 6.1 วางแผนการทำงานและดำเนินการจนสำเร็จ (2 คะแนน) 6.2 ทำงานอย่างมีความสุข มุ่งมั่นพัฒนางาน และภูมิใจในผลงานของตนเอง (1 คะแนน) 6.3 ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (1 คะแนน) 6.4 มีความรู้สึกที่ต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เรื่องเกี่ยวกับอาชีพที่ตนเองสนใจ(1 ค) ด้านที่ 2 มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา (น้ำหนัก 50 คะแนน) มาตรฐานที่ 7 ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล (10 คะแนน) 7.1 ครูมีกำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (1 คะแนน) 7.2 ครูมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล และใช้ข้อมูลในการวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน (1 คะแนน) 7.3 ครูออกแบบและการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสติปัญญา (2 คะแนน) 7.4 ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมผนวกกับการนำบริบทและภูมิปัญญาของท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ (1 คะแนน) 7.5 ครูมีการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย (1 คะแนน) 7.6 ครูให้คำแนะนำ คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้เรียนทั้งด้านการเรียนและคุณภาพชีวิตด้วยความเสมอภาค (1 คะแนน) 7.7 ครูมีการศึกษา วิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนรับผิดชอบ และใช้ผลในการปรับการสอน (1 คะแนน) 7.8 ครูประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นสมาชิกที่ดีของสถานศึกษา (1 คะแนน) 7.9 ครูจัดการเรียนการสอนตามวิชาที่ได้รับมอบหมายเต็มเวลาเต็มความสามารถ (1 คะแนน)

  10. มาตรฐานที่ 8 ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล (10 คะแนน) 8.1 ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำ และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน (1 คะแนน) 8.2 ผู้บริหารให้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและใช้ข้อมูลผลกาประเมินหรือผลการวิจัยเป็นฐานคิดทั้งด้านวิชาการและการจัดการ (2 คะแนน) 8.3 ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ (2 คะแนน) 8.4 ผู้บริหารส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้พร้อมรับการกระจายอำนาจ (2 คะแนน) 8.5 นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนพึงพอใจผลการบริหารจัดการศึกษา (1 คะแนน) 8.6 ผู้บริหารให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษาเต็มศักยภาพและเต็มเวลา (2 คะแนน) มาตรฐานที่ 9 คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง ชุมชนปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล (5 คะแนน) 9.1 คณะกรรมการสถานศึกษารู้และปฏิบัติหน้าที่ระเบียบกำหนด (2 คะแนน) 9.2 คณะกรรมการสถานศึกษากำกับติดตามดูแล และขับเคลื่อนการดำเนินงานของสถานศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย (1 คะแนน) 9.3 ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกาพัฒนาสถานศึกษา (2 คะแนน)

  11. มาตรฐานที่ 10 สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน (10 คะแนน) 10.1 หลักสูตรสถานศึกษาเหมาะสมและสอดคล้องกับท้องถิ่น (2 คะแนน) 10.2 จัดรายวิชาเพิ่มเติมที่หลากหลายให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความถนัด ความสามารถและความสนใจ (2 คะแนน) 10.3 จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ส่งเสริมและตอบสนองความต้องการความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน (1 คะแนน) 10.4 สนับสนุนให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง (1 คะแนน) 10.5 นิเทศภายใน กำกับ ติดตามตรวจสอบ และนำผลไปปรับปรุง การเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ (2 คะแนน) 10.6 จัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมถึงผู้เรียนทุกคน (2 คะแนน)

  12. มาตรฐานที่ 11 สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ (10 คะแนน) 11.1 ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารเรียนมั่นคง สะอาดและปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวก พอเพียง อยู่ในสภาพใช้การได้ดี สภาพแวดล้อมร่มรื่น และมีแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียน ( 4 คะแนน) 11.2 จัดโครงการ กิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้เรียน ( 3 คะแนน) 11.3 จัดห้องสมุดที่ให้บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองและหรือเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (3 คะแนน) มาตรฐานที่ 12 สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่กำหนดในกฎกระทรวง (5 คะแนน) 12.1 กำหนดมาตรบานการศึกษาของสถานศึกษา (1 คะแนน) 12.2 จัดทำและดำเนินการตามแผนพัฒนาจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (1 คะแนน) 12.3 จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศและใช้สารสนเทศในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานที่ศึกษา (1 คะแนน) 12.4 ติดตามตรวจสอบ และประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (0.5 คะแนน) 12.5 นำผลการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไปใช้วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (0.5 คะแนน) 12.6 จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน (1 คะแนน)

  13. ด้านที่ 3 มาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (น้ำหนัก 10 คะแนน) มาตรฐานที่ 13 สถานศึกษามีการสร้าง ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (10 คะแนน) 13.1 มีการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาและใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและบุคลากรของสถานศึกษา รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง (5 คะแนน) 13.2 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในสถานศึกษาระหว่างสถานศึกษากับครอบครัวชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ( 5 คะแนน) ด้านที่ 4 มาตรฐานด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา (น้ำหนัก 5 คะแนน) มาตรฐานที่ 14 การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นที่กำหนดขึ้น (5 คะแนน) 14.1 จัดโครงการ กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษา (3 คะแนน) 14.2 ผลการดำเนินงานส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษา (2 คะแนน) ด้านที่ 5 มาตรฐานด้านมาตรการส่งเสริม (น้ำหนัก 5 คะแนน) มาตรฐานที่ 15 การจัดกิจกรรมตามนโยบาย จุดเน้น แนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาให้ยกระดับคุณภาพสูงขึ้น (5 คะแนน) 15.1 จัดโครงการ กิจกรรมพิเศษเพื่อตอบสนองนโยบาย จุดเน้นตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา (3 คะแนน) 15.2 ผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย (2 คะแนน)

  14. แนวทางการปฏิบัติ • แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดการดำเนินงานแต่ละมาตรฐานให้ตรงตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ • วิเคราะห์มาตรฐานตัวชี้วัดเพื่อการดำเนินงานจัดทำโครงการ 1 กิจกรรม • แต่งตั้งคณะกรรมการ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน • จัดหาแฟ้มจัดเก็บเอกสาร หลักฐานการดำเนินงานแต่ละมาตรฐานแต่ละตัวบ่งชี้

  15. การวิเคราะห์ มาตรฐาน ตัวชี้วัด สู่การปฏิบัติ และจัดเก็บหลักฐาน การวิเคราะห์มาตรฐานที่ 1 ชื่อผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ

  16. การประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม 1. แนวคิดและทิศทางในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม 1.1 ประเมินอิงเกณฑ์ตามจุดเน้นทางสถานศึกษา 1.2 ประเมินผลการจัดการศึกษาเป็นหลัก ให้น้ำหนักร้อยละ 80 ใช้ข้อมูลเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี 1.3 ประเมินโดยวิธีการและข้อมูลเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และเชิงพัฒนาการ 1.4 ประเมินโดยการยืนยัน รายงานการประเมินตนเองที่ถูกต้องเชื่อถือได้ 1.5 ประเมินในเชิงกระบวนการโดยให้น้ำหนักคะแนนร้อยละ 20 2. คำนิยามของกลุ่มตัวบ่งชี้ กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน หมายถึง ตัวบ่งชี้ที่ประเมินภายใต้ภารกิจของสถานศึกษา โดยกำหนดตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินบนพื้นฐานที่ทุกสถานศึกษาต้องมีและปฏิบัติได้ ซึ่งสามารถชี้ผลลัพธ์และผลกระทบได้และมีความเชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพใน ตัวบ่งชี้ที่ 1-8 กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ หมายถึง ตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลผลิตตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษารวมถึงความสำเร็จตามจุดเน้นจุดเด่นส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสถานศึกษา โดยได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด ตัวบ่งชี้ 9-10

  17. กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม หมายถึง ตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษา โดยสภานพศึกษาเป็นผู้กำหนดแนวทางพัฒนาเพื่อร่วมกันชี้แนะป้องกันและแก้ไขปัญหา สังคมตามนโยบายของรัฐ ซึ่งสามรถปรับเปลี่ยนได้ตามฤดูกาลเวลา และปัญหาสังคมเปลี่ยนแปลงไป โดยมีเป้าหมายที่แสดงถึงความเป็นผู้ช่วยเหลือสังคมและแก้ปัญหาสังคมของสถานศึกษา เช่น การปฏิรูปการศึกษา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมประชาธิปไตยกรป้องกันยาเสพติด ฯลฯ โดยสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดและหน่วยงานต้นสังกัดให้การรับรองการกำหนดตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริมของสถานศึกษาตัวบ่งชี้ที่ 11, 12 3. ข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ใช้ประกอบการพิจารณา ใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานเฉลี่ย 3 ปี การศึกษาย้อนหลังก่อนการประเมิน 4. รูปแบบการประเมิน มีรูปแบบการประเมิน 5 รูปแบบดังนี้ 1. การประเมินเชิงปริมาณได้แก่ตัวบ่งชี้ 2.1, 2.3, 3.1, 3.2, 4.1, 4.2, 6.2 2. การประเมินเชิงปริมาณและเชิงพัฒนาการได้แก่ตัวบ่งชี้ 1.1, 5.1, 5.8, 8 3. การประเมินเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพได้แก่ ตัวบ่งชี้ 1.2, 2.2 4. การประเมินเชิงคุณภาพได้แก่ตัวบ่งชี้ 6.1, 7, 9, 10, 12 5. การประเมินเชิงคุณภาพและพิจารณาผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น (Better) ได้แก่ตัวบ่งชี้ที่ 11

  18. กลุ่มตัวบ่งชี้เพื่อการประเมินคุณภาพรอบสามกลุ่มตัวบ่งชี้เพื่อการประเมินคุณภาพรอบสาม

  19. ตัวบ่งชี้ที่ 1 ผู้เรียนมีสุขภาพกายสุขภาพจิตดี คำอธิบาย ผู้เรียนมีสุขภาพกายสุขภาพจิตดี หมายถึง ผู้เรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูงและสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์ รวมทั้งรู้จักดูแลตนเอง ให้มีความปลอดภัยและผู้เรียนมีสุขภาพจิตดี ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ย่อย ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผู้เรียนมีน้ำหนักส่วนสูงและสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์รวมทั้งรู้จักดูแลตนเองให้มีความปลอดภัย น้ำหนัก 5 คะแนน (เชิงปริมาณ 4 คะแนนและเชิงพัฒนาการ 1 คะแนน) คำอธิบาย ผู้เรียนมีน้ำหนักส่วนสูง และสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์ รวมทั้งรู้จักดูแลตนเองให้มีความปลอดภัย หมายถึง ผู้เรียนมีน้ำหนักส่วนสูง ตามเกณฑ์ของกรมอนามัยและมีสมรรถภาพตามเกณฑ์ของกรมพลศึกษาเครือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ (สสส) และผู้เรียนที่ปลอดจกปัญหาทางเพศยาเสพติด และสิ่งมอบเมา เช่นสุรา บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอร์เกม เป็นต้น

  20. 1. เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (4 คะแนน) 1.1 ร้อยละของผู้เรียนมีน้ำหนักส่วนสูง สมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์ 1.2 ร้อยละของผู้เรียนที่ปลอดจากปัญหาทางเพศ ยาเสพติดและสิ่งมอมเมา เช่น สุรา บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอลส์เกมส์ วิธีการคำนวณ ค่าเฉลี่ยของจำนวนผู้เรียนที่มีคุณลักษณะ ตามเกณฑ์การพิจารณา 1.1 และ 1.2 × 100 จำนวนนักเรียนทั้งหมด เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบกำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 4 คะแนน ร้อยละของผู้เรียนที่มีคุณลักษณะ ตามเกณฑ์การพิจารณา 1.1 และ 1.2 × 4 100

  21. 2. เกณฑ์การพิจารณาเชิงพัฒนาการ (1 คะแนน) ร้อยละของการเปลี่ยนแปลงปีการศึกษาล่าสุดเกี่ยวกับมีการศึกษาที่ผ่านมา (ร้อยละของการเปลี่ยนแปลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ (5) หรือสถานศึกษามีผลคะแนนในระดับดีมากทั้ง 3 ปีการศึกษา กรณีที่ 1 สถานศึกษามีผลคะแนนในปีการศึกษาล่าสุดต่ำกว่าระดับดีมาก ต่ำกว่าร้อยละ 90 วิธีการคำนวณของเกณฑ์การพิจารณาเชิงพัฒนาการ ร้อยละ ของการเปลี่ยนแปลง หมายถึง ผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยร้อยละของผู้เรียนที่มีน้ำหนักส่วนสุง และสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์ รวมทั้งรู้จักดูแลตนเอง ให้มีความปลอดภัย ของมีการศึกษาล่าสุด กับค่าเฉลี่ยร้อยละของผู้เรียนที่มีน้ำหนักส่วนสูง และสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์รวมทั้งรู้จักดูแลตนเองให้มีความปลอดภัยของมีการศึกษาที่ผ่านมา (1 ปีย้อนหลัง) เกณฑ์การให้คะแนน ร้อยละของการเปลี่ยนแปลงของจำนวนนักเรียนของจำนวนผู้เรียนที่มีพัฒนาการไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 15 ให้นักว่าสถานศึกษามีพัฒนาการ (1 คะแนน)

  22. กรณีที่ 2 สถานศึกษามีผลคะแนนในปีการศึกษาล่าสุดระดับดีมาก (ตั้งแต่ร้อยละ 90 ขึ้นไป) สถานศึกษามีค่าเฉลี่ยร้อยละของผู้เรียนที่มีน้ำหนักส่วนสูงและสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์รวมทั้งรู้จักดูแลตนเองให้มีความปลอดภัยทั้ง 3 ปี (ปีการศึกษาล่าสุดกับ 2 ปีการศึกษาที่ผ่านมา) อยู่ในระดับดีมาก (ตั้งแต่ร้อยละ 90 ขึ้นไป) ถือว่าสถานศึกษามีพัฒนาการ (1 คะแนน) ข้อมูลประกอบการพิจารณา 1. ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา 2. ข้อมูลบันทึกสุขภาพ การวัดส่วนสูง การชั่งน้ำหนัก การทดสอบสมรรถภาพ 3. สถิติการเจ็บป่วย 4. ข้อมูลการตรวจสอบยาเสพติด ฯลฯ

  23. ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพ น้ำหนัก 5 คะแนน (เชิงปริมาณ 2 คะแนน และเชิงคุณภาพ 3 คะแนน คำอธิบาย ผู้เรียนมีสุนทรียภาพ หมายถึง ผู้เรียนมีความซาบซึ้งในคุณค่า อารมณ์ ความรู้สึกในสิ่งที่ดีงาม ไพเราะน่าชื่นชม พัฒนา ฝึกฝน และซึมซับจนเป็นลักษณะนิสัยและรสนิยม โดยผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งในและนอกหลักสูตร เช่น กิจกรรมศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์และนันทนาการเป็นต้น 1. เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (2 คะแนน) ร้อยละของผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมทั้งในและนอกหลักสูตรด้านศิลปะ ดนตรี/นาฏศิลป์ วรรณศิลป์ และนันทนาการ วิธีการคำนวณ 100 เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตยยางค์เทียม กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 2 คะแนน 2

  24. 2. เกณฑ์การพิจารณาเชิงคุณภาพ (3 คะแนน) พิจารณาจากระบวนการเชิงนโยบายของผู้บริหารสถานศึกษาและผลงานของผู้เรียนจากองค์ประกอบ 3 ข้อได้แก่ ข้อ 1 การกำหนดนโยบายส่งเสริมสุนทรียภาพของสถานศึกษา ข้อ 2 การดำเนินงานตามวงจร PPCA ข้อ 3 มีการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องอยู่ในระดับดีขึ้นไป (ตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไป) เกณฑ์การให้คะแนน ข้อมูลประกอบการพิจารณา 1. จำนวนผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรม 2. ผลงานผู้เรียน 3. ใบประกาศ เกียรติบัตร รางวัล ภาพถ่าย

  25. ตัวบ่งชี้ที่ ๒ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์น้ำหนัก ๑๐ คะแนน คำอธิบาย ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ หมายถึง ผู้เรียนที่เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ผู้ปกครอง เป็นนักเรียนที่ดีของโรงเรียน และเป็นคนดีของสังคมประกอบด้วย ๓ ตัวบ่งชี้ย่อย คือ

  26. ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๑ ผู้เรียนเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ผู้ปกครอง น้ำหนัก ๔ คะแนน (เชิงปริมาณ ๔ คะแนน) คำอธิบาย ผู้เรียนเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้เรียนมีคุณลักษณะของการเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตามประเด็นดังนี้ ๑. บำรุง ดูแล กตัญญู สร้างความสุข ความสบายใจให้พ่อแม่ ผู้ปกครองตามอัตภาพ เช่น หุงข้าว ทำอาหาร เสิร์ฟอาหาร มีการ์ด อวยพร มอบช่อดอกไม้ ของขวัญให้ตามเทศกาล เป็นต้น ๒. ช่วยทำกิจธุระ การงาน เช่น ช่วยทำความสะอาดบ้านหรืองานบ้าน ช่วยซื้อของ ช่วยกิจธุระ การงาน ที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ขอให้ช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ เป็นต้น ๓. สืบทอด รักษาวงศ์สกุล เช่นการไม่เสพสิ่งเสพติด ไม่ดื่มสุรา ไม่เล่นการพนัน ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง สร้างชื่อเสียงให้แก่ครอบครัว เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน เป็นต้น ๔. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นลูกที่ดี เช่น เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ปฏิบัติตนในโอวาทของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ไหว้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ก่อนไปและกลับจากโรงเรียน เป็นต้น

  27. เกณฑ์การพิจารณา ร้อยละของผู้เรียนที่เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่ได้จากการสำรวจด้วยแบบบันทึกคุณลักษณะ ของผู้เรียนที่เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ของ สมศ. โดยแบ่งระดับคุณภาพของผู้เรียนที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ออกเป็น ๕ ระดับ ได้แก่ ระดับน้อย (มีการปฏิบัติสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง) ระดับค่อนข้างน้อย (มีการปฏิบัติสม่ำเสมอสัปดาห์ละ ๒ วัน) ระดับปานกลาง (มีการปฏิบัติสม่ำเสมอสัปดาห์ละ ๓ - ๔ วัน) ระดับค่อนข้างมาก (มีการปฏิบัติสม่ำเสมอสัปดาห์ละ ๕ - ๖ วัน) และระดับมาก (มีการปฏิบัติสม่ำเสมอทุกวัน) โดยผู้เรียนที่มีคุณลักษณะตามเกณฑ์ระดับดีขึ้นไป หมายถึง ผู้เรียนที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลการประเมินคุณลักษณะการเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ผู้ปกครองตามแบบบันทึกคุณลักษณะของผู้เรียนที่เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตั้งแต่ ๓.๕๑ ขึ้นไป

  28. × 100 วิธีการคำนวณ เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 4 คะแนน × 4 ข้อมูลประกอบการพิจารณา ผลการสำรวจจากแบบบันทึกคุณลักษณะของผู้เรียนที่เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่ได้รับการตรวจสอบ และรับรองจากสถานศึกษา

  29. ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๒ ผู้เรียนเป็นนักเรียนที่ดีของโรงเรียน น้ำหนัก ๔ คะแนน (เชิงปริมาณ ๒ คะแนน และเชิงคุณภาพ ๒ คะแนน) คำอธิบาย ผู้เรียนเป็นนักเรียนที่ดีของโรงเรียน หมายถึง ผู้เรียนที่ไม่ขาดเรียน ไม่มาสาย ไม่ออกจากการศึกษากลางคัน และไม่มีปัญหาด้านการปกครอง รวมทั้งมีคุณลักษณะของการเป็นผู้เรียนที่ดี ได้แก่ สุภาพ นอบน้อม โอบอ้อมอารี ช่วยเหลือผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมานะในการเรียน ดูแลรักษาสถานที่และสิ่งของ ทั้งส่วนรวมและส่วนตัว อยู่อย่างพอเพียง รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รักความเป็นไทย และยึดมั่นในวิถีชีวิตและ การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๑. เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (๒ คะแนน) ๑.๑ ร้อยละของผู้เรียนที่ไม่ขาดเรียน มาสาย และออกจากการศึกษากลางคัน ๑.๒ ร้อยละของผู้เรียนที่ไม่มีปัญหาด้านการปกครอง

  30. × 100 วิธีการคำนวณ เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 2 คะแนน × 2

  31. ๒. เกณฑ์การพิจารณาเชิงคุณภาพ (๒ คะแนน) พิจารณาจากคุณลักษณะของการเป็นผู้เรียนที่ดีของโรงเรียน ดังนี้ ๒.๑) สุภาพ นอบน้อม หมายถึง รู้จักให้เกียรติผู้อื่น เป็นกันเอง จริงใจ มีน้ำใจ และเป็นมิตร เช่น ทักทาย หรือ ยกมือไหว้เมื่อเจอครู ก้มตัวเมื่อเดินผ่านผู้ใหญ่ ฯลฯ ๒.๒) โอบอ้อมอารี ช่วยเหลือผู้อื่น หมายถึง ช่วยเหลือคนอื่นด้วยความเต็มใจด้วยความสุขใจ อยากจะให้คนอื่นได้รับการช่วยเหลือจากตนอย่างบริสุทธิ์ใจ เช่น การช่วยเพื่อนนักเรียนหรือช่วยครูถือของ การแบ่งปันสิ่งของให้เพื่อน ฯลฯ ๒.๓) รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น หมายถึง เข้าใจความแตกต่างในความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น ตั้งใจฟังเพื่อนอภิปราย เล่าประสบการณ์หน้าห้อง รายงานหน้าชั้นเรียน ไม่พูดคุยขณะที่เพื่อนพูดฯลฯ ๒.๔) ซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง ประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสมตรงไปตรงมาทั้งกาย วาจาและใจต่อตนเองและผู้อื่น ด้วยความจริงใจ ไม่คดโกง และไม่หลอกหลวง เช่น พบสิ่งของหายแล้วนำไปคืน ไม่ลักขโมย ไม่ลอกการบ้าน ฯลฯ ๒.๕) มุ่งมานะในการเรียน หมายถึง ตั้งใจมุ่งมั่นศึกษาเล่าเรียนไม่ท้อแท้ เมื่อมีเวลาว่างก็ใช้เวลานั้น ให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเล่าเรียนของตน โดยอ่านหนังสือศึกษาค้นคว้าจากแหล่งความรู้ต่างๆ

  32. ๒.๖) ดูแลรักษาสถานที่ และสิ่งของ ทั้งส่วนรวมและส่วนตัว หมายถึง ช่วยบำรุงดูแลรักษาสถานศึกษา รวมทั้งดูแลตนเอง เช่น รดน้ำต้นไม้หน้าชั้นเรียน ทำความสะอาดห้องเรียนตามเวรที่จัดรักษาทรัพย์สินหรือข้าวของตนเองไม่ให้สูญหาย ฯลฯ ๒.๗) อยู่อย่างพอเพียง หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ ฯลฯ ๒.๘) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และรักความเป็นไทย หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมาของชาติไทย ประวัติของบุคคลสำคัญ มีความตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี ยึดมั่น ในการทำความดีตามหลักพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ มีความเคารพรัก ศรัทธาและเทิดทูน สถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นศูนย์รวมแห่งความจงรักภักดี และทรงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนชาวไทยทั้งชาติ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย และมีความรักความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย ฯลฯ ๒.๙) ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน มีความยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฯลฯ

  33. เกณฑ์การให้คะแนน ข้อมูลประกอบการพิจารณา ๑. ข้อมูลสถิติของสถานศึกษา ได้แก่ จำนวนการขาดเรียน จำนวนการทะเลาะวิวาท จำนวนการผิดระเบียบของสถานศึกษา สถิติของหายในสถานศึกษา ปัญหาการปกครอง เป็นต้น ๒. จำนวนผู้เรียนตามเกณฑ์การพิจารณาจากสมุดบันทึกของครู สมุดบันทึกความดี ๓. ผลงานของผู้เรียนทั้งในและนอกหลักสูตร ๔. ผลการสังเกตและการสัมภาษณ์ผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้อง

  34. ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๓ ผู้เรียนมีการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมน้ำหนัก ๒ คะแนน (เชิงปริมาณ ๒ คะแนน) คำอธิบาย ผู้เรียนมีการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม หมายถึง ผู้เรียนให้การช่วยเหลือผู้อื่นหรือส่วนรวม ที่แสดงถึง ความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกของสังคม โดยการบำเพ็ญประโยชน์ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีตามโอกาสอันควร และควรปฏิบัติอยู่ตลอดเวลาจนเป็นนิสัย เช่น การช่วยเหลืองานโรงเรียน ช่วยทำความสะอาดสถานที่ที่เป็นของส่วนรวม เป็นต้น เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ ร้อยละของผู้เรียนที่ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมทั้งในและนอกสถานศึกษา โดยผ่านกระบวนการคิด วางแผน กำหนดกิจกรรม และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง วิธีการคำนวณ เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 2 คะแนน ×100 ×2

  35. ข้อมูลประกอบการพิจารณาข้อมูลประกอบการพิจารณา ๑. แผนปฏิบัติการประจำปี และแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ๒. แผนการจัดการเรียนรู้ของครูและการมอบหมายงานที่เกี่ยวข้อง ๓. ข้อมูลเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย การเข้าร่วมทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมของผู้เรียน เช่น กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมชุมนุม ชมรม เป็นต้น ๔. สมุดบันทึกความดีของผู้เรียน ๕. ผลการสัมภาษณ์ผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้อง

  36. ตัวบ่งชี้ที่ ๓ ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง น้ำหนัก ๑๐ คะแนน คำอธิบาย ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง หมายถึง ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้จากการอ่าน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ และผู้เรียนเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงร่วมกับผู้อื่นทั้งในและนอกสถานศึกษา ประกอบด้วย ๒ ตัวบ่งชี้ย่อย คือ

  37. ตัวบ่งชี้ 3.1 ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้จากการอ่านและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ น้ำหนัก 5 คะแนน (เชิงปริมาณ 5 คะแนน) คำอธิบาย ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้จากการอ่านและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการแสวงหาข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ความคิดเห็น จินตนาการ ฯลฯ ที่บันทึกไว้ในเอกสาร หนังสือ สิ่งพิมพ์ แผ่นศิลา ใบลาน ป้ายโฆษณา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ โดยการอ่าน การดู การฟัง และการเขียน

  38. เกณฑ์การพิจารณา ร้อยละของผู้เรียนที่มีการบันทึกการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอจากการอ่านและใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง วิธีคำนวณ 100 เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน 5

  39. ข้อมูลประกอบการพิจารณาข้อมูลประกอบการพิจารณา ๑. แบบบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน ๒. แผนการจัดการเรียนรู้ของครูและการมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน การเขียน การดูการฟัง และการพัฒนาให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน ๓. ผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการค้นคว้าประกอบการเรียนรู้ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ๔. ข้อมูลการใช้ห้องสมุดของผู้เรียน และข้อมูลการสืบค้นโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ๕. ผลการสังเกตและการสัมภาษณ์ผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้อง ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๒ ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงร่วมกับผู้อื่นทั้งในและนอกสถานศึกษา น้ำหนัก ๕ คะแนน (เชิงปริมาณ ๕ คะแนน) คำอธิบาย ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงร่วมกับผู้อื่นทั้งในและนอกสถานศึกษา หมายถึง ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา โดยผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมจริง และมีส่วนร่วมรับผิดชอบในกิจกรรมนั้น ซึ่งสามารถร่วมกิจกรรมได้ทั้งในและนอกสถานศึกษา เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ ร้อยละของผู้เรียนที่เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงร่วมกับผู้อื่นทั้งในและนอกสถานศึกษาจากการดู การฟัง การลงมือปฏิบัติ การทัศนศึกษา ตามเกณฑ์ของสถานศึกษา และจากข้อมูลเชิงประจัก

  40. 100 วิธีการคำนวณ เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน 5

  41. ข้อมูลประกอบการพิจารณา ๑. ปฏิทินกิจกรรมประจำปีของสถานศึกษา ๒. แผนการจัดการเรียนรู้ของครูและการมอบหมายงานที่เกี่ยวข้อง ๓. ข้อมูลการดำเนินกิจกรรม เทศกาล ประเพณี วันสำคัญต่างๆ การทัศนศึกษา ๔. รายงานสรุปผลการจัดกิจกรรมหรือผลการประเมินการจัดกิจกรรม ๕. ข้อมูลการบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ การทำงานร่วมกับผู้อื่น และแบบบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ๖. ผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการทำกิจกรรมทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ๗. ผลการสัมภาษณ์ผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้อง

  42. ตัวบ่งชี้ที่ ๔ ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น น้ำหนัก ๑๐ คะแนน คำอธิบาย ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น หมายถึง ผู้เรียนมีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดเป็นระบบ และสามารถปรับตัวเข้ากับสังคม ประกอบด้วย ๒ ตัวบ่งชี้ย่อย คือ

  43. ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๑ ผู้เรียนมีความสามารถด้านการคิด น้ำหนัก ๕ คะแนน (เชิงปริมาณ ๕ คะแนน) คำอธิบาย ผู้เรียนมีความสามารถด้านการคิด หมายถึง ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และคิดเป็น ระบบ ที่นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจและแก้ปัญหาของตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม (หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑) เกณฑ์การพิจารณา ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินความสามารถด้านการคิด ตามที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และข้อมูลเชิงประจักษ์

  44. วิธีการคำนวณ เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน ข้อมูลประกอบการพิจารณา ๑. ข้อมูลการบันทึกจำนวนผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินความสามารถด้านการคิดตามที่กำหนด ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ๒. ผลการสังเกตและการสัมภาษณ์ผู้เรียนตามระดับชั้น 100 5

  45. ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๒ ผู้เรียนมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคม น้ำหนัก ๕ คะแนน (เชิงปริมาณ ๕ คะแนน) คำอธิบาย ผู้เรียนมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคม หมายถึง ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ความสามารถใน การแก้ปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นสมรรถนะในหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และมีความสามารถในการทำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ในหลักหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เกณฑ์การพิจารณา ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมตามที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และข้อมูลเชิงประจักษ์

  46. วิธีการคำนวณ เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ ๑๐๐ เท่ากับ ๕ คะแนน ข้อมูลประกอบการพิจารณา • ๑. ข้อมูลการบันทึกจำนวนผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตตามที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ • ๒. ผลการสังเกตและการสัมภาษณ์ผู้เรียนตามระดับชั้น

  47. ตัวบ่งชี้ที่ ๕ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน น้ำหนัก ๒๐ คะแนน คำอธิบาย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน หมายถึง ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดี และมีพัฒนาการทางการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในระดับชั้น ป.๓ ป.๖ ม.๓ และ ม.๖ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดี หมายถึง ร้อยละของผู้เรียนที่ได้คะแนนผลการทดสอบของสถาบัน ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) (O-NET) มากกว่าขีดจำกัดล่างของค่าเฉลี่ยผลการทดสอบในแต่ละ กลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับชั้น ป.๓ ป.๖ ม.๓ และ ม.๖ ขีดจำกัดล่าง หมายถึง คะแนนต่ำสุดของคะแนนเฉลี่ยแต่ละชั้นและวิชา โดยค่าขีดจำกัดล่าง คำนวณจากสูตร ดังนี้ X คือ ค่าเฉลี่ยของคะแนนในวิชาและชั้นที่สอบ O-NET SD คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน n คือ จำนวนผู้เข้าสอบในแต่ละวิชาและชั้นที่สอบ O-NET X = (2.58SD.)  n

  48. พัฒนาการทางการเรียนรู้ หมายถึง สถานศึกษามีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในระดับดี สูงขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย ๘ ตัวบ่งชี้ย่อย คือ

  49. ตัวบ่งชี้ที่ ๖ ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คำอธิบายน้ำหนัก ๑๐ คะแนน ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การดำเนินการของสถานศึกษาให้สามารถจัด การเรียนการสอนที่เน้นถึงความสามารถของผู้เรียนเป็นรายบุคคลและจัดกระบวนการเรียนการสอน ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ประกอบด้วย ๒ ตัวบ่งชี้ย่อย คือ

More Related