1 / 52

ความปลอดภัยของระบบจราจรภายในมหาวิทยาลัย นเรศวร ส่วนหนองอ้อ

ความปลอดภัยของระบบจราจรภายในมหาวิทยาลัย นเรศวร ส่วนหนองอ้อ. ความปลอดภัยของระบบจราจรภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนหนองอ้อ. นสพ. ธัญญนีย์ เรืองบัณฑิต นสพ. บุญฤทธิ์ บุศยศักดิ์ นสพ. บุษราคัม ธีระไพรพฤกษ์. Review Literature.

roary-kirk
Télécharger la présentation

ความปลอดภัยของระบบจราจรภายในมหาวิทยาลัย นเรศวร ส่วนหนองอ้อ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความปลอดภัยของระบบจราจรภายในมหาวิทยาลัย นเรศวร ส่วนหนองอ้อ

  2. ความปลอดภัยของระบบจราจรภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนหนองอ้อ นสพ. ธัญญนีย์ เรืองบัณฑิต นสพ. บุญฤทธิ์ บุศยศักดิ์ นสพ. บุษราคัม ธีระไพรพฤกษ์

  3. Review Literature • งานวิจัยของนิสิตแพทย์ ปี 6:พบว่าอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่ เกิดในอายุ 15 -24 ปี และเป็นนักเรียน - นักศึกษา พบในช่วง 19.00 - 22.59 น. และ วันเสาร์ มากที่สุด • พุทธชินราชเวชสาร:พบว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดในอายุ 20 -40 ปี และเป็นนักเรียน - นักศึกษาที่ไม่ได้สวมหมวกนิรภัย พบในช่วง 17.00 - 18.59 น. และ วันเสาร์ - อาทิตย์ มากที่สุด

  4. Review Literature • ข้อมูลสถิติอุบัติเหตุจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ : ในปี 2541 มีอุบัติการณ์ 120 ราย / แสนประชากร , ข้อมูลปี 2536 - 2540 พบว่าเพศชายมีอัตราตายสูงกว่าเพศหญิง , เดือนที่เกิดอุบัติเหตุมาก คือ ต.ค. - ธ.ค. และ มี.ค. - เม.ย. เนื่องจากเป็นช่วงที่มีเทศกาลบ่อย , อัตราตายพบมากในภาคกลาง และอุบัติการณ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

  5. Review Literature • งานวิจัยของนิสิตแพทย์ ปี 6เกี่ยวกับการสวมหมวกนิรภัย: พบว่าประชากร 59.4 % สวมหมวกนิรภัยในเวลาที่ ตำรวจออกตรวจจับ และ ทุกคนเห็นด้วยว่า การสวมหมวกนิรภัย ช่วยลดความรุนแรงและอัตราตายจากอุบัติเหตุได้

  6. หลักการและเหตุผล • จากวรรณกรรมที่กล่าวมาพบว่า อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดกับนักเรียน - นักศึกษา ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ และอุบัติเหตุภายใน ม.นเรศวร ส่วนหนองอ้อเกิดขึ้นเป็นประจำรวมทั้งยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นภายใน มน. มาก่อน คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาทัศนคติด้านความปลอดภัยของนิสิต พฤติกรรมการขับขี่ ฯลฯ นำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงระบบจราจรภายใน มน. และให้นิสิตปฏิบัติตามกฎจราจร เพื่อลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นต่อไป.

  7. คำถามหลัก / คำถามรอง • คำถามหลัก:ทัศนคติด้านความปลอดภัยในการขับขี่ยานพาหนะภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร • คำถามรอง: 1. อุบัติการณ์ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นภายในและบริเวณรอบๆ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีมากน้อยเพียงใด 2. ตำแหน่งที่มักจะเกิดอุบัติเหตุได้บ่อยภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร 3. พฤติกรรมการขับขี่ยานพาหนะของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

  8. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาอัตราการเกิดอุบัติเหตุภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการขับขี่ยานพาหนะของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร 3. เพื่อศึกษาทัศนคติด้านการขับขี่และความปลอดภัยของระบบจราจรภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร 4. เพื่อศึกษาตำแหน่งที่มักจะเกิดอุบัติเหตุได้บ่อยภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร 5. เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้บริหารในด้านระบบโครงสร้างและความรับผิดชอบเกี่ยวกับเส้นทางการจราจรภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร

  9. Expected outcome • เป็นแนวทางในการที่จะเสริมสร้างระบบการจราจรภายใน มหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนหนองอ้อ ให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น.

  10. Study designs 1. Descriptive Retrospective study :โดยทำการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนหนองอ้อ ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 - 31 ธันวาคม 2543 จากรายงานของหัวหน้า ร.ป.ภ. และอุบัติเหตุบริเวณรอบๆมหาวิทยาลัย ( ต.ท่าโพธิ์ ) จากรายงานอุบัติเหตุของสถานีตำรวจภูธร พิษณุโลก

  11. Study designs 2. Crossectional study :ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับ มุมมอง ทัศนคติ พฤติกรรมในการขับขี่ ฯลฯ ใช้การแจกแบบสอบถามกับนิสิตเพื่อให้ได้ตัวแทนที่ดี จะเลือกกลุ่มเป้าหมายด้วย multistage quota sampling ซึ่งเริ่มแบ่งจากคณะ ลงไปเป็นชั้นปี และเพศตามลำดับ ในสัดส่วนที่เทียบกับจำนวนนิสิตแต่ละคณะ

  12. Target Population • Inclusion criteria :นิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร ( ส่วนหนองอ้อ ) ทุกคณะ ทุกชั้นปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน , n = 304 คน • Exclusion criteria :นิสิต คณะและชั้นปีที่ไม่ได้มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน เช่น คณะแพทยศาสตร์ ชั้นปี 4 - 6 , คณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปี 3 - 4 เป็นต้น

  13. ผลการวิจัย • Descriptive Retrospective study

  14. ตารางแสดงจำนวนอุบัติเหตุ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2541 - 31 ธันวาคม 2543

  15. อุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ตั้งแต่ 1 มกราคม 2541 - 31 ธันวาคม 2543 มีจำนวน 52 ราย • ปี 2541 = 16 ราย จากจำนวนนิสิต 7976 คน คิดเป็นอัตราการเกิดอุบัติเหตุ 201 ราย / แสน ประชากร • ปี 2542 = 11 ราย จากจำนวนนิสิต 8120 คน คิดเป็นอัตราการเกิดอุบัติเหตุ 136 ราย / แสน ประชากร • ปี 2543 = 25 ราย จากจำนวนนิสิต 8346 คน คิดเป็นอัตราการเกิดอุบัติเหตุ 300 ราย / แสน ประชากร

  16. กราฟแสดงจำนวนอุบัติเหตุจำแนกตามเดือนที่เกิดเหตุกราฟแสดงจำนวนอุบัติเหตุจำแนกตามเดือนที่เกิดเหตุ

  17. กราฟแสดงจำนวนอุบัติเหตุจำแนกตามวันที่เกิดเหตุกราฟแสดงจำนวนอุบัติเหตุจำแนกตามวันที่เกิดเหตุ

  18. กราฟแสดงจำนวนอุบัติเหตุจำแนกตามเวลาที่เกิดเหตุกราฟแสดงจำนวนอุบัติเหตุจำแนกตามเวลาที่เกิดเหตุ

  19. จำนวนคู่กรณี แยกตามเพศ :( เฉพาะอุบัติเหตุ ใน ม.นเรศวร ) • เพศชายเกิดอุบัติเหตุมากกว่าเพศหญิง ในทุกช่วงปี

  20. ประเภทยานพาหนะของคู่กรณีที่เกิดอุบัติเหตุประเภทยานพาหนะของคู่กรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

  21. รูปแบบการเกิดอุบัติเหตุรูปแบบการเกิดอุบัติเหตุ

  22. ตำแหน่งที่เกิดเหตุ ( ใน ม.น. ) / ช่วงเวลา • ตำแหน่งที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยที่สุด ( ภายใน มน. ) คือ แยกคณะเภสัชฯ และ แยกคณะมนุษย์ฯ / ศึกษาฯ ในช่วงเวลา 09.01 - 12.00 น. • ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยที่สุด 15.01 - 18.00 น. รองลงมาเป็น 09.01 - 12.00 น. และ 12.01 - 15.00 น. ตามลำดับ

  23. ตำแหน่งที่เกิดเหตุ ( รอบ ม.น. ) / ช่วงเวลา • ตำแหน่งที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยที่สุด ( รอบ มน. ) คือสี่แยกบายพาสท่าโพธิ์ - ม.น. ในช่วงเวลา 00.01 - 03.00 น.รองลงมาเป็นหน้าร้านฟ้าไทยฟาร์ม และ แยกบางระกำ-สะพานข้าม แม่น้ำน่าน • ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยที่สุด คือ12.01 - 15.00 น. และ 18.01 - 21.00 น. รองลงมาเป็น09.01 - 12.00 น.

  24. ผลการวิจัย • Crossectional study :

  25. ความเร็วที่ใช้ในการขับขี่ภายในมหาวิทยาลัยความเร็วที่ใช้ในการขับขี่ภายในมหาวิทยาลัย

  26. ประเภทยานพาหนะ

  27. ประเภทยานพาหนะ

  28. รูปแบบการใช้ยานพาหนะ

  29. รูปแบบการใช้ยานพาหนะ

  30. พฤติกรรมการขับขี่ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

  31. พฤติกรรมการขับขี่ของผู้อื่นที่รู้สึกไม่พอใจพฤติกรรมการขับขี่ของผู้อื่นที่รู้สึกไม่พอใจ • 1. ไม่ให้สัญญาณไฟเมื่อเลี้ยว ชะลอ หรือจอด / ให้สัญญาณผิด • 2. ขับรถเร็ว • 3. ขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด • 4. ไม่มีน้ำใจให้คนเดินข้ามถนน / ขับรถคุยกัน / ขับช้า ไม่ ชิดซ้าย / ไม่ให้ทางรถคันอื่น / หยุดรถกะทันหัน

  32. การสวม / ไม่สวมหมวกกันน็อก ( เฉพาะผู้ที่ใช้รถจักรยานยนต์ จำนวน 192 คน ) • สวม 11 คน ( 6 % ) • ไม่สวม 181 คน ( 94 % ) • สาเหตุที่สวม เพราะ1. เพื่อความปลอดภัย 2. ป้องกันอุบัติเหตุ 3. ถูกกฎ - ไม่ถูกตำรวจจับ • สาเหตุที่ไม่สวม เพราะ1.ขับรถระยะใกล้ ไม่สะดวก เกะกะ ล่าช้า 2.ขับช้าจึงไม่จำเป็น โอกาสเกิดอุบัติเหตุน้อย 3.กลัวหาย เก็บรักษายาก 4.ไม่ได้ขับมอเตอร์ไซด์ / ไม่มี / ไม่มีตำรวจจับ / คนส่วนมากไม่ใส่กัน

  33. การออกกฎบังคับสวมหมวกกันน็อกภายในมหาวิทยาลัยการออกกฎบังคับสวมหมวกกันน็อกภายในมหาวิทยาลัย • เฉพาะผู้ที่ใช้รถจักรยานยนต์ • เห็นด้วย 3% • ไม่เห็นด้วย 97 % • เฉพาะผู้ที่ไม่ได้ใช้รถจักรยานยนต์ • เห็นด้วย80 % • ไม่เห็นด้วย 19 % • ไม่ออกความเห็น 1 %

  34. ไม่เห็นด้วย เพราะ 1.ขับระยะใกล้จึงไม่จำเป็น ควรบังคับความเร็วมากกว่า 2.ไม่สะดวก / เกะกะ / กลัวหาย / ยุ่งยากขณะใส่-ถอดเมื่อเปลี่ยนตึกเรียน 3.ไม่ชอบให้บังคับ / เป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล เห็นด้วย เพราะ 1. เพื่อความปลอดภัย 2. ลดความรุนแรงเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น 3. ถูกกฎ - เป็นระเบียบ การออกกฎบังคับสวมหมวกกันน็อกภายในมหาวิทยาลัย

  35. อุบัติเหตุในรอบ 30 วันที่ผ่านมา • ประสบเอง 1 ครั้ง = 15 ราย , ประสบเอง 3 ครั้ง = 1 ราย • พบเห็น 1 ครั้ง = 66 ราย , พบเห็น 2 ครั้ง = 30 ราย • พบเห็น 3 ครั้ง = 3 ราย • Incidence =18 cases / 304 คน / ใน 30 วัน • Rate = 5921 cases / แสน ประชากร / ใน 30 วัน = 71052 cases / แสน ประชากร / ปี

  36. ตำแหน่งที่เกิดเหตุ / ช่วงเวลาที่เกิดเหตุ • ตำแหน่งที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ รอบหอพักหญิง ( ป้อม 4 ) และ แยกคณะมนุษย์ฯ/ศึกษาฯ • ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ 18.01 -21.00 น. , รองลงมา คือ 12.01 - 15.00 น. และ 15.01 - 18.00 น. • ช่วงเวลาที่ไม่เกิดอุบัติเหตุ คือ 00.01 - 06.00 น.

  37. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุภายในมหาวิทยาลัย ( ในทัศนคติของนิสิต )

  38. ตำแหน่งที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ( ตามความเห็นของนิสิต ) • 1. แยกคณะมนุษย์ฯ ( วิทย์ฯเก่า ) / แยกคณะศึกษาศาสตร์ / แยกสนามกีฬา • 2. บริเวณหอพักหญิง / หลัง มน. • 3. แยกหน้าตึกมิ่งขวัญ / แยกคณะเภสัชศาสตร์ • เนื่องจาก: รถสัญจรเส้นนี้มาก แต่ไม่มีไฟจราจร , ขับตามใจตนเองและประมาท , ไม่ให้สัญญาณไฟเลี้ยว ,กลางคืนไฟถนนไม่เพียงพอและมีรถคับคั่ง , ขับเร็ว

  39. ระบบจราจรภายในมหาวิทยาลัย ( ในทัศนคติของนิสิต ) • มีความปลอดภัยเพียงพอ17.1 % • ไม่เพียงพอ 79.3 % • เนื่องจากตามทางแยกไม่มีไฟจราจร เกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ ไฟถนนบางตำแหน่งไม่เพียงพอ นิสิตไม่รู้ - ไม่เคารพกฎจราจร / ขับเร็ว / ประมาท / ไม่ให้สัญญาณไฟเลี้ยว

  40. ข้อเสนอแนะเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุภายในมหาวิทยาลัยข้อเสนอแนะเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุภายในมหาวิทยาลัย • 1. มีไฟจราจร - ป้ายจราจรตามทางแยกต่างๆที่อันตราย • 2. จำกัดความเร็ว ถ้าไม่ปฏิบัติตาม มีการตักเตือน - ลงโทษ • 3. เพิ่มไฟข้างถนนให้มากขึ้น • 4. กวดขันเรื่องการเปิดสัญญาณไฟเลี้ยว / จัดอบรมเรื่องกฎจราจร • 5. มีจราจร - รปภ. ดูแลตามแยกต่างๆ ในช่วงเวลาเปลี่ยนตึกเรียน • 6. เพิ่มจำนวนรถส้ม / รณรงค์ลดการขับขี่มอเตอร์ไซด์ • 7. จัดช่วงเวลาเปลี่ยนตึกเรียนไม่ให้ตรงกัน / จัดให้เรียนในตึกเดียวทุกวิชา • 8. ปลูกจิตสำนึกให้นิสิตทุกคนปฏิบัติตามกฎจราจร

  41. ทัศนคติของอาจารย์วิศวกรรม ( โยธา ) • ไฟข้างถนนในสายหลัก พอเพียงตามมาตรฐาน คือ 40 เมตร / 1 ต้น • ความปลอดภัยของระบบจราจรภายใน มน. จัดว่าค่อนข้างดีแล้ว • ทางโค้งภายในมหาวิทยาลัย เป็นการตั้งใจทำเพื่อให้ชะลอความเร็ว แต่ภายหลังมีการสร้างตึกคณะต่างๆเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดทางแยกตรงทางโค้ง ซึ่งทำให้อันตราย • ทางเข้า - ออก มหาวิทยาลัย มีน้อยเกินไป การจัดระบบ One - way system ไม่สามารถทำได้

  42. ทัศนคติของอาจารย์วิศวกรรม ( โยธา ) • ป้ายบอกทางต้องจัดทำให้ใหญ่ขึ้น มองเห็นข้อความชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดการหยุดรถกะทันหัน • ควรมีไฟจราจรเพิ่มบริเวณแยกที่อันตราย • ควรมีการจับความเร็วของนิสิตที่ขับรถภายใน มน. ตามจุดต่างๆ เพื่อให้ทราบความเร็วเฉลี่ยที่ใช้ นำไปสู่การแก้ไข • ควรปรับปรุงพฤติกรรมการขับขี่ของนิสิตเป็นอันดับแรก โครงสร้างถนนจัดว่าปลอดภัยดี

  43. ทัศนคติของอาจารย์วิศวกรรม ( โยธา ) • การจัดอมรมเกี่ยวกับกฎจราจรให้นิสิต ไม่น่าจะได้ผล ควรมี รปภ. ตามจุดต่างๆ คอยตักเตือน ทำโทษ เมื่อปฏิบัติไม่ถูกต้อง • ถนนคลองชลประทาน เป็นความรับผิดชอบของทางหลวง ต้องประสานงานขอความร่วมมือ เรื่อง สภาพถนนที่ไม่ดีและไฟถนนไม่เพียงพอ

  44. ทัศนคติของหัวหน้าฝ่ายอาคารและสถานที่ทัศนคติของหัวหน้าฝ่ายอาคารและสถานที่ • ความปลอดภัยภายในมหาวิทยาลัย ประมาณ 70 % • งบประมาณจ้าง รปภ. มีน้อย ไม่สามารถเพิ่มจำนวน รปภ. มาดูแลเรื่องนี้ได้ • กำลังจัดทำถนน เชื่อม ถ.เอกาฯ เข้าศูนย์วิจัย คาดว่าจะรองรับความพลุกพล่านเมื่อศูนย์ฯเปิดบริการ • มีการดูแลตัดต้นไม้ที่บังทางแยก / ตั้งกรวยจราจรเพื่อลดอุบัติเหตุบริเวณแยกอันตราย

  45. ทัศนคติของหัวหน้าฝ่ายอาคารและสถานที่ทัศนคติของหัวหน้าฝ่ายอาคารและสถานที่ • มีการทำป้ายจราจร ลดความเร็ว ทางแยก ฯลฯ ติดไว้ตามจุดต่างๆ • ควรปลูกฝังจิตสำนึกให้นิสิตรักสถาบัน ไม่ทำลายทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย เช่น กระจกมองทางโค้งถูกทุบ เมื่อติดตั้งได้แค่ 1-2 วัน • นิสิตวิศวกรรมศาสตร์และเกษตรศาสตร์ มีปัญหาเรื่อง เมาสุราแล้วขับรถจนเกิดอุบัติเหตุ ว่ากล่าวตักเตือนก็ไม่เชื่อฟัง ส่วนคณะอื่นๆนั้นไม่มีปัญหา

  46. ทัศนคติของหัวหน้าฝ่ายอาคารและสถานที่ทัศนคติของหัวหน้าฝ่ายอาคารและสถานที่ • นิสิตหญิงสวมกระโปรงยาว ทำให้พันล้อรถมอเตอร์ไซด์ มีอุบัติเหตุบ่อย ควรช่วยกันตักเตือน • การจัด One - way system พบว่านิสิตไม่ให้ความร่วมมือ เนื่องจากต้องขับในระยะไกลมากขึ้น - ไม่สะดวก • การปรับปรุงแก้ไขสิ่งต่างๆ ในมหาวิทยาลัย จะได้รับการพิจารณาอนุมัติจากผู้บริหาร ถ้าองค์การนิสิตเป็นผู้เขียนโครงการเสนอต่ออธิการบดี

  47. วิจารณ์ • จากผลงานวิจัยพบว่า นิสิตส่วนใหญ่มีทัศนคติในด้านความปลอดภัยของระบบจราจร โดยที่ส่วนใหญ่ 79.3 % คิดว่าไม่เพียงพอ เนื่องจากรถสัญจรมาก ขับเร็ว ประมาท ไม่ให้สัญญาณไฟ • อุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุที่ได้จากบันทึกในปี 2541 = 201 cases/แสนประชากร/ปี 2542 = 136 cases/แสนประชากร/ปี , 2543 = 300 cases/แสนประชากร/ปี เมื่อเทียบกับสถิติแห่งชาติในปี 2541 ( 120 )มีค่าสูงกว่า

  48. วิจารณ์ • อุบัติการณ์ที่ได้จากแบบสอบถามซึ่งสำรวจในรอบ 30 วันจากนิสิต 304 คน พบว่ามีจำนวน 18 cases คิดเป็นอัตรา 71,052 cases/แสนประชากร/ปี เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลของสถิติแห่งชาติในช่วงอายุเดียวกันพบว่า มีอัตราตาย 33,132 cases/แสนประชากร/ปี • ตำแหน่งที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย ( ทั้งจากบันทึกของ รปภ. และข้อมูลจากแบบสอบถาม ) คือ แยกมนุษย์ฯ เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีรถสัญจรมากและเป็นทางโค้งตรงทางแยก • พฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่เหมาะสม คือ การไม่ให้สัญญาณไฟเลี้ยว

  49. บทสรุปและข้อเสนอแนะ • จากผลงานวิจัยได้สรุปทัศนคติและข้อเสนอแนะต่างๆที่นิสิตคาดหวังเพื่อให้เกิดการปรับปรุงระบบจราจรให้ดีขึ้น ได้แก่ • การมีไฟจราจรและป้ายจราจรบริเวณทางแยกที่อันตราย ยานพาหนะมาก • การเพิ่มไฟข้างถนนบริเวณที่แสงสว่างไม่เพียงพอ • การตักเตือน - ลงโทษ พฤติกรรมการขับขี่ของนิสิตที่ไม่เหมาะสม • จำกัดความเร็วในการขับขี่

  50. บทสรุปและข้อเสนอแนะ • จากข้อเสนอแนะของนิสิต และคำกล่าวของหัวหน้าฝ่ายอาคารและสถานที่เกี่ยวกับการปรับปรุงระบบต่างๆใน มน. คณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดว่าหากงานวิจัยฉบับนี้ได้ถูกนำเสนอต่ออธิการบดีและผู้ที่เกี่ยวข้อง อาจมีประโยชน์ในการกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลง-แก้ไขระบบจราจรภายในมหาวิทยาลัย ให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

More Related