160 likes | 446 Vues
ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพื ช. นาย ณัฐ กิตติ ดวงใจ เลขที่ 2 นาย ศุภ ศร ทรงงาม เลขที่ 7 นาย อภิสิทธิ์ ประยูรพรหม เลขที่ 25 นาย พิชิตพล แก้วเมืองคำ เลขที่ 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2. กิจกรรมการปกปักพันธุกรรมพืช. กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช
E N D
ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช นาย ณัฐกิตติ ดวงใจ เลขที่ 2 นาย ศุภศร ทรงงาม เลขที่ 7 นาย อภิสิทธิ์ ประยูรพรหม เลขที่ 25 นาย พิชิตพล แก้วเมืองคำ เลขที่ 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2
กิจกรรมการปกปักพันธุกรรมพืชกิจกรรมการปกปักพันธุกรรมพืช • กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช มีเป้าหมายที่จะปกปักพื้นที่ป่าธรรมชาติ นอกเขตพื้นที่รับผิดชอบของกรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้แก่ป่าในสถาบันการศึกษา ป่าในศูนย์วิจัยและสถานีทดลอง ป่าที่ประชาชนร่วมใจกันปกปัก ซึ่งเมื่อรักษาป่าธรรมชาติไว้ก็จะรักษาพันธุกรรมดั้งเดิมในแต่ละพื้นที่ โดยมีเป้าหมายให้มีกระจายทั่วประเทศในทุกเขตพรรณพฤกษชาติ ในการปกปักพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตในป่าของสถาบันการศึกษา ได้สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในระดับต่างๆ จัดทำโครงการปกปักป่าของสถาบัน ทำการสำรวจ ทำรหัสประจำต้น และขึ้นทะเบียนพันธุกรรมในพื้นที่ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น ในการปกปักพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตในป่าจังหวัด ส่วนราชการต่างๆ และหน่วยงานต่างๆ ได้ทูลเกล้าฯถวาย เช่น พื้นที่ในจังหวัดชุมพร พื้นที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น
พื้นที่เป้าหมายของโครงการฯพื้นที่เป้าหมายของโครงการฯ • พื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ กองทัพเรือ เช่น หมู่เกาะแสมสาร สัตหีบ ชลบุรี เกาะในความรับผิดชอบกองทัพเรือที่โครงการฯ ไปดำเนินการ • พื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ กอง การเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เขาวังเขมร อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี • พื้นที่สร้างป่าตามแนวพระราชดำริฯ และป่าพันธุกรรมพืช ทับลาน ครบุรี พื้นที่หนองระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา • พื้นที่โครงการอนุรักพันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี • พื้นที่โครงการอนุรักพันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โคกภูตากา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น • พื้นที่เขื่อนใหญ่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 13 เขื่อนทั่วประเทศ เนื้อที่รวม 30,850 ไร่
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมในพื้นที่ที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงหรือสูญสิ้นจากการพัฒนา เช่น จากการทำอ่างเก็บน้ำ ทำถนน การพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากป่าธรรมชาติเป็นพื้นที่เกษตรกรรม หรือการทำโรงงานอุตสาหกรรม การจัดทำบ้านจัดสรร ฯลฯ ซึ่งพันธุกรรมในพื้นที่เหล่านั้นจะสูญไป การนี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร ออกสำรวจเก็บรวบรวม ในรูปเมล็ด กิ่ง ต้น เป็นการดำเนินการนอกพื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ ในทุก เขตพรรณพฤกษชาติ การสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืชและทรัพยากรต่าง ๆ ในพื้นที่ล่อแหลมต่อการสูญสิ้นพันธุกรรม เช่น เกาะต่าง ๆ ในภาคตะวันออกของประเทศไทย พื้นที่สร้างถนน โรงงาน พื้นที่จัดสรร ฯลฯ รวมทั้งการสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืชและทรัพยากรต่าง ๆ รอบพื้นที่ของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริฯ ในรัศมี 50 กิโลเมตร ซึ่งได้ดำเนินการในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ในปีงบประมาณ 2549 นั้นสำรวจเก็บรวบรวมตัวอย่างในพื้นที่เป้าหมายส่วนหนึ่ง คือฝั่งคือฝั่งอ่าวไทย โดยการสำรวจทรัพยากรทั้งในด้านกายภาพและชีวภาพ มีการสำรวจและเก็บพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่หายาก และใกล้สูญพันธุ์ พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่เก็บรวบรวมได้ โดยเฉพาะพืชนั้นมีการเก็บในรูปเมล็ด เก็บตัวอย่างแห้ง และ ตัวอย่างดอง ต้นพืชที่มีชีวิต ชิ้นส่วนพืชที่มีชีวิต เช่น ผล กิ่งชำ กิ่งตอน หัว ราก เหง้า ฯลฯ และได้นำพืชบางส่วนไปปลูกรวบรวมพันธุกรรมพืชและจัดแสดงบริเวณสวนพฤกษศาสตร์ เกาะทะเลไทย บนเกาะแสมสาร นอกจากนั้นยังไปนำจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย เขาหมาจอ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ.ซึ่งประกอบด้วยคณะอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิหลายสาขาจากสถาบันต่างๆ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมป่าไม้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ หน่วยสงครามพิเศษ กองทัพเรือ รวมถึงเจ้าหน้าที่และนักวิจัย อพ.สธ.
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช • เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากการสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช โดยการนำพันธุกรรมไปเพาะปลูกในพื้นที่ที่ปลอดภัย ในศูนย์การศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ที่มีอยู่ 6 ศูนย์ทั่วประเทศ ในพื้นที่ศูนย์วิจัยและสถานีทดลองของกรมวิชาการเกษตร พื้นที่ที่จังหวัดหรือสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมสนองพระราชดำริอพ.สธ. มีการดำเนินการรับ- ส่งพันธุกรรมพืชไปตามพื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่ของอพ.สธ.ตามที่ต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนและฝากเพาะขยายพันธุ์ ดูแลรักษา ทดลองปลูกโดยเจ้าหน้าที่ อพ.สธ. ตามศูนย์และพื้นที่ต่างๆ ของอพ.สธ. ในปีงบประมาณ 2549 อพ.สธ.เน้นนำไปปลูกในพื้นที่ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯคลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา นอกจากการปลูกต้นพันธุกรรมแล้วยังมีการเก็บรักษาในรูปเมล็ดพันธุ์และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ธนาคารพืชพรรณ อพ.สธ. สวนจิตรลดา และมีการเก็บรักษาสารพันธุกรรม (DNA) ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และที่ธนาคารพืชพรรณ สวนจิตรลดา
สรุปงานในกิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช จำนวนหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริในกิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช รวมทั้งสิ้นจำนวน 42 หน่วยงาน และ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 6 แห่ง โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) สวนจิตรลดา แบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้ 1 งานเก็บรักษาพันธุกรรมพืชในระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ดำเนินงานโดย หน่วยขยายพันธุ์พืชโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และหน่วยปฏิบัติการเก็บรักษาพันธุกรรมพืชโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช อาคารธนาคารพืชพรรณ อพ.สธ. สวนจิตรลดา ลักษณะงานเป็นการดำเนินงานร่วมโดยหน่วยปฏิบัติการทั้งสามหน่วยงานทีได้กล่าวถึง งานทดลองบางส่วนเป็น จึงขอสรุปงานของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชของ อพ.สธ. ไว้ในกิจกรรมนี้ ดังนี้
ก. งานเก็บรักษาโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ระยะสั้น เป็นงานที่เก็บรักษาในสภาพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช(สภาพปลอดเชื้อ) และขยายพันธุ์พืชในคราวเดียวกัน โดยไม่เกิน 6 เดือนที่อยู่ในสภาพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช หลังจากที่พืชสมบูรณ์ดีแล้วบางส่วนนำไปปลูกขยายพันธุ์ต่อไปในสภาพธรรมชาติ และบางส่วนดำเนินการขยายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อต่อไป มีการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อประมาณ 4,000 ลิตร โดยสูตรอาหารที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสูตรมาตรฐาน MS และฮอร์โมนหรือสารสำคัญอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่เพาะเลี้ยง นอกจากนั้นยังมีสูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงกล้วยไม้
ข. งานเก็บรักษาพันธุกรรมพืชในระยะปานกลาง • กล้วยไม้ 55 ชนิด • หวาย 6 ชนิด • พืชไม้เมืองหนาวที่มีลำต้นใต้ดิน 33 ชนิด ได้แก่ Allium, Hyacinth, Tulip เป็นต้น • พืชสมุนไพร 17 ชนิด ได้แก่ ช่อมุก ว่านชักมดลูก ไก่ดำ ดอกดิน เปราะหอม เป็นต้น • พืชอื่นๆ 8 ชนิด ได้แก่ขนุนไพศาลทักษิณ กุหลาบจิ๋ว จำปีสิรินธร สาเก หว้า เป็นต้น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ Hyacinth สามารถออกดอกได้ในขวด
ค. งานเก็บรักษาพันธุกรรมพืชในระยะยาว (ในสภาพเย็นยิ่งยวด -196 องศาเซลเซียส) ได้แก่ การอนุรักษ์เชื้อพันธุ์จำปีสิรินธร Magnolia sirindhorniaeNoot. & Chalermglinในหลอดทดลองโดยการเก็บรักษาในภาวะชะลอการเจริญและการเก็บรักษาในไนโตรเจนเหลว การศึกษาการขยายพันธุ์กล้วยไม้ม้าวิ่งสีม่วง (DoritispulcherimaLindl.) ในสภาพปลอดเชื้อ การเก็บรักษากล้วยไม้ช้างกระขาวปากแดงในไนโตรเจนเหลวโดยวิธี Vitrification การศึกษาการเก็บรักษา Protocormกล้วยไม้พันธุ์ช้างกระขาวปากแดงในไนโตรเจนเหลว (Cryopreservation) โดยวิธี Encapsulation-dehydration การเก็บรักษายอดขนุนไพศาลทักษิณด้วยวิธีภายในเม็ด bead
2 งานปลูกต้นพันธุกรรมพืชที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และงานอนุบาลต้นพันธุกรรมพืชก่อนที่จะจัดส่งต่อไปยังแหล่งปลูกพันธุกรรมพืชในที่ต่าง ๆ โดย หน่วยปฏิบัติการเก็บรักษาพันธุกรรมพืชโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช หน่วยปฏิบัติการขยายพันธุ์พืชโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช หน่วยปฏิบัติการเพาะชำอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และหน่วยปฏิบัติการเพาะชำเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้แก่ • กล้วยไม้, หวาย, พืชสมุนไพร • ขนุนไพศาลทักษิณ • กุหลาบ • จำปีสิรินธร • พืชอื่นๆ เช่น กฤษณา,ขิงชมพู,ขลู่, จินจีเหมาเยีย,หวาย, พลูคาว
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช • กิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืชเป็นกิจกรรมที่นำข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืชที่ได้จากการศึกษา ประเมิน การสำรวจเก็บรวบรวม การปลูกรักษาพันธุกรรมพืชที่มีนำมาให้ผู้ทรงคุณวุฒิศึกษาและวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช เพื่อให้มีพันธุ์ตามความต้องการในอนาคต โดยเป็นการวางแผนระยะยาว 30 ปี 50 ปี ว่าจะมีพันธุ์พืชลักษณะต่างๆ ที่ต้องการของช่วงเวลา เป็นการพัฒนาคาดการณ์ล่วงหน้าซึ่งเมื่อได้แผนพัฒนาพันธุ์พืชแต่ละชนิด จะนำทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัย และพระราชทานให้กับหน่วยงานที่มีหน่วยงานในการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์
มะกอกโอลีฟ • ที่มา จากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชปรารภกับนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา ถึงเรื่องมะกอกโอลีฟมีคุณค่าและประโยชน์หลายด้าน อีกทั้งมีพระราชกระแสกับหลายหน่วยงาน เช่น คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฯลฯ ในการนี้ เลขาธิการพระราชวัง ได้ให้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศึกษาและดำเนินการทดลองปลูกมะกอกโอลีฟ (Oleaeuropaea L.) ในประเทศไทย ในส่วนของโครงการส่วนพระองค์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ • ชื่อพื้นเมือง : มะกอกโอลีฟชื่อวิทยาศาสตร์ : Oleaeuropaea L.ชื่อวงศ์ : OLEACEAEชื่อสามัญ : Oliveมะกอกโอลีฟเป็นไม้ต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นอาจสูงถึง 20 เมตรใบ เดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน รูปใบหอก กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-6 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือมนแคบ มีติ่งเล็กๆ โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ ก้านใบสั้น ยาว 3-4 มิลลิเมตร ผิวด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้านล่างสีเทา ดอก ช่อแยกแขนงออกที่ซอกใบ ดอกฝอยมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกไม่สมบูรณ์เพศ ก้านดอกยาว กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน กลีบดอก 4 กลีบโคนเชื่อมติดกัน ดอกมีสีขาวหรือสีครีม เกสรตัวผู้ 2 อัน ขนาดใหญ่ติดที่กลีบดอก อับเรณูสีเหลืองลักษณะเป็น 2 พู รังไข่มี 2 คาร์เพลแต่ละคาร์เพลมี 2 ออวุล ก้านเกสรเพศเมียตรง สั้นและหนา ยอดเกสรเพศเมียค่อนข้างใหญ่ ผล สด มีเนื้อ รูปร่างกลมรี ยาว 1-4 เซนติเมตร กว้าง 0.6-2 เซนติเมตร สีผลมีสีต่างๆ เช่น สีเขียว สีแดง สีม่วงหรือสีดำ มีเมล็ดแข็ง ผล มะกอกโอลีฟมีเมล็ดในเดี่ยวและมีรูปทรงค่อนข้างกลม อาจจะกลมน้อย หรือกลมมากแตกต่างกันไป ส่วนขนาดของผลขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ผลประกอบด้วยส่วนของเปลือกชั้นนอก ซึ่งสีจะเปลี่ยนเมื่อผลสุก เนื้อมะกอกโอลีฟเป็นส่วนที่มีปริมาณน้ำมันมากที่สุด ส่วนเมล็ดในเป็นเมล็ดที่แข็ง ลักษณะยาวและมีตุ่มอยู่ตรงส่วนบนของเมล็ดห่อหุ้มเมล็ดพันธุ์ที่อยู่ด้านในซึ่งพบว่ามีทั้งคัพภะ (embryo) และในโภชนาสาร
อ้างอิง เข้าถึงจาก http://www.rspg.or.th/experimental_project/olive/olive.htm เมื่อวันที่ 1กันยายน 2555 เข้าถึงจาก http://www.rspg.or.th/activities/index.htm เมื่อวันที่ 1กันยายน 2555 แก้วขวัญ วัชโรทัย.โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ.กรุงเทพฯ:สนามเสือป่า