1 / 26

โรคอ้วน

โรคอ้วน. ผศ.ดร.สถาพร ถาวรอธิวาสน์. โรคอ้วนคืออะไร.

rosalba
Télécharger la présentation

โรคอ้วน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคอ้วน ผศ.ดร.สถาพร ถาวรอธิวาสน์

  2. โรคอ้วนคืออะไร ร่างกายของเราจะมีไขมันไว้เพื่อสำรองเป็นอาหาร ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายเป็นเบาะกันกระแทกหากมีมากเกินไปคือโรคอ้วน ปกติผู้หญิงจะมีปริมาณไขมันประมาณ 25-30% ส่วนผู้ชายจะมี 18-23 %ถ้าหากผู้หญิงมีมากกว่า 30% ชายมีมากกว่า 25%จะถือว่าโรคอ้วน โรคอ้วนหมายถึงมีปริมาณไขมันมากกว่าปกติ โรคอ้วนมิได้หมายถึงการมีน้ำหนักมากอย่างเดียว

  3. โรคอ้วนที่มีผลร้ายต่อสุขภาพมีอยู่ 3 ประเภทได้แก่ • อ้วนทั้งตัว ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติโดยไขมันที่เพิ่มมิได้จำกัดอยู่ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง • โรคอ้วนลงพุง[ abdominal obesity] ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีไขมันในอวัยวะภายในช่องท้องมากกว่าปกติ และอาจจะมีไขมันใต้ผิวหนังหน้าท้องเพิ่มขึ้นด้วย • โรคอ้วนลงพุ่งร่วมกับอ้วนทั้งตัว มีไขมันมากทั้งตัวและอวัยวะภายในช่องท้อง

  4. การวัดปริมาณไขมันในร่างกายการวัดปริมาณไขมันในร่างกาย มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์หลายชนิดที่สามารถวัดและคำนวณปริมาณไขมันในร่างกายแต่ไม่สะดวกในการใช้จึงได้มีการคิดวิธีวัดง่ายที่ได้ผลคือใช้ calipers วัดความหนาของไขมันชั้นใต้ผิวหนัง อาจจะวัดที่ท้องแขน เป็นต้น Bioelectric impedance analysis โดยการใช้ไฟฟ้าผ่านเข้าไปในร่างกายแล้วคำนวณออกมา - การใช้ตารางหนักและส่วนสูง - การคำนวณดัชนีมวลกาย - การวัดเส้นรอบเอว

  5. การประเมินความอ้วน การจะประเมินว่าอ้วนหรือไม่เรามิได้ประเมินจากการดูด้วยสายตาอย่างเดียวแต่จะประเมินจากดัชนีมวลกายซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในร่างกาย มีวิธีการประเมินง่ายๆแต่ได้ผลดีได้แก่ • ดัชนีมวลกาย BMI [body mass index] • วัดเส้นรอบเอว Waist circumference 

  6. ดัชนีมวลกาย BMI [body mass index] การวัดปริมาณไขมันในร่างกายเป็นเรื่องที่ต้องใช้เครื่องมือในการวัด จึงใช้ดัชนีมวลกายมาวัด ค่าที่ได้มีความแม่นยำพอสมควรและสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในร่างกาย วิธีวัดก็สะดวก

  7. BMI สามารถวัดได้ง่ายโดยวัดส่วนสูงและน้ำหนักและคำนวณตามตาราง หรืออาจจะหาดัชนีมวลกายได้จากตารางโดยใช้น้ำหนักและส่วนสูงค่านี้จะมีความสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในร่างกาย หรือจากการคำนวณ ข้อระวัง BMI ใช้ประเมินปริมาณไขมันในผู้ที่มีกล้ามมากๆไม่ได้ และประเมินในผู้ที่กล้ามเนื้อลีบจากสูงอายุไม่ได้ จากค่าดัชนีมวลกาย ท่านสามารถใช้ตารางข้างล่างประเมินความรุนแรงหรือระดับของความอ้วน

  8. วัดเส้นรอบเอว Waist circumference วิธีการวัดเส้นรอบเอว การวัดต้องวัดท่ายืน เท้าแยกจากกัน 25-30 ซม.วัดรอบเอวระดับกึ่งกลางกระดูกสะโพกส่วนบนสุดและขอบล่างของกระดูกซี่โครงให้ขนานกับพื้นผู้วัดต้องนั่งข้างๆ และต้องวัดขณะหายใจออกเท่านั้น ส่วนสะโพกให้วัดบริเวณส่วนที่ก้นยื่นออกมามากที่สุด

  9. สาเหตุจากโรคอ้วน คนเรารับประทานอาหารเข้าไปไม่ว่าจะเป็นประเภทแป้งหรือโปรตีนหากพลังงานที่ได้รับเกินความต้องการ ร่างกายก็จะสะสมอาหารส่วนเกินเหล่านั้นในรูปไขมัน สะสมมากขึ้นจนกลายเป็นโรคอ้วน สาเหตุจริงๆยังไม่ทราบแน่ชัด โรคอ้วนมักจะมีสาเหตุต่างๆดังนี้ - การรับประทานอาหาร หากรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำจะให้น้ำหนักเกิน - โรคต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยจะมีน้ำหนักเกินเนื่องจากร่างกายเผาผลาญอาหารน้อยลง โรค cushing ร่างกายสร้างฮอร์โมน cortisol มากทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมัน ฮอร์โมนนี้อาจจะมาจากร่างกายสร้างเอง หรือจากลูกกลอน ยาแก้หอบ ยาชุด หรือร่างกายสร้างขึ้นเนื่องจากเนื้องอกต่อมหมวกไต

  10. - จากยา ยาบางชนิดทำให้ความอยากอาหารเพิ่ม เช่นยาคุมกำเนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า tricyclic antidepressant,phenothiazine ยาลดความดัน beta-block - กรรมพันธุ์ จะพบว่าบางครอบครัวจะอ้วนทั้งหมดซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุกรรม แต่อีกส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากวัฒนธรรมการรับประทานอาหารและความเป็นอยู่ - วัฒนธรรมการดำรงชีวิตและอาหารซึ่งเห็นได้ว่าบางชาติจะมีน้ำหนักเกินเนื่องจากอาหารของชาตินั้นนิยมอาหารมันๆ - ความผิดปกติทางจิตใจทำให้รับประทาน อาหารมาก เช่นบางคนเศร้าแล้วรับประทานอาหารเก่ง

  11. - การดำเนินชีวิตอย่างสบาย มีเครื่องอำนวยความสะดวดมากมาย และขาดการออกกำลังกาย มีรถยนต์ มีเครื่องทุ่นแรง มีทีวีรายการดีๆให้ดู มีสื่อโฆษณาถึงน้ำหวาน น้ำอัดลม เหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงโรคอ้วนตั้งแต่ในวัยเด็ก - การดื่มสุรา - การสูบบุหรี่

  12. โรคอ้วนในวัยรุ่น ชีวิตที่มีความสบาย ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่จำกัดเวลา ไม่จำกัดประเภท และไม่จำกัดปริมาณเหล่านี้ทำให้เกิดโรคอ้วน เมื่ออ้วนก็ทำให้ออกกำลังได้ไม่เต็มที่ น้ำหนักของผู้ชายจะเพิ่มจนคงที่เมื่ออายุประมาณ 50 ปี ส่วนผู้หญิงน้ำหนักจะเพิ่มจนอายุประมาณ 70 ปี เซลล์ไขมันในร่างกายจะมีช่วงที่เจริญเติบโตอยู่สองช่วงคือวัยเด็กและวัยรุ่น กรรมพันธุ์เป็นตัวกำหนอให้แต่ละคนมีเซลล์ไขมันไม่เท่ากัน คนอ้วนจะมีเซลล์ไขมันมาก การอ้วนในเด็กจะมีปริมาณเซลล์ไขมันมากทำให้ลดน้ำหนักยาก สานโรคอ้วนในผู้ใหญ่เกิดจากเซลล์ไขมันมีขนาดใหญ่ โรคอ้วนในเด็ก

  13. ผลเสียจากโรคอ้วน มีการศึกษาพบว่าดัชนีมวลกายที่เหมาะอยู่ระหว่าง 21-25 เนื่องจากอัตราการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจต่ำ และเมื่ออ้วนมากขึ้นก็จะเกิดโรคมาก

  14. โรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน - โรคหัวใจขาดเลือด โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงอิสระที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ และยังเป็นสาเหตุของปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการตายจากโรคหัวใจเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนอ้วน ยิ่งอ้วนมากยิ่งมีโอกาสเป็นโรคหัวใจเพิ่ม พบว่าผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 กก/ตารางเมตร จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูงดัชนีมวลกาย 25-29 กก/ตารางเมตรก็จะเกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

  15. - โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนจะมีโรคความดันโลหิตสูงกว่าคนปกติ 2.9 เท่า ความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงจะเพิ่มขึ้นตามระยะที่เป็นโรคอ้วน เมื่อลดน้ำหนักระดับความดันจะลดลงด้วยพบว่าผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กก/ตารางเมตร จะเป็นความดันโลหิตสูงเป็น 2 เท่าของผู้ที่มีดัชนีมวลกาย 22 - ไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะไขมัน triglyceride ,LDL สูงส่วนไขมันที่ดีได้แก่ HDL จะต่ำ - โรคหลอดเลือดสมอง พบว่าหากอ้วนลงพุงจะมีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30

  16. - โรคมะเร็ง บางชนิด ได้แก่มะเร็งที่พึ่งฮอร์โมนในผู้หญิงได้แก่ โรคมะเร็งมดลูก โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งเต้านม ส่วนในผู้ชายได้แก่มะเร็งลูกหมาก นอกจากนั้นยังพบว่ามะเร็งทางเดินอาหารเพิ่มขึ้นเช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร และโรคมะเร็งถุงน้ำดี - โรคเบาหวาน ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่สองเพิ่มขึ้น 40 เท่าในคนอ้วน เมื่อดัชนีมวลกายลดลงความเสี่ยงจะลดลงด้วย โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนตั้งแต่เด็กเมื่อโตขึ้นจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น - โรคถุงน้ำดี คนอ้วนจะมีความเสี่ยงต่อนิ่ว 3-4 เท่าและความเสี่ยงจะสูงขึ้นเมื่ออ้วนลงพุง

  17. - โรคไขมันพอกตับ ไขมันพอกตับหรือที่เรียกว่า Nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD) หมายถึงภาวะที่มีไขมันโดยเฉพาะ triglyceride อยู่ในเซลล์ตับโดยที่คนนั้นไม่ได้ดื่มสุรา(ปกติคนที่ดื่มสุรามานานจะมีการพอกของเซลล์ไขมันในตับ) เซลล์ไขมันนี้จะไม่ก่อนให้เกิดการเสียหายหรืออักเสบกับตับในระยะแรก แต่ก็มีผู้ป่วยบางส่วนที่ไขมันทำให้เกิดการอักเสบของตับเกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า nonalcoholic steatohepatitis (NASH)ในที่สุดก็จะเป็นตับแข็ง Cirrhosis แต่นักวิทยาศาสตร์ยังอธิบายไม่ได้ว่าทำไมถึงเกิดการอักเสบของตับ พบว่าร้อยละ5-8ของผู้ป่วยไขมันพอกตับจะกลายเป็นตับอักเสบและตับแข็ง

  18. การเลือกวิธีการรักษา เมื่อท่านน้ำหนักเกินโดยมีค่า BMI มากกว่า 25 กก/ตารางเมตร หรือมีเส้นรอบเอวมากว่า 40 นิ้ว,35 นิ้วสำหรับชายหญิงตามลำดับ และมีโรคหรือปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นร่วม จำเป็นต้องรักษา ตารางข้างล่างแสดงค่า BMIและวิธีการรักษา การเลือกวิธีการรักษาขึ้นกับระดับความอ้วน และโรคแทรกซ้อน หมายเหตุ สัญลักษณ์ของตารางด้านล่าง +หมายถึงให้ปฏิบัติ- หมายถึงยังไม่ต้องใช้ DM หมายถึงโรคเบาหวาน     HT หมายถึงความดันโลหิตสูง CHD หมายถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ     HL หมายถึงไขมันในเลือดสูง

  19. แนวทางการรักษาโรคอ้วนโดยอาศัย BMI และปัจจัยเสี่ยง

  20. เป้าหมายในการควบคุมน้ำหนัก การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอาจจะเป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ป่วยบางท่านที่อ้วนมาก แต่ท่านไม่ต้องย่อท้อเพราะการที่จะมีสุขภาพที่ดีจำเป็นต้องน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพียงแต่ท่านลดน้ำหนักได้ร้อยละ 10 ผลดีต่อสุขภาพก็จะเกิดขึ้นดังนั้นจึงกำหนดเป้าหมายเบื้องต้นสำหรับการควบคุมน้ำหนักที่ดีดังนี้

  21. ขั้นตอนในการควบคุมน้ำหนักขั้นตอนในการควบคุมน้ำหนัก 1)ลดน้ำหนัก ตั้งเป้าหมายน้ำหนักที่จะลดในเบื้องต้น โดยทั่วไปแนะนำให้ลดน้ำหนักลงจากเดิม 10 % เป้าหมายนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะทำได้ ความเร็วของการลด อัตราที่เหมาะสมคือลดน้ำหนักสัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัมโดยการลดพลังงาน 300-500 กิโลแคลอรี สำหรับผู้ที่มีดัชนีมวลกาย 27-35 กก.ตร.ม.สำหรับผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 35 ให้ลดพลังงาน 500-1000 กิโลแคลอรี/วันจึงจะสามารถทำให้น้ำหนักลดลง 10%ใน 6 เดือน ให้ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาทีโดยใช้พลังงานในการออกกำลังกายประมาณ 300-500 กิโลแคลอรี

  22. 2)การรักษาน้ำหนักให้คงที่ 2)การรักษาน้ำหนักให้คงที่ เมื่อผู้ป่วยที่อ้วนสามารถคุมน้ำหนักได้ดีคือน้ำหนักเพิ่มน้อยกว่า 3 กิโลกรัม เส้นรอบเอวน้อยกว่าเดิม 4 ซม.เป็นเวลา 2 ปีวิธีการคุมน้ำหนักให้คงที่ก็อาศัยการคุมอาหาร ออกกำลังกาย การเปลี่ยนพฤติกรรม ถ้าหากต้องการลดน้ำหนักก็สามารถทำได้ 3)การป้องกันนำหนักเพิ่ม ผู้ที่อ้วนบางคนไม่สามารถลดน้ำหนักได้จุดประสงค์คือคุมน้ำหนักอย่าให้เพิ่ม เมื่อป้องกันน้ำหนักเพิ่มได้แล้วก็สามารถลดน้ำหนักต่อไป

  23. การป้องกันโรคอ้วน 1. พยายามรับประทานเฉพาะช่วงในมื้ออาหาร โดยเฉพาะที่โต๊ะอาหารและลุกจากโต๊ะทันทีที่อิ่ม 2. ซื้ออาหารเท่าที่จำเป็นเท่านั้น อย่าซื้ออาหารเวลาหิว 3. อย่าเตรียมอาหารมากเกินจำเป็น หลีกเลี่ยงอาหารทอด , ผัด 4. อย่าวางอาหารโปรดหรือของว่างไว้รอบ ๆ ตัว (ยกเว้น ผัก, ผลไม้ที่ไม่หวาน) 5. อย่าอดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่งทั้งมื้อ ถ้าจำเป็นควรลดขนาดของแต่ละมื้อแทน 6. ดื่มน้ำมาก ๆ ทั้งในมื้ออาหารและระหว่างมื้อ (อย่างน้อยวันละ 1.5 ลิตร) 7. ตั้งสติ 5 นาที ก่อนรับประทาน และพยายามเคี้ยวอาหารแต่ละคำช้า ๆ

  24. 8. อย่าทำกิจกรรมอื่น ๆระหว่างรับประทาน เช่น อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ เพราะจะทำให้รับประทานมากเกินไปโดยไม่รู้ตัว 9. พยายามวิเคราะห์ว่าอยากทานอาหารมากที่สุดในช่วงเวลาใดและทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่น่ารื่นรมย์แทน เช่น เดินเล่น คุยกับเพื่อน 10. ควรคำนึงถึงว่าสามารถรับประทานอาหารตามที่แพทย์แนะนำมากน้อยเพียงใดเป็นเครื่องวัดความคืบหน้าในการลดน้ำหนักแทนการชั่งน้ำหนัก 11. ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 นาที

More Related