1 / 36

สัญญาประกันภัย และ ส่วนได้เสียในสัญญาประกันภัย

สัญญาประกันภัย และ ส่วนได้เสียในสัญญาประกันภัย. โดย. นายวุฒดนัย เผือกสวัสดิ์. นิติกร กรมการประกันภัย อาจารย์ สถาบันประกันภัยไทย. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย การประกันภัย.

Télécharger la présentation

สัญญาประกันภัย และ ส่วนได้เสียในสัญญาประกันภัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สัญญาประกันภัย และส่วนได้เสียในสัญญาประกันภัย โดย นายวุฒดนัย เผือกสวัสดิ์ นิติกร กรมการประกันภัย อาจารย์ สถาบันประกันภัยไทย

  2. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย การประกันภัย • ม.861 อันว่าสัญญาประกันภัย นั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสิน ไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้นหรือในเหตุการณ์ อย่างอื่นในอนาคตดั่งระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงส่งเงิน ซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย

  3. บุคคลผู้เกี่ยวข้องในสัญญาประกันชีวิต และหน้าที่ของบุคคลนั้นๆ “ ผู้รับประกันภัย ” ท่านหมายความว่าคู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ “ ผู้เอาประกันภัย ” ท่านหมายความว่าคู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย “ ผู้รับประโยชน์ ” ท่านหมายความว่าบุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือรับจำนวนเงินใช้ให้ @ ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์เป็นบุคคลเดียวกันได้

  4. ผู้รับประโยชน์ บุคคลภายนอก อาจเป็น บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล กรณีไม่ระบุผู้รับประโยชน์ไว้ ให้ตกแก่ทายาทโดยธรรม

  5. สัญญาประกันวินาศภัย Contract of Indemnity สัญญาซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้รับประกันภัย ตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีมีวินาศภัยตามที่ระบุไว้ในสัญญาเกิดขึ้นในอนาคต โดยคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง คือผู้เอาประกันภัยตกลงจะชำระเบี้ยประกันภัยเป็นการตอบแทน “ วินาศภัย ” หมายถึง ความเสียหายอย่างใดๆ บรรดาซึ่งพึงประมาณเป็นเงินได้ ตาม ม. 869

  6. ม. 877 ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนดังต่อไปนี้เมื่อมีวินาศภัยเกิดขึ้น 1. เพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง 2. เพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้เพราะได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องปัดความวินาศภัย 3. เพื่อบรรดาค่าใช้จ่ายอันสมควรซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งเอาประกันภัยไว้นั้นมิให้วินาศ

  7. สัญญาประกันชีวิต (Life Insurance Contract) สัญญาที่คู่สัญญาที่เป็นฝ่ายผู้รับประกันภัยตกลง ใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ เมื่อมีเหตุอย่างอื่นในอนาคต ที่ระบุไว้ในสัญญา ขณะที่ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ จ่ายเบี้ยประกันภัยเป็นการตอบแทน ซึ่งเหตุอย่างอื่นในอนาคตที่ว่าก็คือ ความทรงชีพ หรือมรณะ ดังที่ระบุไว้ในมาตรา 889

  8. ข้อแตกต่างระหว่างสัญญาประกันชีวิตกับสัญญาประกันวินาศภัย # จำนวนเงินที่ผู้รับประกันภัยตกลงชดใช้ให้ตามสัญญาประกันชีวิตกฎหมายจะไม่ใช้คำว่า“ ค่าสินไหมทดแทน” # ความเสียหายต่อชีวิตนั้นไม่อาจประมาณเป็นเงินได้จึงให้ชดใช้เงินจำนวนหนึ่งตามที่ตกลงกันไว้แทน

  9. ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันชีวิตความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันชีวิต 1. ความคุ้มครองตามสัญญาประกันชีวิตหลัก เป็นการประกันชีวิต 2. ความคุ้มครองตามสัญญาเพิ่มเติมแนบท้ายกรมธรรม์ เช่น สัญญาประกันอุบัติเหตุ สัญญาประกันสุขภาพ เป็นการประกันวินาศภัย

  10. หลักการประกันภัย 1. หลักส่วนได้เสีย ( มาตรา 863 ) 2. หลักสุจริตใจอย่างยิ่งต่อกัน ( มาตรา 865 ) 3. หลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามความเสียหาย ที่แท้จริง ( มาตรา 877 ) 4. หลักการประกันภัยซ้อน ( มาตรา 870 ) 5. หลักการรับช่วงสิทธิ ( มาตรา 880 ) 6. หลักความเสียหายต่อเนื่อง ( เหตุใกล้ชิด )

  11. หลักส่วนได้เสีย (Insurable Interest) มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้นถ้าผู้เอาประกันภัย มิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด” ส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัย หมายถึง เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ผู้ใดมีส่วนที่จะได้รับประโยชน์ หรือมีส่วนที่จะต้องเสียหายในเหตุการณ์นั้น ผู้นั้นย่อมมีส่วนได้เสีย สามารถเอาประกันภัยใน เหตุการณ์นั้นได้

  12. บุคคลย่อมมีส่วนได้เสียในการเอาประกันชีวิต ชีวิตตนเอง บุพการีและผู้สืบสันดาน (บิดา มารดา กับบุตร) คู่หมั้น คู่สมรส (สามี ภรรยา รวมทั้งชายหญิงที่ใช้ชีวิตร่วมกันโดยมิชอบด้วยกฎหมายด้วย)

  13. บุคคลย่อมมีส่วนได้เสียในการเอาประกันชีวิตบุคคลย่อมมีส่วนได้เสียในการเอาประกันชีวิต  * ญาติในลำดับต่างๆซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม ตาม ม. 1629 * ญาติในลำดับต่างๆ ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม ตาม ม. 1629 * ผู้มีความสัมพันธ์กันทางธุรกิจ (นายจ้าง ลูกจ้าง) * ผู้มีความสัมพันธ์กันทางธุรกิจ (นายจ้าง ลูกจ้าง) * เจ้าหนี้มีส่วนได้เสียเอาประกันชีวิตลูกหนี้ได้ แต่ลูกหนี้ไม่มีส่วนได้เสียไม่สามารถเอาประกันชีวิตเจ้าหนี้ • * เจ้าหนี้มีส่วนได้เสียเอาประกันชีวิตลูกหนี้ได้แต่ลูกหนี้ • ไม่มีส่วนได้เสียไม่สามารถเอาประกันชีวิตเจ้าหนี้

  14. ผลของการไม่มีส่วนได้เสีย “ ไม่ผูกพันคู่สัญญา” “ ผู้รับประกันภัยเรียกให้ชำระเบี้ยไม่ได้ ” “ ผู้เอาประกันภัยเรียกให้ชำระค่าสินไหมทดแทนไม่ได้ ” “ ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยแล้ว เรียกคืนไม่ได้ ”

  15. ผลของการไม่มีส่วนได้เสีย ม. 407 บุคคลใด ได้กระทำการอันใดตามอำเภอใจ เหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้ โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มี ความผูกพันที่จะต้องชำระ ท่านว่าบุคคลผู้นั้น หามีสิทธิ จะได้รับคืนทรัพย์ไม่

  16. เวลาที่ต้องมีส่วนได้เสียเวลาที่ต้องมีส่วนได้เสีย * ขณะตกลงทำสัญญาประกันภัย * ภายหลังทำสัญญาประกันภัย * ส่วนได้เสียสิ้นสุดลงภายหลังจากการทำสัญญาแล้ว

  17. ลักษณะของสัญญาประกันภัย 1.เป็นสัญญาต่างตอบแทน    2. เป็นสัญญาเสี่ยงโชค    3. เป็นสัญญาที่ต้องการความซื่อสัตย์อย่างยิ่ง    4. เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ (แต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องคดี)    5. เป็นสัญญาที่ทางราชการควบคุม

  18. สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาต่างตอบแทน สัญญาที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ที่จะต้องชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน หน้าที่ของฝ่ายผู้เอาประกันภัย คือ การส่งเบี้ยประกันภัย หน้าที่ของฝ่ายผู้รับประกันภัย คือ ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

  19. สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาเสี่ยงโชค สัญญาซึ่งการชำระหนี้ตามสัญญานั้นจะกระทำกันต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนเกิดขึ้น ฝ่ายผู้เอาประกันภัย เสี่ยงโชคชำระเบี้ยประกันภัย ถ้าเกิดภัยขึ้น ก็จะได้ค่าสินไหมทดแทน ฝ่ายผู้รับประกันภัย เสี่ยงโชคที่จะต้องเสียค่าสินไหมทดแทน

  20. สัญญาประกันภัยอยู่บนพื้นฐานของหลักความสุจริตอย่างยิ่ง (Principle of utmost good faith) สัญญาอยู่บนพื้นฐานของความไม่เท่าเทียมกัน กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ เปิดเผยข้อความจริงอันเป็นสาระสำคัญ

  21. สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ (แต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องคดี) สัญญาประกันภัยมิได้กำหนดแบบของสัญญาไว้ สัญญาเกิดขึ้นทันที เมื่อคู่สัญญาเสนอและสนองต้องตรงกัน ไม่ต้องรอออกกรมธรรม์ @ ในกรณีที่กฎหมายกำหนดแบบของนิติกรรมไว้ หากคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตาม สัญญาดังกล่าวจะตกเป็นโมฆะ

  22. การฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาประกันภัย ผู้ฟ้องร้องจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ มาตรา 867 อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อ ฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

  23. สัญญาประกันชีวิต เป็นสัญญาที่ทางราชการควบคุม พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 29 วรรคแรก กรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัทออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย ต้องเป็นไปตามแบบและข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ

  24. กรมธรรม์ประกันภัย มาตรา 867 วรรคสอง และวรรคสาม ให้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยอันมีเนื้อความต้องตามสัญญานั้นแก่ผู้เอาประกันภัยฉบับหนึ่ง กรมธรรม์ประกันภัย ต้องลงลายมือชื่อของ กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท และมีรายการดังต่อไปนี้

  25. รายการที่ปรากฏในกรมธรรม์ประกันภัย - วัตถุที่เอาประกันภัย - ภัยใดซึ่งผู้รับประกันภัยรับเสี่ยง - จำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย - จำนวนเบี้ยประกันภัย และวิธีส่งเบี้ยประกันภัย

  26. รายการที่ปรากฏในกรมธรรม์ประกันภัยรายการที่ปรากฏในกรมธรรม์ประกันภัย - ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับประกันภัย - ชื่อหรือยี่ห้อของผู้เอาประกันภัย - ชื่อของผู้รับประโยชน์ ถ้าจะพึงมี - วันทำสัญญาประกันภัย(วันที่สัญญาเกิด)

  27. เงื่อนไขและเอกสิทธิของกรมธรรม์ประกันภัย เงื่อนไขว่าด้วยสัญญาประกันภัย “ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ที่จะต้องแถลงข้อเท็จจริงที่ปรากฏในใบคำขอเอาประกันภัยใบแถลงสุขภาพหรือรายงานการตรวจสุขภาพของแพทย์ตามความเป็นจริงมิฉะนั้นอาจมีผลทำให้สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 865” ผู้รับประกันภัยบอกล้างสัญญาโดยต้องคืนค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือทายาท

  28. เวลาที่ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่เปิดเผยข้อเท็จจริง 1. ขณะเสนอขอเอาประกันภัย 2. การขอต่ออายุการประกันภัย

  29. ข้อเท็จจริงที่ต้องแถลงตามมาตรา 865 @ ข้อเท็จจริงที่จะจูงใจให้ผู้รับประกันภัย เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น @ ข้อเท็จจริงที่จะจูงใจให้ผู้รับประกันภัย บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา

  30. กรณีไม่สุจริตทั้งสองฝ่าย ถ้าในขณะทำสัญญา ผู้เอาประกันภัยแถลงเท็จ แต่ผู้รับประกันภัยรู้ว่าคำแถลงนั้นเป็นเท็จ หรือควรได้รู้หากใช้ความระมัดระวังตามสมควร สัญญาประกันชีวิตนั้นสมบูรณ์ผูกพันคู่สัญญา

  31. การไม่โต้แย้งหรือคัดค้านความไม่สมบูรณ์ของสัญญาประกันภัย ระยะเวลาตามกฎหมาย ผู้รับประกันภัยจะต้องใช้สิทธิบอกล้างภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ หรือถ้ามิได้ใช้สิทธิภายใน5 ปี นับแต่วันทำสัญญา สิทธิที่จะบอกล้างสัญญาย่อมเป็นอันระงับสิ้นไป

  32. การไม่โต้แย้งหรือคัดค้านความไม่สมบูรณ์ของสัญญาประกันภัยการไม่โต้แย้งหรือคัดค้านความไม่สมบูรณ์ของสัญญาประกันภัย ระยะเวลาตามสัญญาประกันภัย ผู้รับประกันภัยจะต้องใช้สิทธิบอกล้างภายใน 1 เดือน นับแต่วันทราบมูลอันจะบอกล้างได้ อย่างไรก็ตามไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญา มิฉะนั้น ผู้รับประกันภัยก็หมดสิทธิที่จะบอกล้างได้

  33. การกระทำอัตวินิบาตกรรม ภายใน 1 ปี(กรมธรรม์ประกันชีวิตฉบับมาตราฐาน) ให้ผู้รับประกันภัยคืนเบี้ยประกันภัย ที่ได้รับชำระมาแล้วทั้งหมด กรณีที่ถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตาย ผู้รับประกันภัยต้องใช้เงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ ให้กับทายาทโดยธรรม

  34. การแถลงอายุคลาดเคลื่อนการแถลงอายุคลาดเคลื่อน • ต่ำกว่าจริง ลดจำนวนเงินที่จะต้องพึ่งชดใช้ลงตามส่วน • สูงกว่าจริง คืนเบี้ยประกันภัยส่วนที่เกินให้ • 3. ถ้าอายุที่แท้จริงอยู่นอกจำกัดอัตราตามทางค้าปกติของผู้รับประกันภัย สัญญาตกเป็นโมฆียะ

  35. การบอกเลิกสัญญาประกันชีวิตการบอกเลิกสัญญาประกันชีวิต มาตรา 894 ผู้เอาประกันภัยชอบที่จะบอกเลิกสัญญา ประกันภัยเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ ด้วยการงดไม่ส่งเบี้ยประกันภัยต่อไป

  36. Thank you for your attention โทร.02-547-5002

More Related