1 / 13

สึ นามิ

สึ นามิ. คลื่นสึ นามิ เป็นคลื่นไหวสะเทือนที่เกิดขึ้นในทะเล เหรือชาย ฝั่ง ทะเลป็ นคลื่นยักษ์ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากมหาสมุทรและเคลื่อนที่เข้าสู่ฝั่ง โดยที่เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วสูง ความยาวคลื่นมากจนมีพลังรุนแรง เดินทางได้ในระยะไกล.

ross-burris
Télécharger la présentation

สึ นามิ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สึนามิ

  2. คลื่นสึนามิเป็นคลื่นไหวสะเทือนที่เกิดขึ้นในทะเลเหรือชายฝั่งทะเลป็นคลื่นยักษ์ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากมหาสมุทรและเคลื่อนที่เข้าสู่ฝั่ง โดยที่เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วสูง ความยาวคลื่นมากจนมีพลังรุนแรงเดินทางได้ในระยะไกล ภาพเคลื่อนไหวแสดงการเกิดแผ่นดินไหว ในมหาสมุทรแปซิฟิกแถบปาปัวนิวกินี อันเป็นต้นเหตุของสึนามิที่คร่าชีวิตชาวปาปัวนิวกินีไปหลายพันชีวิต 

  3. คลื่นสึนามิมักเกิดจากแผ่นดินไหวในทะเล เมื่อเกิดแผ่นดินไหวในทะเลอันเนื่องมาจากแผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนตัวทำให้เกิดแรงกระเพื่อมอย่างรุนแรงตรงบริเวณจุดโฟกัสของการเคลื่อนที่ และแรงกระเพื่อมนี้ถูกถ่ายทอดไปสู่น้ำทะเล ทำให้น้ำทะเลเกิดคลื่น ซึ่งในระยะแรก คลื่นจะมีลักษณะความยาวช่วงคลื่นมาก ความสูงของคลื่นน้อยแพร่ออกไปเป็นวงทุกทิศทุกทางด้วยความเร็วประมาณกว่า 700 กิโลเมตร/ชั่วโมง เมื่อคลื่นดังกล่าวเคลื่อนเข้าหาชายฝั่งทะเลจะมีการเปลี่ยนแปลงความยาวช่วงคลื่นลดลง แต่ความสูงของคลื่นจะเพิ่มขึ้น ทำให้มีพลังทำลายล้างอย่างรุนแรง

  4. สาเหตุ สึนามิ ส่วนใหญ่ เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกใต้ทะเลอย่างฉับพลัน อาจจะเป็นการเกิดแผ่นดินถล่มยุบตัวลง หรือเปลือกโลกถูกดันขึ้นหรือยุบตัวลง แต่อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ เช่น การระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟใต้ทะเล ดินถล่มที่พื้นท้องทะเล การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ทะเลแผ่นดินไหว หรืออุกกาบาตพุ่งชน

  5. ข้อแตกต่างระหว่างคลื่นน้ำธรรมดากับคลื่นสึนามิข้อแตกต่างระหว่างคลื่นน้ำธรรมดากับคลื่นสึนามิ

  6. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสึนามิ1. คลื่นสึนามิในมหาสมุทรมักเกิดจากแผ่นดินไหว                2.คลื่นสึนามิอาจมีความสูงคลื่นถึง 10-30 เมตร บริเวณชายฝั่ง และสามารถพัดเข้าไปในชายฝั่งได้หลายร้อยเมตร                3. บริเวณชายฝั่งมักโดนคลื่นพัดพาหายไป                4. คลื่นสึนามิไม่ใช่คลื่นเดี่ยว แต่เป็นชุดคลื่น และอาจมีหลายลูกติดตามกันมา ลูกแรกไม่ใช่ลูกที่แรงที่สุด ลูกที่แรงที่สุดเป็นลูกที่3-6                5. คลื่นสึนามิอาจมีต่อเนี่องกันได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง                6. คลื่นสึนามิพัดพาได้เร็วกว่าอัตราการวิ่งของคน                7. คลื่นสึนามิทำให้ระดับน้ำลดลงอย่างรวดเร็วก่อนที่จะมีระดับน้ำสูงและคลื่นรุนแรงตามมา                8. หินขนาดใหญ่ กรวด ทราย เรือ บ้านเรือน ยานพาหนะ อาจพัดพามาพร้อมคลื่นสึนามิ และพัดพาไปได้ไกลจากชายฝั่งหลายร้อยเมตร ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บ                9. คลื่นสึนามิ เกิดได้ทั้งกลางคืนและกลางวัน              10. คลื่นสึนามิสามารถพัดพาเข้าไปยังคลองและมหาสมุทรที่ต่อเนื่องกับทะเล 

  7. สึนามิในประเทศไทย แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ.2547 เป็นแผ่นดินไหวใต้ทะเลซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (มีศูนย์กลางอยู่ในมหาสมุทรอินเดียบริเวณด้านตะวันตกของหัวเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย) แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ทำให้พื้นที่บริเวณเกาะสุมาตราได้รับความเสียหาย แผ่นดินไหวเกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกใต้มหาสมุทรอินเดีย-ออสเตรเลีย ลงข้างใต้แผ่นยูเรเซียกระตุ้นให้เกิดคลื่นสึนามิสูงราว 30 เมตร เข้าท่วมทำลายบ้านเรือนตามแนวชายฝั่งอันดามันของประเทศไทยได้แก่ ตรัง สตูล กระบี่ พังงา ภูเก็ต และระนอง นับเป็นหนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

  8. สึนามิในประเทศญี่ปุ่นสึนามิในประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 การเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติการณ์ญี่ปุ่น วัดระดับความรุนแรงได้ 8.9 ริคเตอร์ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่ชนกันของแผ่นธรณีภาคแปรซิฟิกกับแผ่นธรณีภาคอเมริกาเหนือ บริเวณชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ห่างจากกรุงโตเกียวราว 400 กิโลเมตร จุดศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปราว 24 กิโลเมตร ซึ่งเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ขนาดสูง 10 เมตร กระหน่ำพื้นที่เมืองเซนได ในจังหวัดมิยากิ ในเวลาต่อมา โดยเกลียวคลื่นขนาดมหึมากลืนรถยนต์ เรือ อาคารบ้านเรือนจำนวนมาก

  9. ระบบเตือนภัยสึนามิ ศูนย์เตือนภัยสึนามิภาคพื้นแปซิฟิก (PTWC) ตั้งอยู่ใกล้ฮอนโนลูลู ฮาวาย • ทุ่นลอย (Buoy)  อุปกรณ์ลอยน้ำสำหรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือค้ำจุน ผลิตจากวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทาน ทนแดด และทนการกัดกร่อนของน้ำทะเล ไม่เป็นสนิม รวมทั้งมีสมอและสายโยงยึดสมอ ที่มีความเหนียวทนทานสูง ทุ่นลอยมีหลายชนิด • เครื่องบันทึกความดันน้ำ (Bottom Pressure Recorder: BPR)อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่วัดความดันที่เปลี่ยนแปลงของน้ำบริเวณพื้นมหาสมุทร เพื่อใช้สำหรับการคำนวณหาระดับความ สูงของน้ำด้านบน ระบบนี้สามารถตรวจจับคลื่นสึนามิ ที่มีแอมพลิจูดเล็กเพียง ๑ เซนติเมตรได้ รวมทั้งยังสามารถ บันทึกข้อมูลวัน และเวลาที่บันทึกข้อมูล ค่าแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ รวมถึงการตรวจสอบและติดตามสถานภาพ ของอุปกรณ์ด้วย

  10. การรับมือภัยคลื่นสึนามิการรับมือภัยคลื่นสึนามิ • 1.ขณะที่อยู่บริเวณชายฝั่งเมื่อรู้สึกว่ามีแผ่นดินไหวหรือพบว่าระดับน้ำทะเลลดลงมากผิดปกติ ให้รีบอพยพไปยังบริเวณที่สูงทันที • 2.เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวในทะเล ให้เตรียมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดสึนามิตามมาได้ • 3.ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบข่าวว่าจะเกิด สึนามิพัดเข้ามา • 4.คลื่นสึนามิ อาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมีการแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอประกาศจากทางการก่อนจึงสามารถลงไปชายหาด • 5.ติดตามการเสนอข่าวของทางการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง • 6.หากบ้านเรือนอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ เพื่อลดแรงปะทะของน้ำทะเล ในบริเวณย่านที่มีความเสี่ยงภัยในเรื่องสึนามิ • 7.ควรหลีกเลี่ยงการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนใกล้กับชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงภัยสูง

  11. ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ • วีดีโอเพิ่มเติม http://www.youtube.com/watch?v=5bdE5hhZ8ig http://www.youtube.com/watch?v=OTTb9yVXV9g • ความรู้เพิ่มเติม http://www.vcharkarn.com/varticle/267 http://123ne.blogspot.com/2012/06/blog-post_16.html http://www.navy.mi.th/hydro/TSUNAMI.htm • สื่อการเรียนรู้เพิ่มเติม ครูติ๊ก http://www.learnbytechno.com/

More Related