1 / 50

แนวปฏิบัติที่ดีของการเรียนการสอน การประเมินผลและการตัดเกรด

แนวปฏิบัติที่ดีของการเรียนการสอน การประเมินผลและการตัดเกรด. รองศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาติ บัวเจริญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ 3 กรกฎาคม 2555. วิธีสอน. หลักสูตร. ผู้เรียน. ผู้สอน. ปฏิสัมพันธ์. สื่อการสอน. สิ่งแวดล้อม. ปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบของการเรียนการสอน.

rowa
Télécharger la présentation

แนวปฏิบัติที่ดีของการเรียนการสอน การประเมินผลและการตัดเกรด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวปฏิบัติที่ดีของการเรียนการสอนการประเมินผลและการตัดเกรดแนวปฏิบัติที่ดีของการเรียนการสอนการประเมินผลและการตัดเกรด รองศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาติ บัวเจริญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ 3 กรกฎาคม 2555

  2. วิธีสอน หลักสูตร ผู้เรียน ผู้สอน ปฏิสัมพันธ์ สื่อการสอน สิ่งแวดล้อม ปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบของการเรียนการสอน

  3. จุดประสงค์ของการเรียนการสอนจุดประสงค์ของการเรียนการสอน การประเมินผล ก่อนสอน กระบวนกาเรียน การสอน การประเมินผล หลังสอน ผลย้อนกลับ ปฏิสัมพันธ์ของกระบวนการเรียนการสอน

  4. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 มาตรา 22: ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

  5. เดิม TQF วัตถุประสงค์ของหลักสูตร กลุ่มเนื้อหาสาระสำคัญ โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา มคอ.2 รายละเอียดของหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร กลุ่มเนื้อหาสาระสำคัญ ผลการเรียนรู้ โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา

  6. ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ ด้านความรู้ มาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning)

  7. การเรียนรู้และมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติการเรียนรู้และมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่คาดหวังให้นักศึกษาพัฒนาขึ้นอย่างน้อย 5 ด้านจากประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างการศึกษาได้แก่ 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Moral) หมายถึง การพัฒนานิสัยในการประพฤติอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และด้วยความรับผิดชอบทั้งในส่วนตนและส่วนรวม ความสามารถในการปรับวิถีชีวิตในความขัดแย้งทางค่านิยม การพัฒนานิสัยและการปฏิบัติตนตามศีลธรรม ทั้งในเรื่องส่วนตัวและสังคม 2.ด้านความรู้ (Knowledge) หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจ การนึกคิดและการนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์และจำแนกข้อเท็จจริงในหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนกระบวนการต่างๆ และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive skills) หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์และใช้ความรู้ ความเข้ใจในแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และกระบวนการต่างๆ ในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal Skills and Responsibility)หมายถึง ความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การแสดงถึง ภาวะผู้นำ ความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคม ความสามารถในการวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills) หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ความสามารถในการใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติ ความสามารถในการสื่อสารทั้งการพูด การเขียน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บางสาขาวิชาที่ต้องพัฒนาทักษะทางกายภาพสูง เช่น ดนตรี พลศึกษา ศิลปศึกษา การแพทย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ จำเป็นต้องเพิ่มการเรียนรู้ทางด้านทักษะพิสัย (Domain of Psychomotor Skills)

  8. การเรียนรู้ 5 ด้าน(5 Domains of Learning) • คุณธรรม จริยธรรม (คิดดี ทำดี รับผิดชอบการกระทำ) • ความรู้ (รู้ เข้าใจ อธิบายได้) • ทักษะทางปัญญา (ปฏิบัติได้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินได้) • ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (มนุษยสัมพันธ์ รับผิดชอบการทำงาน/การพัฒนาตนเอง) • ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ส่งเสริม/สนับสนุนการเรียนรู้ด้านอื่นๆ และการประกอบอาชีพ)

  9. ปรัชญาการวัดผลทางการศึกษาปรัชญาการวัดผลทางการศึกษา • ดร.ชวาล แพรัตกุล ได้สรุปแนวความคิดหรือมีคติที่ควรยึดถือเกี่ยวกับการศึกษาดังนี้ 1. ถือว่าการสอบเป็นส่วนหนึ่งของการสอน 2. การสอบควรมุ่งวัดศักยภาพมากกว่าที่จะวัความจำ 3. สอบเพื่อวินิจฉัย 4. สอบเพื่อประเมินค่า 5. ทดสอบเพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพ

  10. การทดสอบ การวัดผล การประเมินผล ข้อสอบ ชิ้นงาน สังเกต แบบสอบถาม ฯลฯ คะแนน - ผ่าน-ไม่ผ่าน - A, B+, B, C+, C, D - ได้ที่ 1, 2 ฯ

  11. ความถูกต้องของการวัด การวัดไม่ว่าจะเป็นระบบหรือระดับใดก็ตาม ต้องมีความคลาดเคลื่อน (Error) อยู่เสมอ ความคลาดเคลื่อนจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้

  12. ธรรมชาติของการวัดผลการศึกษาธรรมชาติของการวัดผลการศึกษา 1. การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดทางอ้อม 2. การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดที่ไม่สมบูรณ์ในตัว 3. การวัดทางการศึกษาเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูลที่ได้จากการวัดกับองค์ประกอบอื่น ๆ 4. ผลจากการวัดมีความคลาดเคลื่อนเสมอ

  13. รูปแบบพื้นฐานของการเรียนการสอน จะเห็นว่าการวัดผลจะเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ 3 ตอน คือ • การวัดผลก่อนการเรียน (Pre -evaluation) • การวัดผลระหว่างเรียน (Formative evaluation) • การวัดผลหลังการเรียน(Summative evaluation)

  14. หลักการวัดผลการศึกษา

  15. 1. การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม (Norm – Referenced Evaluation) มีจุดประสงค์เพื่อกระจายบุคคลทั้งกลุ่มไปตามความสามารถของแต่ละบุคคล ลักษณะของข้อสอบต้องมีค่าอำนาจจำแนกสูงเพื่อจำแนกบุคคลในกลุ่ม และมีความยากง่ายพอเหมาะ จะแปลผลโดยใช้กลุ่มเป็นหลักในการเปรียบเทียบโดยดูว่าใครเด่น - ด้อยอย่างไร ใครเป็นอันดับที่เท่าใดของกลุ่ม 2. การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ (Criterion – Referenced Evaluation ) มีจุดประสงค์เพื่อพิจารณาว่า เมื่อเรียนจนจบแต่ละหน่วยแล้วผู้เรียนมีความรอบรู้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่เป็นการวัดพฤติกรรมที่คาดหวังที่กำหนดขึ้นสำหรับการเรียนการสอนในช่วงใดช่วงหนึ่ง เพื่อแสดงความงอกงามของผู้เรียน จะแปลผลในรูปที่ว่าผู้รียนรอบรู้หรือยังไม่รอบรู้ โดยบอกให้ทราบว่าผู้เรียนแต่ละคนสามารถทำอะไรได้บ้างจากการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ การประเมินผลการเรียน

  16. การแปลความหมายของคะแนนการแปลความหมายของคะแนน

  17. ลักษณะของคะแนน 1. คะแนนที่ได้จากการสอบ เป็นเพียงตัวเลขที่บอกจำนวนของผลงานที่ผู้สอบทำได้ถูกต้อง ไม่สามารถที่จะบ่งบอกถึงจำนวนหรือปริมาณความสามารถที่แท้จริงของผู้สอบได้ 2. ข้อสอบที่ใช้สอบในแต่ละครั้ง เป็นเพียงตัวแทนของข้อคำถามหรือปัญหาในเรื่องราวต่าง ๆ เท่านั้น ดังนั้นคะแนนที่ได้จากข้อสอบ จึงมิอาจแทนจำนวนจริงของความรู้ความสามารถได้ 3. คะแนนที่ได้จากการสอบวัดในแต่ละครั้งนั้น จะต้องมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นเสมอ

  18. การตัดสินผล เก่ง อ่อน ผ่าน ไม่ผ่าน

  19. องค์ประกอบในการให้ระดับคะแนนองค์ประกอบในการให้ระดับคะแนน 1. ผลการวัด 2. เกณฑ์การพิจารณา 3. วิจารณญาณ และคุณธรรมต่างๆ

  20. คะแนนมาตรฐาน T ปกติ (T Normalized) คะแนนมาตรฐาน T เชิงเส้น มีค่าเฉลี่ย 50 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น 10 สามารถเขียนเป็นสมการคำนวณได้ว่า T = 50 + 10Z

  21. ประโยชน์ของคะแนนมาตรฐานประโยชน์ของคะแนนมาตรฐาน 1. สามารถนำคะแนนมาเปรียบเทียบกันได้ ทราบว่าใครเก่งอ่อนมากน้อยเท่าใด 2. สามารถนำคะแนนมาใช้ในการนำเสนอผลความสามารถของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ได้ เช่น อาจจะใช้เส้นภาพ (Profile) ในการนำเสนอผลการสอบ อันจะช่วยให้ผู้ปกครองหรือผู้เกี่ยวข้องทราบความสามารถที่แท้จริงในด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน 3. ช่วยให้ผลการสอบวัดมีหน่วยเดียวกัน โดยหน้าที่แปลงคะแนนที่สอบวัดมาจากต่างเนื้อหากัน หรือวิชาต่างกัน หรือคะแนนเต็มต่างกัน ให้เข้ามาอยู่ในหน่วยเดียวกัน จึงทำให้สามารถนำมารวมกันได้

  22. (Norman E.Gronlund& Robert L. Linn. Measurement and Evaluation in Teaching6th ed.1990)

  23. การตัดเกรด การตัดเกรด (grading) หรือการให้ระดับคะแนน เป็นวิธีการสรุปผลการเรียน เพื่อประเมินผลและกำหนดระดับของความสามารถในการเรียนของผู้เรียนว่าผ่านหรือไม่ผ่าน เก่งหรืออ่อน ระดับ A B C D หรือ F การตัดเกรดจึงเป็นการนำผลการสอบวัดในทุก ๆ ระยะของการเรียนการสอน และทุกชนิดไปใช้ประเมิน

  24. องค์ประกอบของการตัดเกรดองค์ประกอบของการตัดเกรด 1. ผลการวัด (measurement) 2. เกณฑ์การพิจารณา (criteria) 3. วิจารณญาณและคุณธรรมต่าง ๆ (value judgement)

  25. รูปแบบของการตัดเกรด 1. แบบใช้เกณฑ์ที่คาดหวัง หรือเป็นแบบตั้งเกณฑ์ไว้ตายตัว (absolute marking system) เป็นระบบการให้เกรดที่ใช้คะแนนดิบหรือเปอร์เซ็นต์ที่เด็กสอบได้เป็นหลักในการตัดเกรด เช่น เด็กได้ 90% ขึ้นไป ให้เกรด A ได้ 75% - 89% ให้เกรด B เป็นต้น 2. แบบใช้เกณฑ์สัมพันธ์ (relative marking system) เป็นระบบการให้เกรดโดยการเปรียบเทียบคะแนนของเด็กภายในกลุ่ม แล้วใช้วิจารณญาณของผู้สอนกำหนดเกณฑ์การพิจารณาตามสภาพของกลุ่มนั้น

  26. ขั้นตอนการตัดเกรดแบบใช้เกณฑ์สัมพันธ์ขั้นตอนการตัดเกรดแบบใช้เกณฑ์สัมพันธ์ 1. แปลงคะแนนดิบหรือผลการสอบวัดต่าง ๆ ที่ใช้เป็นข้อมูลในการให้เกรด ให้เป็นคะแนนมาตรฐาน 2. ใช้วิจารณญาณอย่างมีคุณธรรมตัดสินใจกำหนดจำนวนเกรดที่จะให้ ว่าผลการศึกษาครั้งนี้มีระดับผลสัมฤทธิ์หรือความสามารถของเด็กอยู่ในระดับเกรดใดบ้าง ควรมี A หรือ F หรือไม่ 3. เมื่อกำหนดจำนวนเกรดได้แล้ว ให้หาพิสัย (range) ของคะแนนที่จะนำมาใช้กำหนดเกรดว่ามีช่วงกว้างเท่าไร โดยใช้คะแนนสูงสุดลบด้วยคะแนนต่ำสุด (คะแนนมาตรฐาน) 4. หาความกว้างของแต่ละช่วงเกรด เพื่อกำหนดว่าแต่ละเกรดที่จะให้นั้นจะมีช่วงกว้างเพียงใด หาได้โดยการนำช่วงคะแนน (ข้อ 3) หารด้วยจำนวนเกรดที่กำหนดไว้ (ข้อ 2)

  27. 5. กำหนดเกรด ซึ่งจะมีลักษณะเป็นไปได้ 2 กรณีคือ ก. ถ้าจำนวนเกรดที่กำหนดให้ (ข้อ 2) เป็นจำนวนคู่ (เช่น 2, 4 เกรด) ให้กำหนดช่วงหรือแบ่งช่วงของเกรดตั้งแต่คะแนน (มาตรฐาน) เฉลี่ยเป็นต้นไป (คือที่ z= 0, T = 50 ขึ้นและลงไป) ข. ถ้าจำนวนเกรดที่กำหนดจะให้ (ข้อ 2) เป็นจำนวนคี่ (เช่น 3, 5 เกรด) ให้กำหนดช่วงหรือแบ่งช่วงของเกรด โดยให้เกรดกึ่งกลางคร่อมคะแนนเฉลี่ย ดังนั้นเกรดที่อยู่กลางจึงมีค่าเท่ากับช่วงของเกรดหาร 2 แล้วนำไปบวกลบกับคะแนนมาตรฐานเฉลี่ยแล้วจึงหาช่วงต่อไปทั้งขึ้นและลง

  28. คะแนนเปอร์เซ็นต์ไทล์ คือ คะแนนที่แสดงให้ทราบว่าที่ตำแหน่งค่าคะแนนนั้นผู้เข้าสอบ มีจำนวนร้อยละเท่าไหร่ ที่ได้คะแนนต่ำกว่าคะแนนดังกล่าว เช่น นักเรียนได้คะแนน 80 อยู่ที่ตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 70 หมายความว่าร้อยละ 70 ของผู้เข้าสอบได้คะแนนต่ำกว่า 80

  29. Percentile = (cf + ½ f) 100 N f = ความถี่ของคะแนนแต่ละคะแนน cf = ความถี่สะสม (cf + ½ f) = ความถี่สะสมแท้จริง = ความถี่สะสม ในชั้นล่างถัดไป + ½ ความถี่ของชั้น คะแนนนั้น N = จำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมด

  30. ตารางแสดงตัวอย่างการคิดค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ตารางแสดงตัวอย่างการคิดค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์

  31. ตัวอย่าง การแปลงคะแนนดิบให้เป็นเปอร์เซนต์ไทล์ การคำนวณคะแนนเปอร์เซนต์ไตล์ของคะแนนดิบ 33 เปอร์เซ็นต์ไทล์ของคะแนนดิบ 33 = { 36 + (1/2 x 8) } x 100 58 = 68.97 = 69

  32. T - score เป็นคะแนนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยของคะแนนเป็น 50 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น = 10 T = 10 z + 50

  33. ตัวอย่างการแปลงคะแนน z เป็น T ผลการสอบมีนักศึกษาได้คะแนน 14 15 18 20 21 24 26 x = 19.71 SD = 4.405 4.405 4.405 4.405 4.405

  34. การแปลงคะแนนดิบเป็นคะแนนชุดใหม่ ( T- score )

  35. การตัดเกรดแบบอิงกลุ่มโดยวิธี NormalizedT-Score

  36. วิธีตัดเกรดแบบ Normalized T-Score • เป็นวิธีการตัดเกรดแบบอิงกลุ่มวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยม และเป็นที่ยอมรับจากนักวัดผลว่า เป็นวิธีที่เหมาะสมในการวัดระดับความสามารถของผู้เรียนจริง • โดยการหาตำแหน่ง Percentile ของคะแนนของผู้เรียนแต่ละคนออกมา จากนั้นนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับค่าในตารางคะแนนมาตรฐาน จะได้คะแนน T

  37. คะแนนที (T-score) • เป็นคะแนนที่นำคะแนนดิบมาผ่านขั้นตอนทางสถิติ • ทำให้สามารถวัดได้ว่าผู้เรียนมีความสามารถเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับผู้เรียน (ในวิชาเดียวกัน) ทั้งหมด • สามารถบอกได้มีผู้ได้คะแนนมากกว่า ผู้เรียน กี่คน และผู้เรียน ทำคะแนนมากกว่าผู้เรียนคนอื่น ๆ กี่คน

  38. เกณฑ์ปกติคะแนนที (T-Score Norms) • เป็นมาตราของคะแนนจากที่เทียบคะแนนดิบให้เป็นคะแนนมาตรฐาน • วิธีแปลงคะแนนดิบให้เป็นคะแนนทีปกติ ทำได้โดย • แปลงคะแนนดิบให้เป็นตำแหน่ง Percentile • เทียบ Percentile ให้เป็นคะแนนทีปกติโดยดูว่า Percentile นั้นเท่ากันหรือใกล้เคียงที่สุดกับค่า Percentile ใดก็จะอ่านค่าทีปกตินั้น

  39. เกณฑ์ปกติคะแนนที (ต่อ) • โดยจะมีการแสดงลงในตารางเพื่อบอกความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนดิบกับคะแนนทีปกติ (Normalized T-Score) • คะแนนทีปกติ นิยมใช้กันมากเพราะเป็นคะแนนมาตรฐานสามารถนำมาบวกลบและเฉลี่ยได้ • มีค่าเหมาะสมในการแปลความหมาย คือ มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 มีคะแนนเฉลี่ย 50 ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 10

  40. ขั้นตอนการแปลงคะแนนดิบให้เป็นคะแนน Normalized T-Score

  41. ขั้นตอน • เรียงคะแนนจากน้อยไปมาก • หาความถี่ (f) ของการเกิด โดยคัดเลือกคะแนนที่ไม่ซ้ำ และที่ซ้ำกันมา 1 ตัว (ปกติจะต้องขีดนับหรือ tally) • หาความถี่สะสม (Cumulative Frequency : cf) • หาค่า cff โดย Cff= cf + 0.5 x f โดยถ้าจะหาค่านี้ของข้อมูลชั้นใด (record) ต้องใช้ใช้ค่า cf ที่อยู่ก่อนชั้นนั้น แต่ใช้ค่า f ของชั้นนั้น

  42. ขั้นตอน (ต่อ) • นำค่าที่ได้จากขั้นที่ 4 ไปคูณด้วย 100/N โดยที่ N คือจำนวนนักเรียนทั้งหมดซึ่งจะได้ Percentile Rank • นำค่าจากขั้นที่ 5 ไปเทียบกับค่า Percentile Rank ในตารางมาตรฐาน จากนั้นดึงเอาคะแนน T ในตำแหน่ง Percentile นั้นหรือใกล้เคียงตำแหน่งนั้นที่สุดออกมา • นำคะแนน T ที่ได้จากขั้นที่ 6 ไปพิจารณาตัดเกรด

  43. การตัดเกรด • พิจารณาว่าต้องการตัดกี่เกรด เช่น ตัด 8 เกรด (A, B+, B, C+, C, D+, D, F) • แบ่งคะแนนเป็นกลุ่ม ตามจำนวนเกรด เช่น 8 กลุ่ม • หาช่วงห่างของคะแนนได้จาก ค่าพิสัย/จำนวนเกรดที่จะตัด

  44. การแบ่งเกรด 1. แบ่งออกเป็น 5 เกรดในกรณีที่ผู้เข้าสอบมีความสามารถแตกต่างกันมาก คือคนเก่งก็เก่งจริง คนอ่อนก็อ่อนจริง และจะต้องมีผู้เข้าสอบมากพอสมควร 2. แบ่ง 4 เกรด ใช้ในกรณีที่นักเรียนกลุ่มมีความสามารถแตกต่างกันไม่มาก คือ - A.B.C.D ถ้าคนอ่อนยังไม่ถึงขั้นสมควรตก - B.C.D.F ถ้าคนเก่งยังไม่ถึงขั้นได้ A คนอ่อนก็ไม่สมควรสอบได้ 3. แบ่ง 3 เกรด ใช้ในกรณีที่นักเรียนกลุ่มมีความสามารถไล่เลี่ยกัน คือ - A.B.C. ถ้ายอดของกลุ่มเก่งควรได้ A และคนอ่อนพอใช้ได้ - B.C.D. ถ้ายอดของกลุ่มไม่ถึงขนาดได้ A และคนอ่อนก็อ่อนมาก - C.D.F. ถ้ายอดของกลุ่มไม่เก่งและท้ายกลุ่มก็อ่อนมาก

  45. เกรดในแต่ละช่วงคะแนน

  46. ผลลัพธ์

  47. ข้อควรระวังเมื่อประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ข้อควรระวังเมื่อประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ • ข้อสอบต้องมีคุณภาพดี - Validity - Reliability 2. การตั้งเกณฑ์ผ่าน

  48. ข้อควรระวังเมื่อประเมินผลแบบอิงกลุ่ม โดย T- score 1. การให้คะแนนแบ่งเป็นช่วงใต้โค้งปกติ ดังนั้น ต้องแปลงคะแนนเป็นคะแนนมาตรฐาน T 2. การให้คะแนนผู้เรียนสองกลุ่มที่มีคะแนนต่างกันอาจไม่ยุติธรรม จึงควรต้องหาเกณฑ์ผ่านก่อนแล้วมาตัดเกรด

More Related