110 likes | 1.06k Vues
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์. จัดทำโดย. น . ส . จรรยา สมสา ม .5 / 1 เลขที่ 18 น . ส . ดัชนี ร้อย เพีย ม .5 / 1 เลขที่ 22 น . ส . รัชนีกร อรุณศรี ม .5 / 1 เลขที่ 25 น . ส . อินทุอร วงษ์ สุ่ย ม .5 / 1 เลขที่ 43. อักษร เฮียโรกลี ฟิค.
E N D
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์
จัดทำโดย • น.ส. จรรยา สมสา ม.5/1 เลขที่ 18 • น.ส. ดัชนี ร้อยเพีย ม.5/1 เลขที่ 22 • น.ส. รัชนีกร อรุณศรี ม.5/1 เลขที่ 25 • น.ส. อินทุอร วงษ์สุ่ยม.5/1 เลขที่ 43
อักษรเฮียโรกลีฟิค • ไฮโรกลิฟ (อังกฤษ: Hieroglyph) เป็นอักษรภาพอย่างหนึ่งของอียิปต์โบราณ เพิ่งมีการอ่านและแปลความหมายได้อย่างชัดเจนเป็นระบบเมื่อมีการค้นพบหินโรเซตตาในปีพ.ศ.2342 ที่จารึกโดยตัวอักษร 3 แบบ คือ กรีกโบราณดีโมติกและไฮโรกลิฟ การเปรียบเทียบชื่อราชวงศ์ต่าง ๆ โดยใช้ตัวอักษร 3 แบบ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญภาษาโบราณสามารถอ่านอักษรไฮโรกลิฟ ได้ใน 25 ปีต่อมา
จุดกำเนิด • ชาวอียิปต์เชื่อว่าอักษรนี้ประดิษฐ์โดยเทพเจ้าโทห์ และเรียกชื่ออักษรว่า mdwtntr (คำพูดของพระเจ้า) คำว่าไฮโรกลิฟฟิก มาจากภาษากรีกhieros (ศักดิ์สิทธิ์) + glypho (จารึก) คำนี้ใช้เป็นครั้งแรก โดยคลีเมนต์แห่งอเล็กซานเดรีย การเขียนในอียิปต์ที่เก่าที่สุด เริ่มเมื่อราว 2,867 ปีก่อนพุทธศักราช ส่วนอักษร ไฮโรกลิฟฟิกที่ใหม่ที่สุด เป็นประกาศที่กำแพงวิหารในฟิแล (philae) อายุราว พ.ศ. 939 อักษรนี้ใช้กับจารึกอย่างเป็นทางการ
ตามกำแพงวิหารและหลุมฝังศพ บางแห่งมีการระบายสีด้วย การเขียนทั่วไป ในชีวิตประจำวันใช้อักษรเฮียราติกหลังจากจักรพรรดิทีออสซิอุสที่1สั่งปิดวิหารของพวกเพเกิน ทั่วจักรวรรดิโรมันในช่วงพ.ศ. 1000 ความรู้เกี่ยวกับอักษรนี้ได้สูญหายไป จนกระทั่งชอง-ฟรองซัว ชองโปเลียงชาวฝรั่งเศสถอดความอักษรนี้ได้
ลักษณะ • อักษรไฮโรกลิฟฟิกอาจจะเก่ากว่าอักษรรูปลิ่มของชาวซูเมอร์ทิศทางการเขียนเป็นได้หลายแบบ ทั้งแนวนอน ซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย แนวตั้งจากบนลงล่าง ซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย การบอกทิศทาง สังเกตจากการหันหน้าของรูปคนหรือสัตว์ ซึ่งจะหันหน้าเข้าหาจุดเริ่มต้นของเส้น อียิปต์ยุคต้นและยุคกลาง (ราว 1,457-1,057 ปีก่อนพุทธศักราช) ใช้สัญลักษณ์ 700 ตัว ในยุคกรีก-โรมัน ใช้สัญญลักษณ์มากกว่า 5,600ตัว
สัญลักษณ์แต่ละตัวบอกทั้งการออกเสียงและความหมาย เช่นสัญลักษณ์ของจระเข้ เป็นรูปจระเข้รวมกับสัญลักษณ์แทนเสียง “msh” เช่นเดียวกับคำว่าแมว “miw” จะใช้รูปแมว รวมกับสัญลักษณ์แทนอักษร m iและ w • อักษรที่มีลักษณะเช่นเดียวกับอักษรไฮโรกลิฟฟิกของอียิปต์จะเรียกอักษรไฮโรกลิฟฟิกด้วย เช่นอักษรไฮโรกลิฟฟิกของชาวลูเวียและชาวฮิตไตน์
ความเชื่อ • ชาวอียิปต์มีความชำนาญทางศิลปะหัตถรรม งานช่าง และการทำหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมต่างๆ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับชีวิตหลังความตายและอักษรภาพหรือภาษาตามความเชื่อที่มีอำนาจและอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและพิธีกรรม • ชาวอียิปต์เชื่อว่าตัวอักษรของพวกเขาประดิษฐ์ขึ้นโดยเทพเจ้าธอธ (Thoth) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งภูมิปัญญา และจอความดีชั่วของผู้ตาย และเรียกชื่อตัวอักษรของพวกเขาว่าmdwnTrหรือคำพูดของเทพเจ้า
ตัวอักษรของชาวอียิปต์โบราณหรือที่เรารู้จักว่าอักษรภาพ (Hieroglyphs) หรือ ไฮโรกริฟฟิค,ฮีโรกราฟิค มาจากภาษากรีกhieros (ศักดิ์สิทธิ์) + glypho (จารึก) ซึ่งไม่มีการยืนยันที่ชัดเจนว่าการเขียนในอียิปต์โบราณที่เก่าที่สุดเกิด ขึ้นเมื่อ ไร ส่วนอักษรไฮโรกลิฟฟิคที่จารึกเป็นตัวสุดท้ายคือประกาศที่กำแพงวิหารในฟิเล (Philae) ในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 394 การเขียนทั่วไปในชีวิตประจำวันใช้อักษรเฮียราติก หลังจากจักรพรรดิทีโอโดซิอุสที่ 1 (Theodosius I) สั่งปิดวิหารของพวกนอกรีตทั่วจักรวรรดิโรมันในช่วง ค.ศ. 457ความรู้เกี่ยวกับอักษรภาพนี้ก็ได้สูญหายไป