1 / 18

รากฐาน และความเป็นจริงที่ชนรุ่นหลังต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเงินของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 – ปัจจุบัน (ค.ศ. 1782 – ปัจจุบัน). รากฐาน และความเป็นจริงที่ชนรุ่นหลังต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์. รวบรวมและวิเคราะห์โดย ดร. โอฬาร ไชยประวัติ และทีมนักวิจัย ของสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง.

saman
Télécharger la présentation

รากฐาน และความเป็นจริงที่ชนรุ่นหลังต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเงินของไทยสมัยรัตนโกสินทร์พ.ศ. 2325– ปัจจุบัน (ค.ศ. 1782– ปัจจุบัน) รากฐาน และความเป็นจริงที่ชนรุ่นหลังต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวบรวมและวิเคราะห์โดยดร. โอฬาร ไชยประวัติ และทีมนักวิจัยของสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง

  2. ระยะเวลาในการครองราชย์ของแต่ละรัชกาลสมัยรัตนโกสินทร์ระยะเวลาในการครองราชย์ของแต่ละรัชกาลสมัยรัตนโกสินทร์ Page 2

  3. Standard of International Reserves and Exchange • 1500–1870 silver standard of international reserves • Mexican silver coin เป็น international anchor currency และค่าเงิน 1 ดอลลาร์เม็กซิโกยึดโยงกับน้ำหนักโลหะเงินบริสุทธิ์ที่สเปนขุดและหลอมมาจากทวีปอเมริกาโดยประเทศที่ไม่ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เช่น จีน และไทยนิยมใช้เหรียญเงินเม็กซิกันดอลลาร์เป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ • 1700–1870 silver standard of reserves • Pound Sterling เป็น international anchor currency และค่าเงิน 1 ปอนด์ยึดโยงกันน้ำหนักโลหะเงินบริสุทธิ์ (เช่นเดียวกับค่าเงิน 1 ดอลลาร์เม็กซิโก) โดยประเทศที่ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เช่น อินเดีย ปีนัง และสิงคโปร์ นิยมใช้เงินปอนด์สเตอริงเป็นเงินสำรอง Page 3

  4. Standard of International Reserves and Exchange (cont’d) • 1870–1945 gold/paper standard of international reserves • Pound Sterling เป็น international anchor currency และค่าเงิน 1 ปอนด์ยึดโยงกับน้ำหนักทองคำบริสุทธิ์ • มีกรุงลอนดอนเป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลก • เริ่มมีระบบธนาคาร (base on paper book-keeping) เป็นครั้งแรก โดย ธ.กลาง และ ธ.พาณิชย์ของโลกตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน • รัฐบาลประเทศต่างๆ มีบัญชีเงินฝากเป็น Pound Sterling ไว้กับธนาคารในกรุงลอนดอนเป็นเงินสำรองของประเทศ และยังถือทองคำแท่งเป็นเงินสำรองของประเทศแทนเหรียญเงินเม็กซิโกดอลลาร์มากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย Page 4

  5. Standard of International Reserves and Exchange (cont’d) • 1946–1972 gold/paper standard of reserves • US dollar เป็น international anchor currency ค่าเงิน 1 ดอลลาร์ สรอ. ยึดโยงกับน้ำหนักทองคำบริสุทธิ์ (35 USD ต่อ ทองคำหนัก 1 ออนซ์) • เป็นผลพวงจากการประชุมนานาชาติและข้อตกลงร่วมกันที่ Bretton Woods (Bretton Woods Agreement) • มีนิวยอร์คเป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลก แทนลอนดอน • ธ.กลางประเทศต่างๆ เก็บทองแท่งไว้ที่ ธ.กลาง สหรัฐฯ และมีบัญชีเงินฝากเป็น USD ไว้กับธนาคารในสหรัฐฯ Page 5

  6. Standard of International Reserves and Exchange (cont’d) • 1972–1987 paper standard of reserves and fixed exchange rate • US dollar เป็น international anchor currency • ไม่มีการกำหนดค่าของ USD เทียบกับน้ำหนักของทองคำบริสุทธิ์อีกต่อไป ภายหลัง Smithsonian Agreement • ประเทศต่างๆ fix ค่าเงินตัวเองในอัตราตายตัวเมื่อเทียบกับ 1 USD with narrow band fluctuation แต่ให้เปลี่ยนค่าเงินได้เป็นระยะเมื่อจำเป็น เช่นกรณีของประเทศไทย fix ไว้ในอัตรา 21 บาท/USD (ช่วงปี 1954 - 1972) และเปลี่ยนมาเป็น 25 บาท/USD (ช่วงปี 1972 - 1981) และเป็น 26 บาท/USD (ช่วงปี 1981 - 1997) Page 6

  7. Standard of International Reserves and Exchange (cont’d) • 1987–ปัจจุบันpaper standard of reserves and floating exchange rate • US dollar เป็น international anchor currency • ประเทศต่างๆ ไม่จำเป็นต้องผูกค่าเงินของตัวเองไว้กับ USD อีกต่อไป และ IMF พยายามสนับสนุนให้ค่าเงินของแต่ละประเทศลอยตัวตามอุปสงค์อุปทานของเงินตราต่างประเทศของตน • ประเทศต่างๆ เลือกได้ว่าจะเป็น free floating เช่น Euro zone, England, Indonesia และ ไทย (2 ก.ค.1997 - 31 ส.ค. 2007) หรือ managed float with target exchange rate and with narrow band fluctuation เช่น ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย (1 ก.ย. 2007 – ปัจจุบัน) Page 7

  8. ระบบการของเงินและอัตราแลกเปลี่ยนของไทยยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ร.๑-ร.๓ • 1782–1850 ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบ fixed exchange rate ในการค้าระหว่างประเทศ โดยมี Mexican silver coin เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ (anchor currency) และอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับประมาณ 8 บาทต่อ 1 ปอนด์สเตอริง • 1Mexican silver dollar = 1.7 บาท (ค่าเงินบาทของไทยเทียบกับเหรียญเงินเม็กซิโกดอลลาร์โดยเงินไทย 1 บาท = น้ำหนักโลหะเงินบริสุทธิ์ 15 กรัม หรือ น้ำหนัก 1 บาท = 15 กรัม, 1 เหรียญ เงินดอลลาร์เม็กซิโก = น้ำหนักโลหะเงินบริสุทธิ์ 25 กรัม และ 1 ปอนด์สเตอริงอังกฤษ = น้ำหนักโลหะเงินบริสุทธิ์ 120 กรัม หรือค่าเงินบาทเท่ากับ 8 บาทต่อ 1 ปอนด์สเตอริง) Page 8

  9. ระบบการของเงินและอัตราแลกเปลี่ยนของไทยยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ร.๑-ร.๓ (ต่อ) • ใช้หอยเบี้ยและเงินพดด้วงเป็น money in circulation ของระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ • การแลกเปลี่ยนในภาคเหนือส่วนใหญ่ใช้เงินรูปีอินเดีย (เนื่องจากติดต่อค้าขายกับพม่าเป็นหลัก) • มีพระคลังข้างที่ ทำหน้าที่ในการออกเงินพดด้วง เพื่อใช้ในระบบเศรษฐกิจ Page 9

  10. ระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนของไทยยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ร.๔-ร.๕ • 1850–1882 1 Pound Sterling = 8 บาท (ค่าเงินบาทยังยึดโยงกับน้ำหนักโลหะเงินในช่วงปี 1850-1902 และเปลี่ยนมายึดโยงกับน้ำหนักโลหะทองคำบริสุทธิ์หลังปี 1902 ตามเงินปอนด์สเตอริงของอังกฤษ ซึ่งยึดโยงกับน้ำหนักทองบริสุทธิ์ตั้งแต่ปี 1870) • ไทยเปลี่ยนมาใช้ Pound Sterling เป็น reference currency พร้อมๆ กับการลงนามในสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษในปี ค.ศ.1855 • เริ่มเก็บ international reserve ไว้ในรูปของเงินฝาก Pound Sterling ที่ธนาคารพาณิชย์ในกรุงลอนดอนพร้อมกับเก็บเหรียญโลหะเงินและโลหะทองคำแท่งเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศด้วย Page 10

  11. ระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนของไทยยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ร.๔-ร.๕ (ต่อ) • เริ่มผลิตเหรียญกระษาปณ์ที่ไม่ใช้โลหะเงินหรือทองคำออกหมุนเวียนในมือประชาชนเป็นครั้งแรก แต่ในช่วงแรกเหรียญกระษาปณ์ไทยยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของระบบเศรษฐกิจ • อนุญาตให้ใช้เหรียญเงินต่างประเทศหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจในปี 1857 • ด้วยอัตราแลกเปลี่ยน 5 บาทต่อ 3Mexican dollar แต่ค่อยๆ หมดไป เมื่อเหรียญกระษาปณ์ไทยออกหมุนเวียนเพียงพอกับความต้องการของประชาชน Page 11

  12. ระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนของไทยยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ร.๔-ร.๕ (ต่อ) • 1883–1891 1 Pound Sterling = 8-10 บาท (ร.5) • THB fixed หลังจากเงินบาทค่อยๆ ลดค่าจาก 8 บาทในปี 1882 เป็น 10 บาท/sterling ในปี 1883 • ปี 1888 เกิดธนาคารพาณิชย์เป็นครั้งแรกในสยามคือธนาคาร HSBC • หลังจากนั้นมีธนาคารต่างชาติทยอยเข้ามาเปิดเพิ่ม เช่น Chartered Bank of India, Australia and China ในปี 1894The Banque de L’Indochine ในปี 1897 โดยธนาคารเหล่านี้ได้รับอนุญาตให้พิมพ์ธนบัตรออกใช้ในระบบเศรษฐกิจ แต่การใช้ยังจำกัดอยู่แต่ในเขตกรุงเทพฯ และตอนหลังมีธนาคารพาณิชย์ไทยคือ แบงค์สยามกัมมาจล (เริ่มปี 1906) • ภาคเหนือและพื้นที่ในรัฐมาเลเซียปัจจุบันยังใช้เงินรูปีอินเดียในการแลกเปลี่ยน Page 12

  13. ระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนของไทยยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ร.๕-ร.๘ • 1892–19021 Pound Sterling = 12.10-19.30 บาท (THB weakening) (ร.5) • เมื่อราคาของโลหะเงินในเทอมของทองเริ่มตกในปี 1870 ค่าเงินบาท เมื่อเทียบกับ Sterling ก็เริ่มตก (เนื่องจากเงินปอนด์อังกฤษเปลี่ยนไป ผูกติดกับทองคำ) จาก 10 บาท/Sterling ในปี 1883 เป็น 21 บาท/Sterling ในปี 1902 รัฐบาลจึงยกเลิกการผูกติดค่าเงินกับโลหะเงิน และเปลี่ยนมาใช้ gold standard โดยกระทรวงการคลังประกาศ fix อัตราแลกเปลี่ยนกับ Sterling ไว้ที่ 20 บาท/Sterling Page 13

  14. ระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนของไทยยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ร.๕-ร.๘ (ต่อ) • 1903–19211 Pound Sterling = 19.0-9.54 บาท(THBstrengthening) (ร.5 – ร.6) • อย่างไรก็ตาม เหรียญเงินยังเป็น money in circulation หลักในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น เมื่อราคาของโลหะเงินแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับทองหลังจาก จุดต่ำสุดในปี 1902 เป็นต้นมา เหรียญเงินก็ถูก export ออกไปในรูปของ เงินแท่ง และส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับ Sterling ซึ่งแข็งค่าขึ้นจาก 20 บาท/Sterling เป็น 13 บาท/Sterling ในปี 1907 และคงที่ที่อัตราดังกล่าวจนถึงปี 1919 (เพราะว่าในยามที่ราคาเงินลดลง รัฐบาลไม่ยอม ให้บาทลดตาม แต่ในยามที่ราคาโลหะเงินเพิ่มขึ้น รัฐบาลจะยอมให้บาท แข็งตาม) Page 14

  15. ระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนของไทยยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ร.๕-ร.๘ (ต่อ) • 1903–19211 Pound Sterling = 19.0-9.54 บาท(THBstrengthening) (ร.5 – ร.6) (ต่อ) • Notes in circulation ถูก back ด้วย reserve 100% โดยบางส่วนของ reserve จะ invest ใน Sterling securities (ปี 1906 พบว่า 75% เป็น silver coin อีก 25% เป็น foreign securities โดยส่วนใหญ่เป็น Sterling) • ปี 1908 ออกกฎหมายรองรับ gold-exchange standard • การใช้ธนบัตรแพร่หลายขึ้น โดยเพิ่มจาก 18.8 ล้านบาทในปี 1911 เป็น 113.8 ล้านบาทในปี 1919 ในขณะที่ปริมาณ silver coin in circulation ค่อนข้างคงที่ ที่ประมาณ 100 ล้านบาทในช่วงเวลาเดียวกัน • เมื่อความต้องการเงินบาทมีมากขึ้น ความลำบากในการผลิต silver coin ออกมาให้เพียงพอกับความต้องการก็ทำได้ยากขึ้น ในที่สุดการใช้เหรียญเงินก็ค่อยลดสัดส่วนใน circulation ลง และหายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เนื่องจากการ ซื้อขายโลหะเงินถูกควบคุมโดยกองทัพพันธมิตร • 1922–19411 Pound Sterling = 11 บาท(THB fixed) (ร.6 - ร.8) • 1942–1946world war II, การค้าขายระหว่างประเทศหยุดชะงักเพราะสงครามอัตราแลกเปลี่ยนผันแปรมาก (ร.8) Page 15

  16. ระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนของไทยยุคกรุงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน ร.๙ • 1947 อัตราแลกเปลี่ยน 24.10 บาท/USD (หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยไทยเป็นฝ่ายแพ้สงคราม) • ไทยเปลี่ยนมาใช้ USD เป็น reference currency โดย fixed ค่าเงินบาทกับ USD เพราะ USD ได้กลายมาเป็น international anchor currency แทน Pound sterling ของอังกฤษ และ New York City กลายเป็นศูนย์กลางทางการเงินแทน London • 1948–1953 อัตราแลกเปลี่ยน 18.37–22.30 บาท/USD (ไทยใช้ระบบ multiple exchange rate system เพื่อปันส่วน USD ที่ยังขาดแคลน เพราะส่งออกยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ) • 1954–1972 อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 21.00 บาท/USD (20.77-21.59) • ไทยใช้ระบบ fixed ค่าเงินบาทกับ USD แต่เปลี่ยนค่าเงินบาทขึ้นลงบ้างเป็นระยะๆ เพียงเล็กน้อย (narrow band fluctuation) โดยใช้ Exchange Equalization Fund (EEF) เป็นองค์กรซื้อขาย USD โดยตรงในอัตราผันแปรค่อนข้างต่ำกับธนาคารพาณิชย์ Page 16

  17. ระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนของไทยยุคกรุงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน ร.๙ (ต่อ) • 1972–1981 อัตราแลกเปลี่ยน 25.xx บาท/USD • ไทยลดค่าเงินบาทแล้ว fixed กับ USD with narrow band fluctuation (รมต.สมหมาย 1) โดยใช้ EEF เป็นองค์กรทำ intervention ในตลาดเงินตราต่างประเทศ on-shore • 1982–1997 อัตราแลกเปลี่ยน 26.xx บาท/USD • ไทยลดค่าเงินบาทแล้ว fixed กับ USDwith narrow band fluctuation (รมต. สมหมาย 2) โดยใช้ EEF ทำ intervention ในตลาด FX ทั้ง on-shore และ off-shore ในปี 1997 (ก.พ. – ธ.ค. 1997) Page 17

  18. ระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนของไทยยุคกรุงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน ร.๙ • 2 Jul 1997 - 31 Aug 2007 อัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงมากในช่วงกว้างประมาณ 30-55 บาท/USD • Free floating exchange rate with little or no intervention from BOT (ลอยตัวค่าเงินบาทโดยไม่จัดการ) • 1Sep 2007– present อัตราแลกเปลี่ยน ประมาณ 34.00-34.50 บาท/USD • Managed float with target exchange rate by authorities and narrow band fluctuation allowed by BOT ซึ่งฝ่ายการธนาคาร ของ ธปท. ทำการแทรกแซงเองโดยไม่ใช้ EEF เพราะ EEF เลิกกิจการไปแล้ว Page 18

More Related