270 likes | 682 Vues
หัวข้อ การจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายของ องค์การบริหารส่วนตำบล. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2546
E N D
หัวข้อ การจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบล กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าวิธีการงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2541 และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 ผู้บรรยาย นายอมร วงศ์วรรณ ตำแหน่งงาน ท้องถิ่นจังหวัดกระบี่
ความสำคัญของงบประมาณรายจ่ายความสำคัญของงบประมาณรายจ่าย • ระเบียบ มท. ว่าด้วยวิธีการงบประมาณของ อปท. พ.ศ. 2541 ข้อ 5 • งบประมาณ หมายความว่า แผนงาน หรืองานสำหรับประมาณการด้านรายรับและรายจ่าย แสดงในรูปตัวเลขจำนวนเงิน การตั้งงบประมาณ คือ การแสดงแผนดำเนินงานออกเป็นตัวเลขจำนวนเงิน • แผนงาน หมายความว่า ภารกิจแตละด้านที่องค์กรปกครองส่วนส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแตละรูปแบบ
อำนาจหน้าที่ ของ อบต. • พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 66 องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขต อบต. ดังต่อไปนี้ - จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก - รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล - ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ - ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
อำนาจหน้าที่ของ อบต.(ต่อ) - ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม - ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ - คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น - ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร
อำนาจหน้าที่ ของ อบต.(ต่อ) • มาตรา 68 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลอาจทำกิจการในเขต อบต. ดังต่อไปนี้ - ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร - ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น - ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ - ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ - ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์ - ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว - บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
อำนาจหน้าที่ของ อบต.(ต่อ) - การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน - หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต. - ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม - กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ - การท่องเที่ยว - การผังเมือง (นอกจากนั้นแล้ว พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2542 มาตรา ได้กำหนดอำนาจและหน้าที่ ของ อบต.)
รายได้ของ อบต. (ตาม พรบ.สภาตำบลฯ) • มาตรา 82 องค์การบริหารส่วนตำบลอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้ - รายได้จากทรัพย์สิน ของ อบต. ,รายได้จากสาธารณูโภค ของ อบตรายได้จากกิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ ของ อบต. , ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ ตามที่จะมีกฎหมายกำหนดไว้, เงินและทรัพย์สินอื่นที่มีผู้อุทิศให้, รายได้อื่นตามที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐจัดสรรให้, เงินอุดหนุนจากรัฐบาล และรายได้อื่นตามที่จะมีกฎหมายกำหนดให้เป็นของ อบต. • มาตรา 83 อบต. อาจกู้เงินจากกระทรวง ทบวง กรม องค์การหรือนิติบุคคลต่างๆได้ เมื่อได้รับอนุญาตจาก สภา อบต. การกู้เงินตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบของ มท.
ลักษณะของงบประมาณ(ตามระเบียบ มท.ฯ) • ข้อ 9 เงินรายจ่ายประจำปีของ อปท. ให้จัดทำเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปี และให้มีประมาณการรับประกอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีด้วย • ข้อ 10 งบประมาณรายจ่ายประจำปีของ อปท. อาจจำแนกป็นงบประมาณรายจ่ายทั่วไป และงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการ • ข้อ 11 อปท. อาจจัดทำงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการได้โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาท้องถิ่น • ข้อ 12 งบประมาณรายจ่ายทั่วไป และงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการอาจตั้งจ่ายเงินช่วยเหลือระหว่างกันได้
ข้อ 13 งบประมาณรายจ่ายทั่วไปของ อปท. ประกอบด้วย รายจ่ายงบกลาง และรายจ่ายตามแผนงาน • ข้อ 14 รายจ่ายตามแผนงาน จำแนกเป็นสองลักษณะ คือ (1) รายจ่ายประจำ ประกอบด้วย หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้างชั่วคราว หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ หมวดค่าสาธารณูปโภค หมวดเงินอุดหนุน และหมวดรายจ่ายอื่ ( 2) รายจ่ายเพื่อการลงทุน ประกอบด้วย หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง • ข้อ 19 งบประมาณรายจ่ายกำหนดให้มีเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีที่จำเป็นได้ตามความเหมาะสม สำหรับการอนุมัติให้ใช้เงินสำรองจ่าย ให้เป็นอำนาจของผู้บริหาร
การจัดทำข้อบัญญัติของ อบต. ตาม พรบ.สภาตำบลฯ • มาตรา 71 (วรรคหนึ่ง) อบต. อาจออกข้อบัญญัติ อบต.เพื่อใช้บังคับในเขต อบต. ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของ อบต. หรือเมื่อกฎหมายบัญญัติให้ อบต. ออกข้อบัญญัติหรือให้มีอำนาจออกข้อบัญญัติ ในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนดโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท เว้นแต่จะมีกฎหมาบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (วรรคสอง) ร่างข้อบัญญัติ อบต.จะเสนอได้ก็แต่นายก อบต. หรือสมาชิกสภา อบต. หรือราษฎรในเขต อบต.ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ
การเสนอข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ของ อบต.ตาม พรบ.สภาตำบลฯ • มาตรา 87 (วรรคแรก) งบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมของ อบต. ให้จัดทำเป็นข้อบัญญัติ อบต. และจะเสนอได้ก็แต่โดยนายก อบต. ตามระเบียบและวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด (วรรคสอง) ถ้าในระหว่างปีงบประมาณใดรายจ่ายซึ่งกำหนดไว้ในงบประมาณไม่พอใช้จ่ายประจำปีนั้นหรือมีความจำเป็นต้องตั้งรายจ่ายขึ้นใหม่ระหว่างปีงบประมาณ ให้จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณเพิ่มเติม ฯลฯ
การจัดทำงบประมาณรายจ่ายระเบียบ มท.ว่าด้วยวิธีการงบประมาณฯ • ข้อ 23 ให้เจ้าหน้าที่งบประมาณ(ปลัด อปท.)ทำการพิจารณาตรวจสอบวิเคราะห์ และแก้ไขงบประมาณในชั้นต้น แล้วเสนอต่อคณะผู้บริหารท้องถิ่น เมื่อคณะผู้บริหารท้องถิ่น ได้พิจารณาอนุมัติให้ตั้งงบประมาณยอดใดเป็นงบประมาณประจำปีแล้ว ให้เจ้าหน้าที่งบประมาณรวบรวม และจัดทำเป็นร่างงบประมาณรายจ่ายเสนอต่อคณะผู้บริหารท้องถิ่นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อคณะผู้บริหารท้องถิ่นได้นำเสนอต่อสภาท้องถิ่น ภายในวันที่ 15 สิงหาคม • ข้อ 7 ในกรณีที่งบประมาณรายจ่ายประจำปีออกใช้ไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อน
ข้อ 22 ให้ใช้แผนพัฒนา อปท. เป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณ ให้หัวหน้าหน่วยงาน(ตามโครงสร้าง) จัดทำประมาณการรายรับ และประมาณการรายจ่าย และให้หัวหน้าหน่วยงานคลังรวบรวมรายการการเงินและสถิติต่างๆ ของทุกหน่วยงานเพื่อใช้ประกอบการคำนวณขอตั้งงบประมาณเสนอต่อเจ้าหน้าที่งบประมาณ 25 การพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างงบประมาณรายจ่ายของสภาท้องถิ่น และการพิจารณาอนุมัติร่างงบประมาณรายจ่ายของผู้มีอำนาจอนุมัติให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของ อปท. แต่ละรูปแบบ ข้อ 39 ให้ อปท.จัดส่งสำเนางบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณ รายจ่ายเพิ่มเติมที่ได้รับอนุมัติให้ประกาศใช้แล้วไปยัง ผวจ. สำหรับ อบต. ให้ส่งนายอำเภอ หรือ ป.ผู้เห็นหัวหน้าประจำกิ่ง อ. เพื่อทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นสุดการประกาศโดยเปิดเผย ณ สำนักงาน อปท.
การพิจารณาร่างประมาณรายจ่าย ตามพรบ.สภาตำบลฯ และระเบียบ มท.ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมของสภาท้องถิ่น พ.ศ. 2547 • มาตรา 87(วรรคสาม) เมื่อสภา อบต. เห็นชอบด้วยร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมแล้ว ให้เสนอนายอำเภอเพื่อขออนุมัติ และให้นายอำเภอพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัติดังกล่าว (วรรคสี่) ถ้านายอำเภอไม่อนุมัติต้องแจ้งเหตุผลและส่งคืนให้สภา อบต. เพื่อพิจารณาทบทวนร่างข้อบัญญัตินั้นใหม่ หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วนายอำเภอพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ให้ถือว่านายอำเภออนุมัติร่างข้อบัญญัติดังกล่าว
(วรรคหก) ในการพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม สภา อบต.ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่ได้รับร่างข้อบัญญัตินั้น เพื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ถ้าสภา อบต.พิจารณาไม่แล้วเสร็จให้ถือว่าสภา อบต. ให้ความเห็นชอบตามที่ นายก อบต.เสนอและให้ดำเนินการตามวรรคสามต่อไป • ระเบียบ มท.ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมของสภาท้องถิ่นฯ • ข้อ 45 (วรรคแรก) ญัตติร่างข้อบัญญัติที่ประชุมสภาท้องถิ่นต้องพิจารณาเป็นสามวาระ แต่ที่ประชุมสภาท้องถิ่นจะอนุมัติให้พิจารณาสามวาระรวดเดียวก็ได้
(วรรคสาม) ญัตติร่างข้อบัญญัติงบประมาณจะพิจารณาสามวาระรวดเดียวไม่ได้ และในการพิจารณาวาระที่สอง ให้กำหนดระยะเวลาเสนอคำขอแปรญัตติไว้ไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่สภาท้องถิ่นมีมติรับหลักการแห่งร่างข้อบัญญัติงบประมาณนั้น • ข้อ 49 ญัตติร่างข้อบัญญัตติที่สภาท้องถิ่นลงมติรับหลักการแล้ว ถ้าจะต้องส่งให้คณะกรรมการแปรญัตติพิจารณา ให้ประธานสภาท้องถิ่นส่งร่างข้อบัญญัตินั้นไปให้คณะกรรมการแปรญัตติพิจารณาโดยละเอียด และที่ประชุมสภาท้องถิ่นจะต้องกำหนดระยเวลาเสนอคำแปรญัตติต่อคณะกรรมการแปรญัตติด้วย • ข้อ 59 การแปรญัตติร่างข้อบัญญัติงบประมาร จะกระทำได้เฉพาะการขอลดรายจ่ายหรือการขอลดจำนวนเงินที่ขออนุญาตจ่าย และต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองเช่นเดียวกับการเสนอญัตติ
ข้อ 59 (วรรคสอง) คำแปรญัตติให้เสนอล่วงหน้าต่อประธานคณะกรรมการแปรญัตติภายในระยะเวลาที่สภาท้องถิ่นกำหนดตามข้อ 45 วรรคสามและข้อ 49 วรรคหนึ่ง • ข้อ 60 ห้ามไม่ให้แปรญัตติ รายจ่ายขึ้นใหม่ หรือเพิ่มเติมรายจ่าย หรือเปลี่ยนแปลงความประสงค์ของจำนวนเงินที่ขอนุมัติจ่าย เว้นแต่จะได้รับคำรับรองจากผู้บริหารท้องถิ่น หรือคำแปรญัตตินั้นผู้บริหารท้องถิ่นเป็นผู้แปรญัตติ
ข้อห้ามในการแปรญัตติร่างข้อบัญญัติงบประมาณ ตามพรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลฯ • มาตรา 87(วรรคแปด) ในการพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม สมาชิกสภา อบต.จะแปรญัตติเพิ่มเติมรายการหรือจำนวนในรายการไม่ได้ แต่อาจแปรญัตติได้ในทางลดหรือรายจ่าย ซึ่งไม่ได้เป็นรายจ่ายที่เป็นเงินส่งใช้เงินกู้ หรือเงินที่กำหนดให้จ่ายตามกฎหมาย และในการพิจารณาของสภาตำบล การเสนอ การแปรญัตติ หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภา อบต.มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่ายจะกระทำมิได้
กรณีสภา อบต.ไม่รับหลักการแห่งร่างข้อบัญญัติงบประมาณ • ตามมาตรา 87/1 • ภายใน 7 วันนับแต่สภา อบต. ไม่รับหลักการ ให้นายอำเภอแต่งตั้งคณะกรรมการจำนวน 7 คน ประกอบด้วย สมาชิกสภา อบต. จำนวน 3 คน และบุคคลที่นายก อบต.เสนอ(มิได้เป็นสมาชิกสภา อบต.)จำนวน 3 คน(วรรคสอง) • ภายใน 7 วันนับแต่เมื่อครบ 6 คนแล้ว ให้ปรึกษากันและเสนอบุคคลอื่น (ยกเว้นบุคคลต้องห้าม อาทิ นายก อบต. รองนายกฯ เลขาฯนายกฯ และสมาชิกฯ) ทำหน้าทีประธานกรรมการ 1 คน(วรรคสอง) • หากภายใน 7 วันไม่สามารถหาประธานได้ ให้นายอำเภอแต่งตั้งบุคคลอื่น (ยกเว้นบุคคลต้องห้ามตามข้อ 2) ทำหน้าที่ประธานกรรมการ(วรรคสาม)
กรณีสภา อบต.ไม่รับหลักการแห่งร่างข้อบัญญัติงบประมาณฯ 4. คณะกรรมการ มีอำนาจหน้าที่พิจารณาหาข้อยุติความขัดแย้งโดยแก้ไข ปรับปรุง หรือยืนยันสาระสำคัญที่บัญญัติไว้ในร่างข้อบัญญัตินั้น ทั้งนี้ ให้ยึดหลักเกณฑ์ ทั้งนี้ ให้ยึดหลักเกณฑ์ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประโยชน์ของท้องถิ่นและประชาชนเป็นสำคัญ(วรรคหนึ่ง) 5. คณะกรรมการ พิจารณาร่างข้อบัญญัติให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้แต่งตั้งประธานกรรมการและรายงานให้นายอำเภอทราบ หากพิจารณาไม่แล้วเสร็จในระยะเวลาดังกล่าว ให้ประธานกรรมการรวบรวมผลการพิจารณาแล้ววินิจฉัยชี้ขาดโดยเร็วแล้วรายงานต่อนายอำเภอ(วรรคสี่)
กรณีสภา อบต.ไม่รับหลักการร่างข้อบัญญัติงบประมาณฯ 6. นายอำเภอส่งร่างข้อบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ หรือประธานกรรมการ ให้ นายก อบต.โดยเร็ว แล้วให้นายก อบต. เสนอร่างข้อบัญญัติดังกล่าวต่อสภาฯ ตาม ม.87 ภายในเจ็ดวันนับแต่ได้รับ หากไม่เสนอร่างฯต่อสภาให้นายอำเภอรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อสั่งให้นายก อบต.พ้นจากตำแหน่ง 7. สภา อบต. พิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนี้ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน นับแต่ได้รับจากนายก อบต. หากสภา อบต.พิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดนี้ หรือมีมติไม่เห็นชอบ ให้นายอำเภอเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อให้มีคำสั่งยุบสภา อบต.