290 likes | 482 Vues
จังหวัดตรังขอต้อนรับ ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ด้วยความยินดียิ่ง. การประชุมชี้แจง กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
E N D
จังหวัดตรังขอต้อนรับ ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ด้วยความยินดียิ่ง
การประชุมชี้แจง กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2551 ห้องประชุมพระยารัษฎา ศาลากลางจังหวัดตรัง ชั้น 5
วิสัยทัศน์ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน (8.2) (ตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง) เป็นศูนย์กลางการผลิต การตลาดภาคเกษตร มุ่งสู่สากล เป็นเอกแห่งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม พร้อมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ประเด็นยุทธศาสตร์ • การพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการผลิต การตลาดภาคเกษตร และ OTOP • การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และวัฒนธรรม ควบคู่ไปกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน • การพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ • การพัฒนาระบบบริหารงานให้มีความเป็นเลิศ
วิสัยทัศน์ จังหวัดตรัง สวรรค์แห่งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พัฒนาการเกษตรสู่สากล ประเด็นยุทธศาสตร์ • การพัฒนาการผลิตภาคการเกษตร และ OTOP • การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม ควบคู่ไปกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคมให้มีคุณภาพ • การเสริมสร้างความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ
1 กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
1. กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ • มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผลตามแผนปฏิบัติ ราชการ • ผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการ กลุ่มจังหวัด • ผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการจังหวัด • มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการ • การเสริมสร้างธรรมาภิบาล • ความพึงพอใจของผู้รับบริการ • การพัฒนาศูนย์บริการร่วม มิติที่ 2 (ร้อยละ 20) • มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ • ประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน • การรักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ มิติที่ 1 (ร้อยละ 50) มิติที่ 3 (ร้อยละ 10) มิติที่ 4(ร้อยละ 20) • มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กร • การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
1. กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
1. กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
1. กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ วิเคราะห์ตามพันธกิจของหน่วยงาน คำรับรอง ทราบรายละเอียดของ กรอบการประเมินผลของจังหวัด วิเคราะห์ตามความต้องการของประชาชน ต้องเป็นประโยชน์กับประชาชน ต้องท้าทาย ต้องเป็นประโยชน์กับรัฐ
2 รายละเอียดตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
1. ระดับความสำเร็จในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ปาล์มน้ำมันชุมชน คือ การรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในระดับเทศบาล/ตำบล เป็นสมาชิกศูนย์การเรียนรู้ปาล์มน้ำมันชุมชน เพื่อกำหนดแผนจัดการความรู้ เรื่องปาล์มน้ำมัน โดยจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ และร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามแผนจัดการความรู้ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม
2. ระดับความสำเร็จในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด คือ พิจารณาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการตามแผนงาน/ โครงการ / กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ส่งผลให้หมู่บ้าน/ ชุมชนที่มีผู้เสพและผู้ติดถูกนำเข้าสู่ระบบชุมชนบำบัด หรือเข้าสู่ระบบบังคับบำบัดของทางราชการ และไม่มีผู้เสพรายใหม่ ไม่มีปัญหาของการแพร่ระบาดของยาเสพติด หรือมีการแพร่ระบาดระดับเบาบาง คือ มีผู้เสพไม่เกิน 3 คนต่อประชากร 1,000 คน
3. ระดับความสำเร็จในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว เป็นการดำเนินการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างยั่งยืน เช่น -การสร้างการรับรู้แก่ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยว -การสร้างความเข้าใจเพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว -การสร้างจิตสำนึกให้ชุมชนในพื้นที่ได้ตระหนัก หวงแหนและร่วมกันอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวของตน
4. ระดับความสำเร็จในการเพิ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สนับสนุนการท่องเที่ยว หมายถึง การเพิ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นที่สนับสนุนการท่องเที่ยว ในปีงบประมาณ 2551 อย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์ (เฉพาะประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ของใช้/ ของที่ระลึก/ ของประดับ สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร)
5. ระดับความสำเร็จของการดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เป็นตัวชี้วัดวัดระดับความสำเร็จในการที่แต่ละหน่วยงานดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องที่ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
6. ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ ชุมชนตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พิจารณาจากผลสำเร็จของการสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ ชุมชนตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างน้อย 5 โครงการ
7. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาศูนย์บริการร่วมหรือเคาน์เตอร์บริการประชาชน “ศูนย์บริการร่วม” คือ หน่วยให้บริการประชาชนที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของจังหวัด โดยนำงานบริการที่หลากหลายทั้งที่มีและไม่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันจากหลายหน่วยงานในสังกัดจังหวัด มาจัดบริการ ณ จุดบริการเดียวกันซึ่งตั้งอยู่ในสถานที่ราชการ ทั้งนี้ โดยความร่วมมือของจังหวัดในสังกัดจังหวัด หน่วยงานสนับสนุนจากภาครัฐหรือหน่วยงานภายในกำกับของรัฐ รวมถึงหน่วยงานภาคเอกชน ศูนย์บริการร่วมอาจให้บริการเฉพาะในเวลาราชการหรือทั้งในและนอกเวลาราชการ รวมทั้งมีการจัดระบบงานให้เจ้าหน้าที่จากแต่ละหน่วยงานที่ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์บริการร่วมสามารถให้บริการแทนกันได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถดำเนินการได้หลายเรื่องพร้อมกันในคราวเดียวไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสอบถาม การขอทราบข้อมูล การขออนุญาต หรือการขออนุมัติในเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวข้องกันแล้วแต่กรณีโดยติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว
เกณฑ์มาตรฐานศูนย์บริการร่วม เฉพาะเกณฑ์ชี้วัดบังคับ
เกณฑ์มาตรฐานศูนย์บริการร่วม เฉพาะเกณฑ์ชี้วัดบังคับ
เกณฑ์มาตรฐานศูนย์บริการร่วม เฉพาะเกณฑ์ชี้วัดบังคับ
8. ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงาน ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงานจะพิจารณาจากความครบถ้วนของข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า ข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการจัดทำดัชนีการใช้พลังงาน และพิจารณาปริมาณพลังงานที่แต่ละหน่วยงานใช้จริง โดยเปรียบเทียบกับปริมาณพลังงานมาตรฐานที่หน่วยงานควรจะใช้อย่างเหมาะสมตามปัจจัยที่มีผลต่อการใช้พลังงานของหน่วยงาน โดยแบ่งน้ำหนัก ร้อยละ 5 ในตัวชี้วัดนี้เป็น 2 ส่วน เท่าๆ กัน คือ 1. ไฟฟ้า น้ำหนัก ร้อยละ 2.5 2. น้ำมัน น้ำหนัก ร้อยละ 2.5 สูตรการคำนวณค่าดัชนีการใช้พลังงาน ค่าดัชนีการใช้ไฟฟ้า/น้ำมัน =ค่าการใช้ไฟฟ้า/น้ำมันมาตรฐาน – ค่าการใช้ไฟฟ้า/น้ำมันจริง ค่าการใช้ไฟฟ้า/น้ำมันจริง
8. ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงาน 1. ไฟฟ้า คะแนนการประเมินผลด้านไฟฟ้าของส่วนราชการ คิดจากคะแนนเฉลี่ยของหน่วยงานในสังกัด ทั้งหมด โดยเกณฑ์การให้คะแนนของแต่ละหน่วยงาน มีรายละเอียด ดังนี้
8. ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงาน • น้ำมัน • คะแนนการประเมินผลด้านน้ำมันของส่วนราชการ คิดจากคะแนนเฉลี่ยของหน่วยงาน • ในสังกัดทั้งหมด โดยเกณฑ์การให้คะแนนของแต่ละหน่วยงาน มีรายละเอียด ดังนี้
9. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการรักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ • พิจารณาจากระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของผู้รับบริการที่ได้รับบริการตามรอบระยะเวลามาตรฐาน โดยเปรียบเทียบกับผู้รับบริการทั้งหมดในแต่ละกระบวนงานบริการ • รอบระยะเวลามาตรฐาน หมายถึง ระยะเวลาเฉลี่ยที่หน่วยงานสามารถดำเนินการลดได้จริง และได้แจ้งระยะเวลาเฉลี่ยดังกล่าวเป็นผลการปฏิบัติราชการ ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2547- พ.ศ. 2550 แล้วแต่กรณี และหน่วยงานสามารถดำเนินการลดรอบระยะเวลาได้ตั้งแต่ร้อยละ 30 ขึ้นไป จำนวนผู้รับบริการที่ได้รับบริการตามมาตรฐานเวลา X 100 สูตรการคำนวณ จำนวนผู้รับบริการที่ได้รับบริการทั้งหมดในแต่ละกระบวนงาน
9. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการรักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ
9. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการรักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ • ให้หน่วยงานคัดเลือกกระบวนงานจำนวนไม่น้อยกว่า 3 กระบวนงาน โดยกระบวนงานดังกล่าวต้องเป็นกระบวนงานที่สามารถลดระยะเวลาการให้บริการได้ตั้งแต่ ร้อยละ 30 ขึ้นไปเรียบร้อยแล้ว เพื่อนำมาประเมินผลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 • กระบวนงานที่คัดเลือกมาประเมินผลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 นี้ ต้องเป็นกระบวนงานหลักที่สำคัญของหน่วยงาน และมีจำนวนผู้ใช้บริการมาก หรือพิจารณาว่าส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก หรือมีผู้ร้องเรียนจำนวนมาก • ให้ระบุน้ำหนักที่จัดสรรให้แต่ละกระบวนงานที่หน่วยงานเสนอเพื่อนำไปประเมินผลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 โดยกำหนดให้มีการถ่วงน้ำหนักตามลำดับความสำคัญของกระบวนงาน หากไม่ระบุน้ำหนัก ให้ถือว่าทุกกระบวนงานมีน้ำหนักเท่ากัน • ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานแสดงข้อมูลผู้ใช้บริการและระยะเวลาให้บริการรายกระบวนงานตามแบบฟอร์ม 2 โดยแนบเป็นเอกสารหลักฐานให้กับผู้ประเมินมาพร้อมกับรายงานการประเมินผลตนเองตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ (Self Assessment Report) รอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน)
10. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) หมายถึง ความสำเร็จที่จังหวัดนำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งเป็นกรอบการประเมินระดับมาตรฐานสากลไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการประเมินองค์กรด้วยตนเอง (Self-Assessment) และเป็นบรรทัดฐานการติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการของจังหวัด เพื่อปรับปรุงองค์กรและยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการของจังหวัดสู่ระดับมาตรฐานสากล
10. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) รายชื่อหลักฐานสำคัญ หมวด 1 หมวด 3 และหมวด 6 (จำนวน 12 รายการ)
ถาม-ตอบ บริษัท ทีซิส คอนเซาท์ จำกัด อ. ชาญชัย ดีอ่วม 081-840-6001E-mail : chanchai@tsisconsult.com อ. ปิยะ มณีวงศ์ 081-342-6394 E-mail :piya@tsisconsult.com