1 / 21

โครงการ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงาน ด้วยชุมชนนักปฏิบัติ

โครงการ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงาน ด้วยชุมชนนักปฏิบัติ. C ommunity o f P ractice. หลักการและเหตุผล. มี นโยบายและให้ความสำคัญในเรื่องของ การจัดการความรู้ ใน การนำไปใช้ พัฒนากระบวนงานของผู้ปฏิบัติงาน ภายในหน่วยงานให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ

serge
Télécharger la présentation

โครงการ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงาน ด้วยชุมชนนักปฏิบัติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงานด้วยชุมชนนักปฏิบัติโครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงานด้วยชุมชนนักปฏิบัติ Community of Practice

  2. หลักการและเหตุผล • มีนโยบายและให้ความสำคัญในเรื่องของการจัดการความรู้ ในการนำไปใช้พัฒนากระบวนงานของผู้ปฏิบัติงานภายในหน่วยงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ • สามารถพัฒนาส่วนงานไปสู่สถาบันแห่งการเรียนรู้ ตามแผนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์สู่สถาบันการเรียนรู้ • สอดคล้องกับแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาในองค์ประกอบที่ 7

  3. หลักการและเหตุผล จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรสายปฏิบัติการของคณะวิทยาศาสตร์ ได้มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพงานประจำของตนผ่านชุมชนนักปฏิบัติ เปิดโอกาสให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนนักปฏิบัติที่มีแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อกระตุ้นให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในลักษณะที่ใกล้เคียงกัน รวมตัวเพื่อก่อตั้งเป็นชุมชนนักปฏิบัติกลุ่มใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น

  4. วัตถุประสงค์ • เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรสายปฏิบัติการ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพงานของตน ผ่านชุมชนนักปฏิบัติ

  5. หลักเกณฑ์การจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ 1. เป็นบุคลากรสังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมตัวกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะพัฒนาวิธีการทำงานให้ดีขึ้น และมีความเชื่อมั่นในค่านิยมของคณะวิทยาศาสตร์ SCI-CMU ได้แก่ • Successการมุ่งความสําเร็จตามเป้าหมาย • Competitivenessการขยายความสามารถในการแข่งขัน • Innovativenessการสร้างสรรค์ภูมิปัญญานวัตกรรม • Collaborationการทํางานร่วมกันเป็นทีม • Moralityการยึดมั่นในศีลธรรมความดี • Unityการรู้รักสามัคคีเพื่อองค์กร

  6. ภายใต้เงื่อนไขของหลักเกณฑ์ทั่วไปของการจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ ดังนี้ • ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน • มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน • วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือและภาษาเดียวกัน • มีความเชื่อ และยึดมั่นคุณค่าเดียวกัน • มีบทบาทในการสร้างและใช้ความรู้ • มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริงหรือผ่านเทคโนโลยี • มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย • มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง • มีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้าแข็งให้แก่กันในทางสังคม

  7. หลักเกณฑ์การจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ (ต่อ) 2. มีแผนการดำเนินงานในรอบปีที่ชัดเจน มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สม่ำเสมอต่อเนื่อง และไม่เป็นอุปสรรคต่องานประจำ 3. มีการรายงานผลการดำเนินงานทุก 6 เดือน ผ่านความเห็นชอบของผู้บังคับบัญชา โดยสรุปประเมินผลการดำเนินงานตามแผนองค์ความรู้ที่ได้จากแต่ละกิจกรรม ปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนาชุมชนนักปฏิบัติของตนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  8. หลักเกณฑ์การจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ (ต่อ) 4. ไม่เน้นการศึกษาดูงาน หรือใช้งบประมาณนอกสถานที่ 5. คณะวิทยาศาสตร์ มีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน 6. ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนการจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติตามแบบฟอร์มที่คณะวิทยาศาสตร์กำหนด โดยคณะกรรมการจะพิจารณาอนุมัติการจัดตั้งปีละ 1 ครั้ง

  9. วิธีการประเมิน • โดยคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงานด้วยชุมชนนักปฏิบัติ

  10. ลักษณะโดยทั่วไปของชุมชนนักปฏิบัติลักษณะโดยทั่วไปของชุมชนนักปฏิบัติ • คนกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งทำงานด้วยกันมาระยะหนึ่ง มีเป้าหมายร่วมกันและต้องการที่จะแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน • โดยกลุ่มดังกล่าวมักจะไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งโดยองค์กร แต่เป็นกลุ่มที่เกิดจากความต้องการทางสังคม และความพยายามที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ เป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีการกำหนดไว้ในแผนภูมิโครงสร้างองค์กร • ในหนึ่งองค์กรอาจจะมีชุมชนนักปฏิบัติจำนวนมาก และคนคนหนึ่งอาจเป็นสมาชิกในหลายชุมชนก็ได้

  11. โดยสามารถแบ่งลักษณะได้เป็น 6 แบบ • แบบกลุ่มเล็ก และกลุ่มใหญ่ • แบบเป็นทางการ (Public)-เปิดเผย และไม่เป็นทางการ (Private)-ส่วนตัว • แบบบนลงล่าง (Top Down) และรากหญ้า (Grass Root) • แบบแยกฝ่าย และคละฝ่าย • แบบคนในองค์กรกับคนในองค์กร และคนในองค์กรกับคนนอกองค์กร • แบบระหว่างคน-คน และระหว่างคน-สื่อ-คน

  12. ประเภทของชุมชนนักปฏิบัติประเภทของชุมชนนักปฏิบัติ • Helping Communities เพื่อแก้ปัญหาประจำวัน และแลกเปลี่ยนแนวคิดในกลุ่มสมาชิก • Best Practice Communities เน้นการพัฒนาตรวจสอบและเผยแพร่แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ • Knowledge-Stewarding Communities เพื่อจัดระเบียบยกระดับ และพัฒนาความรู้ที่สมาชิกใช้เป็นประจำ

  13. สรุปการยื่นขอจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ ประจำปีงบประมาณ 2556 1. ชุมชนนักปฏิบัติงานบริหารทั่วไป 2. การปฏิบัติงานด้านการเงิน 3. การปฏิบัติงานพัสดุไม่ยากอย่างที่คิด 4. GuRuงานวิชาการ 5. Living Library ห้องสมุดมีชีวิต

  14. Questions?

  15. ชุมชนนักปฏิบัติงานบริหารทั่วไปชุมชนนักปฏิบัติงานบริหารทั่วไป • จำนวนสมาชิก 63 คน • สังกัด งานบริหารทั่วไป • งบประมาณที่ได้รับจัดสรร 9,450.- บาท • ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา • จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานร่วมกัน จำนวน 1 ครั้ง (มกราคม 2556) • จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เทคนิคการเขียนโครงการ การสร้างแบบประเมินและติดตามผลตามแนวทางประกันคุณภาพการศึกษา” (11 เมษายน 2556) • ปัญหาและอุปสรรค • การนัดประชุมค่อนข้างยาก เนื่องจากภาระงานประจำของสมาชิกมีมาก

  16. ชุมชนนักปฏิบัติ การปฏิบัติงานด้านการเงิน • จำนวนสมาชิก 51 คน • สังกัด งานการเงิน การคลังและพัสดุ • งบประมาณที่ได้รับจัดสรร 7,650.- บาท • ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา • จัดประชุมสมาชิกร่วมกัน • จัดทำรายงานการประชุมการจัดการความรู้ด้านการเงิน จำนวน 3 ครั้ง • จัดทำรวบรวมประกาศ มช. , กำหนดประเภทรายจ่าย รายการและเงื่อนไขการจ่ายเงิน เพื่อแจกให้สมาชิก • จัดทำสรุปอัตราเปรียบเทียบการเบิกจ่ายค่าเดินทางไปราชการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ • รวบรวมประกาศเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินการเรียนการสอน • ส่งเจ้าหน้าที่การเงิน จำนวน 3 คน เข้ารับการอบรม แล้วกลับนำมาเสนอในกลุ่มสมาชิก • จัดทำช่องทางเผยแพร่ข่าวสารผ่านเว็บไซต์ของหน่วยการเงินฯ

  17. ชุมชนนักปฏิบัติ การปฏิบัติงานด้านการเงิน (ต่อ) • ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน • วางแผนจะไปศึกษาดูงานหน่วยงานภายนอก แต่ไม่ได้ดำเนินการเนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอ • วางแผนไว้ว่าจะกำหนดช่องทางการเผยแพร่ข่าวสาร คลังความรู้ ไว้ 5 ช่องทาง แต่ดำเนินการได้แค่ 3 ช่องทาง ได้แก่ การจัดทำเอกสารเผยแพร่ , การประชุมในกลุ่ม และเว็บไซต์ของหน่วยการเงินฯ • สมาชิกมีจำนวนมาก ทำให้ยากต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

  18. ชุมชนนักปฏิบัติ การปฏิบัติงานพัสดุไม่ยากอย่างที่คิด • จำนวนสมาชิก 21 คน • สังกัด หน่วยการพัสดุ • งบประมาณที่ได้รับจัดสรร 3,150.- บาท • ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา • จัดประชุมสมาชิกร่วมกัน • จัดทำรายงานการประชุมการจัดการความรู้ด้านพัสดุ จำนวน 6 ครั้ง • จัดทำแบบฟอร์มถาม – ตอบ ด้านพัสดุ • จัดทำบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์แจกสมาชิก • จัดทำวารสารบริหารพัสดุปีละ 2 เล่ม

  19. ชุมชนนักปฏิบัติ การปฏิบัติงานพัสดุไม่ยากอย่างที่คิด (ต่อ) • ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน • วางแผนจะไปศึกษาดูงานหน่วยงานภายนอก แต่ไม่ได้ดำเนินการเนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอ • วางแผนไว้ว่าจะกำหนดช่องทางการเผยแพร่ข่าวสาร คลังความรู้ ไว้ 5 ช่องทาง แต่ดำเนินการได้แค่ 3 ช่องทาง ได้แก่ การจัดทำวารสาร , แบบถามตอบ และการประชุมในกลุ่ม

  20. ชุมชนนักปฏิบัติ GuRuงานวิชาการ • จำนวนสมาชิก 28 คน • สังกัด งานบริการการศึกษาและพัฒนาคุณภาพนักศึกษา • งบประมาณที่ได้รับจัดสรร 4,200.- บาท • ผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา • จัดประชุมเครือข่ายงานบริการการศึกษาฯ กับคณะอื่น ๆ (10 พ.ค.56) • จัดประชุมการปฏิบัติงานหน่วยทะเบียนและประมวลผล และหน่วยส่งเสริมและพัฒนาทางวิชาการ จำนวน 4 ครั้ง • ปรับปรุงเว็บไซต์งานบริการการศึกษาฯ โดยเพิ่มหัวข้อ LO-การบริหารจัดการงานวิชาการ(ทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มคลังความรู้) • ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน • งานประจำมีมากและอย่างต่อเนื่อง ทำให้เวลาที่ใช้ในการดำเนินงานลดลง

  21. ชุมชนนักปฏิบัติ Living Library ห้องสมุดมีชีวิต • จำนวนสมาชิก 7 คน • สังกัด ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • งบประมาณที่ได้รับจัดสรร 2,000.- บาท • ผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา • กิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมวัฒนธรรมใส่เสื้อพื้นเมืองในวันศุกร์ • กิจกรรม Focus Group แนวคิดการพัฒนาห้องสมุดฯในอนาคต • ประชุมสมาชิกกลุ่ม • ปัญหาและอุปสรรค • ไม่มี

More Related