1 / 81

วิชา การขนส่งด้วยรถยนต์

วิชา การขนส่งด้วยรถยนต์. การจัดขบวนลำเลียง ( Convoy Organization ). ขบวน คือ ยานยนต์กลุ่มหนึ่ง ตั้งแต่ 2 คันขึ้นไปเคลื่อนที่ไปด้วยกันจากแห่งหนึ่ง ไปยังแห่งหนึ่ง เพื่อความมุ่งหมายในเรื่องการควบคุมการเคลื่อนย้าย อย่างมีระเบียบภายใต้การบังคับบัญชาของบุคคลคนเดียว.

shalom
Télécharger la présentation

วิชา การขนส่งด้วยรถยนต์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชา การขนส่งด้วยรถยนต์

  2. การจัดขบวนลำเลียง (Convoy Organization ) ขบวน คือ ยานยนต์กลุ่มหนึ่ง ตั้งแต่ 2 คันขึ้นไปเคลื่อนที่ไปด้วยกันจากแห่งหนึ่ง ไปยังแห่งหนึ่ง เพื่อความมุ่งหมายในเรื่องการควบคุมการเคลื่อนย้าย อย่างมีระเบียบภายใต้การบังคับบัญชาของบุคคลคนเดียว ขบวนลำเลียง คือ กลุ่มของยานพาหนะ ตั้งแต่ 6 คัน หรือมากกว่า กำลังเคลื่อนที่ บนเส้นทางเดียวกัน ภายใต้การบังคับบัญชา ของ ผบ. ขบวน

  3. ความมุ่งหมายการจัดขบวนลำเลียงความมุ่งหมายการจัดขบวนลำเลียง 1. รวมการบังคับบัญชาไว้ระดับสูงสุด 2. เป็นหลักประกันการจัดส่งกำลังพล ยุทธภัณฑ์ และสิ่งอุปกรณ์ ให้ทันตามกำหนดเวลา และตามความเร่งด่วน 3. รักษาความคล่องตัว กับ สถานการณ์ทางยุทธวิธี 4. ใช้เกณฑ์บรรทุกให้เกิดประสิทธิภาพ 5. สะดวกในการจัดการระวังป้องกันในขณะเคลื่อนย้าย

  4. การจัดรูปขบวนลำเลียง แบ่งได้ 3 ระดับ 1. หน่วยการเคลื่อนที่ ( March Units ) 2. ตอนการเคลื่อนที่ ( March Serials ) 3. ขบวนการเคลื่อนที่ ( March Columns )

  5. การจัดรูปขบวนลำเลียง

  6. 1. หน่วยการเคลื่อนที่ ส่วนย่อยเล็กที่สุดของขบวนการเคลื่อนที่ ประกอบด้วย ยานพาหนะ ไม่เกิน 20 คัน ( ขนาด ตอน – หมวด ) ปกติ รถสายพาน กับ รถยนต์ใช้ล้อ จะไม่จัดไว้ในหน่วยการเคลื่อนที่เดียวกัน เว้น สถานการณ์ทางยุทธวิธีบังคับ

  7. 2. ตอนการเคลื่อนที่ เป็นกลุ่มของหน่วยการเคลื่อนที่ 2 – 5 หน่วยการเคลื่อนที่ ( ขนาด กองร้อย – กองพัน ) 3. ขบวนการเคลื่อนที่ เป็นกลุ่มของตอนการเคลื่อนที่ 2 – 5 ตอนการเคลื่อนที่ ( ขนาด กองพัน – กรม )

  8. ส่วนประกอบของขบวนลำเลียงส่วนประกอบของขบวนลำเลียง 1. หัวขบวน ( HEAD ) 2. ตัวขบวน ( MAN BODY ) 3. ท้ายขบวน ( TRAIL )

  9. 1. หัวขบวน คือ รถคันแรก ของขบวนลำเลียง เป็นรถของผู้กำกับความเร็ว ซึ่งมีหน้าที่รักษาการเดินทางให้เป็นไปตามอัตราการเคลื่อนที่ และ เส้นทางที่กำหนด 2. ตัวขบวน คือ ยานพาหนะต่อจากต้นขบวน ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของขบวนลำเลียง

  10. 3. ท้ายขบวน คือ ส่วนสุดท้ายของขบวนลำเลียง มีนายทหาร/นายสิบ ท้ายขบวน ซึ่งมีหน้าที่ป้องกันการแตกแยกของขบวนลำเลียง ,รักษาระเบียบวินัย, ปฐมพยาบาล , การตรวจการผ่านพ้น หน้าที่สำคัญ คือ การซ่อมบำรุงฉุกเฉิน และลากจูงรถเสียให้พ้นการจราจร

  11. การวางตำแหน่งยานพาหนะการวางตำแหน่งยานพาหนะ 1. ยานพาหนะที่บรรทุกกระสุนและน้ำมันต้องสนใจมากเป็นพิเศษ ควรให้กระจาย อยู่ตามส่วนต่างของการเคลื่อนที่ระยะต่อระหว่างยานพาหนะห่างมากขึ้น 2. ยานพาหนะที่หนัก หรือช้า ไว้ที่หัวขบวน เพื่อช่วยในการรักษาความเร็ว 3. ยานพาหนะบัญชาการ และ ควบคุม อยู่ตรงที่สามารถควบคุมขบวนลำเลียง 4. รถซ่อมบำรุง และรถกู้ ไว้ท้ายสุดของหน่วยการเคลื่อนที่ และ ท้ายสุดของ ขบวนลำเลียง 5. ยานพาหนะที่ไม่สามรถกำหนดที่วางได้ ให้รถบรรทุกที่ต้องเสียเวลาขนลง นานที่สุดอยู่ต้นขบวนของส่วนการเคลื่อนที่

  12. แบบของรูปขบวน มี 3 แบบ 1. รูปขบวนปิด 2. รูปขบวนเปิด 3. รูปขบวนแทรกซึม

  13. 1. รูปขบวนปิด เป็นรูปขบวนที่ยานพาหนะแต่ละคันในหน่วยการเคลื่อนที่มารวมกันให้หนาแน่น เพื่อลดช่วงถนนและความยาวเป็นเวลาให้น้อยที่สุด ใช้เมื่อ ทัศนวิสัยไม่ดี เวลากลางคืน เส้นทางที่ทำเครื่องหมายไม่ดี ย่านชุมชน 2. รูปขบวนเปิด เป็นรูปขบวนที่มีระยะต่อระหว่างยานพาหนะมากกว่ารูปขบวนปิด เพื่อกระจาย ยานพาหนะ ทำให้ ขศ. สังเกตการณ์ หรือ โจมตีได้ยากใช้เมื่อ ฝนตกหนัก ทัศนวิสัยดี เวลากลางวัน ทางหลวง เส้นทางที่ทำเครื่องหมายดี

  14. 3. รูปขบวนแทรกซึม เป็นรูปขบวนที่ยานพาหนะในขบวนที่เป็นคัน ๆ หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ( 4 – 5 คัน ) มีระยะต่อไม่สม่ำเสมอ เป็นรูปขบวนที่มีการกระจายมากที่สุด เป็นการป้องกัน การตรวจการณ์ และโจมตี จาก ขศ. ดีที่สุด แต่ยากในการควบคุม ใช้เมื่อ รักษาความลับ ความปลอดภัย การลวง การเคลื่อนย้ายของส่วนล่วงหน้า เวลากลางวันพื้นที่คับคั่ง การจราจรที่หนาแน่น ผ่านข้ามเส้นทาง

  15. แบบของรูปขบวน

  16. รูปแบบของขบวนในเวลากลางคืนรูปแบบของขบวนในเวลากลางคืน

  17. การควบคุมขบวนลำเลียง 2 วิธี 1. การควบคุมระดับหน่วย 2. การควบคุมระดับพื้นที่

  18. 1. การควบคุมระดับหน่วย โดยหน่วยที่เคลื่อนย้าย ปฏิบัติทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการเคลื่อนย้าย การควบคุมระดับหน่วยที่มีประสิทธิภาพต้องมีวินัยการเคลื่อนที่ ( ความรับผิดชอบการบังคับบัญชา การควบคุม และ การฝึกระดับหน่วยที่ได้ผล ) 2. การควบคุมระดับพื้นที่ ปฏิบัติโดย ผู้บังคับบัญชาที่ควบคุมพื้นที่ / ภูมิประเทศที่ขบวนลำเลียงเคลื่อนที่ผ่าน ปกติ ปฏิบัติผ่านการควบคุมการเคลื่อนย้ายในนาม การจัดระเบียบทางหลวง - นายทหารขนส่งกองพล ( DTO ) การวางแผน ให้กับพื้นที่ส่วนหลังของกองพล - หน่วยควบคุมการเคลื่อนย้าย ( MC ) การวางแผน ให้กับพื้นที่ส่วนหลังของกองทัพน้อย - หน่วยควบคุมการเคลื่อนย้ายยุทธบริเวณ ( TMCA ) การวางแผนให้กับเขตหลัง

  19. จุดควบคุมที่จำเป็นบนเส้นทางการเคลื่อนย้ายจุดควบคุมที่จำเป็นบนเส้นทางการเคลื่อนย้าย • 1. จุดเริ่มต้น ( Start Point - SP ) • 2. จุดแยกขบวน ( Release Point - RP ) • 3. จุดคับขัน ( Critical Point - CP ) • 4. จุดลงรถ ( Detrucking Point - DP ) • 5. จุดสำคัญอื่น ๆ

  20. 1.จุดเริ่มต้น ( Start Point - SP )เป็นตำบลที่กำหนดขึ้น เพื่อให้หน่วย • ทั้งสิ้นในขบวนเริ่มการเคลื่อนย้าย โดยผ่านจุดร่วมอันเดียวกัน ซึ่งนับจากตำบลนี้ • ไปแล้วการเคลื่อนย้ายจะอยู่ในสภาพการควบคุมตามแผน • 2.จุดแยกขบวน ( Release Point - RP ) เป็นตำบลที่หน่วยทั้งสิ้นในขบวน • แยกการควบคุมออกจากผู้บังคับขบวน กลับไปขึ้นการควบคุมและการบังคับบัญชา • ต่อผู้บังคับบัญชาของตน เป็นจุดสุดท้ายของการปฏิบัติเป็นขบวนก่อนที่จะแยกย้าย • เข้าที่พักแรม พื้นที่รวมพล หรือตำบลส่งกำลัง • 3.จุดคับขัน ( Critical Point - CP ) เป็นตำบลที่อยู่ในเส้นทางการเคลื่อนย้าย • และเป็นอุปสรรคในการเคลื่อนย้ายของขบวน

  21. 4. จุดลงรถ ( Detrucking Point - DP ) เป็นตำบลที่หน่วยทั้งสิ้น ในขบวนเคลื่อนที่จากจุดแยกขบวน มาหยุด ณ ตำบลนี้ เพื่อขนกำลังพลและ สิ่งอุปกรณ์ลงจากรถ 5. จุดสำคัญอื่น ๆ เป็นตำบลที่กำหนดขึ้น เพื่อเป็นเครื่องช่วยในการ กำกับดูแล และควบคุมการเคลื่อนย้ายของหน่วย เช่น จุดควบคุม จุดตรวจ หรือจุดผ่าน เป็นต้น

  22. ประเภททางหลวง ประเทศไทย แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ( ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 ) 1. ทางหลวงพิเศษ 2. ทางหลวงแผ่นดิน 3. ทางหลวงชนบท 4. ทางหลวงเทศบาล 5. ทางหลวงสุขาภิบาล 6. ทางหลวงสัมปทาน

  23. 1. ทางหลวงพิเศษคือ ทางหลวงที่ได้ออกแบบเพื่อให้การจราจรผ่านได้ ตลอดรวดเร็วเป็นพิเศษ ซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศกำหนดให้เป็นทางหลวงพิเศษ และกรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างขยาย บูรณะและบำรุงรักษา และ ได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงพิเศษ 2. ทางหลวงแผ่นดิน คือ ทางหลวงสายหลักที่เป็นโครงข่ายเชื่อมระหว่าง ภาค จังหวัด อำเภอ ตลอดจนสถานที่ที่สำคัญ ที่กรมทางหลวงเป็นผู้ ดำเนินการก่อสร้าง ขยายบูรณะและบำรุงรักษาและได้ลงทะเบียนไว้เป็น ทางหลวงแผ่นดิน 3. ทางหลวงชนบทคือ ทางหลวงนอกเขตเทศบาลและเขตสุขาภิบาล ที่องค์การบริหาร ส่วนจังหวัด กรมโยธาธิการหรือสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างขยายบูรณะและบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็น ทางหลวงชนบท

  24. 4. ทางหลวงเทศบาล คือ ทางหลวงในเขตเทศบาล ที่เทศบาลเป็นผู้ ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็น ทางหลวงเทศบาล 5. ทางหลวงสุขาภิบาลคือ ทางหลวงในเขตสุขาภิบาลที่สุขาภิบาลเป็น ผู้ดำเนินการ ก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษาและได้ลงทะเบียนไว้เป็น ทางหลวงสุขาภิบาล 6. ทางหลวงสัมปทาน คือ ทางหลวงที่รัฐบาลได้ให้สัมปทานตามกฎหมาย ว่าด้วยทางหลวงที่ได้รับสัมปทานและได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงสัมปทาน

  25. ทางหลวงประเภทต่าง ๆ ให้ลงทะเบียนไว้ดังต่อไปนี้ 1.ทางหลวงพิเศษและทางหลวงแผ่นดิน อธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้จัดให้ลง ทะเบียน ไว้ ณ กรมทางหลวงโดยอนุมัติรัฐมนตรี 2. ทางหลวงสัมปทาน อธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ กรมทางหลวง 3. ทางหลวงชนบท ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ ศาลากลาง จังหวัด เมื่อได้รับความยินยอมจากอธิบดีกรมโยธาธิการ หรือเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบท แล้ว แต่กรณี 4. ทางหลวงเทศบาล นายกเทศมนตรีเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ สำนักงาน เทศบาล โดยอนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัด 5. ทางหลวงสุขาภิบาล ประธานกรรมการสุขาภิบาล เป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ สำนักงานสุขาภิบาล โดยอนุมัติอธิบดีกรมโยธาธิการ

  26. ระบบหมายเลขทางหลวง • 1. แสดงที่ตั้งของทางหลวง • 1.1 ทางสายใด ที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 1 แสดงว่าทางสายนั้นอยู่ในภาคเหนือ • 1.2 ทางสายใด ที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 2 แสดงว่าทางสายนั้นอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ • 1.3 ทางสายใด ที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 3 แสดงว่าทางสายนั้นอยู่ในภาคกลางและตะวันออก • 1.4 ทางสายใด ที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 4 แสดงว่าทางสายนั้นอยู่ในภาคใต้

  27. 2. การจำแนกระบบหมายเลขทางหลวง2. การจำแนกระบบหมายเลขทางหลวง • 2.1 ทางหลวงที่มีหมายเลขตัวเดียว หมายถึง ทางหลวงแผ่นดินสายประธานเชื่อม • การจราจรระหว่างภาคต่อภาค ในปัจจุบันมีอยู่ 4 สาย คือ • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ( ถนนพหลโยธิน ) จากกรุงเทพฯ - เชียงราย • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ( ถนนมิตรภาพ ) จากสระบุรี - หนองคาย • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ( ถนนสุขุมวิท ) จากกรุงเทพฯ - ตราด • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ( ถนนเพชรเกษม ) จากกรุงเทพฯ - อ.สะเดาจ.สงขลา • 2.2 ทางหลวงที่มีหมายเลขสองตัว หมายถึง ทางหลวงแผ่นดินสายประธาน • ตามภาคต่าง ๆเช่นทางหลวงแผ่นดินสายประธานหมายเลข 22 เป็นทางหลวงแผ่นดิน • สายประธานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สายอุดรธานี - นครพนม เป็นต้น

  28. 2.3 ทางหลวงที่มีหมายเลขสามตัวหมายถึง ทางหลวงแผ่นดินสายรอง เช่น ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 202 เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรอง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สายชัยภูมิ – เขมราฐ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 314 เป็นทางหลวงแผ่นดิน สายรองในภาคกลาง สายบางปะกง - ฉะเชิงเทรา เป็นต้น 2.4 ทางหลวงที่มีหมายเลขสี่ตัวหมายถึง ทางหลวงแผ่นดินที่เชื่อมระหว่างจังหวัด กับอำเภอหรือสถานที่สำคัญของจังหวัดนั้น เช่น ทางหลวงหมายเลข 1001 เป็นทางหลวง ในภาคเหนือสายแยกทางหลวงหมายเลข 11 - อ.พร้าว ทางหลวงหมายเลข 4006 เป็น ทางหลวงในภาคใต้ สายแยกทางหลวง หมายเลข 4 (ราชกรูด) - หลังสวน เป็นต้นสำหรับ ทางหลวงพิเศษและทางหลวงสัมปทาน อาจจะเป็นทางสายใดตอนใดก็ได้ ซึ่งได้ประกาศ ให้เป็นทางหลวงพิเศษทั้งนี้ยังคงใช้หมายเลขทางหลวงตามหมายเลขเดิมเช่น ทางหลวง พิเศษหมายเลข 7 เป็นทางหลวงพิเศษสายกรุงเทพ – ชลบุรี ( สายใหม่ ) เป็นต้น

  29. ทางหลวงเอเซียในประเทศไทยทางหลวงเอเซียในประเทศไทย การพัฒนาทางหลวงเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากจะดำเนิน การ ณ. จุดที่เชื่อมต่อระหว่างกันแล้ว ภายในประเทศได้มีการปรับปรุงทางหลวงเป็นโครงข่ายส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเซียที่ผ่านเข้ามาในประเทศไทยอีก เป็นระยะทาง 3,430 กม.

  30. วัตถุประสงค์ของโครงการทางหลวงเอเชียวัตถุประสงค์ของโครงการทางหลวงเอเชีย เพื่อปรับปรุงและร่วมมือกันพัฒนาการขนส่ง ระหว่างประเทศ เมืองอุตสาหกรรม ท่าเรือ สถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งการค้าสำคัญ ๆ ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวมี สมาชิก 15 ประเทศ เข้าร่วมในโครงการทางหลวงเอเซีย ประกอบด้วยอัฟกานิสถาน บังคลาเทศ กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย เวียดนาม จีน พม่า และมองโกเลีย โครงข่ายทางหลวงเอเซียมีระยะทาง 68,307 กม. เชื่อมโยง 15 ประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก จุดเริ่มต้นที่ทวีปยุโรป ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตก เชื่อมโยงไปยังประเทศเวียดนามและฟิลิปปินส์ซึ่งอยู่ทางตะวันตก ประเทศอินโดนีเซียซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศศรีลังกา ซึ่งอยู่ทางด้านใต้

  31. สาย A-1 เริ่มต้นจากเขตแดนพม่าที่ อ.แม่สอดไปตามทางหลวงหมายเลข 105 ถึง จ.ตาก เลี้ยวขวา ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ถึง อ.พยุหคีรี ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 32 ถึง อ.บางปะอิน เลี้ยวขวาไปตามทางหลวง หมายเลข1 ถึง อ.หินกอง เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 33 ผ่าน จ.นครนายก ปราจีนบุรีจดชายแดนเขมรที่ อ.อรัญประเทศเป็นทางลาดยางตลอดระยะทางประมาณ 698 กม. สาย A-2 เริ่มต้นจากเขตแดนพม่าที่ อ.แม่สายไปตามทางหลวงหมายเลข 110 ถึง จ.เชียงราย ตรงไปตาม ทางหลวงหมายเลข 1 ถึง อ.พยุหะคีรี ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 32 ถึง อ.บางปะอิน เลี้ยวขวาไปทางหลวงหมายเลข 1 ถึงกรุงเทพ ฯ และจากกรุงเทพ ฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ผ่าน จ.นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร แล้วตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 41 ถึง จ.พัทลุง เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ผ่าน อ.หาดใหญ่ และไปจดชายแดนมาเลเซียที่ อ.สะเดา สภาพทางลาดยางแล้วตลอดสายระยะทางประมาณ 1,945 กม. สาย A-3 เริ่มต้นจากแยกสาย A-2 ที่จ.เชียงราย ไปตามทางหลวงหมายเลข 1020 แล้วเลี้ยวไปตามทางหลวง หมายเลข 1152 แล้วเลี้ยวซ้ายอีกครั้งไปตามทางหลวงหมายเลข 1020 ไปจดเขตแดนลาวที่ อ.เชียงของ เป็นทาง ลาดยางตลอดสายระยะทางประมาณ 115 กม .

  32. สาย A-12 เริ่มต้นจากแยกสาย A-1 ที่สามแยกหินกองไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ถึง จ.สระบุรี เลี้ยวขวาไป ตามทางหลวงหมายเลข 2 ผ่าน จ.นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี สิ้นสุดที่หนองคาย สภาพทางลาดยางแล้วตลอดสาย ระยะทางประมาณ 524 กม. สาย A-15 เริ่มต้นจากแยกสาย A-12 ที่ จ.อุดรธานี ไปตามทางหลวงหมายเลข 22 ผ่าน จ.สกลนคร สิ้นสุด ที่ จ.นครพนม สภาพทางลาดยางตลอดระยะทางประมาณ 241 กม. สาย A-18 เริ่มต้นจากแยกสาย A-2 ที่ อ.หาดใหญ่ ไปตามทางหลวงหมายเลข 43 แล้วเลี้ยวซ้ายไปตาม ทางหลวงหมายเลข 42 ผ่าน จ.ปัตตานีไปจนถึง จ.นราธิวาส จากนั้นไปตามทางหลวงหมายเลข 4056 ไปจนจดเขตแดน มาเลเซียที่ อ.สุไหงโกลก เป็นทางลาดยางตลอดสาย ระยะทางประมาณ 275 กม.

  33. การคำนวณการเคลื่อนย้ายหน่วยทหารด้วยรถยนต์การคำนวณการเคลื่อนย้ายหน่วยทหารด้วยรถยนต์ • ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง • 1.ปัจจัยระยะทาง • 2.ปัจจัยเวลา • 3.ปัจจัยความเร็ว

  34. ปัจจัยระยะทาง 1. ความยาวขบวน ( RS ) คือ ระยะห่างจากหน้ายานพาหนะคันแรกถึงท้ายยานพาหนะ คันสุดท้ายของขบวน 2. ระยะต่อ คือ ระยะห่างระหว่างยานพาหนะ หรือ ส่วนประกอบของขบวน หรือระยะห่างระหว่างขบวนที่แล่นตามกัน วัดได้จากท้ายสุดของหน่วยหนึ่ง ไปยังหน้าสุดของหน่วยถัดไป 3. ระยะนำ คือ ระยะห่างระหว่างยานพาหนะ หรือ ส่วนประกอบของขบวน หรือ ระยะห่างระหว่างขบวนที่แล่นตามกัน วัดได้จากหน้าสุดของหน่วยหนึ่งไปยัง หน้าสุดของหน่วยถัดไป ระยะนำ = ความยาวของตัวรถ + ระยะต่อ =ความยาวของส่วนประกอบของขบวน + ระยะต่อ

  35. 4. ระยะทาง คือ ระยะทางบนถนนที่ขบวนเดินทางจากจุดเริ่มต้น (SP) ถึงจุดแยกขบวน (RP) 5. ระยะทางผ่านพ้น คือ ระยะทางทั้งสิ้นที่ขบวนจะต้องผ่านส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ จุดใดจุดหนึ่งที่กำหนดให้บนเส้นทางการเคลื่อนย้าย ระยะทางผ่านพ้นจุดใดจุดหนึ่ง = ความยาวของขบวน 6. ช่วงถนน คือ ความยาวทั้งสิ้นบนถนนที่ขบวน หรือส่วนประกอบของขบวน ครอบคลุมอยู่รวมกับระยะทางปลอดภัย หรือระยะทางเพื่อการอ่อนตัว ช่วงถนน = ความยาวของขบวน + ระยะปลอดภัย

  36. ปัจจัยเวลา • 1. ความยาวขบวนเป็นเวลา ( Time Length TL ) คือ เวลาที่ขบวน หรือ • ส่วนประกอบของขบวนเคลื่อนที่ผ่านจุด ๆ หนึ่งที่กำหนดให้ • 2. ระยะต่อเป็นเวลา คือ ช่วงเวลาหนึ่งที่ใช้ในการผ่านจุด ๆ หนึ่งที่กำหนดให้ • นับจากท้ายขบวน หรือส่วนประกอบของขบวน ถึงหัวขบวนหรือส่วนประกอบ • ของขบวนถัดไป • 3. ระยะนำเป็นเวลา คือ ช่วงเวลาหนึ่งที่ใช้ในการผ่านจุด ๆ หนึ่งที่กำหนดให้ • นับจากหัวขบวน หรือส่วนประกอบของขบวน ถึงหัวขบวนหรือส่วนประกอบ • ของขบวนถัดไป • 4. ระยะทางเป็นเวลา ( Time Distance TD ) คือ เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่จาก • จุดเริ่มต้น ( SP ) ไปถึงจุดแยกขบวน ( RP ) ด้วยอัตราความเร็วที่กำหนด

  37. 5. เวลาผ่านพ้น คือ เวลาทั้งสิ้นที่ขบวน หรือส่วนประกอบของขบวนใช้ในการ เดินทางผ่านพ้นส่วนใดส่วนหนึ่งหรือจุดใดจุดหนึ่งที่กำหนดบนเส้นทาง มีค่าเท่ากับ ระยะทางเป็นเวลา + ความยาวขบวนเป็นเวลา เวลาผ่านพ้น = TD + TL 6. ช่วงถนนเป็นเวลา คือ เวลาที่ขบวน หรือส่วนประกอบของขบวนผ่านพ้น ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือจุดใดจุดหนึ่งที่กำหนดบนเส้นทาง รวมด้วยเวลาปลอดภัย หรือเวลาเพื่อการอ่อนตัว ช่วงถนนเป็นเวลา = TL + เวลาปลอดภัย

  38. ปัจจัยความเร็ว 1. ความเร็ว ( Speed ) คือ ความสามารถในการเคลื่อนที่ของยานพาหนะ ในห้วงเวลาหนึ่ง ที่วัดได้จากเครื่องวัดความเร็ว มีหน่วยวัดเป็น ไมล์ / ชม. หรือ กม. / ชม. 2. ความเร็วที่กำหนด ( Pace ) คือ ความเร็วที่ผู้กำกับความเร็วกำหนดให้แก่ขบวน หรือส่วนประกอบของขบวน โดยความเร็วนี้ต้องปรับอยู่ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับ สภาพของเส้นทาง 3. อัตราความเร็ว ( Rate ) คือ ระยะทางเฉลี่ยของการเคลื่อนที่ภายในเวลา ที่กำหนด ซึ่งรวมการพักช่วงสั้น ๆ และความล่าช้าอื่น ๆ ไว้ด้วยแล้ว มีหน่วยวัดเป็น ไมล์ / ชม. หรือ กม. / ชม. อัตราความเร็ว = ร ระยะทาง เวลา อ ว

  39. ตัวคูณความเร็ว ( คร. ) เป็นการหาระยะต่อของยานพาหนะในขบวน จะกำหนดด้วยตัวเลข 1 , 2 , 3 , 4 หรือมากกว่า เมื่อตัวคูณความเร็วคูณกับความเร็วของยานพาหนะ ที่แสดงเป็น ไมล์ / ชม. จะได้ระยะต่อเป็น หลา ถ้าความเร็วของยานพาหนะ เป็น กม. / ชม. จะได้ระยะต่อเป็น เมตร เช่น ความเร็วของยานพาหนะ 20 ไมล์ / ชม. ใช้ คร. 3 จะได้ระยะต่อ = 3 X 20 = 60 หลา ความเร็วของยานพาหนะ 30 กม. / ชม. ใช้ คร. 2 จะได้ระยะต่อ = 2 X 30 = 60 เมตร

  40. ตัวอย่างการคำนวณ หาระยะต่อ และระยะต่อเป็นเวลา • กำหนดให้รถวิ่งด้วยความเร็ว 20 กม. / ชม. , 30 กม. / ชม. , 40 กม. / ชม. , • 50 กม. / ชม. และ 60 กม. / ชม. และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ใช้ตัวคูณความเร็ว 2 • 2 X 20 = 40 เมตร • 2 X 30 = 60 เมตร • 2 X 40 = 80 เมตร • 2 X 50 = 100 เมตร • 2 X 60 = 120 เมตร • สรุป การรักษาระยะต่อโดยใช้ตัวคูณความเร็ว จะทำให้เกิดผลต่อการปฏิบัติ ดังนี้ • ระยะต่อจะเปลี่ยนแปลงไปตามความเร็วของรถ

  41. กำหนดให้รถวิ่งด้วยความเร็ว 20 กม. / ชม. , 30 กม. / ชม. , 40 กม. / ชม. , 50 กม. / ชม. และ 60 กม. / ชม.และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ใช้ตัวคูณความเร็ว 3 3 X 20 = 60 เมตร ระยะต่อเป็นเวลา = X 60 X 60 = 10.8 วินาที 3 X 30 = 90 เมตร ระยะต่อเป็นเวลา = X 60 X 60 = 10.8 วินาที 3 X 40 = 120 เมตร ระยะต่อเป็นเวลา = X 60 X 60 = 10.8 วินาที 3 X 50 = 150 เมตร ระยะต่อเป็นเวลา = X 60 X 60 = 10.8 วินาที 3 X 60 = 180 เมตร ระยะต่อเป็นเวลา = X 60 X 60 = 10.8 วินาที สรุป การรักษาระยะต่อโดยใช้ตัวคูณความเร็ว จะทำให้เกิดผลต่อการปฏิบัติ ดังนี้  ระยะต่อเป็นเวลาจะคงที่เสมอแม้ว่าความเร็วของรถจะเปลี่ยนแปลงไป 60 20 X 1000 90 30 X 1000 120 40 X 1000 150 50 X 1000 180 60 X 1000

  42. การรักษาระยะต่อของพลขับจะกระทำได้ 3 วิธี • 1. การใช้ตัวคูณความเร็ว ( ระยะต่อเป็นระยะทาง ) • 2. การใช้ความยาวของรถ ( ระยะต่อเป็นระยะทาง ) • 3. การนับเป็น 2 เท่าของตัวคูณความเร็ว ( ระยะต่อเป็นเวลา ) • นับครั้งละ 1 วินาที (คงที่) (คร.) • 2 X 1 = 2 นับ 2 ครั้ง = 2 วินาที • 2 X 2 = 4นับ 4 ครั้ง = 4 วินาที • 2 X 3 = 6 นับ 6 ครั้ง = 6 วินาที • 2 X 4 = 8นับ 8 ครั้ง = 8 วินาท

  43. ตัวอย่างการคำนวณหาความยาวของขบวนตัวอย่างการคำนวณหาความยาวของขบวน • ( ทราบจำนวนรถ และ คร. ) • 1. หน่วยการเคลื่อนที่ที่ 1 มีรถ 40 คัน ความยาวของรถแต่ละคัน 10 เมตร เมื่อขบวน • วิ่ง ด้วยความเร็ว 30 กม. / ชม. คร. 3 ขบวนนี้มีความยาวทั้งสิ้นเท่าไร • ความยาวของรถ 40 คัน = 40 X 10 = 400 ม. …………(1) • ระยะต่อแต่ละคัน = 3 X 30 = 90 ม. • มี 39 ระยะต่อ = 39 X 90 = 3510 ม. .…………(2) • หน่วยการเคลื่อนที่นี้มีความยาวทั้งสิ้น = (1) + (2) • = 400 + 3510 = 3,910 ม. • = 3.91 กม.

  44. 2.ตอนการเคลื่อนที่หนึ่ง มี 2 หน่วยการเคลื่อนที่ แต่ละหน่วยมียานพาหนะ 25 คัน ระยะต่อหน่วยการเคลื่อนที่ 2 นาที ยานพาหนะยาว 10 ม. ใช้อัตราความเร็ว 30 กม. / ชม. คร. 2 ขบวนนี้มีความยาวทั้งสิ้นเท่าไร และเวลาผ่านพ้นของขบวนเท่าไร ความยาวของยานพาหนะทั้งหมด 50 คัน = 50 X 10 = 500 ม. ……(1) ระยะต่อแต่ละคัน = 2 X 30 = 60 ม. หน่วยการเคลื่อนที่ 1 มี 24 ระยะต่อ = 24 X 60 = 1440 ม. …… (2) หน่วยการเคลื่อนที่ 2 มี 24 ระยะต่อ = 24 X 60 = 1440 ม. ……(3) ระยะต่อหน่วยการเคลื่อนที่ 1 - 2 = 2 นาที อัตราความเร็ว 30 กม. / ชม. 60 นาที ได้ระยะทาง 30  1,000 ม. 2 “ --------------- “ 30 X 1,000  2 = 1,000 ม. …………(4) 60 ตอนการเคลื่อนที่นี้มีความยาวทั้งสิ้น = (1) + (2) + (3) + (4) = 500 + 1440 + 1440 + 1,000 = 4,380 ม. = 4.38 กม.

  45. หาเวลาผ่านพ้นของขบวน • อัตราความเร็ว 30 กม. / ชม. • ระยะทาง 30 กม. ใช้เวลาในการผ่านพ้น 60 นาที • ขบวนยาว 4.38 กม. “ --------------------- “ 60 X 4.38 = 8.76 นาที • 30 • เวลาผ่านพ้นของขบวนนี้ประมาณ 9 นาที

  46. ความหนาแน่นการจราจร  • ปริมาณการจราจร • ความหนาแน่นการจราจร ( ใช้ระยะทางเป็นหลัก ) • คือ จำนวนยานพาหนะโดยเฉลี่ยที่อยู่บนถนนในระยะทาง 1 ไมล์ หรือ 1 กม. • มีหน่วยเป็น คัน / ไมล์ หรือ คัน / กม. หรือพูดง่าย ๆ ว่า ใน 1 กม. • จะมียานพาหนะกี่คัน • ปริมาณการจราจร( ใช้เวลาเป็นหลัก ) • คือ จำนวนยานพาหนะโดยเฉลี่ยที่วิ่งผ่านจุดใดจุดหนึ่งในห้วงระยะเวลา 1 ชม. • มีหน่วยเป็น คัน / ชม. หรือ พูดง่าย ๆ ว่า ใน 1 ชม. จะมียานพาหนะวิ่งผ่านจุด • ที่กำหนดกี่คัน

  47. การคำนวณหาความยาวของขบวนการคำนวณหาความยาวของขบวน • ความยาวของขบวนแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ • 1.ความยาวของขบวนเป็นระยะทาง ( Road Space - RS ) • 2.ความยาวของขบวนเป็นเวลา ( Time Length - TL )

  48. การคำนวณหา RS กระทำได้ 2 วิธี • 1. ใช้ความยาวของรถ ความยาวของขบวน ( RS ) = ผลรวมความยาวของรถ + ผลรวมของระยะต่อ ตัวอย่างการคำนวณ หน่วยการเคลื่อนที่ 1 มีรถ 22 คันเดินทางจาก SP ไปยัง RP ด้วยอัตราความเร็ว 30 กม. / ชม. รักษาระยะต่อด้วยตัวคูณความเร็ว 2 ความยาวของรถ 10 เมตร จงหา RS RS = ผลรวมความยาวของรถ + ผลรวมของระยะต่อ ผลรวมความยาวของรถ = 22 x 10 = 220 เมตร ผลรวมของระยะต่อ =( 30 x 2 ) x 21 = 1260 เมตร RS= 220 + 1260 = 1480 ม. หรือ 1.48 กม.

  49. ตอนการเคลื่อนที่ 1 มี 3 หน่วยการเคลื่อนที่ แต่ละหน่วยการเคลื่อนที่มีรถ 16 คัน เดินทางจาก SP ไปยัง RP โดยมีระยะต่อระหว่างหน่วยการเคลื่อนที่เป็นเวลา 2 นาที ขบวนนี้ใช้อัตราความเร็ว 36 กม. / ชม. รักษาระยะต่อด้วยตัวคูณความเร็ว 2 ความยาวของรถ 10 เมตร จงหา RS แต่ละหน่วยการเคลื่อนที่มี RS= ผลรวมความยาวของรถ + ผลรวมของระยะต่อ = ( 16 x 10 ) + ( 36 x 2 x 15 ) เมตร = 160 + 1080 = 1240 เมตร ความยาวทั้งสิ้น = 3 x 1240 = 3720 เมตร หรือ 3.72 กม. ระยะต่อเป็นเวลา = 2 + 2 = 4 นาที เวลา 60 นาที ได้ระยะทาง 36 กม. “ 4 “ -------------- “ 36 x 4 = 2.4 กม. 60 RS ทั้งสิ้น = 3.72 + 2.4 = 6.12 กม.

More Related