1 / 44

การปลดหนี้สุดขอบฟ้า

การปลดหนี้สุดขอบฟ้า. ชีวิต ครอบครัว พ่อแม่ ต้องมาก่อน. หนี้...มาจากไหน ?. ไม่มีวินัยการเงิน ใช้-จ่ายไม่มีการวางแผน ใช้จ่ายเงินเกินตัว เกินกำลัง ฟุ่มเฟือย บ้าบอล ชอบเล่นการพนัน มัวเมาสุรา ยาเสพติด มีภาระครอบครัวมาก ต้องส่งเสียทั้งลูกเมียและพ่อแม่ หางานทำไม่ได้ หรือเพิ่งถูกไล่ออกจากงาน

shea-oneill
Télécharger la présentation

การปลดหนี้สุดขอบฟ้า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การปลดหนี้สุดขอบฟ้า ชีวิต ครอบครัว พ่อแม่ ต้องมาก่อน

  2. หนี้...มาจากไหน ? • ไม่มีวินัยการเงิน ใช้-จ่ายไม่มีการวางแผน • ใช้จ่ายเงินเกินตัว เกินกำลัง ฟุ่มเฟือย • บ้าบอล ชอบเล่นการพนัน มัวเมาสุรา ยาเสพติด • มีภาระครอบครัวมาก ต้องส่งเสียทั้งลูกเมียและพ่อแม่ • หางานทำไม่ได้ หรือเพิ่งถูกไล่ออกจากงาน • กู้เงินเอามาลงทุนแต่ธุรกิจฝืดเคือง • กู้เงินมาหมุนเพื่อเอามากินมาใช้ เพื่ออาไปใช้หนี้ของอีกเจ้าหนึ่งและอีกเจ้าหนึ่ง

  3. หนี้ในระบบ - หนี้นอกระบบ

  4. หนี้ในระบบ • หนี้ในระบบ คือ หนี้ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย สัญญาระบุหนี้ไว้เท่าไร ลูกหนี้ก็ได้รับเงินตามที่ระบุไว้ในสัญญา และเจ้าหนี้ก็เรียกเก็บดอกเบี้ยไม่เกินที่กฎหมายกำหนด

  5. หนี้ในระบบ • เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน บริษัทเงินทุนต่าง ๆ ที่ให้บริการสินเชื่อ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยตามที่ทางราชการกำหนด • เจ้าหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งให้กู้ยืมเงินกฎหมายให้คิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี หรือ ร้อยละ 5 สลึงต่อเดือนเท่านั้น • เจ้าหนี้สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงค์) ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวน 28 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อต่าง ๆ ทั้งสินเชื่อเงินสด สินเชื่อเช่าซื้อสินค้า หรือบัตรเครดิต ซึ่งยังเป็นข้อถกเถียงในเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่จะให้เรียกเก็บเกินร้อยละ 15 ต่อปีมาเป็นร้อยละ 28 ต่อปีได้หรือไม่

  6. หนี้นอกระบบ • คือหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประเภท กู้ 30,000 บาท แต่ในสัญญาเขียน 300,000 คิดดอกเบี้ยร้อยละ 120 ต่อปี อย่างที่เห็นโฆษณาเงินด่วนที่ปะอยู่ตามเสาไฟฟ้า หรือสะพานลอย

  7. ดอกเบี้ยตามกฎหมายอยู่ที่เท่าไหร่ดอกเบี้ยตามกฎหมายอยู่ที่เท่าไหร่ • ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.654 ให้เรียกเก็บดอกเบี้ยได้เพียงไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปีเท่านั้น การเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราจึงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย มีโทษทางอาญา ฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  8. ทำไมธนาคารถึงคิดดอกเบี้ยได้มากกว่าร้อยละ 15 • เนื่องจาก มีการอ้างถึงความจำเป็นในสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่เปลี่ยนไปและความอยู่รอดทางธุรกิจของสถาบันการเงินต่าง ๆ รัฐบาลจึงได้ออกกฎหมายที่ชื่อ “พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523” ขึ้นมา และมีการแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 (พ.ศ.2524) และฉบับที่ 3 (พ.ศ.2535) ซึ่งทั้งหมดมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกเว้นการบังคับใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 654 และอนุญาตให้สถาบันการเงินเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ 15 ต่อปีได้ โดยรัฐมนตรีกระทรวงการคลังเป็นผู้ประกาศอัตราดอกเบี้ยตามคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย

  9. ทำไมนอนแบงค์คิดดอกเบี้ยได้ถึงร้อยละ 28 • เมื่อ มิ.ย. 2548 กระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 ม.ค.2515 ที่ว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน ออกประกาศกำหนดให้ธุรกิจสินเชื่อที่มีลักษณะกิจการคล้ายธนาคาร(Nonbank) เหล่านี้ให้เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตและให้อยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย (ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 28 ราย)

  10. ทำไมนอนแบงค์คิดดอกเบี้ยได้ถึงร้อยละ 28 • ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศตามมาเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยรวมกับค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมของสินเชื่อส่วนบุคคลไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี โดยแบ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ที่เหลืออีกร้อยละ 13 คือค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียม ให้มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 ก.ค. 2548

  11. การใช้กระแสเงินสด ชดใช้เฉพาะหนี้ที่ถูกกฎหมาย หยุดชำระหนี้ เพื่อรอขึ้นศาล แนวทางการปลดหนี้

  12. การตามทวงหนี้โหด การถูกฟ้องศาล การถูกยึดทรัพย์ อายัดเงินเดือน สิ่งที่ลูกหนี้จะเจอเมื่อหยุดชำระหนี้

  13. การตามทวงหนี้โหด • ทวงแบบไม่สุภาพ พูดเหมือนคุณเป็นขี้ข้าคนทวงหนี้ • ทวงไปถึงคนที่มีชื่ออ้างอิงในตอนสมัคร หรือตอนทำสัญญาปรับปรุงหนี้ • ทวงไปถึงพ่อแม่ ญาติพี่น้องที่ต่างจังหวัด • ทวงโดยฝากคำพูดกับผู้รับโทรศัพท์เวลาเราไม่อยู่ที่ทำงาน • ส่งแฟกซ์เข้าที่ทำงานประจานให้คนรับแฟกซ์เห็น และส่งวันหนึ่งหลาย ๆ ครั้ง จนคุณถูกเจ้านายเรียกไปตักเตือน

  14. การตามทวงหนี้โหด • ส่งไปรษณียบัตรไปที่บ้าน • ส่งจดหมายขู่สารพัดจากบริษัททนายตัวแทนสถาบันการเงินต่าง ๆ ล่าสุดมีการทำจดหมายเลียนแบบทำให้ลูกหนี้เข้าใจว่าเป็นคำสั่งศาล และขู่ว่าคุณจะโดนอายัดเงินเดือน ขู่ว่าจะฟ้องเจ้านาย ขู่ว่าคุณจะถูกดำเนินคดีอย่างร้ายแรงภายใน 3 วัน 7 วัน • ฯลฯ

  15. สิ่งควรรู้เกี่ยวกับการทวงหนี้ • ในทางกฎหมายแล้วเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยทางศาลได้ เมื่อมีคำพิพากษาแล้วจักบังคับใช้หนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ • ผู้ถูกทวงหนี้จะต้องมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกู้ยืมเงินเท่านั้น เช่น ลูกหนี้ ลูกหนี้ร่วม หรือผู้ค้ำประกัน เป็นต้น การไปข่มขู่ คุกคาม ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง หรือผู้เกี่ยวข้องกับลูกหนี้ ล้วนเป็นความผิดอาญาฐานกรรโชกทรัพย์ได้

  16. สิ่งควรรู้เกี่ยวกับการทวงหนี้ • การทวงหนี้ที่ใช้พฤติกรรมตัวอย่างเช่น เขียนจดหมายข่มขู่ด้วยวาจาหยาบคายหรือเป็นเท็จ ทำร้ายร่างกาย ด่าทอ กักขัง ทำการรบกวนชีวิตประจำวัน เป็นต้น หากกระทำต่อลูกหนี้หรือสมาชิกในครอบครัว เพื่อน บรรดาผู้ถูกทวงหนี้มีอำนาจแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มคนเหล่านั้นได้ทันที ถ้ามีการทำร้ายบาดเจ็บหรือกักขังหน่วงเหนี่ยว พวกเขาต้องรับโทษอาญาฐานทำร้ายร่างกายหรือทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพอีกคดีหนึ่งด้วย

  17. สิ่งควรรู้เกี่ยวกับการทวงหนี้ 3 • ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 บัญญัติว่า ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ ยอมให้ หรือ ยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่า จะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือ ของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำผิดฐานกรรโชก มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

  18. สิ่งควรรู้เกี่ยวกับการทวงหนี้ 4 • การส่งคำเตือนเรื่องหนี้ด้วยวิธีก้าวร้าวหรือจงใจประจานทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงด้วยวิธีใดๆ อาจเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ และในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 323 ผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่น แล้วเปิดเผยความลับนั้น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  19. สิ่งควรรู้เกี่ยวกับการทวงหนี้ 5 • การกู้เงินเป็นเรื่องส่วนตัว การข่มขู่หรือการนำความลับของลูกหนี้ไปเปิดเผยแก่บุคคลอื่นจึงเป็นความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา ลูกหนี้ที่เจอกับการทวงหนี้ลักษณะเช่นนี้ให้สอบถามรายละเอียดว่าเจ้าหน้าที่คนนั้นชื่ออะไร ทำงานอยู่ที่บริษัทไหน ขอเบอร์โทรกลับ และแจ้งถึงความผิดที่เขาได้กระทำอยู่และสิทธิของคุณที่จะดำเนินการตามกฎหมาย

  20. ควรปรับโครงสร้างหนี้ดีหรือไม่ควรปรับโครงสร้างหนี้ดีหรือไม่ • ไม่แนะนำ • มาตรา 655 ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ แต่ทว่าเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปี คู่สัญญากู้ยืมจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นก็ได้ แต่การตกลงนั้นต้องทำเป็นหนังสือ… • ดังนั้นถ้าไม่มีการตกลงปรับโครงสร้างหนี้ เจ้าหนี้ก็ไม่สามารถคิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระได้

  21. การถูกฟ้องศาล... เรื่องร้ายจะกลายเป็นดี • เป็นการยืดเวลาเพื่อให้ลูกหนี้ได้ตั้งตัว ตั้งสติ • ลูกหนี้มีโอกาสต่อรองลดหนี้กับเจ้าหนี้ในศาลได้ • การบังคับคดีมีความเป็นธรรมมากกว่าการถูกทวงหนี้

  22. การถูกยึดทรัพย์ • เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี หากลูกหนี้ไม่ชำระคืนตาม 30 วัน เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์หรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ โดยให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายยึดและอายัดต่อไป

  23. การถูกยึดทรัพย์ • 1. ทรัพย์สินที่เป็นข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต มูลค่ารวมกัน 50,000 บาทแรกห้ามเจ้าหนี้ยึด ทรัพย์ที่จำเป็นในการดำรงชีพ เช่น โต๊ะกินข้าว เก้าอี้ โทรทัศน์ เครื่องครัว แต่ถ้าเป็นสร้อย แหวน นาฬิกา ของเหล่านี้แม้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของลูกหนี้ แต่เจ้าหนี้ก็มีสิทธิยึดได้เพราะไม่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต

  24. การถูกยึดทรัพย์ • 2. ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือทำมาหากินของลูกหนี้ ถ้ามูลค่ารวมกัน 100,000 บาทแรก ห้ามเจ้าหนี้ยึด เครื่องมือประกอบอาชีพ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร(ถ้าประกอบธุรกิจรับถ่ายเอกสาร) ในกรณีที่เครื่องมือประกอบอาชีพมีราคาสูงกว่า 100,000 บาท และจำเป็นต้องใช้จริง ๆ ก็สามารถขอต่อศาลได้

  25. การถูกยึดทรัพย์ • หากมีเจ้าหนี้หลายราย ทรัพย์ใดถูกยึดไปแล้ว ห้ามเจ้าหนี้รายอื่นมายึดซ้ำ เจ้าหนี้รายใดยึดก่อนก็ได้สิทธิก่อน

  26. การอายัดเงินเดือน โบนัส ค่าตอบแทนต่าง ๆ • ในกรณีที่ลูกหนี้ ไม่มีทรัพย์สินจะให้ยึด เจ้าหนี้จะสืบต่อไปว่าลูกหนี้ทำงานที่ไหน เพื่อจะอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ ซึ่งสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้นี้ ก็เช่น สิทธิที่จะได้รับเงินเดือนจากนายจ้าง ค่าล่วงเวลา เงินโบนัส ค่าจ้างทำของต่าง ๆ เป็นต้น

  27. การอายัดเงินเดือน โบนัสฯ • การสั่งอายัดเงินเดือน ค่าจ้าง ได้แค่ 30% ของเงินเดือน ขณะที่ได้รับหนังสืออายัด โดยคำนวณจากเงินเดือนก่อนหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ภาษี ประกันสังคม • เงินโบนัส อายัดได้ 50%

  28. การอายัดเงินเดือน โบนัสฯ • เงินตอบแทนกรณีลูกหนี้ออกจากงาน อายัดได้ 100% • เงินค่าคอมมิชชั่นอายัดได้ 30%

  29. การอายัดเงินเดือน โบนัสฯ • ในกรณีลูกหนี้ เงินเดือน ไม่ถึง 10,000 บาท ห้ามเจ้าหนี้อายัดเงินเดือน แต่มิได้หมายความว่าหนี้จะหมดไป เพียงแต่แขวนหนี้เอาไว้ก่อน • หากลูกหนี้เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ห้ามเจ้าหนี้อายัดเงินเดือน

  30. การอายัดเงินเดือน โบนัสฯ • เมื่อถูกอายัดเงินเดือน หรือรายได้ใด ๆ ก็ตาม รวมแล้วลูกหนี้ต้องมีเงินเหลืออย่างน้อยเดือนละ 10,000 บาท แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้เงินมากกว่า 10,000 บาท เช่น มีลูกหลายคน ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ หรือมีโรคประจำตัว ก็สามารถยื่นคำร้องต่อศาลให้เพิ่มจำนวนเงินเลี้ยงชีพมากกว่า 10,000 บาทได้ นอกจากนี้ ยังสามารถขอลดหย่อนสัดส่วนการอายัดรายได้ให้น้อยกว่าร้อยละ 30 ได้อีกหากมีความจำเป็น

  31. การอายัดเงินเดือน โบนัสฯ • ในกรณีมีเจ้าหนี้หลายราย เมื่อถูกเจ้าหนี้รายใดอายัดเงินเดือนไปแล้ว ห้ามเจ้าหนี้อื่นอายัดเงินเดือนซ้ำอีก

  32. การฟ้องให้ล้มละลาย • ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว • ลูกหนี้(บุคคลธรรมดา) เป็นหนี้เจ้าหนี้ ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท • ลูกหนี้ (นิติบุคคล) เป็นหนี้เจ้าหนี้ ไม่น้อยกว่า สองล้านบาท • หนี้ที่ถูกฟ้องต้องกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน แม้ว่าหนี้สินนั้นจะถึงกำหนดชำระในอนาคต (ต่างกับการร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ ต้องไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท)

  33. มาตการควบคุมลูกหนี้ • ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดกจำนวนเงิน เพื่อใช้จ่ายเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว • ทุกครั้งที่ลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับทรัพย์สินจะต้องรายงานให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ • ลูกหนี้จะออกไปนอกราชอาณาจักรไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ • ห้ามลูกหนี้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเว้นแต่จะได้กระทำการตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้

  34. การปลดจากการล้มละลาย • ศาลมีคำสั่งปลดจากการล้มละลาย • ปลดจากล้มละลายทันที เมื่อพ้นเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย (โดยศาลไม่ต้องสั่ง)

  35. แนวทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบแนวทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ • การเจรจาเพื่อให้ยอมตัดลดหนี้ให้ลูกหนี้ โดยใช้มาตรการทางภาษีกดดัน • นอกจากมาตรการทางภาษีแล้ว ก็ยังมีกฎหมายเกี่ยวกับความผิดที่เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และความผิดฐานกรรโชกทรัพย์และฟอกเงิน ซึ่งจะนำไปสู่การยึดทรัพย์สินของนายทุนเงินกู้นอกระบบดอกเบี้ยโหดต่อไป

  36. แนวทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบแนวทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ • ประมวลรัษฎากร ม. 91/2(5) ได้บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดประกอบธุรกิจเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น ให้กู้ยืมเงิน มีรายได้จากดอกเบี้ย ต้องปฏิบัติดังนี้ • ขอจดทะเบียนธุรกิจเฉพาะ ถ้าไม่จดทะเบียนถือว่าผิด • ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3 บวกกับภาษีบำรุงท้องถิ่นอีก ร้อยละ 0.3 รวมเป็น ร้อยละ 3.3 • กรมสรรพากรจะตรวจสอบย้อนหลัง 10 ปี หากเจ้าหนี้ไม่เคยยื่นแบบเสียภาษีว่าเคยมีรายได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ เจ้าหนี้ก็จะมีความผิดที่แจ้งฐานภาษีเงินได้ผิดไปจากความเป็นจริง ต้องเรียกชำระเงินเพิ่มอีกหนึ่งเท่า ค่าปรับอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน จนกว่าจะชำระเสร็จ ค่าปรับต้องย้อนหลังไป 10 ปี (120 เดือน)

  37. หนี้จากเสาไฟฟ้า

  38. การเช่าซื้อหรือนิติกรรมอำพราง?การเช่าซื้อหรือนิติกรรมอำพราง? • ปัญหาการไปทำสัญญาเช่าซื้อโดยไม่ได้รับสินค้า โดนฟ้องยักยอกทรัพย์ • การเช่าซื้อ ตามหลักกฎหมาย ตราบใดที่ผู้เช่าซื้อยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ก็ยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ ส่วนผู้เช่าซื้อเป็นได้แค่ผู้ครอบครองและมีสิทธิใช้สอยทรัพย์เท่านั้น ดังนั้น หาก ลูกหนี้ไม่มีสินค้าไปคืน บริษัท A จะโดนแจ้งความดำเนินคดีอาญาในข้อหายักยอกทรัพย์ได้

  39. การเช่าซื้อหรือนิติกรรมอำพราง?การเช่าซื้อหรือนิติกรรมอำพราง? • ความจริงเป็นนิติกรรมอำพราง เพราะเจตนาจริง ๆ คือสัญญากู้เงิน แต่ถูกอำพรางด้วยสัญญาเช่าซื้อสินค้า ที่ฝ่ายผู้ให้กู้ได้รับดอกเบี้ยสูงถึง 50 % ในช่วงเวลา 10 เดือน ซึ่งการกระทำเช่นนี้เจ้าหนี้จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475

  40. การเช่าซื้อหรือนิติกรรมอำพราง?การเช่าซื้อหรือนิติกรรมอำพราง? • วิธีแก้ปัญหา ให้ไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุ เพื่อให้มีการบันทึกว่า มีการทำสัญญาเช่าซื้อแต่ไม่ได้รับสินค้า เป็นนิติกรรมอำพราง

  41. การเช่าซื้อหรือนิติกรรมอำพราง?การเช่าซื้อหรือนิติกรรมอำพราง? • สามารถร้องเรียน ให้ข้อมูลและขอความช่วยเหลือได้ที่ ศูนย์ดำรงธรรมในจังหวัดต่าง ๆ หรือ สายด่วน โทร. 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือทางไปรษณีย์ จ่าหน้าซอง ส่ง "ศูนย์ดำรงธรรม" กรุงเทพมหานคร ตู้ ป.ณ.1 ปณฝ.มหาดไทย กรุงเทพ ฯ 10206 • คดีหนี้นอกระบบ ติดต่อ CallCenter 1157

  42. อายุความของหนี้ • หนี้บัตรเครดิต 2 ปี • หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล 5 ปี • เมื่อมีคำสั่งศาลให้ชำระหนี้แล้วมีอายุความ 10 ปี

  43. เครดิตบูโรคืออะไร • เครดิตบูโร คือ องค์กรที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อรวบรวมข้อมูลเครดิตของสถาบันการเงิน ในช่วงเริ่มแรกมีการตั้งองค์กรขึ้นมา 2 องค์กร คือบริษัท ข้อมูลเครดิตไทย และบริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง ต่อมาเมื่อมี พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2546 สองบริษัทนี้ได้มารวมกันเปลี่ยนเป็น บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เมื่อ พ.ค. 2548 ถูกเรียกกันง่าย ๆ ว่า “เครดิตบูโร” • สถานที่ติดต่อ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (NCB)999/9 ชั้น 10 อาคารสำนักงานเซ็นทรัลเวิลด์ ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330โทร : (66) 0-2612-5800 แฟกซ์ : (66) 0-2612-5801-2

  44. ชื่อจะถอดออกจากเครดิตบูโรได้เมื่อไรชื่อจะถอดออกจากเครดิตบูโรได้เมื่อไร • เมื่อชำระหนี้หมดแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ บูโร เก็บข้อมูลการชำระหนี้ไว้ 3 ปี สำหรับบุคคลธรรมดา และ 5 ปี สำหรับนิติบุคคล

More Related