1 / 34

ประมวลกฎหมายอาญาทหาร

ประมวลกฎหมายอาญาทหาร. ใช้บังคับเมื่อ ๑ เมษายน ร.ศ.๑๓๑ (พ.ศ.๒๔๕ ๔ ) มีบทบัญญัติทั้งหมด ๕๒ มาตรา - ภาคบทบังคับทั่วไป ๑๒มาตรา - ภาคความผิด ๔๐ มาตรา. เหตุที่ต้องมี ประมวลกฎหมายอาญาทหาร. - เพื่อให้มีกฎหมายสำหรับใช้บังคับและลงโทษแก่ผู้กระทำการล่วง

shelly-chen
Télécharger la présentation

ประมวลกฎหมายอาญาทหาร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประมวลกฎหมายอาญาทหาร • ใช้บังคับเมื่อ ๑ เมษายน ร.ศ.๑๓๑ (พ.ศ.๒๔๕๔) • มีบทบัญญัติทั้งหมด ๕๒ มาตรา - ภาคบทบังคับทั่วไป ๑๒มาตรา - ภาคความผิด ๔๐ มาตรา

  2. เหตุที่ต้องมีประมวลกฎหมายอาญาทหารเหตุที่ต้องมีประมวลกฎหมายอาญาทหาร • - เพื่อให้มีกฎหมายสำหรับใช้บังคับและลงโทษแก่ผู้กระทำการล่วง ละเมิดต่อกฎหมายและหน้าที่ฝ่ายทหาร • - กำหนดโทษสำหรับทหารซึ่งกระทำผิดไว้เป็นการเฉพาะต่างหาก จากพลเรือนทั่วไป

  3. ภาคบทบังคับทั่วไป มาตรา ๑ ชื่อ มาตรา ๒ วันบังคับใช้ ๑ เม.ย. ร.ศ.๑๓๑ มาตรา ๓ ยกเลิกกฎหมายเก่า มาตรา ๔ คำนิยาม มาตรา ๕ ทหารทำผิดกฎหมายอื่นต้องรับโทษตามกฎหมายนั้น ถ้าประมวลอาญาไม่กำหนด เป็นอย่างอื่น มาตรา ๕ ทวิ ทหารทำผิดนอกราชอาณาจักร ต้องรับโทษในราชอาณาจักร มาตรา ๖ ต้องโทษประหารชีวิตให้ยิงเสียให้ตาย มาตรา ๗ อำนาจลงทัณฑ์ทางวินัย มาตรา ๘ อำนาจลงทัณฑ์ในความผิดทางอาญาบางประเภท มาตรา ๙ อำนาจลงทัณฑ์ความผิดลหุโทษ มาตรา ๑๐ เปลี่ยนโทษจำคุกแทนค่าปรับ มาตรา ๑๑ เปลี่ยนโทษขัง มาตรา ๑๒ อ่านคำพิพากษาต่อหน้าทหาร

  4. คำวิเคราะห์ศัพท์(ม.๔) • “ทหาร” หมายความว่า บุคคลที่ อยู่ ในอำนาจกฎหมายฝ่ายทหาร • “เจ้าพนักงาน” หมายความตลอดถึง บรรดานายทหารบก นายทหารเรือชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวนที่ อยู่ ในกองประจำการนั้นด้วย • “ ราชศัตรู ” หมายความตลอดถึงบรรดาคนมีอาวุธที่แสดงความขัดแข็งต่ออำนาจผู้ใหญ่หรือที่เป็นกบถ หรือโจรสลัดหรือที่ก่อการจลาจล • “ต่อหน้าราชศัตรู ” หมายความตลอดถึงที่อยู่ในเขตซึ่งกองทัพได้ทำสงครามนั้นด้วย

  5. คำวิเคราะห์ศัพท์ (ม.๔)ต่อ • “คำสั่ง” บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาทหารผู้ถืออำนาจอันสมควรเป็นผู้สั่งไปโดยสมควรแก่กาลสมัย และชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย คำสั่งเช่นนี้ท่านว่าเมื่อผู้รับคำสั่งได้กระทำตามคำสั่งแล้ว ก็เป็นอันหมดเขตของการที่ส่งนั้น • “ข้อบังคับ” บรรดาข้อบังคับและกฎต่าง ๆ ที่ใช้อยู่เสมอ ซึ่งผู้บังคับบัญชาทหารผู้ถืออำนาจอันสมควรได้ออกไว้ โดยสมควรแก่กาลสมัยและชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย

  6. ภาคความผิดมี ๔๐ มาตรา เช่น • ม.๑๙ ถอยเรือจากที่รบ • ม.๒๐ นายเรือจงใจทำให้เรือทหารชำรุด หรือับปาง • ม.๒๑ นายเรือทำให้เรือของทหารชำรุด หรืออับปางโดยประมาท • ม.๒๓ ผู้ใดทำให้เรือของทหารชำรุด หรืออับปางโดยประมาท • ม.๒๔ ความผิดที่กระทำแก่เรือที่ใช้เดินในลำน้ำ • ม.๒๗ ทหารทำลายหรือละทิ้งทรัพย์สินใช้ในการยุทธ • ม.๒๘ ผู้ใดสบประมาทธง • ม.๒๙ ทหารละทิ้งหน้าที่หรือไปเสียจากหน้าที่ ฯลฯ

  7. ลักษณะพิเศษของกฎหมายอาญาทหารลักษณะพิเศษของกฎหมายอาญาทหาร • ๑. ทหารกระทำผิดทางอาญานอกราชอาณาจักร จะต้องรับโทษใน ราชอาณาจักร • ๒. ให้อำนาจผู้บังคับบัญชาทหารสามารถลงทัณฑ์ทางวินัยแก่ทหารผู้กระทำผิดวินัยทหารได้ ไม่ว่าจะกระทำผิดในหรือนอกราชอาณาจักร • ๓. ให้อำนาจผู้บังคับบัญชาทหาร สามารถลงทัณฑ์ทางวินัยแก่ทหารผู้กระทำผิดทางอาญาบางประเภทได้

  8. มาตรา ๗ • “ ผู้บังคับบัญชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร มีอำนาจลงทัณฑ์แก่ทหารผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร ไม่ว่าเป็นการกระทำผิดในหรือนอกราชอาณาจักร “

  9. การลงทัณฑ์ทางวินัยแก่ทหารผู้กระทำผิดทางอาญาบางประเภทการลงทัณฑ์ทางวินัยแก่ทหารผู้กระทำผิดทางอาญาบางประเภท • “ มาตรา ๘ การกระทำผิดอย่างใด ๆ ที่บัญญัติไว้มาตรา ๒๑, ๒๓, ๒๔, ๒๗, ๒๘, ๒๙, ๓๐, ๓๑, ๓๒, ๓๓, ๓๔, ๓๕, ๓๖, ๓๗, ๓๙, ๔๑, ๔๒,๔๓, ๔๔, ๔๕, ๔๖ และ ๔๗ แห่งประมวลกฎหมายนี้ถ้าผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร พิจารณาเห็นว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ให้ถือว่าเป็นความผิดต่อวินัยทหารและให้อำนาจลงทัณฑ์ตามมาตรา ๗ เว้นแต่ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลจะสั่งให้ส่งตัวผู้กระทำผิดไปดำเนินคดีในศาลทหาร หรือจะมีการดำเนินคดีนั้นในศาลพลเรือนฯ ” • “ มาตรา ๙ ความในมาตรา ๘ ให้ใช้ตลอดถึงความผิดลหุโทษและความผิด ที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย”

  10. หลักเกณฑ์ • ๑. ต้องเป็นความผิดอาญาใน ๒๑ มาตรา ตามที่ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา ๘ กำหนด หรือความผิดลหุโทษหรือความผิด ที่เปรียบเทียบได้ • ๒. ผู้บังคับบัญชาพิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่สำคัญ • ๓. ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการไม่ส่งตัวผู้กระทำผิดดำเนินคดีในศาลทหาร • ๔. ไม่ใช่คดีซึ่งต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือน

  11. ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการ • ศาลทหารสูงสุด - พระมหากษัตริย์ • ศาลทหารกลาง - พระมหากษัตริย์ • ศาลทหารชั้นต้น • - ศาลทหารกรุงเทพ - รมว.กห. • - ศาลมณฑลทหาร - ผบ.มณฑล • - ศาลจังหวัดทหาร - ผบ.จังหวัดทหาร • - ศาลประจำหน่วยทหาร - ผบ.หน่วยนั้น

  12. มาตรา ๑๖ บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คือ • ๑. นายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ • ๒. นายทหารชั้นสัญญาบัตรนอกประจำการเฉพาะเมื่อกระทำผิดต่อคำสั่ง หรือข้อบังคับตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร • ๓. นายทหารประทวน และพลทหารกองประจำการ หรือประจำการ หรือ บุคคลที่รับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร • ๔. นักเรียนทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด • ๕. ทหารกองเกินที่ถูกเข้ากองประจำการ ซึ่งเจ้าหน้าที่ ฝ่ายทหารได้รับตัวไว้ เพื่อให้เข้ารับราชการประจำอยู่ในหน่วยทหาร • ๖. พลเรือนที่ สังกัดอยู่ในราชการเมื่อกระทำผิดในหน้าที่ราชการทหาร หรือ กระทำผิดอย่างอื่นเฉพาะในหรือ บริเวณ อาคาร ที่ตั้งหน่วยทหารที่พักร้อน พักแรม เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะใด ๆ ในความควบคุมของ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร • ๗. บุคคลซึ่งต้องขัง หรืออยุ่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบ ด้วยกฎหมาย • ๘. เชลยศึก หรือชนชาติศัตรูซึ่งอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร

  13. มาตรา ๑๔ คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คือ • ๑. คดีที่บุคคลที่ อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน • ๒. คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่ อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน • ๓. คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาวชน • ๔. คดีที่ ศาลทหารเห็นว่าไม่ อยู่ในอำนาจศาลทหาร

  14. ความผิดใน ๒๑ มาตรา ตามที่ ม.๘ กำหนด • ม.๒๑ นายเรือทำให้เรือของทหารชำรุด หรืออับปางโดยประมาท • ม.๒๓ ผู้ใดทำให้เรือของทหารชำรุด หรืออับปางโดยประมาท • ม.๒๔ ความผิดที่กระทำแก่เรือที่ใช้เดินในลำน้ำ • ม.๒๗ ทหารทำลายหรือละทิ้งทรัพย์สินใช้ในการยุทธ • ม.๒๘ ผู้ใดสบประมาทธง • ม.๒๙ ทหารละทิ้งหน้าที่หรือไปเสียจากหน้าที่ • ม.๓๐ ทหารขัดขืนละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง • ม.๓๑ ทหารขัดขืนไม่กระทำตามคำสั่งอย่างองอาจ • ม.๓๒ ทหารขัดขืนละเลยไม่กระทำตามข้อบังคับ • ม.๓๓ ทหารขัดขืนละเลยไม่กระทำตามข้อบังคับอย่างองอาจ

  15. ความผิดใน ๒๑ มาตรา ตามที่ ม.๘ กำหนด ต่อ • ม.๓๔ ทหารหลับยามหรือเมาสุราในหน้าที่ • ม.๓๕ ทหารไม่เอาใจใส่หรือประมาทในหน้าที่ • ม.๓๖ ผู้ใดทำร้ายทหารยาม • ม.๓๗ ผู้ใดหมิ่นประมาทหรือขู่เข็ญทหารยาม • ม.๓๙ ทหารทำร้ายทหารผู้ใหญ่เหนือตน • ม.๔๑ ทหารแสดงความอาฆาตหรือหมิ่นประมาทผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใหญ่ เหนือตน • ม.๔๒ ทหารกระทำการกำเริบ • ม.๔๓ ทหารกระทำการกำเริบโดยมีศาสตราวุธ • ม.๔๔ ทหารกำเริบแล้วเลิกไปโดยดี • ม.๔๖ ความผิดฐานหนีราชการ • ม.๔๗ ทหารปลอมปนทรัพย์ของทหาร

  16. ความผิดหนีราชการ(ม.๔๕) • องค์ประกอบ • ๑. เป็นทหาร • ๒. ไปเสียจากหน้าที่ราชการโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือขาดราชการเมื่อพ้นกำหนดเวลา • ๓. เข้าเกณฑ์ดังนี้ • ๓.๑ มีเจตนาหลีกเลี่ยงคำสั่งเดินเรือจากที่เดินกองทหาร , หรือเรียกระดมพลเตรียมศึก • ๓.๒ ครบกำหนดังนี้ • - ๒๔ ชม. ต่อหน้าราชศัตรู • - ๓ วัน ในเขตและเวลาใช้กฎฯ • - ๑๕ วัน ในเวลาอื่น

  17. การกระทำผิดของเด็กและเยาวชนการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน • อายุไม่เกิน ๗ ปี - ไม่ต้องรับโทษ • อายุ เกิน ๗ ปี แต่ไม่เกิน ๑๔ ปี - ศาลอาจวางข้อกำหนดให้บิดา ผู้ปกครองดำเนินการ - หากไม่สมควรลงโทษให้ดำเนิน การตามข้อ ๒. - หากสมควรลงโทษให้ลด มาตราโทษลง 1/2 • อายุ เกิน ๑๔ ปี แต่ไม่เกิน ๑๗ ปี - ศาลอาจลดมาตราโทษลง 1/2 ถึง 1/3 ได้ • อายุ เกิน ๑๗ ปี แต่ไม่เกิน ๒๐ ปี - ศาลอาจลดมาตราโทษลง 1/3ได้

  18. วินัยทหาร • กฎหมายเกี่ยวกับ วินัยทหาร • พ.ร.บ. ว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ. 2476ใช้บังคับเมื่อ 12ส.ค. 2476

  19. ความหมาย • วินัยทหาร คือ การที่ทหารต้องประพฤติตามแบบธรรมเนียมของทหาร

  20. ตัวอย่างการกระทำผิดวินัยทหารตัวอย่างการกระทำผิดวินัยทหาร • 1.ดื้อ ขัดขืน หลีกเลียง หรือละเลยไม่ปฏิบัติตาม • 2.ไม่รักษาระเบียบการเคารพระหว่างผู้ใหญ่ผู้น้อย • 3.ไม่รักษามรรยาทให้ถูกต้องตาแบบธรรมเนียมของทหาร • 4.ก่อให้แตกความสามัคคีในคณะทหาร • 5.เกียจคร้าน ละทิ้ง หรือเลินเล่อต่อหน้าที่ราชการ • 6.กล่าวคำเท็จ • 7.ใช้กิริยาวาจาไม่สมควร หรือประพฤติไม่สมควร • 8.ไม่ตักเตือนสั่งสอน หรือลงทัณฑ์ผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำผิดตามโทษานุโทษ • 9.เสพเครื่องดองของเมาจนถึงเสียกิริยา

  21. แบบธรรมเนียมของทหาร • “กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง คำชี้แจง คำแนะนำ ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของทหาร”

  22. ทัณฑ์ที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดวินัยมี 5 สถาน • 1.ภาคทัณฑ์ • 2.ทัณฑ์กรรม • 3.กัก • 4.ขัง • 5.จำขัง • “ห้ามคิดทัณฑ์อย่างอื่นหรือลงทัณฑ์ผิดไปจากที่กำหนดนี้”

  23. ผู้มีอำนาจลงทัณฑ์ • 1.ผู้บังคับบัญชา • 2.ผู้ได้รับมอบหมายอำนาจบังคับบัญชา

  24. ชั้นของผู้ลงทัณฑ์/รับทัณฑ์ชั้นของผู้ลงทัณฑ์/รับทัณฑ์ • ผู้มีอำนาจลงทัณฑ์ แบ่งได้ 9 ชั้น • - รมว.กห. เป็นผู้ลงทัณฑ์ชั้นสูงสุด ชั้น 1 • - ผบ.หมวดเป็นผู้ลงทัณฑ์ชั้นต่ำสุด ชั้น 9 • ผู้รับทัณฑ์ แบ่งได้ เป็น 9 ชั้น • -ผบ.กรม .ฯ เป็นผู้รับทัณฑ์ชั้นแรก ชั้น ก. • -ลูกแถว เป็นผู้รับทัณฑ์ชั้นต่ำสุด ชั้น ฌ • อำนาจลงทัณฑ์เป็นไปตามตารางทัณฑ์

  25. วิธีการลงทัณฑ์ • 1.ต้องปรากฏความผิดชัดเจน • 2.ลงทัณฑ์เต็มที่ได้เพียงสถานเดียว • 3. ห้ามลงทัณฑ์พร้อมกันเกิน 2 สถานในความผิดครั้งหนึ่ง • 4. หากลงทัณฑ์พร้อมกัน 2 สถานต้องลดอัตรากำหนดลงทัณฑ์ ตามตารางลงกึ่งหนึ่ง • 5.ลงทัณฑ์สัญญาบัตรต้องรายงานถึง รมว.กห • 6.ผู้มีอำนาจลงทัณฑ์พอกับทัณฑ์ที่จะลงเป็นผู้ลงทัณฑ์ • 7.ทัณฑ์ที่มีอัตรากำหนดทัณฑ์แน่นอนแล้วให้เสนอเพียง ผบ. หมวดเรือ • 8.ผู้บังคับบัญชาหารควบคุมทหารไปปฏิบัติหน้าที่ตามลำพังมี อำนาจลงทัณฑ์เพิ่มอีก 1 ชั้น

  26. 9.ระหว่างรับทัณฑ์ขัง ผู้รับทัณฑ์กระทำผิดซ้ำอีกหากเพิ่มทัณฑ์ต้องไม่เกินอำนาจผู้ลงทัณฑ์ • 10.ต้องลงทัณฑ์เสียภายใน 3 เดือนนับแต่ความผิดปรากฏ • 11.ผู้สั่งลงทัณฑ์หรือผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปมีอำนาจ เพิ่มทัณฑ์ลดทัณฑ์หรือยกทัณฑ์เสียก็ได้

  27. ร้องทุกข์ • “คำชี้แจงของทหารว่าผู้บังคับบัญชากระทำต่อตนโดย ไม่ยุติธรรมผิด กม. หรือทำให้ตนไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ที่ควรได้โดยชอบ

  28. วิธีร้องทุกข์ • 1.ร้องด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้ • 2.รู้ตัวผู้กระทำให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงของผู้กระทำ • 3.ไม่รู้ตัวผู้กระทำให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงของผู้ร้อง • 4.คำร้องทุกข์ต้องลงชื่อผู้ร้องหากไม่ลงชื่อผู้บังคับบัญชาไม่มี หน้าที่พิจารณา

  29. ข้อห้ามในการร้องทุกข์ข้อห้ามในการร้องทุกข์ • 1.ห้ามร้องทุกข์แทนกัน • 2.ห้ามลงชื่อร่วมกันร้องทุกข์ • 3.ห้าเข้ามาร้องทุกข์พร้อมกันหลายคน • 4.ห้ามประชุมกันร้องทุกข์ • 5.ห้ามร้องทุกข์ขณะเข้าแถวหรือกำลังทำหน้าที่ราชการเช่นเวรยาม • 6.ห้ามร้องทุกข์ภายใน 24 ชม.นับแต่มีเหตุร้องทุกข์ได้ • 7.ห้ามร้องทุกข์ว่าผู้บังคับบัญชาลงทัณฑ์แรงเกินไปหากลงทัณฑ์ ไม่เกินอำนาจ

  30. วิธีปฏิบัติหลังร้องทุกข์วิธีปฏิบัติหลังร้องทุกข์ • 1.ร้องทุกข์แล้วไม่ได้รับคำชี้แจงภายใน 15 วัน มีสิทธิ ร้องทุกข์ต่อ ผบ.ชั้นสูงขึ้นไปได้ • 2.หากรับคำชี้แจงแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการปลดเปลื้องทุกข์ ร้องทุกข์ใหม่ต่อ ผบ.ชั้นสูงขึ้นไปได้

  31. หน้าที่ผู้บังคับบัญชาหน้าที่ผู้บังคับบัญชา • เมื่อรับคำร้องทุกข์แล้วต้องรีบดำเนินการในโอกาสแรก หากเพิกเฉยถือว่า “ผิดวินัย”

  32. ร้องทุกข์ผิดระเบียบ • ร้องทุกข์เป็นเท็จหรือ ร้องทุกข์ผิดระเบียบ ผู้ร้องทุกข์ ผิดวินัย

More Related