510 likes | 611 Vues
การศึกษาความเสี่ยงและความคุ้มครองทางสังคมสำหรับแรงงานนอกระบบในประเทศไทย “ ทางเลือกสำหรับรูปแบบการออม และการออมเพื่อการเกษียณอายุ ”. วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2548 ณ ห้องภัทร 2 โรงแรมเสนาเพลส โดย ... ผศ.สุรัสวดี หุ่นพยนต์ สถาบันพัฒนาสยาม. วัตถุประสงค์ของการศึกษา.
E N D
การศึกษาความเสี่ยงและความคุ้มครองทางสังคมสำหรับแรงงานนอกระบบในประเทศไทย“ทางเลือกสำหรับรูปแบบการออมและการออมเพื่อการเกษียณอายุ ” วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2548 ณ ห้องภัทร 2 โรงแรมเสนาเพลส โดย ... ผศ.สุรัสวดี หุ่นพยนต์ สถาบันพัฒนาสยาม
วัตถุประสงค์ของการศึกษาวัตถุประสงค์ของการศึกษา • เพื่อแสดงรูปแบบเบื้องต้น (Preliminary design) ของทางเลือก ด้านการออม เพื่อการเกษียณอายุ สำหรับแรงงานนอกระบบ • เพื่อความรู้ ความเข้าใจ ความชัดเจนในการจัดทำทางเลือกของระบบการออมเพื่อการชราภาพ ทั้งในแง่ของการดำเนินการ เพื่อให้ประชาชนในกลุ่มนอกระบบมีเครื่องมือการออม และในแง่นโยบายและบทบาทหน้าที่ของรัฐ
แรงงานไทย 35.5 ล้านคน แรงงานในระบบ(formalsector)12.95 ล้านคน แรงงานนอกระบบ(informal sector)22.55 ล้านคน
แรงงานไทย 35.5 ล้านคน อยู่ในระบบ 12.95 ล้านคน รวม 12.95 ล้านคน
1. โครงสร้างประชากรและเศรษฐกิจสังคม 2. ลักษณะเฉพาะของแรงงานนอกระบบ เหตุผล 5 ประการที่ต้องมีการออมเพื่อการเกษียณอายุของแรงงานนอกระบบ 5. ขาดแคลนกองทุนเพื่อการเกษียณอายุ 3. การขาดการคุ้มครองทางสังคม 4. ภาระต่อสังคมและภาครัฐ
1.โครงสร้างประชากรและเศรษฐกิจสังคม1.โครงสร้างประชากรและเศรษฐกิจสังคม - การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากรไทย - ประชากรไทยย่างเข้าสู่วัยชราภาพเร็วเมื่อเทียบกับระดับขั้นแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจ - โครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง - มีการพัฒนาการเป็นสังคมเมืองมากขึ้น - รากฐานทางสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป
2. ลักษณะเฉพาะของแรงงานนอกระบบ - ฐานะยากจน - สภาพการทำงานที่ไม่ชัดเจน - มีรายได้ไม่สม่ำเสมอ - ไม่มีการลงทะเบียน - ไม่อยู่ในระบบภาษี
3. การขาดความคุ้มครองทางสังคม - ขาดการคุ้มครองทางกฎหมาย - ขาดความมั่นคงของรายได้ - ขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง - ขาดสวัสดิการแรงงานด้านต่างๆ - มีสภาพแวดล้อมการทำงานไม่ปลอดภัย
4. ภาระต่อสังคม/ภาครัฐ - รัฐเพิ่มความเสี่ยงทางด้านการเงิน - เพิ่มข้อจำกัดด้านงบประมาณของประเทศ - ประชาชนในวัยทำงานต้องดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น 5. การขาดแคลนกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุ
ธนาคาร เพื่อประชาชน 30 บาท ห่างไกลโรค OTOP ไม่มีรูปแบบไหนที่มุ่งแก้ปัญหาชีวิตในวัยชรา รูปแบบสวัสดิการของรัฐ SML กองทุนหมู่บ้าน กองทุนกู้ยืม เพื่อการศึกษา บ้านเอื้ออาทร
2.ลดความเหลื่อม ล้ำทางสังคม 1.สร้างรากฐานการ ออมที่เข็มแข็งด้านวินัย การออมแก่ประชาชน ประโยชน์การออม เพื่อการเกษียณอายุ 4.ส่งเสริมการดำรง ชีวิตในวัยชรา อย่างสมศักดิ์ศรี ของความเป็นมนุษย์ 3.เพิ่มการออมเสริม สร้างความเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจ
การออม คือ... • การออม คือ การเสียสละการบริโภคในปัจจุบันเพื่อไว้บริโภคในอนาคต • การออม เป็นนโยบายสาธารณะที่มีบทบาทสำคัญยิ่งของระบบเศรษฐกิจในทุกประเทศ • เป็นแหล่งสนองทุนที่สำคัญของการลงทุนเพื่อสร้างความเจริญเติบโตและเสถียรภาพให้แก่ประเทศ • การออมเป็นการก่อให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงให้แก่ประเทศ • การออมเป็นการรั่วออก (leakage) จากการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ ส่วนการลงทุน คือการอัดฉีดกลับ(injection) เข้าสู่ระบบการหมุนเวียนของเศรษฐกิจ
การออม ภาคครัวเรือน การออม ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน การออมของประเทศ รัฐบาล การออม ภาคต่างประเทศ ภาครัฐ อปท. รัฐวิสาหกิจ
โครงสร้างแรงงานนอกระบบโครงสร้างแรงงานนอกระบบ ข้อมูลกระทรวงแรงงาน ปี 2546 พบว่า มีแรงงานในเศรษฐกิจนอกระบบ ประมาณ 23 ล้านคน
ร้อยละ 64.7 ของกำลังแรงงานไทยเป็นแรงงานนอกระบบ รายได้แรงงานนอกระบบมีมูลค่า2.38 ล้านล้านบาท หรือ = ร้อยละ43.8 ของ GDP -ภาคเกษตร7.5% นอกภาคเกษตร 36.3 ของ GDP
สำนักงานประกันสังคม“ ผู้ใช้แรงงาน ที่ไม่ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายประกันสังคม เป็นบุคคลที่ไมใช่ข้าราชการ และไม่มีเงินเดือนประจำ”6 ประเภท ใครคือแรงงานนอกระบบ
2. ลูกจ้างงานชั่วคราว งานจร ฤดูกาล 1.ลูกจ้างกิจการ เพาะปลูก ประมง ป่าไม้เลี้ยงสัตว์ 5.ผู้รับงาน ไปทำที่บ้าน 6 ประเภท แรงงานนอกระบบ 3.ลูกจ้างงานบ้าน 4.ผู้ประกอบอาชีพอิสระ 6.ผู้รับจ้างทำของ
ตัวอย่างของ 5 กลุ่มแรงงาน นอกระบบในไทย 2. ขับรถ รับจ้าง 1.ผู้รับงาน ไปทำที่บ้าน 3. เกษตรกร 5. แรงงาน ต่างด้าว 4.ผู้ขายบริการ ทางเพศ
ลักษณะพิเศษแรงงานนอกระบบลักษณะพิเศษแรงงานนอกระบบ ไม่มีนายจ้าง/งานไม่แน่นอน ส่วนใหญ่ยากจน กระจัดกระจายทั่วประเทศ ราชการไม่มีระบบทะเบียน ไม่อยู่ใน ระบบภาษี
รายได้จำกัดไม่สม่ำเสมอรายได้จำกัดไม่สม่ำเสมอ ขาดที่ดินทำกินและทรัพย์สิน สาเหตุที่แรงงาน นอกระบบยากจน เข้าไม่ถึงบริการพื้นฐานของรัฐ ขาดโอกาสการศึกษา ขาดความรู้ทักษะบริหารจัดการการผลิต/ลงทุน
ทางเลือกของรูปแบบการออมทางเลือกของรูปแบบการออม ในการเลือกรูปแบบได้คำนึงถึงปัจจัย 2 ประการ 1. ลักษณะพิเศษของแรงงานนอกระบบ 2. ความเหมาะสมของกลไกในการออม
ส่วนประกอบการพิจารณาทางเลือกส่วนประกอบการพิจารณาทางเลือก 1.ขอบเขตความครอบคลุม 2. ความถี่การออม 4. ระบบการ จ่าย-รับผลประโยชน์ 3. อัตรา การออม 5. รูปแบบ การออม
1.ขอบเขตความครอบคลุม กลไกชุมชน AREA BASE กลไกกลุ่มอาชีพ OCCUPATION BASE 2+1 กลไกการจัดระบบการออม กลไกศาสนา (RELIGION BASE)
ความเหมาะสม/เป็นไปได้ของกลไกชุมชนในการจัดระบบการออมความเหมาะสม/เป็นไปได้ของกลไกชุมชนในการจัดระบบการออม 1. ความครอบคลุม ทั่วประเทศ 16,735 หมู่บ้าน 2. การขยายฐานกองทุนออมทรัพย์ที่มีอยู่เดิม 3. กลุ่มออมทรัพย์มีศักยภาพพอในการเพิ่มบริการ 4. กลุ่มออมทรัพย์จำนวนหนึ่งมีการจัดสวัสดิการชราภาพอยู่แล้ว 5. การบริหารงานกลุ่มออมทรัพย์ ฯ น่าเชื่อถือ มีความโปร่งใส
สัจจะวันละ 1 บาท พระสุบิน แนวคิดการตั้ง กลุ่มออมทรัพย์ ร่วมแก้ปัญหาการเงิน ผสมผสาน
2.ทำงานโปร่งใส 1.ศรัทธาผู้นำ 4.บริหารโดยกลุ่ม 9 ปัจจัยสู่ความสำเร็จ กลุ่มออมทรัพย์ 3.ร่วมสร้างกติกา 9.จัดการความรู้ 5.ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ 8.สมาชิกควบคุม 6.ระบบบัญชี/รายงาน 7.พอใจผลประโยชน์
อาชีพอิสระ อาชีพเฉพาะมีฝีมือ รับจ้างอิสระ รับจ้างทำของ 10 กลุ่มอาชีพ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอื่น ๆ ประมง รับเหมา รับช่วงงานก่อสร้าง รับจ้างทำงานบ้าน ขับรถรับจ้าง
ความเหมาะสมกลไกกลุ่มอาชีพความเหมาะสมกลไกกลุ่มอาชีพ • ความครอบคลุม ทุกกลุ่มมีความพร้อมในการชำระเงินสมทบได้ไม่ต่ำกว่า 120 บาทต่อเดือน • ความสัมพันธ์ของรายได้ การจัดเก็บเงินสะสม/สมทบแรงงานในระบบสัมพันธ์กับรายได้ เงินได้ไม่แน่นอน/ชัดเจนแจ้งสูงต่ำได้ ดังนั้นควรเป็นแบบอัตราเดียว
ความเป็นไปได้ผ่านกลไกกลุ่มอาชีพความเป็นไปได้ผ่านกลไกกลุ่มอาชีพ • ความพร้อมในการชำระเงินสมทบ ทุกกลุ่มมีความพร้อมในการชำระเงินสมทบได้ไม่ต่ำกว่า 120 บาทต่อเดือน • ความคุ้มทุนของการชำระเงินต่อเดือน กลุ่มอาชีพฝีมือชั้นสูงมีความคุ้มทุนมากที่สุด • ความสำคัญของการจัดตั้งกองทุนกลุ่มอาชีพ พบว่า กลุ่มเกษตรกรมีความเหมาะสมที่จะมีการจัดตั้งกองทุนกลุ่มอาชีพมากที่สุด
1. ทางเลือกขอบเขตและความครอบคลุม ทางเลือกที่ 2 ผ่านกลไกกลุ่มอาชีพ • รวมกลุ่มเป็น องค์กร ชมรม กลุ่มอาชีพ-สมาพันธ์ผู้ขับแท็กซี่ กลุ่มมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ฯลฯ • ขยายระบบประกันโดยสนง.ประกันสังคม ทางเลือกที่ 1 ผ่านกลไกชุมชน • ความเป็นสมาชิกตามภูมิลำเนา • อยู่ในวัยแรงงาน • มีชื่อในทะเบียนบ้าน
2. ทางเลือกความถี่ของการออม ทางเลือกการออม - ทางเลือกที่ 1 กองทุนการออมผ่านกลไกชุมชน - ทางเลือกที่ 2 กองทุนการออมผ่านกลไกกลุ่มอาชีพ ความถี่การออม - รายสัปดาห์ - รายเดือน - รายปี
3. ทางเลือกอัตราการออม - วันละ 1 บาท - เดือนละ 120 บาท - การกำหนดเป็นช่วง ( 10-200 บาท/คน/เดือน, 100-500 บาท/คน/ เดือน และ 500-1,000 บาท/คน/เดือน )
4. ทางเลือกระบบการรับ-จ่ายผลประโยชน์ 1.Defined Benefit 2.Defined Contribution 4. ผสมผสานสวัสดิการและการเกษียณอายุ 3. ผสม DB+DC
5.ทางเลือกรูปแบบองค์กร5.ทางเลือกรูปแบบองค์กร 2.กองทุนการออม เพื่อสวัสดิการ 1.กองทุนการออมเพื่อสวัสดิการ และการเกษียณ 3.กองทุนการออม เพื่อการเกษียณอายุ
1.แบบจำลองทางการเงินกรณีศึกษากองทุนออมทรัพย์ชุมชน1.แบบจำลองทางการเงินกรณีศึกษากองทุนออมทรัพย์ชุมชน * จำนวนเงินบำนาญที่ต้องการ ( จำนวนปีที่ต้องใช้เงินหลังเกษียณ * 12 ) ** เงินก้อนที่ควรมี ณ วันเกษียณ/ จำนวนปีที่ออม*12
2.แบบจำลองทางการเงินกรณีศึกษากลุ่มอาชีพขับรถแท็กซี่และรถตุ๊กตุ๊ก2.แบบจำลองทางการเงินกรณีศึกษากลุ่มอาชีพขับรถแท็กซี่และรถตุ๊กตุ๊ก * โครงการวิทยาลัยการเมือง สาขาวิชารัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช (2548) ** รายได้เฉลี่ยต่อเดือน * อัตราการออม
3. แบบจำลองทางการเงินกรณีศึกษากลุ่มอาชีพผู้ค้าหาบเร่แผงลอย * โครงการวิทยาลัยการเมือง สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2548) ** รายได้เฉลี่ยต่อเดือน * อัตราการออม
4. แบบจำลองทางการเงินกรณีศึกษากลุ่มอาชีพนักบัญชี * โครงการวิทยาลัยการเมือง สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2548) ** รายได้เฉลี่ยต่อเดือน * อัตราการออม
5. แบบจำลองทางการเงินกรณีศึกษากลุ่มอาชีพคนงานก่อสร้าง * โครงการวิทยาลัยการเมือง สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2548) ** รายได้เฉลี่ยต่อเดือน * อัตราการออม
ทางเลือกในการบริหารเงินออมของกองทุนฯทางเลือกในการบริหารเงินออมของกองทุนฯ 2. ลงทุนในตราสารหนี้ 1.ลงทุนในตลาดหุ้น 4. ลงทุนตามมาตรการพิเศษของรัฐบาล 3. ลงทุนภาครัฐบาล
ฐานะทางกฎหมายของกองทุน ฯ 1. ความสำคัญของฐานะทางกฎหมาย 2. สถานภาพทางกม.ของกองทุน ฯ 3. บทบาทของรัฐในการส่งเสริมสถานะกองทุนฯ
1. ความสำคัญของฐานะทางกฎหมายของกองทุนการออม 1. ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ ความมั่นคงให้แก่กองทุนการออม 2. ทำให้สมาชิกเกิดความเชื่อมั่นในกองทุน ฯ ดังกล่าวจะเป็นหลักประกันที่ดีสำหรับการดำรงชีวิตหลังการเกษียณ 3. ช่วยส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้านเกี่ยวกับกองทุนออมทรัพย์ 4. เสริมสร้างให้เกิดการบริหารจัดการที่โปร่งใส และ 5. เป็นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนและสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม
2. สถานะภาพทางกฎหมายของกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุในปัจจุบัน 1. ปัจจุบันไม่มีกองทุนใดเลยที่มีสถานะทางกฎหมายรองรับ 2. ถือเป็นความเสี่ยงภัยที่ต้องรับผิดชอบต่อการขาดความน่าเชื่อถือในการดำเนินงาน 3. กองทุน ฯ ที่มีอยู่ต้องการให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล และต้องการใช้กฎหมายเป็นแนวปฏิบัติการบริหารกองทุนฯ
ข้อเสนอแนะของชุมชนจากการศึกษาความเหมาะสมของระบบการออมเพื่อสวัสดิการและการชราภาพฯข้อเสนอแนะของชุมชนจากการศึกษาความเหมาะสมของระบบการออมเพื่อสวัสดิการและการชราภาพฯ ชุมชนต้องการให้รัฐดำเนินการด้านต่างๆ ดังนี้ .- เปิดโอกาสทางด้านกฎหมาย ให้กับกองทุนการออมของประชาชนทั้งที่มีอยู่เดิมและที่จัดตั้งขึ้นใหม่ จัดให้มีแผนกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุ สำหรับแรงงานนอกระบบ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการให้บริการแก่ประชาชน ให้การสนับสนุนด้วยการสมทบเงินรายปี ในอัตรา 1:1 เมื่อเริ่มต้น แล้วลดการสมทบลง จนในที่สุดไม่สมทบ
การจัดให้มีกองทุนสำรองกลางเพื่อเป็นแหล่งกู้ยืมเงินเมื่อต้องประสบกับปัญหาทางด้านการเงินที่ไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ่ายสวัสดิการให้แก่สมาชิก การให้สิทธิพิเศษทางด้านดอกเบี้ย สำหรับเงินฝากหรือพันธบัตร และการลงทุนในหน่วยเงินทุนของภาครัฐ การให้การสนับสนุนด้านวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ทำงานของกองทุนการออม
การกำกับดูแลกองทุน ฯ เพื่อความยั่งยืนของกองทุนการออมฯ การดำเนินงานของกองทุนการออมควรมีหลักการ ดังนี้.- มีการจัดทำบัญชีที่ถูกต้อง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
บทบาทของรัฐภายใต้หลักการเป็นเจ้าของและการพึ่งตนเองของกองทุนการออมบทบาทของรัฐภายใต้หลักการเป็นเจ้าของและการพึ่งตนเองของกองทุนการออม กองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุสำหรับแรงงานนอกระบบ ควรเป็นการดำเนินงานภายใต้หลักการพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ ดังนั้นภาครัฐจึงควรมีนโยบายสนับสนุนให้การดำเนินงานของกองทุนเป็นไปตามหลักการพึ่งพาตนเอง ภายใต้การบริหารจัดการของสมาชิกของกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุเอง
บทบาทของหน่วยกำกับดูแลและหลักปฏิบัติในการกำกับดูแลบทบาทของหน่วยกำกับดูแลและหลักปฏิบัติในการกำกับดูแล • ภาครัฐควรเข้าไปช่วยเหลือด้านการกำกับดูแล • กำหนดหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกองทุนการออมดังกล่าวโดยเฉพาะ เพื่อความถูกต้องและโปร่งใส • มีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่กำกับดูแล เกี่ยวกับระบบสวัสดิการและระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุสำหรับแรงงานนอกระบบดังกล่าว เข้าไปทำหน้าที่กำกับดูแลกองทุนการออม
บทสรุปและข้อเสนอแนะ จากคุณสมบัติเฉพาะตัวของแรงงานนอกระบบ เช่น การที่แรงงานนอกระบบไม่มีการจดทะเบียน ไม่มีนายจ้าง อยู่นอกระบบภาษี และมีความถี่ในการเคลื่อนย้ายแรงงานและเปลี่ยนงานสูงมาก รูปแบบของการออมภายใต้ลักษณะพิเศษของแรงงานนอกระบบและกลไกการออมต่าง ๆ ควรดำเนินการภายใต้กลไกชุมชน (Area base)กลไกกลุ่มอาชีพ (Occupation base)และกลไกศาสนา ทั้งนี้เพื่อเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างโครงข่ายคุ้มครองทางสังคมให้แก่แรงงานนอกระบบ
ข้อเสนอแนะ • รัฐบาลควรเข้ามาดูแลด้านกฎหมายและสนับสนุนให้กองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุให้มีสถานะทางกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อสร้างให้เกิดความยั่งยืนแก่กองทุน และให้เป็นหลักประกันได้ว่าสมาชิกจะได้รับผล ประโยชน์ทดแทนอย่างถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด • การเข้ามามีส่วนร่วมของภาครัฐในการส่งเสริมและสนับสนุนเกี่ยวกับการให้ความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารจัดการกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล