1 / 60

บทที่ 1 การพัฒนาการของเทคโนโลยี

บทที่ 1 การพัฒนาการของเทคโนโลยี. การนำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอนโดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้. Cater V.Good. เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง กระบวนการศึกษาหรือแนวคิดทางการศึกษาเพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา.

sileas
Télécharger la présentation

บทที่ 1 การพัฒนาการของเทคโนโลยี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 1การพัฒนาการของเทคโนโลยี การนำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอนโดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้ Cater V.Good เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง กระบวนการศึกษาหรือแนวคิดทางการศึกษาเพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา กิดานันท์มลิทอง (2545) : เป็นทฤษฏีและการปฏิบัติของการออกแบบ การพัฒนาการใช้ การจัดการและการประเมิน ของกระบวนการและทรัพยากรสำหรับการเรียนรู้ การพัฒนา การออกแบบ การใช้ ทฤษฏี ปฏิบัติ การประเมิน การจัดการ แผนภูมิแนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษา

  2. เทคโนโลยี : Technology • Dr. Edgar Del ได้ให้ความหมายของคำว่า "เทคโนโลยี" ว่า เทคโนโลยีมิใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการ วิธีการทำงานอย่างมีระบบ ที่ทำให้บรรลุ ตามแผนการ และจาก Dictionary of Education ของ Carter V. Good กล่าวว่า เทคโนโลยี หมายถึงการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ • การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความรู้ด้านอื่นที่จัดระเบียบดีแล้ว มาประยุกต์อย่างมีระบบ เพื่อใช้ในสาขาต่างๆ ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ประหยัดทั้งเวลา ค่าใช้จ่ายและแรงงาน สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงเพื่อแก้ปัญหาให้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นการจัดระเบียบที่บูรณาการและความซับซ้อนอันประกอบไปด้วยคน เครื่องจักร วิธีการ และการจัดการ

  3. เทคโนโลยีทางการศึกษา การนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการแก้ปัญหาการศึกษา การศึกษาหมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ต้องเป็นที่ยอมรับของสังคม สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติ ได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษาว่า เป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้อย่างเหมาะสม แก่นแท้ของเทคโนโลยีการศึกษาก็คือ วิธีการแก้ปัญหาให้แก่การศึกษาด้วยการคิดไตร่ตรองหาทางปรับปรุงเกี่ยวกับการเรียนการสอน ด้วยการตั้งข้อสงสัยและทำไปอย่างเป็นระบบ

  4. ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา • สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ “เทคโนโลยีการศึกษาเป็นทฤษฎีและการปฏิบัติของการออกแบบการพัฒนา การใช้ การจัดการ และการประเมิน ของกระบวนการและทรัพยากรสำหรับการเรียนรู้”

  5. ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา (ต่อ) สรุปได้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึงการนำความรู้ความคิดและวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาในการเรียนการสอนให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด

  6. ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา ทรัพยากรการเรียน (Learning Resources) ซึ่งได้รับการออกแบบหรือเลือก/ ใช้เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร (Messages) คน (People) วัสดุ(Materials) เครื่องมือ (Device) เทคนิค(Techniques) สภาพแวดล้อม (Setting)

  7. ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา กระบวนการวิเคราะห์ปัญหา ประดิษฐ์หรือสร้าง การปรับใช้และการประเมิน หน้าที่การพัฒนาการศึกษาของการวิจัย-ทฤษฎี การออกแบบ การผลิต การประเมิน-เลือก การเอื้ออำนวย การใช้-แจกจ่ายเผยแพร่ กระบวนการควบคุม กำกับการหรือการประสานสัมพันธ์ หน้าที่ในการจัดการศึกษาของการจัดองค์กร และการจัดการบุคลากร แบบจำลองความสัมพันธ์ทั้ง 3 องค์ประกอบนี้

  8. ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology )คือ ทรัพยากรการเรียน (Learning Resources) ซึ่งได้รับการออกแบบหรือเลือกใช้เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ทรัพยากรเหล่านี้ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร( messages), คน (people), วัสดุ ( materials), เครื่องมือ ( Devices), เทคนิค (Techniques) , และสภาพแวดล้อม ( Settings) ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา ( Domain of Educationaal Technology) หน้าที่การจัดการศึกษา การจัดการองค์กร การจัดการบุคลากร หน้าที่การพัฒนาการศึกษา วิจัย – ทฤษฏี ออกแบบผลิต ประเมิน – เลือก การเอื้ออำนวย การใช้ (ใช้/แจกจ่าย – เผยแพร่ ) ทรัพยากรการเรียน ข้อมูล – ข่าวสาร คน วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค สภาพแวดล้อม ผู้เรียน

  9. พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีได้ถูกนำมาใช้ทางการศึกษาตั้งแต่สมัยคริสตกาล กลุ่มแรก คือกลุ่มโซฟิสต์ (The Elder Sophist) ทศวรรษที่ 18000 มีการใช้สื่อโสตทัศน์ ทศวรรษที่ 1900 มีพิพิธภัณฑ์ และเริ่มมีการจัด สภาพห้องเรียนและการใช้สื่อการสอนประเภทต่าง ๆ

  10. *ทศวรรษที่ 1800 มีการใช้สื่อโสตทัศน์ • * ทศวรรษที่ 1900 มีพิพิธภัณฑ์ และเริ่มมีการจัดสภาพห้องเรียน และการใช้สื่อการสอนประเภทต่าง ๆ • * ในปีคริสต์ศักราชที่ 1913 Thomas A. Edison ได้ผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอน

  11. พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา * ทศวรรษที่ 1920 – 1930 มีการใช้เครื่องฉายข้ามแบบศีรษะ (Overhead projector) เครื่องบันทึกเสียง วิทยุกระจายเสียง และภาพยนตร์ * ทศวรรษที่ 1950 วิทยุมีบทบาทสำคัญในใช้การเป็นสื่อการศึกษา * ทศวรรษที่ 1960 เริ่มมีการออกอากาศรายการโทรทัศน์ เพื่อการศึกษาเป็นครั้งแรก

  12. พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา • ทศวรรษที่ 1950 วิทยุมีบทบาทสำคัญในใช้การเป็นสื่อการศึกษา อเมริกาใต้เริ่มมีการดำเนินการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา • * ปลายทศวรรษที่ 1950 อเมริกาใต้เริ่มมีการดำเนินการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

  13. การพัฒนาเทคโนโลยีในยุคต่างๆการพัฒนาเทคโนโลยีในยุคต่างๆ ช่วงแรก เริ่มแรก ถึง ค.ศ.1700 ช่วงแรก เริ่มแรก ถึง ค.ศ.1700 ช่วงที่ 2 ค.ศ. 1700- 1900 ช่วงที่ 3 ค.ศ.1900 - ปัจจุบัน ช่วงที่ 2 ค.ศ. 1700- 1900 ช่วงที่3 ค.ศ.1900 - ปัจจุบัน

  14. ช่วงแรก เริ่มแรก ถึง ค.ศ.1700 1. เทคโนโลยีการศึกษาของกลุ่มโซฟิสต์ เป็นกลุ่มครูผู้สอนชาวกรีก ได้ออกทำการสอนความรู้ต่างๆ ให้กับชนรุ่นเยาว์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีความฉลาดปราดเปรื่องในการอภิปราย โต้แย้ง ถกปัญหา จนได้รับการขนานนามว่า เป็นนักเทคโนโลยีการศึกษากลุ่มแรกและ กลุ่มโซฟิสต์ที่มีอิทธิพลต่อทางด้านการศึกษา ได้แก่ โซเครติส(Socretes) พลาโต(Plato) อริสโตเติล(Aristotle) ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการวางรากฐานของปรัชญาตะวันตก

  15. 2. เทคโนโลยีการศึกษาโสเครติสติส (ค.ศ.399 – 470) มุ่งที่จะสอนให้ผู้เรียนเสาะแสวงหรือสืบเสาะหาความรู้ที่เหมาะสมเอง จากการป้อนคำถามต่าง ๆ ที่เป็นการชี้แนะแนวทางให้ผู้ตอบได้ข้อคิด วิธีการของโสเครติสนี้อาจจะเทียบได้กับวิธีการสอนแบบสืบสวนสอบสวน

  16. 3. เทคโนโลยีการศึกษาของอเบลาร์ด (คริสต์ศตวรรษที่ 12 -13 ) อาศัยหลักการวิเคราะห์ตรรกศาสตร์ของอริสโตเติล ซึ่งเขาได้เขียนไว้ในหนังสือ Sic et Non (Yes and No) อันเป็นหนังสือที่แสดงให้เห็นถึงวิธีสอนของเขา ซึ่งเขาให้แง่คิด และความรู้ ทั้งหลายแก่นักเรียนโดยการเสนอแนะ ว่าอะไรควร (Yes) และอะไรไม่ควร (No) บ้าง เสร็จแล้ว นักเรียนจะเป็นผู้ตัดสินใจและสรุปเลือกเองอย่างเสรี

  17. 4. เทคโนโลยีการศึกษาของคอมินิอุส (ค.ศ.1592 – 1670) จุดมุ่งหมายทางการศึกษาของคอมินิอุส คือ ความรู้ คุณธรรม และความเคร่งครัดในศาสนาเขาเชื่อมั่นว่าการศึกษา เป็นเครื่องมือสำหรับเตรียมคนเพื่อดำรงชีพอยู่อย่างเป็นสุขมากกว่า ที่จะให้การศึกษาเพื่อมีอาชีพหรือตำแหน่ง จุดหมายทางการศึกษาของเขาสัมฤทธิ์ผล จึงจัดระบบการศึกษา เป็นแบบเปิด สำหรับทุก ๆ คนในบรรดาหลักการสอนของคอมินิอุสทั้งหลาย พอสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้

  18. 1. การสอนควรจะเป็นไปตามธรรมชาติ เนื้อหาวิชาควรจะเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนแต่ละคน 2. ควรสอนผู้เรียนตั้งแต่เยาว์วัย โดยให้เหมาะสมกับ อายุ ความสนใจ และสมรรถภาพของผู้เรียน แต่ละคน 3. จะสอนอะไรควรให้สอดคล้องกับชีวิตจริง และสอดแทรกค่านิยมบางอย่างให้แก่ผู้เรียนด้วย 4. ควรสอนจากง่ายไปหายาก 5. หนังสือและภาพที่ใช้ความสัมพันธ์กับการสอน 6. ลำดับการสอนที่เป็นสิ่งสำคัญ เช่น ไม่ควรสอนภาษาต่างประเทศก่อนสอนภาษามาตุภูมิ 7. ควรอธิบายหลักการทั่วไปก่อนที่จะสรุปเป็นกฎ ไม่ควรให้จดจำอะไร โดยที่ยังไม่เข้าใจในสิ่งนั้น

  19. 8. การสอนเขียนและอ่าน ควรสอนร่วมกัน นั่นก็หมายความว่า เนื้อหาวิชาที่เรียนควรสัมพันธ์กัน เท่าที่จะทำได้ 9. ควรเรียนรู้โดยผ่านทางประสาทสัมผัส โดยสร้างความสัมพันธ์กับคำ 10. ครูเป็นผู้สอนเนื้อหา และใช้ภาพประกอบเท่าที่ทำได้ 11. สิ่งต่าง ๆ ที่จะสอนต้องสอนไปตามลำดับขั้นตอนและในการสอนครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ควรให้ มากกว่าหนึ่งอย่าง 12. ไม่ควรมีการลงโทษเฆี่ยนตีถ้าผู้เรียนประสบความล้มเหลวในการเรียน 13.บรรยากาศในโรงเรียนต้องดี ประกอบด้วยของจริง รูปถ่าย และครูที่มี ใจโอบอ้อมอารี

  20. ช่วงที่ 2 ค.ศ. 1700- 1900

  21. 1. เทคโนโลยีการศึกษาของแลนตาสเตอร์ (ค.ศ. 1778-1838) ได้ริเริ่มการสอนระบบพี่เลี้ยง (Monitor System) อันยังผลให้เขาประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาในยุคนั้น วิธีการของเขาก็คือ การจัดสภาพห้องเรียนและดำเนินการสอน แบบประหยัด รวมถึงการจัดระบบเนื้อหาวิชาที่เรียนโดยพิจารณาถึงระดับชั้น พยายามใช้วัสดุอุปกรณ์ราคาถูกและประหยัด

  22. วิธีสอนของแลนคาสเตอร์ มีรายละเอียดที่สำคัญอยู่ 6 ประการ คือ1. การสอนความจำด้วยการท่องจำเนื้อหา 2. การฝึกแบบมีพี่เลี้ยง 3. การควบคุม 4. การจัดกลุ่ม 5. การทดสอบ 6. การจัดดำเนินการหรือบริหาร

  23. 2. เทคโนโลยีการศึกษาของเปสตาลอสซี (ค.ศ. 1746-1827) ทฤษฎีทางการศึกษาของเปสตาลอสซี เป็นที่รู้จักกันดีจาก คำพูดของเขาเอง คือ "I wish to psychologies Instruction" ซึ่งหมายถึง การพยายามทำให้การสอนทั่วไปเข้ากันได้กับความเชื่อ ของเขาอย่างมีระเบียบและปรับปรุงพัฒนาไปด้วยกัน เขารู้สึกว่าศีลธรรม สติปัญญาและพลังงานทางกายภาพของผู้เรียนควรจะได้รับการ คลี่คลายออกมา โดยอาศัยหลักธรรมชาติในการสร้างประสบการณ์ อย่างเป็นขั้นตอน

  24. เปสตาลอสซี ได้เสนอแนะกระบวนการของการรับความรู้ของผู้เรียนเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1.ให้รู้ในเรื่องส่วนประกอบของจำนวน (เลขคณิต) 2.ให้รู้ในเรื่องของรูปแบบ (Form) เช่น การวาด การเขียน เป็นต้น 3.ให้รู้จักชื่อ และภาษาที่ใช้นอกจากนั้น เปสตาลอสซี ยังมีความเห็นเกี่ยวกับการศึกษาและการเรียนการสอน พอสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้1. รากฐานสำคัญยิ่งของการให้ความรู้ก็คือ การหัดให้นักเรียนรู้จักใช้การสังเกต (Observation and Sense-Perception) 2. การเรียนภาษา ครูต้องพยายามให้นักเรียนใช้การสังเกตให้มากที่สุด นั่นคือ เมื่อเรียนถ้อยคำก็ต้องใช้คู่กับของจริงที่เขาใช้เรียกชื่อสิ่งนั้น 3. การสอนครูต้องเริ่มต้นจากสิ่งที่ง่ายที่สุดก่อน แล้วจึงเพิ่มความยากขึ้นไปตามลำดับ 4. เวลาเรียนต้องให้นักเรียนเรียนจริง ๆ อย่าเสียเวลาไปกับการวิพากษ์วิจารณ์ความรู้เหล่านั้น 5. ให้เวลาเพียงพอแก่นักเรียนแต่ละคน 6. ต้องยอมรับในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล 7. ต้องทำให้นักเรียนรู้สึกว่าโรงเรียนไม่ต่างไปจากที่บ้าน

  25. 3. เทคโนโลยีการศึกษาของฟรอเบล (ค.ศ. 1782-1852) เขาเห็นว่าการเกิดของแร่ธาตุก็ดี การเจริญเติบโตของต้นไม้ก็ดี ตลอดจนพัฒนาการของเด็กทั้งหลายนั้นล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากพระเจ้า ดังนั้นจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาก็คือการควบคุมดูแลเยาวชนให้เติบโต เป็นผู้ใหญ่เท่านั้นเช่นเดียวกับจุดมุ่งหมายของคนทำสวนคือ การควบคุมดูแลต้นไม้ต้นเล็ก ๆ ไปจนมันเจริญเติบโตออกดอกผลในที่สุด

  26. องค์ประกอบพื้นฐานในการให้การศึกษาแก่เด็กของฟรอเบล มีอยู่ 4 ประการคือ 1. ให้โอกาสผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองอย่างเสรี 2. ให้โอกาสผู้เรียนได้คิดสร้างสรรค์ 3. ให้โอกาสผู้เรียนได้มีส่วนร่วม 4. ให้ผู้เรียนมีโอกาสแสดงออกทางกลไกหรือกายภาพ อันได้แก่ การเรียนโดยการกระทำ (To Learn a thing by doing not through verbal Communications alone) วิธีสอนของฟรอเบลเน้นที่การสอนเด็กอนุบาล ดังนั้นการสอนจึงออกมาในรูปการเรียนปนเล่น ซึ่งมีหลักการที่สำคัญอยู่ 3 ประการคือ 1. การเล่นเกมและร้องเพลง 2. การสร้าง 3. การให้สิ่งของและใช้งาน

  27. 4. เทคโนโลยีการศึกษาของแฮร์บาร์ท แฮร์บาร์ทได้วางรากฐานเกี่ยวกับวิธีสอนของเขาโดยอาศัยระบบจิตวิทยาการเรียนรู้ นับได้ว่าเขาได้เป็นผู้ริเริ่มจิตวิทยาการเรียนรู้สมัยใหม่เป็นคนแรกที่สอดคล้องกับวิธีการของ Locke ที่เรียกว่า Tabula Rasa (Blank Tablet) เกี่ยวกับทฤษฎีทางจิต และได้สรุปลำดับขั้นสองการเรียนรู้ ไว้ 3 ประการ ดังนี้ 1. เริ่มต้นด้วยกิจกรรมทางวิถีประสาท (Sense Activity) 2. จัดรูปแบบแนวความคิด (Ideas) ที่ได้รับ 3. เกิดความคิดรวบยอดทางความคิดหรือเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น

  28. ช่วงที่ 3 ค.ศ.1900-ปัจจุบัน

  29. ได้เริ่มมีผู้นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการสอนJohn Dewey (1859-1952) ได้นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการสอน ค.ศ. 1900 Edward I. Thorndike (1874-1949) ได้เป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ มีชื่อว่า ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory) ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ ได้เน้นที่ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response) เทคโนโลยีการศึกษา ค.ศ.1900-ปัจจุบัน (พ.ศ.2443-ปัจจุบัน)

  30. เทคโนโลยีการศึกษามอนเตสซอรีเทคโนโลยีการศึกษามอนเตสซอรี เทคโนโลยีการศึกษามอนเตสซอรี Maria Montessori (1870-1952) นักการศึกษาสตรีชาวอิตาลีหลักการพื้นฐานของวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี มีอยู่ 2 ประการคือ 1. ยอมรับในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำงานอย่างมีอิสระ โดยไม่คำนึงถึงแต่เพียงเฉพาะในเรื่องของสภาวะทางกายภาพในห้องเรียนและบรรยากาศทางจิตวิทยาเท่านั้น 2. ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน สื่อการสอนและธรรมชาติของกระบวนการสอน เทคโนโลยีการศึกษาของเลวิน Kurt Lewinประมาณปลายปี ค.ศ.1920ได้เน้นในเรื่องเกี่ยวกับการจูงใจเป็นหลักการสำคัญ

  31. ทฤษฎีการศึกษาของสกินเนอร์ทฤษฎีการศึกษาของสกินเนอร์ ทฤษฎีการศึกษาของสกินเนอร์ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอาการกระทำ (Operant Conditioning) หรือพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)คือ "การกระทำใด ๆ ถ้าได้รับการเร้าด้วยการเสริมแรง อัตราความเข้มแข็งของการตอบสนองจะมีโอกาสสูงขึ้น" อย่างไรก็ตาม การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ตลอดจน ตัวเสริมแรงปฐมภูมิและทุติยภูมิ (Primary and Secondary Reinforces) ดังนั้นพฤติกรรมในด้านการตอบสนองต่อตัวเสริมแรง จึงมีแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิดของการเสริมแรง

  32. นับแต่ปี ค.ศ.1960 เป็นต้นมา การศึกษาบางประเภท ได้ถูกนำมาใช้กับงานการศึกษามากขึ้น ก่อให้เกิดความก้าวหน้าใหม่ ๆ ทางเครื่องมือทางการศึกษาขึ้น เช่น ทางด้านการใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษามวลชน การใช้โทรศัพท์ในลักษณะวงจรปิดเพื่อเรียนเป็นกลุ่ม ช่วงทศวรรษที่ 1950 วิทยุโทรทัศน์เกิดเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในสังคมตะวันตกซึ่งสามารถใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพวิทยุโทรทัศน์จึงมีบทบาทสำคัญและกลายเป็นเทคโนโลยีแถวหน้าของสังคม ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 มีการใช้คำว่า”การสื่อสารทางภาพและเสียง” หรือ “audio-visual communications” แทนคำว่า”การสอนทางภาพและเสียง

  33. ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา 1. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอนมีความหมายมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวางเรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลา ให้ผู้เรียนมากขึ้น 2. เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ 3. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ทำให้การ จัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน

  34. พัฒนาการเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยพัฒนาการเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย เทคโนโลยีการศึกษาของไทยมีพัฒนาการมา 3 ยุค คือ 1. ยุคแรกสมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงธนบุรี ******* สมัยกรุงสุโขทัย ******* - พ่อขุนรมคำแหง ทรงประดิษฐ์อักษรไทย - มีเทคโนโลยีการศึกษาผ่านสื่อวรรณกรรม 2 เรื่อง * ภาษิตพระร่วง * ไตรภูมิพระร่วง

  35. ******* สมัยกรุงศรีอยุธยา ******* - เทคโนโลยีการศึกษาก้าวหน้าทั้งในประเทศและจากประเทศตะวันตก - หนังสือเรียนเล่มแรกของไทย ชื่อ จินดามณี - สมัยพระนารายณ์ * ดำเนินนโยบายต่างประเทศระบบเปิด

  36. 2. เทคโนโลยีการศึกษายุคปรับเปลี่ยน - รัชกาลที่ 1 สิ้นสุดสงคราม - อเมริกามีอิทธิพลแทนฝรั่งเศสและอังกฤษ * ภาพยนตร์ “ โสตทัศนศึกษา(Audio Visual)” * พัฒนาอย่างมีระบบแบบแผน เปิดสอนในระดับอุดมศึกษา

  37. 2. เทคโนโลยีการศึกษายุคปรับเปลี่ยน - สมัยรัชกาลที่ 4 เทคโนโลยีการศึกษา แบ่งออกเป็น ดังนี้ * 1. เทคโนโลยีการสอน ระบบการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียน ระบบการเรียนการสอนแบบเบญจขันธ์ ระบบการเรียนการสอนแบบจุลภาค ระบบการเรียนการสอนแบบสืบสวนสอบสวน ฯลฯ * 2. เทคโนโลยีด้านสื่อ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพโปร่งใส

  38. 2. เทคโนโลยีการศึกษายุคปรับเปลี่ยน • การจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา • ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  39. นักเทคโนโลยีการศึกษาของไทยนักเทคโนโลยีการศึกษาของไทย 1. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช 2. พระมหาธรรมราชาลิไทย ผู้นิพนธ์ “ไตรภูมิพระร่วง” 3. พระโหราธิบดี ผู้แต่ง “จินดามณี” ซึ่งเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทย 4. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว “บิดาสาขาวิทยาศาสตร์ และให้แนวคิดมหาวิทยาลัย เปิดของไทย” 5. พุทธทาสภิกขุ ในฐานะที่ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการเผยแพร่ธรรม 6. ศาสตราจารย์สำเภา วรางกูล ผู้ริเริ่มและบุกเบิก นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา สมัยใหม่ในไทย

  40. นักเทคโนโลยีการศึกษาของไทยนักเทคโนโลยีการศึกษาของไทย • รศ. ดร. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ “แนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์”“ระบบการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียน”“ระบบแผนจุฬา, มสธ” • รศ.ดร. เปรื่อง กุมุท ผู้คิดค้นวิธีสอนแบบเบญจขันธ์ • อ.ธนู บุญยรัตพันธ์ “ผลงานทั้งด้านวัสดุอุปกรณ์ การสอนโดยเฉพาะในด้านวัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่น” • ศ.ดร.วีรยุทธ วิเชียรโชติ นักจิตวิทยาการศึกษาที่ได้ประยุกต์หลักธรรมทางพุทธศาสนามาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน ผลงานที่สำคัญได้แก่ ระบบการเรียนการสอนแบบสืบสวนสอบสวน • รศ.โชสาลีฉัน นักเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีผลงานดีเด่นในด้านการผลิตวัสดุอุปกรณ์ การสอนวิทยาศาสตร์ จากทรัพยากรพื้นบ้าน • ศ.ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน ผู้เริ่มตั้งมหาวิทยาลัยเปิดโดยการสอนทางไกลของมสธ.

  41. 3. ยุคสารสนเทศ พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา ยุคคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ คือ * 1. เทคโนโลยีด้านสื่อ * 2. เทคโนโลยีการสื่อสาร * 3. เทคโนโลยีด้านระบบ * 4. เทคโนโลยีการสอน ***** นำมาใช้เพื่อความทันสมัยและก้าวหน้ากับการสื่อสาร*****

  42. สภาพปัจจุบันของเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยสภาพปัจจุบันของเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย * • สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา • - สิ่งพิมพ์ทั่วไป (Printed material)เช่นหนังสือเล่ม หนังสือพิมพ์ วารสาร - - นิตยสาร จุลสาร แผ่นพับ แผ่นปลิว สลาก เป็นต้น • - สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา (Education/Instructional Material) • เช่น หนังสือ ตำราเรียน แบบเรียน แบบฝึกหัด ใบงาน คูมือการสอน สื่อเสริม • การเรียนรู้ • - สื่อโสตทัศนูปกรณ์เพื่อการศึกษา • - กรมและกระทรวงต่าง ๆ มีอุปกรณ์และสื่อให้บริการแก่ผู้เรียน

  43. สภาพปัจจุบันของเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยสภาพปัจจุบันของเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย วิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา - ประเทศไทยมีวิทยุกระจายเสียง 514 สถานี * AM 205 สถานี * FM309 สถานี - ทบวงมหาวิทยาลัย 12 สถานี - กระทรวงศึกษาธิการ 2 สถานี 3 คลื่นความถี่ - ครม.อนุมัติสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา มี 11 สถานี - กศน.เผยแพร่รายการวิทยุเพื่อการศึกษา (FM 92 และ AM 1162) วิทยุโรงเรียน เวลา 09.00 – 15.00 น.

  44. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การนำเทคโนโลยี สารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วย เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และ เครือข่ายโทรคมนาคมที่ต่อเชื่อมกัน สำหรับส่งและรับข้อมูลและ มัลติมีเดียเกี่ยวกับความรู้โดยผ่านกระบวนการประมวลหรือจัดทำให้ อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและความสะดวก มาใช้ประโยชน์สำหรับ การศึกษาในระบบ

  45. นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาของประเทศไทยนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาของประเทศไทย 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของประชาชน * มาตราที่ 37 * มาตราที่ 36 * มาตราที่ 41 * มาตราที่ 39 * มาตราที่ 58 * มาตราที่ 59 * มาตราที่ 78 มาตราที่สำคัญคือ มาตราที่ 40 ซึ่งได้ระบุไว้ว่าคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคมเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ

  46. นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาของประเทศไทยนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาของประเทศไทย 2. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 ว่าด้วยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตราที่ 63 64 65 66 67 68 และมาตราที่ 69

  47. บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาบทบาทของเทคโนโลยีการศึกษา บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอนมีอยู่ 4 บทบาท ได้แก่ 1. การจัดการทางการศึกษา เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมหรือกำกับการพัฒนาการศึกษาและการสอน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประการคือ การจัดการทางการศึกษาและการบริหารงานบุคคล 2. การพัฒนาทางการศึกษา เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุงหมายเพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดค้น การปรับใช้และการประเมินผล ข้อแก้ปัญหา ทรัพยากรเรียนด้วยการวิจัย การออกแบบ การผลิต การประเมินผล การใช้ ทั้งหมดนี้ต่างก็มีวิธีการดำเนินการที่มีส่วนสัมพันธ์กับทรัพยากรการเรียน

  48. 3. ทรัพยากรการเรียน ทรัพยากรทุกชนิด ซึ่งผู้เรียนสามารถใช้แบบเชิงเดี่ยวหรือแบบผสม แบบไม่เป็นทางการ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ทรัพยากรการเรียนรู้ ได้แก่ข้อสนเทศ ข่าวสาร บุคคล วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค และอาคารสถานที่ 4. ผู้เรียน สื่อการสอนตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ผู้เรียนให้บรรลุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อผู้เรียน

  49. ประโยชน์ของเทคโนโลยีการศึกษาเมื่อกล่าวถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีการศึกษา สามารถแบ่งออกได้เป็นด้านๆ ดังนี้ 1. ประโยชน์สำหรับผู้เรียน เข้าใจความสามารถของตนเองมีอิสระในการเลือกเรียน ลดเวลา รู้จักเสาะแสวงหาความรู้ ฝึกให้เกิดการแก้ปัญหา 2. ประโยชน์สำหรับผู้สอน เช่นเพิ่มประสิทธิภาพการสอน ลด เวลา เพิ่ม เพื่อหา จุดมุ่งหมายให้มากขึ้นแก้ปัญหาความไม่ถนัดของตนเองได้ 3. ประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาเปิดโอกาสการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง ลดช่องว่างทาง การศึกษา บริหารจัดการเป็นระบบ

  50. ทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง ทฤษฎีการเสริมแรง กลุ่มพฤติกรรม (Behaviorism) กลุ่มความรู้ (Cognitive) ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม • กฎแห่งการผล (LowofEffect) • กฎแห่งการฝึกหัด (Lowe of Exercise) • กฎแห่งความพร้อม (Low of Readiness) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory)

More Related