1 / 22

การสร้างเขื่อน 8 แห่ง ของจีน ทางแม่น้ำโขงตอนบน

การสร้างเขื่อน 8 แห่ง ของจีน ทางแม่น้ำโขงตอนบน. จัดทำโดย นายภาสกร คุ้ม ศิริ 5320110027 วิชาเอกจิตวิทยา.

siusan
Télécharger la présentation

การสร้างเขื่อน 8 แห่ง ของจีน ทางแม่น้ำโขงตอนบน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสร้างเขื่อน 8 แห่ง ของจีน ทางแม่น้ำโขงตอนบน

  2. จัดทำโดย นายภาสกร คุ้มศิริ 5320110027 วิชาเอกจิตวิทยา

  3. ก่อนเกิดความขัดแย้ง ประเทศจีนกำลังเร่งฝีเท้า ในการพัฒนาสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ จีนจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านพลังงานเพื่อใช้เป็นฐานสำหรับการผลิต โดยมีแผนที่จะสร้างเขื่อนขนาดใหญ่บนแม่น้ำสายต่างๆ มากมายโดยมีแผนที่จะสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงถึง 14 เขื่อน

  4. อย่างไรก็ตามแผนการสร้างเขื่อนบน แม่น้ำลานซาง ในประเทศจีนที่เป็นรูปธรรมแล้วในขณะนี้มีอยู่ 8 เขื่อน สร้างเสร็จแล้วสองเขื่อน คือ เขื่อนมานวานเริ่มปั่นกระแสไฟฟ้าได้เมื่อปี 2539 และเขื่อนต้าเฉาซานสร้างเสร็จเมื่อปีที่แล้ว และในขณะนี้กำลังก่อสร้างเขื่อนเซียววาน ซึ่งมีความสูงถึง 300 เมตร เท่ากับตึก 100 ชั้น

  5. นอกจากนี้ยังเดินหน้าก่อสร้างเขื่อนจิงฮง โดยจีนประเมินว่าเขื่อนทั้ง 8 ที่เรียงรายอยู่บนแม่น้ำโขงตอนบน (อีกสี่เขื่อนคือ เขื่อนนัวจาตู้เขื่อนกงกว่อเฉียวเขื่อนกันลันปา และเขื่อนเมงซองจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 15,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะป้อนให้กับเมืองอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ทางชายฝั่งตะวันออกของจีน และบางส่วนมีแผนจะขายไฟฟ้าให้กับประเทศไทยด้วย

  6. แม้ว่ารัฐบาลจีน โดยธนาคารพัฒนาจีนจะดำเนินการลงทุนเพื่อสร้างเขื่อนเองเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ได้รับการสนับสนุนในด้านต่างๆจากแหล่งทุนอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เช่น ธนาคารเอเชียพัฒนาเอเชียมีแผนที่จะให้เงินกู้สำหรับการสร้างสายส่งไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าในภูมิภาคแม่น้ำโขงโดยจะเชื่อมโยงสายส่งจากเขื่อนจิงฮงและเขื่อนนัวจาตู้เพื่อส่งไฟฟ้าออกไปขายยังภูมิภาค ซึ่งประเทศไทยมีแผนที่จะรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนเหล่านี้ด้วย

  7. ปัญหา ผลกระทบ และความขัดแย้ง หลังการสร้างเขื่อน

  8. - เปลี่ยนวงจรการไหลของน้ำ กระแสน้ำและปิดกั้นการพัดพาของตะกอนในแม่น้ำ เป็นการเปลี่ยนสภาพทางนิเวศวิทยาของแม่น้ำอย่างสุดโต่ง และจะมีผลกระทบโดยตรงกับการใช้แม่น้ำของประชาชนในประเทศจีนเอง และต่อประเทศในตอนล่าง คือพม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม

  9. - การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุด จะมาจากการเปลี่ยนแปลงการไหลของน้ำ และวงจรการขึ้นลงของกระแสน้ำตามธรรมชาติ ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการเกษตร และการประมง ที่เป็นหัวใจสำคัญของการใช้แม่น้ำโขง

  10. - การเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนของเขื่อนต่างๆ จะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดน้อยลง มีผลกระทบกับการเดินทาง และการวางไข่ของปลา ในขณะเดียวกัน การปล่อยน้ำออกจากเขื่อนในฤดูแล้ง จะเพิ่มระดับน้ำในแม่น้ำให้มากกว่าธรรมชาติ การทำการเกษตรริมฝั่งและเขตพื้นที่น้ำท่วมถึงของประเทศทางตอนล่าง ซึ่งมีความหลากหลาย และพึ่งพาระบบน้ำท่วมตามธรรมชาติ ก็จะได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง

  11. - ประชาชนในเขตอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ตั้งข้อสังเกตว่าระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดต่ำลง น้ำขุ่น และการไหลของน้ำเปลี่ยนแปลงไป ความเสียหายที่เห็นได้ชัด และมีผลกระทบโดยตรงกับรายได้ของชาวบ้านคือการที่สาหร่ายน้ำจืด หรือไก ซึ่งเป็นพืชที่ชาวบ้านเก็บขายน้อยลงมาก เนื่องจากไกต้องการน้ำสะอาด และไหลอย่างสม่ำเสมอ

  12. - ดร. ไทสัน โรเบิร์ต มริกา กล่าวว่าการสร้างเขื่อนในจีน จะทำให้ระบบการอุทกศาสตร์ของทะเลสาปเขมร “เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง” เนื่องจาก ในหน้าฝน น้ำจากแม่น้ำโขงจะหนุนให้ระดับน้ำในทะเลสาปเขมรสูงขึ้น และท่วมเป็นบริเวณกว้าง กลายเป็นแหล่งจับปลาน้ำจืดที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และในฤดูแล้ง น้ำจากทะเลสาปเขมรจะไหลลง กลับสู่สายน้ำโขง การสร้างเขื่อนจะทำให้กระแสน้ำไม่เป็นไปตามธรรมชาติ แต่กลับมีปริมาณการท่วมแช่ขังอยู่ตลอดปี

  13. ผลกระทบต่างๆ

  14. 1. การเปลี่ยนแปลงวงจรน้ำขึ้น-น้ำลง ส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบนิเวศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง มีผลให้การขึ้นลงของน้ำผิดธรรมชาติ และปริมาณเฉลี่ยของน้ำเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในฤดูแล้ง รวมทั้งธาตุอาหารที่พัดพามากับน้ำกว่าครึ่งถูกเก็บกักไว้ นอกจากกระทบต่อการประมงโดยตรงแล้ว ยังมีผลต่อการเกษตรริมฝั่งที่ต้องพึ่งพาธาตุอาหารซึ่งไหลมากับกระแสน้ำสะสมเป็นปุ๋ยในดิน

  15. 2. การพังทลายชายฝั่งแม่น้ำโขงการกัดเซาะพังทลายของชายฝั่งแม่น้ำโขงพบว่าการพังทลายของชายฝั่งเร็วและรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ ในระบบนิเวศลุ่มน้ำโขงที่มีแอ่งน้ำลึก คาดว่าเป็นที่อยู่อาศัยและหากินของปลาบึก ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกและใกล้สูญพันธุ์ การพังทลายของชายฝั่ง หน้าดินตลอดลำน้ำโขงได้ทำให้แอ่งน้ำลึกเหล่านี้ตื้นเขิน ซึ่งอาจจะสุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของปลาบึก

  16. ประเทศที่ได้รับผลกระทบประเทศที่ได้รับผลกระทบ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ความขัดแย้งแบบ Inter-state conflict

  17. แนวทางการแก้ไข • การคัดค้านจากภาคประชาสังคม ในภูมิภาคแม่น้ำโขง และจากนานาประเทศ แต่รัฐบาลจีนก็ยังคงเดินหน้าก่อสร้างเขื่อนในลุ่มน้ำโขงตอนบนต่อไป • จีนได้พยายามเจรจาเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับประเทศต่างๆในลุ่มน้ำโขงตอนล่างด้วย เช่น การเจรจาซื้อขายไฟฟ้ากับประเทศไทย การสนับสนุนการก่อสร้างถนนจากเมืองคุนหมิงเข้าสู่เชียงแสนและประเทศลาวตอนเหนือ และการลงทุนก่อสร้างเขื่อน หรือแม้กระทั่งการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง

  18. ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้เริ่มตั้งข้อวิจารณ์เขื่อนที่ปิดกั้นลำน้ำโขงทางตอนบน หรือโครงการพัฒนาต่างๆ ที่ส่งผลกระทบข้ามพรมแดน หลายฝ่ายได้เรียกร้องให้มีการพูดคุยเพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหาของคนภายในลุ่มน้ำเดียวกันอย่างรูปธรรม • แม้ว่าประเทศในแม่น้ำโขงตอนล่างสี่ประเทศ คือ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ได้มีการรวมตัวกันในรูปของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เช่น Mekong River Commision หรือ MRC , คณะกรรมการ JCCN และ อาเซียนแต่ยังไม่มีอำนาจต่อรองกับจีนได้

  19. รวมตัวเจรจาแบบทวิภาคีระดับภูมิภาค เจรจาต่อรองกับจีน เจรจาแบบทวิภาคี รวมกลุ่มกันในรูปคณะกรรมการแม่น้ำโขง Inter-state conflict จีน  เวียดนาม  กัมพูชา  จัดตั้งคณะกรรมการแม่น้ำโขงเพื่อเจรจา  พม่า  ลาว อาเซียน ไทย

  20. จบการนำเสนอ

More Related