140 likes | 305 Vues
งานวิจัย เรื่อง เทคโนโลยีการ จัดการองค์ความรู้ และการประยุกต์ใช้ วรรณกรรมหรืองานวิจัย ตั้งแต่ ปี พ . ศ .2538-2545 ของชู เชียน เหลียว. โดย วิ ลาวรรณ์ วงศ์ ขัติย์ รหัสประจำตัวนักศึกษา 542132032 สาขาวิชา การจัดการความรู้.
E N D
งานวิจัย เรื่อง เทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้วรรณกรรมหรืองานวิจัย ตั้งแต่ ปีพ.ศ.2538-2545ของชู เชียน เหลียว โดย วิลาวรรณ์ วงศ์ขัติย์ รหัสประจำตัวนักศึกษา 542132032 สาขาวิชา การจัดการความรู้
1.ที่มา หลักการและเหตุผลของงานวิจัย วิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาในเรื่องของการพัฒนาการจัดการความรู้โดยศึกษาจากงานวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและการจัดแบ่งประเภทของบทความต่างๆตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2538-2545 ซึ่งใช้ดัชนีคำหลัก(Keyword) เป็นเกณฑ์ในการศึกษาวิธีการใช้เทคโนโลยีการจัดการความรู้และการประยุกต์ใช้ที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งทั้งนี้ได้มีการกำหนดขอบเขตของบทความต่างๆที่ได้ศึกษา โดยมีการใช้คำหลัก “ การจัดการความรู้และการประยุกต์ใช้” ได้จำนวนทั้งสิ้น 234 บทความ และได้แบ่งประเภทของเทคโนโลยีในการจัดการความรู้ ออกเป็น 7 หมวดหมู่ด้วยกัน ได้แก่ KM Framework (กรอบความรู้), knowledge-based system( ระบบพื้นฐานความรู้), data mining (แหล่งข้อมูลหรือเหมืองข้อมูล), information and communication technology (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร), artificial intelligence/expert system (ปัญญาประดิษฐ์/ผู้เชี่ยวชาญระบบ), database technology (เทคโนโลยีฐานข้อมูล)and modeling (การสร้างแบบจำลอง)
1.ที่มา หลักการและเหตุผลของงานวิจัย ร่วมกับการนำไปประยุกต์ใช้งาน ทั้งในด้านการวิจัยและการแก้ปัญหาต่างๆ เป็นต้น บางประเด็นได้มีการชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการของการนำ เทคโนโลยีการจัดการความรู้และการประยุกต์ใช้ไปใช้งาน ซึ่งได้แก่ 1. เทคโนโลยีการจัดการความรู้ นำไปสู่การพัฒนาความเป็นผู้เชี่ยวชาญ และ การประยุกต์ใช้การจัดการความรู้มาพัฒนาเพื่อใช้ในการกำหนดปัญหา นิยามปัญหา หรือแก้ปัญหาได้ 2. การศึกษาวิธีการปฏิบัติในด้านความแตกต่างทางสังคม เช่น การใช้สถิติ และสามารถนำการจัดการความรู้ไปประยุกต์ปฏิบัติได้ ในฐานะที่เป็นเทคโนโลยีประเภทหนึ่ง 3. การบูรณาการวิธีเชิงคุณภาพและวิธีเชิงปริมาณ รวมถึงการบูรณาการในด้านการศึกษาจะแผ่ขยายออกไปได้กว้างขึ้น 4. ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความเข้าใจใหม่ๆ ซึ่งเป็นพลังของเทคโนโลยีการจัดการความรู้ และสามารถนำไปใช้ในการทำงานต่อไปได้
2.วัตถุประสงค์ของการศึกษางานวิจัย2.วัตถุประสงค์ของการศึกษางานวิจัย 2.1 เพื่อศึกษาการพัฒนาการจัดการความรู้จากวรรณกรรม 2.2 เพื่อศึกษาถึงเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการความรู้ว่ามีเทคโนโลยีใดบ้าง 2.3 เพื่อศึกษาถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการจัดการความรู้ในด้านการวิจัย การศึกษา การบูรณาการ และการแก้ปัญหาต่างๆ 2.4 เพื่อศึกษาถึงการนำเอาเทคโนโลยีในการจัดการความรู้ในแต่ละประเภทมาค้นหาความแตกต่างและปัญหาหลักใดๆที่เกิดขึ้นจากการจัดการความรู้
3.ประโยชน์ที่ได้รับของการศึกษางานวิจัย3.ประโยชน์ที่ได้รับของการศึกษางานวิจัย 3.1 ทราบถึงการใช้ Keyword ในการศึกษาวิธีการ เทคโนโลยีการจัดการความรู้และการประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่างๆ 3.2 ทราบถึงเทคโนโลยีในการจัดการความรู้ว่ามีกี่ชนิด อะไรบ้างจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ 3.3 เห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีการจัดการความรู้ในแต่ละประเภทมาบูรณาการใช้ร่วมกัน แก้ปัญหางานในด้านการวิจัย การศึกษาและการแก้ปัญหาต่างๆ 3.4 เห็นความสำคัญของพัฒนาการของการนำเทคโนโลยีการจัดการความรู้ไปประยุกต์ใช้ในงานได้ 3.5 ทราบถึงความแตกต่างของการนำเทคโนโลยีการจัดการความรู้มาพัฒนา นำไปสู่ความเป็นผู้เชี่ยวชาญในงานได้และการประยุกต์ใช้การจัดการความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาได้ 3.6 มองเห็นแนวทางในการนำเทคโนโลยีการจัดการความรู้ไปใช้เพื่อทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ 3.7 ทราบถึงผลที่ได้จากการใช้เทคโนโลยีการจัดการความรู้ การประยุกต์ใช้ตามเทคโนโลยีการจัดการความรู้ทั้งกรอบการจัดการความรู้ ระบบฐานความรู้ แหล่งข้อมูล ปัญญาประดิษฐ์ ระบบผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยีฐานข้อมูล และการสร้างแบบจำลอง 3.8 ทราบถึงการนำเอาเทคโนโลยีการจัดการความรู้และการนำไหประยุกต์ใช้ไปพัฒนางานในอนาคตได้
4.วิธีดำเนินการ(KM Tools)ของงานวิจัย 4.1 กรอบการจัดการความรู้หรือขอบข่ายการจัดการองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้งาน -นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดการความรู้โดยการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล การเรียนรู้ผ่านการสื่อสารโดยตรง การเรียนรู้และการใช้พื้นที่เก็บข้อมูลความรู้ ประยุกต์ความรู้ในองค์กรโดยการสร้างเครื่องมือในการจัดการ นำมาใช้งานในด้านวิศวกรรมความรู้ วิธีการที่เกี่ยวกับมุมมองของการจัดการความรู้เพื่อนำเสนอกรอบเทคโนโลยีกับการวิจัยเชิงคุณภาพ การใช้โปรแกรมมาประยุกต์ใช้งาน
4.2 ระบบฐานองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้งาน -มีการใช้ระบบทุนความรู้ KBS มาใช้ในการจัดการเพื่อสร้างรายได้กับงาน นำเทคโนโลยีอื่นมาสนับสนุนระบบ KBS ใช้ระบบ KBS ใน Domain ของปัญหาที่เฉพาะเจาะจง ใช้เพื่อพิสูจน์ถึงสินทรัพย์ความรู้ของการจัดการในองค์กร เช่น ผู้เชี่ยวชาญระบบ Groupware และระบบฐานข้อมูลบริหารจัดการ ยกตัวอย่างเช่น 1.Alexip เป็น KBS สำหรับการกำกับดูแลของกระบวนการกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีหรืออาจใช้ประโยชน์ในการจัดการกับทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมการพัฒนาองค์กร 2.Failsafe เป็น KBSที่สนับสนุนคุณภาพของผลิตภัณฑ์กับกระบวนการผลิต 3.Appbuilder คือการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สภาพแวดล้อมสำหรับพัฒนาระบบการตัดสินใจ บูรณาการกับเทคโนโลยี Intranet 4.HACCPเป็น KBSสำหรับการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการในการคาดการณ์ด้านจุลชีววิทยา
4.3 แหล่งข้อมูลหรือการทำเหมืองข้อมูลและการประยุกต์ใช้งาน -ใช้ฐานข้อมูล DM KDD สำหรับการตัดสินปัญหา วิเคราะห์วางแผน ตรวจสอบ วินิจฉัย บูรณาการ ป้องกันการเรียนรู้และนวัตกรรม ยกตัวอย่างเช่น EDA เป็นโครงสร้างสำหรับการทำแหล่งข้อมูลบนตัวบ่งชี้ทางทฤษฎีโดยมีการสืบค้นเข้าด้วยกัน LSI ใช้ในการสร้างการกระจายความสัมพันธ์เมตริกซ์ CDM สำหรับการทำแหล่งข้อมูลผลิตภัณฑ์ ความรู้กับการวิจัยการดำเนินงานเพื่อประเมินประสิทธิภาพของการผ่าตัดหัวใจ DMใช้เพื่อดึงความรู้จากฐานข้อมูลสำหรับการจัดการกับปัญหาบางอย่าง เช่น การบริการลูกค้า การสนับสนุน การทำนายความล้มเหลวขององค์กร เป็นต้น
4.4 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและการประยุกต์ใช้งาน -มี Platform สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูล กิจกรรมที่ทำร่วมกันสนับสนุนโลกของการค้า มีการเชื่อมโยงบูรณาการกับอินเทอร์เน็ต ICT ที่เชื่อมต่อกับเทคโนโลยีเครือข่ายและการบริการ เช่น อินทราเน็ต เอ๊กซ์ทราเน็ต มีการจัดการความรู้โดยใช้เครื่องมือ Software ของ ICT การดำเนินการประยุกต์ใช้ เช่น ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การเรียนรู้ในองค์กร การถ่ายโอนความรู้ การบูรณาการความรู้ การแบ่งปันข้อมูล การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
4.5 ผู้เชี่ยวชาญระบบและการประยุกต์ใช้งาน -เน้นความรู้จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์จับความเชี่ยวชาญของมนุษย์ระดับโดเมนของความรู้ ความรู้ของมนุษย์จะต้องสร้างแบบจำลองในลักษณะที่คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้ การพัฒนาโปรแกรมเพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญระบบ 4.6 เทคโนโลยีฐานข้อมูลและการประยุกต์ใช้งาน -ใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูล DBMS เป็น Software ที่ใช้รวบรวมข้อมูลการจัดการ ตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์ข้อมูลออนไลน์
4.7 การสร้างแบบจำลองและการประยุกต์ใช้งาน -การเขียนโปรแกรม การสร้างแบบจำลองสินทรัพย์และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ใช้เป็นเทคโนโลยีในการสร้างแบบจำลอง เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บางโปรแกรมจะดำเนินการโดยการสร้างแบบจำลองซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบความรู้การจัดหมวดหมู่ความรู้ การเรียนรู้ธุรกิจ ภาษารูปแบบความรู้ เป็นต้น
5. สรุปผลการศึกษาและวิเคราะห์ของนักศึกษา จากการศึกษา วิเคราะห์งานวิจัย เรื่อง เทคโนโลยีการจัดการความรู้และการประยุกต์ใช้วรรณกรรม ตั้งแต่ปีพ.ศ 2538-2545 ของชู เชียน เหลียว พบว่าเป็นการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีการจัดการความรู้โดยใช้ดัชนีคำหลักเป็นตัวชี้แนะในการค้นคว้าหาข้อมูลโดยใช้คำหลักคือ การจัดการความรู้(Knowledge Management) บนฐานข้อมูล Elsevier SDOS โดยวรรณกรรมเรื่องนี้อยากให้ทราบถึงว่าจะต้องใช้เทคโนโลยีการจัดการความรู้ที่สำคัญอยู่ 7 ประเภท ได้แก่ 1.กรอบการจัดการความรู้ 2.ระบบฐานความรู้ 3.แหล่งข้อมูล 4.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5.ปัญญาประดิษฐ์/ระบบผู้เชี่ยวชาญ 6.เทคโนโลยีฐานข้อมูล 7.การสร้างแบบจำลอง
ทั้งนี้ในเทคโนโลยีการจัดการความรู้ในแต่ละประเภทนั้นก็จะบอกถึงรายละเอียดว่าจะต้องมีการดำเนินการในการจัดการความรู้ได้อย่างไร นำไปใช้ในงานใดได้บ้างรวมถึงชี้ให้เห็นถึงการพัฒนางานในอนาคต การประยุกต์ใช้ในปัญหาหลักด้านต่างๆ เช่น ทางด้านสังคม การศึกษา และเมื่อนำเทคโนโลยีการจัดการความรู้มาใช้แล้วก็จะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆได้มากขึ้น เพราะฉะนั้นสรุปได้ว่าเทคโนโลยีการจัดการความรู้สามารถนำไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถจัดการความรู้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการนำเอาเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ก็สามารถกำหนดขอบเขตของปัญหาได้ เทคโนโลยีการจัดการความรู้สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงความรู้ ความเข้าใจใหม่อย่างค่อยเป็นค่อยไปทั้งนี้จะช่วยทำให้นำเทคโนโลยีการจัดการความรู้ไปใช้งานในอนาคตของการทำงานต่อไป
จบการนำเสนองาน ขอบคุณค่ะ