1 / 32

ความผิดปกติที่เกิดจากการถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม

ความผิดปกติที่เกิดจากการถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม. โดย ครูเพ็ญประภา หร่ายเจริญ. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากแม่ ( XX ) และพ่อ ( XY ) อาจก่อให้เกิดความผิดปกติหรือเกิดโรคได้ 3 ประเภท ดังนี้. ความผิดปกติที่เกิดจากการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม. 1. โครโมโซมร่างกายหรือออโตโซม

sulwyn
Télécharger la présentation

ความผิดปกติที่เกิดจากการถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความผิดปกติที่เกิดจากการถ่ายทอดความผิดปกติที่เกิดจากการถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม โดย ครูเพ็ญประภา หร่ายเจริญ

  2. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากแม่ (XX) และพ่อ (XY) อาจก่อให้เกิดความผิดปกติหรือเกิดโรคได้ 3 ประเภท ดังนี้ ความผิดปกติที่เกิดจากการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม 1. โครโมโซมร่างกายหรือออโตโซม มี 22 คู่ ความผิดปกติเกิดจากมี โครโมโซมเกินหรือรูปร่าง โครโมโซมขาดหายไปบางส่วน เกิดลักษณะซินโดรมแบบต่าง ๆ

  3. อาการดาวน์ซินโดรม ( Down syndrome) สาเหตุของความผิดปกติ โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง ลักษณะ/อาการของผู้ป่วย หางตาชี้ขึ้น ลิ้นจุกปาก ศีรษะแบน ดั้งจมูกแบน ปัญญาอ่อน พบบ่อยในแม่ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก

  4. อาการคริดูชาต์หรือแคทครายซินโดรม ( cri-du-chat / Cat cry syndrome) สาเหตุของความผิดปกติ โครโมโซมคู่ที่ 5 หายไปบางส่วน ลักษณะ/อาการของผู้ป่วย ศีรษะเล็กกว่าปกติ หน้ากลม ใบหูต่ำกว่าปกติ ตาห่างกัน หางตาชี้ขึ้น ดั้งจมูกแบน คางเล็ก นิ้วมือสั้น ร้องเสียงเหมือนแมว ปัญญาอ่อน

  5. อาการเอ็ดเวิร์ดซินโดรม ( Edwards syndrome) สาเหตุของความผิดปกติ โครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 แท่ง ลักษณะ/อาการของผู้ป่วย ปัญญาอ่อน หูแหลม คางเล็ก ปากแคบ ใบหูเล็กผิดปกติ หัวใจผิดปกติ ข้อมือและข้อเท้าบิด

  6. อาการพาทัวซินโดรม ( Patau syndrome ) สาเหตุของความผิดปกติ โครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 แท่ง ลักษณะ/อาการของผู้ป่วยปัญญาอ่อน ตาเล็ก ศีรษะเล็กกว่าปกติ มีนิ้วเกิน ปากแหว่งเพดานโหว่ หัวใจรั่ว อวัยวะภายในพิการ มักเสียชีวิตตั้งแต่แรกเกิด

  7. 2. โครโมโซมเพศเป็นโครโมโซมคู่ที่ 23 ความผิดปกติอาจเกิดจาก - โครโมโซม X ขาด หรือเกินจาก ปกติ - โครโมโซม Y เกินปกติ (ซูเปอร์แมน) มีผลต่อลักษณะของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับเพศ จิตใจ และพฤติกรรม

  8. 1. โครโมโซมเพศเป็น XXY เป็นอย่างไร 2. โครโมโซมเพศเป็น XYY เป็นอย่างไร 3. โครโมโซมเพศเป็น XXX เป็นอย่างไร 4. โครโมโซมเพศเป็น XO เป็นอย่างไร 5. โครโมโซม X มีขนาดใหญ่ เป็นอย่างไร 6. โครโมโซม Y มีขนาดเล็ก เป็นอย่างไร

  9. ความผิดปกติของโครโมโซมเพศความผิดปกติของโครโมโซมเพศ • โครโมโซมเพศเป็น XXY • - เป็นเพศชายมีเต้านมโตคล้ายเพศหญิง • - อวัยวะเพศเล็ก ไม่สร้างเชื้ออสุจิจึงเป็นหมัน • ดังนั้น โครโมโซมในเซลล์ร่างกายจะเป็น 44+XXY • ซึ่งเท่ากับ 47 โครโมโซม

  10. 2. โครโมโซมเพศเป็น XYY - เป็นเพศชายที่มีรูปร่างสูงใหญ่กว่าปกติ -อารมณ์ร้าย โมโหง่าย -บางรายมีจิตใจไม่ปกติจึงเป็นหมัน -แต่บางรายที่จิตใจปกติและไม่เป็นหมัน ดังนั้นโครโมโซมในเซลล์ร่างกายจะเป็น 44+XYY ซึ่งเท่ากับ 47 โครโมโซม อาจเรียกว่า ผู้ป่วยที่เป็นแบบซูเปอร์แมน

  11. 3. โครโมโซมเพศเป็น XXX - เป็นเพศหญิงที่มีลักษณะทั่วไปดูปกติ - แต่มีสติปัญญาต่ำกว่าระดับปกติถ้าไม่เป็นหมัน ดังนั้น โครโมโซมในเซลล์ร่างกายจะเป็น 44+XXX ซึ่งเท่ากับ 47 โครโมโซม ลูกที่เกิดมาจากหญิงที่มีโครโมโซมแบบนี้อาจมีความผิดปกติ ทางโครโมโซมเพศเหมือนแม่หรือเป็น XXY ได้

  12. 4. โครโมโซมเพศเป็น XO - เป็นเพศหญิง รูปร่างเตี้ย - เป็นหมัน เพราะอวัยวะเพศมีขนาดเล็ก รังไข่ฝ่อ ผลิตไข่ไม่ได้ - คอสั้นเนื้อพลับไปมา ดังนั้น โครโมโซมในเซลล์ร่างกายจะเป็น 44+ XO ซึ่งเท่ากับ 45 โครโมโซม

  13. 5. โครโมโซม X มีขนาดใหญ่ มียีนจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศและไม่เกี่ยวเนื่องกับเพศ 6. โครโมโซม Y มีขนาดเล็ก มียีนอยู่จำนวนน้อยกว่า ส่วนใหญ่เป็นยีนที่ควบคุมลักษณะของเพศชาย

  14. 3. การถ่ายทอดยีนหรือหน่วย พันธุกรรมที่ผิดปกติโดยยีนด้อย ที่อยู่บนโครโมโซม X ทำให้เกิดอาการหรือโรค เช่น ตาบอดสี ทาลัสซีเมีย แขนขาลีบ

  15. โรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดทางโครโมโซมเพศโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดทางโครโมโซมเพศ การถ่ายทอดพันธุกรรมของโครโมโซมเพศเกิดจากยีนที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ซึ่งอยู่บนโครโมโซม X จากการศึกษาพบว่ามีลักษณะทางพันธุกรรมหรือโรคบางโรคที่ควบคุมด้วยแอลลีลด้อยบนโครโมโซม X

  16. ทำให้เพศหญิงซึ่งมีโครโมโซม X อยู่ 2 แท่ง ถ้ามีแอลลีลผิดปกติที่ควบคุมโดยแอลลีลเด่นอยู่ 1 แอลลีล จะไม่แสดงอาการของโรคพันธุกรรมนั้นให้ปรากฏ แต่ผู้หญิงจะเป็นพาหะของยีนที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมนั้น ส่วนเพศชายมีโครโมโซม X อยู่ 1 แท่ง แม้ได้รับแอลลีลด้อยที่ผิดปกตินั้นเพียงแอลลีลเดียว ก็สามารถแสดงลักษณะของโรคพันธุกรรมนั้น

  17. กำหนดให้ = แอลลีลด้อย = แอลลีลเด่น ผลการถ่ายทอดลักษณะ XX = หญิงปรากฏอาการ XX = หญิงไม่ปรากฏอาการ XY = ชายปรากฏอาการ XY = ชายไม่ปรากฏอาการ

  18. โรคเลือดไหลไม่หยุด ( ฮีโมฟีเลีย ) ปัญญาอ่อนบางชนิด โรคที่เกิดจาก การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ตาบอดสี ทาลัสซีเมีย โรคลักษณะแขนขาลีบ

  19. ตาบอดสี เป็นอาการที่ตาของผู้ป่วยแปรผลของภาพสีผิดไปจากคนตาผิดปกติ การถ่ายทอดลักษณะตาบอดสีที่ควบคุมโดยยีนที่อยู่บนโครโมโซม X ลักษณะตาบอดสีเป็นแอลลีลด้อย ชายตาปกติ (X Y) แต่งงานกับหญิงตาปกติที่มีแอลลีลตาบอดสี (X X) แฝงอยู่ ดังนั้นลูกที่เกิดมามีโอกาสเป็นพาหะของตาบอดสีตามสัดส่วน ดังรูป กำหนดให้  แอลลีลตาปกติ  แอลลีลตาบอดสี  

  20. แม่ตาปกติ แต่เป็นพาหะของยีนตาบอดสี พ่อตาปกติ XY X X เซลล์ไข่ X X X Y เซลล์อสุจิ XX XX XY XY หญิงตา ปกติ หญิงตาปกติ แต่เป็นพาหะ ของยีนตาบอดสี ชายตา ปกติ ชายตา บอดสี

  21. จากรูป สรุปได้ดังนี้ 1. ลูกแต่ละคนที่เกิดมามีโอกาสตาบอดสีร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 2. ลูกแต่ละคนที่เกิดมามีโอกาสตาปกติร้อยละ 75 หรือ 3 ใน 4

  22. โรคฮีโมฟีเลีย (hemophelia) เป็นโรคที่มีอาการของเลือดไหล ไม่หยุด เป็นโรคที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดย แอลลีลด้อยบนโครโมโซม X ดังตัวอย่าง ชายเป็นโรคฮีโมฟีเลียแต่งงานกับหญิงปกติแต่เป็นพาหะของยีนฮีโมฟีเลีย กำหนดให้  แอลลีลปกติ  แอลลีลเป็นโรคฮีโมฟีเลีย

  23. หญิงปกติ แต่เป็นพาหะของโรคฮีโมฟีเลีย ชายเป็นโรคฮีโมฟีเลีย XY XX เซลล์ไข่ เซลล์อสุจิ X X X Y XX XX XY XY หญิงเป็นโรคฮีโมฟีเลีย หญิงปกติ แต่เป็นพาหะของโรคฮีโมฟีเลีย ชายปกติ ชายเป็น โรคฮีโมฟีเลีย

  24. จากแผนภาพ สรุปได้ดังนี้ 1. ลูกที่เกิดมาแต่ละคนมีโอกาสเป็นโรคฮีโมฟีเลียร้อยละ 50 2. ลูกที่เกิดมาแต่ละคนมีโอกาสปกติ และไม่เป็นพาหะของโรคฮีโมฟีเลีย ร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 3. อัตราส่วนของลูกหญิงและลูกชายที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียเป็น 1 : 1

  25. โรคทาลัสซีเมีย (thalassemia) เกิดจากการสร้างเฮโมโกลบิน ลดน้อยลง เซลล์เม็ดเลือดแดงผิดปกติแตกง่าย ทำให้เกิดภาวะเลือดจางเรื้อรัง ซีด ผู้เป็นโรคนี้ได้รับยีนที่ควบคุมการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงผิดปกติมาจากพ่อและแม่ อาการที่พบคือ ตับและม้ามโตตั้งแต่เด็ก ร่างกายเจริญเติบโตช้า แคระแกร็น ตัวเตี้ย หน้าแปลก จมูกแบน ตาอยู่ห่างกันมากกว่าปกติ กระดูกแก้มและขากรรไกรกว้าง ฟันยื่น

  26. โรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดรูปเคียว (sickel cell anemia) เซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะเป็นรูปเคียวไม่สามารถลำเลียงแก๊สออกซิเจนได้เท่ากับเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติ ทำให้ขาดออกซิเจน จึงรู้สึกเจ็บปวด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เลือดจาง

  27. ผิวเผือก (albino) เกิดจากการขาดเอนไซม์ที่ใช้สังเคราะห์ เม็ดสีเมลานินในเซลล์ใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวหนัง เส้นผม และนัยน์ตา เป็นสีขาว

  28. มิวเทชัน (mutation) คือ ความผิดปกติที่เกิดกับหน่วยพันธุกรรมหรือยีน ทำให้หน่วยพันธุกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งอาจทำให้เกิด โรคบางชนิด เช่น ทาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางชนิดซิกเคิล โรคผิวเผือก สาเหตุที่ทำให้เกิดมิวเทชันคือการได้รับรังสีบางชนิด เช่น รังสีเอกซ์ (X-ray) รังสียูวี (ultraviolet) หรือ สารเคมีบางชนิด เช่น กรดไนตรัส (HNO2) สารอะฟลาทอกซิน สารเหล่านี้ชักนำให้เกิด มิวเทชันได้

More Related