1 / 31

องค์ ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า

องค์ ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า. ดร.พญ.เบ็ญจมาส พฤกษ์กานนท์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข . องค์ ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า. สถานการณ์โรคซึมเศร้า อาการของโรคซึมเศร้า การวินิจฉัยและสาเหตุการเกิดโรคซึมเศร้า การ รักษา และ การดูแลต่อเนื่อง. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ความสำคัญของปัญหา.

taariq
Télécharger la présentation

องค์ ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. องค์ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้าองค์ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า ดร.พญ.เบ็ญจมาส พฤกษ์กานนท์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

  2. องค์ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้าองค์ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า • สถานการณ์โรคซึมเศร้า • อาการของโรคซึมเศร้า • การวินิจฉัยและสาเหตุการเกิดโรคซึมเศร้า • การรักษาและการดูแลต่อเนื่อง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

  3. ความสำคัญของปัญหา ปีสุขภาวะ DALYs เป็นผลรวมของการสูญเสียปีสุขภาวะจาก การตายก่อนวัยอันควร และการมีชีวิตอยู่กับความบกพร่องทางสุขภาพ ปีสุขภาวะ = ปีที่สูญเสียไปจากการตาย +ปีที่สูญเสียไปจากความเจ็บป่วย 1 ปีสุขภาวะ= หนึ่งหน่วยของการสูญเสียระยะเวลาของการมีสุขภาพดีไป 1 ปี

  4. การจัดอันดับความสูญเสียปีสุขภาวะของประชากรไทย ปี พ.ศ. 2547

  5. ความชุกของ Depressive disorders * รายงานการสำรวจระบาดวิทยาของโรคซึมเศร้าปี 2551 โดยกรมสุขภาพจิต

  6. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

  7. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

  8. อาการของโรคซึมเศร้า กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

  9. เคลื่อนไหวช้า • อารมณ์ • เศร้า • เฉยเมย • ความคิด • ความมั่นใจในตนเองต่ำ • รู้สึกผิด • มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย • อาการกินไม่ได้ นอนไม่หลับ

  10. อารมณ์เศร้า ภาวะซึมเศร้า โรคซึมเศร้า Sadness Depression Depressive disorder • เป็นอารมณ์ด้านลบซึ่งทางจิตวิทยาถือว่าเป็นสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้น เป็นครั้งคราวกับบุคคลทั่วไปทุกเพศทุกวัย เมื่อเผชิญกับ การสูญเสีย การพลาดในสิ่งที่หวัง การถูกปฏิเสธ • มักเกิดความรู้สึกสูญเสีย ผิดหวัง หรือความรู้สึกอึดอัดทรมาน (Gotlib 1992) • อาการเศร้าที่มากเกินควร และนานเกินไป • ไม่ดีขึ้นแม้ได้รับกำลังใจหรืออธิบายด้วยเหตุผล • มักมีความรู้สึกด้อยค่า รู้สึกผิด อยากตาย • พบบ่อยว่ามีผลกระทบต่อหน้าที่การงาน กิจวัตรประจำวันและการสังคมทั่วไป (Stifanis 2002) • ภาวะซึมเศร้าที่เข้าตามเกณฑ์การวินิจฉัย ICD-10 • โรคซึมเศร้า (F32) • โรคซึมเศร้าที่กลับเป็นซ้ำ (F33 • โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (F34.1) • หรือ เกณฑ์วินิจฉัยDSM-IV • โรคซึมเศร้า • โรคซึมเศร้าเรื้อรัง

  11. การสอดคล้องกันของอาการซึมเศร้าContinuum of Depression ภาวะซึมเศร้า Depression โรคซึมเศร้า Depressive disorders เศร้า Sadness น้อย Mild ปานกลางModerate รุนแรงSevere โรคจิตPsychotic กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

  12. การจำแนกโรคความผิดปกติทางอารมณ์การจำแนกโรคความผิดปกติทางอารมณ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

  13. เกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า (DSM-IV-TR) มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 5 อาการ เกิดขึ้นแทบทั้งวันเป็นเกือบทุกวัน ติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์และทำให้เสียหน้าที่การงานการสังคม มีอารมณ์เศร้า ทั้งที่ตนเองรู้สึกและคนอื่นสังเกตเห็น ความสนใจหรือความเพลิดเพลินในกิจกรรมปกติที่เคยทำทั้งหมดหรือแทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก ต้องมีอาการเหล่านี้ อย่างน้อย 1 อย่าง น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้น(มากกว่าร้อยละ5 ต่อเดือน)/เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น นอนไม่หลับหรือหลับมาก ทำอะไรช้า เคลื่อนไหวช้าลง หรือกระสับกระส่าย อยู่ไม่สุข เหนื่อยอ่อนเพลียหรือไม่มีแรง รู้สึกตนเองไร้ค่าหรือรู้สึกผิดมากเกินควร สมาธิหรือความคิดอ่านลดลง คิดถึงเรื่องการตายอยู่ซ้ำๆหรือคิดฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตายหรือมีแผน

  14. เกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า(ICD-10)เกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า(ICD-10)

  15. การวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้าการวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้า • อารมณ์ซึมเศร้าที่เกิดจากพยาธิสภาพทางกาย เช่น โรคสมองเสื่อม, โรคเส้นเลือดในสมองตีบแตกตัน,โรคไฮโปไทรอยด์ • อารมณ์ซึมเศร้าที่เกิดจากยาหรือสารบางชนิด เช่น ยาลดความดัน, ยานอนหลับ , แอลกอฮอล์ , Clonidine, reserpine, Methyldopa พิเชฐ อุดมรัตน์,การรักษาผู้ป่วยซึมเศร้าในเวชปฏิบัติ : คำถามและคำตอบ,การวินิจฉัยและการรักษาโรคทางจิตเวชสำหรับแพทย์ทั่วไป(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2551)

  16. การวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้าการวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้า • ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (Adjustment disorders with depressed mood) • ภาวะที่ผู้ป่วยมีความรู้สึกอึดอัดเป็นทุกข์ร่วมกับมีอารมณ์ซึมเศร้า จนรบกวนความสามารถในการทำงานหรือหน้าที่ทางสังคม ซึ่งเกิดจากความกดดันหรือความเครียด หรือเป็นผลหลังจากมีเหตุการณ์หรือมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของชีวิต (Stressful life event) กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

  17. การวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้าการวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้า • ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (Adjustment disorders with depressed mood) ต่อ.. • ความผิดปกติเกิดในระยะ 1 เดือนหลังจากมีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยที่อาการไม่รุนแรงเท่ากับโรคอารมณ์ซึมเศร้า • ระยะการดำเนินของโรคมักไม่เกิน 6 เดือน กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

  18. การวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้าการวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้า • โรคอารมณ์สองขั้ว บางช่วงของชีวิตมีอาการที่เข้าได้กับโรคซึมเศร้าและบางช่วงมีอาการของ mania/hypomania ซึ่งมีเกณฑ์การวินิจฉัยดังนี้ • มีอารมณ์สนุกสนาน รื่นเริงผิดปกติหรือมีอารมณ์ หงุดหงิดโกรธง่ายเป็นเวลา อย่างน้อย 1 สัปดาห์ • และมีอาการต่อไปนี้ อย่างน้อย 3 อย่างหรือหากมีอารมณ์เป็นแบบหงุดหงิดโกรธง่ายต้องมีอาการ อย่างน้อย 4 อย่าง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

  19. การวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้าการวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้า • Bipolar disorderต่อ.. • และมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 3 อย่างหรือหากมีอารมณ์เป็นแบบหงุดหงิดโกรธง่ายต้องมีอาการอย่างน้อย 4 อย่าง • รู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญผิดปกติหรือมีความยิ่งใหญ่อย่างอื่น • นอนน้อยกว่าธรรมดา เช่นนอน 3 ชั่วโมงก็รู้รู้สึกเต็มอิ่มแล้ว • พูดมากพูดเร็วหรือพูดไม่ยอมหยุด • มีความคิดเปลี่ยนเรื่องเร็ว กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

  20. การวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้าการวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้า • Bipolar disorderต่อ.. • มีอาการ distractibility เช่น เปลี่ยนความสนใจไปอย่างรวดเร็วไปตามสิ่งเร้าภายนอกแม้เพียงเล็กน้อย • มีกิจกรรมมากผิดปกติ เช่น การพบปะสังสรรค์ การทำงานหรือเรื่องเพศหรือมีพฤติกรรมพลุ่งพล่านกระวนกระวาย • มีพฤติกรรมซึ่งบ่งว่าการตัดสินใจเสีย เช่น ใช้เงินฟุ่มเฟือย ลงทุนทำกิจกรรมซึ่งขาดการพิจารณาหรือพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

  21. การวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้าการวินิจฉัยแยกโรคซึมเศร้า • Bipolar disorderต่อ.. • หากเป็น Mania อาการจะต้องทำให้เสีย function หรือต้อง admit หรือมีอาการโรคจิต • หากเป็น Hypomania อาการจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงแค่ประสิทธิภาพของผู้ป่วย ไม่ทำให้เสีย function ไม่ถึงขั้น admit ไม่มีอาการโรคจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

  22. สิ่งที่ต้องประเมินเมื่อผู้ป่วยมีอาการเข้าได้กับโรคซึมเศร้า เพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้องที่สุด • แยกโรคทางกายและยาที่ทำให้มีอารมณ์เศร้า • แยกโรคอารมณ์สองขั้ว ตัวอย่างคำถามประเมินอาการ Mania/Hypomania • ประเมินว่ามีภาวะโรคจิตร่วมด้วยหรือไม่ ตัวอย่างคำถามประเมินอาการ hallucination, delusion • ประเมินการฆ่าตัวตาย โดยใช้ 8Q หรือ 10Q กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

  23. ข้อสังเกตการวินิจฉัยโรคซึมเศร้าข้อสังเกตการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า • ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคนไทยเกือบครึ่งหนึ่งมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ มึนศีรษะ เจ็บหน้าอก ใจสั่น ปวดท้อง เพลีย ไม่มีแรง อารมณ์เครียดและอาการนอนไม่หลับ โดยอาจไม่รู้ว่าตนเองมีอารมณ์เศร้าด้วย • จึงมักได้รับการตรวจจากแพทย์ทั่วไป ซึ่งเมื่อตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติทางร่างกายก็มักถูกแพทย์วินิจฉัยว่าเป็น โรคกังวลไปทั่ว(Generalized anxiety disorder) • ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการทางกายโดยหาสาเหตุไม่พบ หรือมีอาการนอนไม่หลับ ควรได้รับการสอบถามอาการร่วมของโรคซึมเศร้าเพิ่มเติม พิเชฐ อุดมรัตน์ ,การรักษาผู้ป่วยซึมเศร้าในเวชปฏิบัติ : คำถามและคำตอบ,การวินิจฉัยและการรักษาโรคทางจิตเวชสำหรับแพทย์ทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2551)

  24. DYSTHYMIC DISORDER ก. มีอารมณ์ซึมเศร้าเป็นส่วนใหญ่ของวันมีวันที่เป็นมากกว่าวันที่ปกติโดยทั้งจากการบอกเล่าและการสังเกตอาการของผู้อื่นนานอย่างน้อย 2 ปี ข. ในช่วงที่ซึมเศร้ามีอาการดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 อาการขึ้นไป (1) เบื่ออาหารหรือกินจุ (2) นอนไม่หลับหรือหลับมากไป (3) เรี่ยวแรงน้อยหรืออ่อนเพลีย (4) self-esteem ต่ำ (5) สมาธิไม่ดีหรือตัดสินใจยาก(6) รู้สึกหมดหวัง ค. ในช่วง 2 ปีของความผิดปกติผู้ป่วยไม่มีช่วงเวลาที่ปราศจากอาการตามเกณฑ์ก.หรือข. นานเกินกว่า 2 เดือนในแต่ละครั้ง

  25. สาเหตุการเกิดโรคซึมเศร้าสาเหตุการเกิดโรคซึมเศร้า • โรคซมเศร้าเกิดจากการเสียสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง(Serotonin, Norepinephrine) • ปัจจัยทางสังคมจิตใจ เป็นตัวกระตุ้น และ • พันธุกรรมเป็นปัจจัยเอื้ออำนวยให้บุคคล มีแนวโน้มที่จะเกิดโรคซึมเศร้า

  26. การดำเนินโรคของโรคซึมเศร้าการดำเนินโรคของโรคซึมเศร้า • เรื้อรัง, อาการเกิดเป็นช่วง, หาย/ทุเลาได้, สามารถกลับเป็นซ้ำและกลับเป็นใหม่ได้ • พบอัตราการกลับเป็นซ้ำภายใน6 เดือน ประมาณ 19-22 % (Keller 1981,1983) และ 1 ปี พบอัตราการเกิดการกลับเป็นใหม่ 37% (Lin et al.,1998) • ช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดของการกลับซ้ำคือ 3-6 เดือนแรก หลังอาการทุเลา(Remission) • ระยะเวลาของการเกิดอาการที่ไม่ได้รับการรักษาจะมีค่ามัธยฐานอยู่ประมาณ 3 เดือน(Spijker 2002) • การเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายเป็น 20.35 ของประชากรทั่วไป (Harris 1997)

  27. วิธีการรักษาโรคซึมเศร้าที่เป็นมาตรฐานวิธีการรักษาโรคซึมเศร้าที่เป็นมาตรฐาน • การรักษาด้วยยาต้านเศร้า Pharmacotherapy เช่น - TCAs (amitriptyline), SSRIs (fluoxetine, sertraline) • จิตบำบัด Psychotherapy เช่น - Cognitive Behavioral Therapy - Problem Solving Therapy - Interpersonal Psychotherapy • การรักษาด้วยไฟฟ้า ECT การรักษาที่ดีที่สุดคือ การให้ยาพร้อมการรักษาด้วยวิธีการจิตสังคมบำบัดTreatment of choice isSSRIs Plus CBT

  28. การรักษาตามระดับความรุนแรงการรักษาตามระดับความรุนแรง

  29. การดูแลเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำการดูแลเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ • รักษาด้วยขนาดยาที่เหมาะสมและนานพอในระยะเร่งด่วน • รักษาจนอาการซึมเศร้าหายดี ไม่มีอาการตกค้างหลงเหลือ • หลังจากที่ทุเลาดีแล้วต้องให้ยาต่อเนื่อง 6-9 เดือน(Forshall1999) • มีโปรแกรมป้องกันการกลับซ้ำ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

  30. ขอบคุณมากนะคะ

More Related