410 likes | 510 Vues
วิถีเชิงบวก. Appreciative Inquiry. APPRECIATIVE INQUIRY. Developed by Dr. David Cooperrider Associate Professor of Organizational Behavior at the Weatherhead School of Management, Case Western Reserve University, Cleveland, Ohio Chairman of the SIGMA Program for
E N D
วิถีเชิงบวก Appreciative Inquiry
APPRECIATIVEINQUIRY Developed by Dr. David Cooperrider • Associate Professor of Organizational Behavior at the Weatherhead School of Management, Case Western Reserve University, Cleveland, Ohio • Chairman of the SIGMA Program for Human Cooperation and Global Action
Appreciate , v. • .... To value or admire highly; to judge with heightened understanding; to recognize with gratitude. • การให้คุณค่าหรือชื่นชมอย่างสูง การเลือกที่เข้าถึงอย่างลึกซึ้ง • การมองเห็นความสำคัญอย่างสำนึกในความดีนั้น
Inquire, v. • ….To search into, investigate; to seek for information by questioning. • การแสวงหา การสืบเสาะ การหาข้อมูลโดยการสอบถาม
หนทางสู่การเปลี่ยนแปลงในทางบวกหนทางสู่การเปลี่ยนแปลงในทางบวก วิธีการของ วิถีเชิงบวก เชื่อว่าในแต่ละชุมชน แต่ละองค์กร ย่อมมีสิ่งดีๆอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว มิฉนั้นคงไม่อาจดำรงอยู่ได้ การแสวงหา นำมาพูดคุยกัน นำมาแสดงให้เห็น วิเคราะห์ถึงคุณค่าที่ดี ย่อมจะช่วยพัฒนาชุมชนหรือองค์กรให้ก้าวต่อไปข้างหน้าได้เป็นอย่างดี หากเปรียบเทียบกับการปลูกต้นไม้ จะเห็นได้ว่าต้นไม้จะเติบโตไปในทิศทางที่มีแสงส่องมาเสมอ วิถีเชิงบวกก็เช่นเดียวกัน เราย่อมเติบโตไปในหนทางแห่งแสงสว่างที่เป็นบวก
หนทางสู่การเปลี่ยนแปลงในทางบวกหนทางสู่การเปลี่ยนแปลงในทางบวก • พระเยซูเจ้าทรงตรัสไว้ว่า • ท่านทั้งหลายเป็นแสงสว่างส่องโลก มัทธิว 5:14 • พระองค์ต้องการให้เรายกแสงสว่างขึ้นส่องให้สว่าง ไม่ใช่เอาไปไว้ใต้ถังที่เป็นหนทางในเชิงลบ นักบุญเปาโลก็ได้กล่าวไว้ในจดหมายถึงชาวฟิลิปปีว่า • ดังนั้น พี่น้องทั้งหลาย สิ่งใดจริง สิ่งใดประเสริฐ สิ่งใดชอบธรรม สิ่งใดบริสุทธิ์ สิ่งใดน่ารัก สิ่งใดควรยกย่อง ถ้ามีสิ่งใดเป็นคุณธรรม ถ้ามีสิ่งใดน่าสรรเสริญ ท่านจงพิจารณาสิ่งเหล่านี้ด้วยการใคร่ครวญเถิด ฟิลิปปี 4:8
หนทางสู่การเปลี่ยนแปลงในทางบวกหนทางสู่การเปลี่ยนแปลงในทางบวก • วิถีเชิงบวก เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ด้วยวิธีการที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน โดยทุกคนมีส่วนร่วม ผ่านทางกระบวนการแสวงหาจุดดีเด่นเพื่อร่วมกันสร้างมิติใหม่ในการทำงาน
หนทางสู่การเปลี่ยนแปลงในทางบวกหนทางสู่การเปลี่ยนแปลงในทางบวก • ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการเดินไปสู่อนาคต • ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ภายในองค์กร ช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และช่วยขยายผลของความดีงามที่ในบางครั้งอาจจะเกิดจากจุดเล็กๆที่อาจถูกมองข้าม • สร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันที่แน่นแฟ้นร่วมกันระหว่างผู้ปฎิบัติและผู้บริหาร • ช่วยสร้างโอกาสในการมีปฏิสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนทัศนคติดีๆต่อกัน
หนทางสู่การเปลี่ยนแปลงในทางบวกหนทางสู่การเปลี่ยนแปลงในทางบวก • ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์กรแบบยั่งยืน • แสดงให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องมองเห็นถึงความมุ่งมั่นและความตั้งใจอันดีงามของทุกคนในองค์กร • สร้างทีมงานที่ดีมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพสูง ในการนำองค์กรสู่การเปลี่ยนแปลงอันดีงามและยั่งยืน • วิถีเชิงบวก ช่วยกระตุ้นและผลักดันให้ทุกคนทำงานร่วมกันอย่างเปิดใจ สร้างความแน่นแฟ้น เข้มแข็งอันเป็นหัวใจสำคัญของทุกองค์กร
วิถีเชิงบวก ดำเนินการเพื่อมองหาความเชื่อมโยง และความเป็นหนึ่งเดียว โดยเฉพาะระหว่างบุคคลต่อบุคคล
วิถีเชิงบวก พระเยซูคริสตเจ้า เป็นผู้นำในความเป็นหนึ่งเดียวกัน ด้วยการตรัสว่า เราเป็นเถาองุ่น ท่านทั้งหลายเป็นกิ่งก้าน ผู้ที่ดำรงอยู่ในเรา และเราดำรงอยู่ในเขา ก็ย่อมเกิดผลมาก เพราะถ้าไม่มีเรา ท่านก็ทำอะไรไม่ได้เลย ยอห์น 15:5
วิถีเชิงบวก เช่นเดียวกัน นักบุญเปาโลกล่าวไว้ว่า ดังนั้น เราจงเลิกตัดสินกันและกันเถิด และจงเลิกคิดที่จะเป็นอุปสรรคให้พี่น้องสะดุดล้ม ฉะนั้น เราจงพยายามทำกิจการที่นำไปสู่สันติ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่กันและกัน โรม 14:13,19
ความหมายของคำว่าวิถีเชิงบวกความหมายของคำว่าวิถีเชิงบวก วิธีการรูปแบบใหม่ของการร่วมกันแสวงหาคุณค่าความดีงาม ในตัวบุคคลากร ในองค์กร หรือในโลกรอบๆตัวบุคลหรือองค์กรนั้นๆ ทั้งนี้โดยมุ่งมั่นที่จะแสวงหาสิ่งที่เป็น พลังชีวิต(Life Force)ที่สำคัญในการขับเคลื่อนให้องค์กรนั้นๆดำเนินไปได้อย่างดีที่สุด โดยสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และสภาพความต้องการของมนุษย์
วิถีเชิงบวก วิถีเชิงบวก ใช้กลวิธีในการถาม เพื่อแสวงหาสิ่งที่จับต้องได้ในการกำหนดวิถีทางที่สามารถทำให้เป็นจริงได้ คำถามที่ใช้จะเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบในเชิงบวกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้อาจสอบถามบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรนั้นๆในจำนวนที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละงาน
วิถีเชิงบวก วิถีเชิงบวก ยึดถือในหลักการของ ความคิดในเชิงบวก การถามคำถามในเชิงบวกย่อมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก หรืออาจกล่าวได้ว่า การเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต้องการแรงผลักดันในเชิงบวกเป็นอย่างมากในเวลาเดียวกันต้องมีความผูกพัน มีความหวัง ความบันดาลใจ และความชื่นชมยินดีในหมู่คนที่เกี่ยวข้อง
วิถีเชิงบวก คำถาม ยังมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้เกิด ความคิด เกิดนวัตกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ องค์ความรู้ใหม่ๆหรือนวัตกรรมใหม่ๆทั้งหลายมักจะเกิดจากการตั้งคำถามที่ไม่ธรรมดา คำถามที่ก่อให้เกิดการไตร่ตรอง การเปรียบเทียบหาความเป็นไปได้ หรือการสังเคราะห์ที่กว้างขวาง ลึกซึ้ง
วิถีเชิงบวก การเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้นทันทีที่มีการถามคำถาม การถาม คือการสร้างโอกาสให้เกิดทางเลือก นั่นคือปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการกระทำและการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะฉนั้นทั้งการถามในการแสวงหาและการเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้นควบคู่กัน หรืออาจกล่าวได้ว่าการแสวงหาคือวิธีการที่ทรงประสิทธิภาพในการกระตุ้นให้มีการปฏิรูป
วิถีเชิงบวก วิถีเชิงบวก ยังเชื่อว่า การสื่อสารเป็นหัวใจสำคัญของการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การสนทนาแลกเปลี่ยนกันย่อมมีความหมาย สิ่งต่างๆย่อมเกิดขึ้นจากการสื่อสารซึ่งกันและกัน ในเวลาเดียวกันย่อมสร้างสมให้เกิดเป็นองค์ความรู้ขึ้น
วิถีเชิงบวก การเกิดขึ้นขององค์กรย่อมเกิดจากถ้อยคำ มีอยู่ในเรื่องราวต่างๆที่เมื่อนำมากล่าวถึงก็จะเกิดความมีชีวิตขึ้นมา การเปลี่ยนแปลงในองค์กรก็ย่อมต้องอาศัยการใช้ ถ้อยคำ การบอกเล่า และการสื่อสาร การใช้กระบวนการ วิถีเชิงบวก จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ด้วยการนำผู้คนที่เกี่ยวข้อง มาร่วมกัน แสวงหา สานฝัน สรรค์สร้างองค์กรในแบบอย่างที่อยากให้เป็น เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดปฎิสัมพันธ์ในทุกระดับ ทุกแผนก ทุกส่วน มาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และเกิดความผูกพันต่อไป
วิถีเชิงบวก • วิถีเชิงบวก มีหลักการที่อาจเรียกได้ว่า 4 ส( 4D )นั่นคือ แสวงหาDiscoveryสานฝันDreamสรรค์สร้าง Designและ สืบสานDestiny อันเป็นการร่วมกันแสวงหาสิ่งที่มีคุณค่ามาสานฝันในวิถีทางที่ร่วมกันกำหนดและร่วมกันสรรค์สร้างเพื่อสืบสานงานขององค์กรให้รุ่งเรืองสืบไป
กระบวนการ 4 ส. การแสวงหา การตระหนักในคุณค่า หัวข้อเรื่องเล่าเชิงบวก การสืบสาน สร้างความยั่งยืน การสานฝัน การมองเห็นอนาคตที่ดีกว่า การสรรค์สร้าง วิถีทางสู่อนาคต
การแสวงหา ( Discovery ) • หัวข้อสำหรับการเลือกเป็นประเด็นเพื่อการ แสวงหา ในแต่ละองค์กรมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การให้บริการด้วยคุณภาพ ความเป็นหนึ่งเดียวกัน การสร้างแนวคิดใหม่ๆ การสร้างทีมงานคุณภาพ การกำหนดทิศทางขององค์กร ฯลฯ ในแต่ละหัวข้อ สิ่งที่ต้องทำคือการแสวงหาช่วงเวลาที่เกิดสิ่งดีๆที่สุด ช่วงเวลาที่มีประสิทธิผลสูงสุด มีชีวิตชีวาที่สุด และตระหนักถึงคุณค่าของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นๆ การแสวงหานี้อาจทำในแต่ละแผนก หรือทำรวมทั้งองค์กรก็ได้
การแสวงหา • จุดสำคัญของกระบวนการแสวงหานี้ คือการมีโอกาส สนทนา แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นอันจะนำไปสู่ความรู้สึกร่วมกันว่า นี่คือสภาพขององค์กรในฝันที่เราอยากให้เกิดขึ้น จากประสบการณ์และความคิดเห็นส่วนตัวเมื่อเกิดการแลกเปลี่ยนก็จะกลายเป็นความคิดเห็นร่วมของกลุ่มและขยายไปเป็น วิสัยทัศน์ขององค์กรในที่สุด
การสานฝัน ( Dream ) • การสานฝันเกิดขึ้นได้เมื่อมีการค้นพบสิ่งที่ดีงามจาก การแสวงหา เมื่อพบว่า เกิดอะไรขึ้นโดยธรรมชาติสมองจะคิดต่อว่าทำอย่างไรถึงจะเกิดขึ้นได้อีก ดังนั้นการสำนึกในคุณค่าของสิ่งดีที่เคยเกิดขึ้น ย่อมนำไปสู่ความคิดฝันที่จะเห็นสิ่งดีงามนั้นๆเกิดขึ้นอีกในอนาคต มองเห็นภาพของอนาคตที่ต้องการให้เป็น ขั้นตอนของการสานฝัน จึงเป็นการนำเอาเรื่องราวที่ได้จากการสนทนาในขั้นตอนของ การแสวงหา มาขยายให้เป็นภาพที่สมาชิกในองค์กรมองเห็นร่วมกันต่อไป
การสรรค์สร้าง ( Design ) • จากการร่วมกันถักทอสานเป็นความฝันสำหรับอนาคตที่อยากให้เป็น อยากให้เกิดขึ้นกับองค์กร ช่วยกันกำหนดสิ่งที่เป็นเรื่องดีงามในอดีตที่อาจเกิดขึ้นนานๆครั้งให้กลายเป็นงานประจำ เป็นคุณค่าที่มีอยู่สม่ำเสมอ การสรรค์สร้างเป็นมากกว่าการกำหนดวิสัยทัศน์แต่เป็นการกำหนดความตั้งใจ ความมุ่งมั่นร่วมกันด้วยข้อความที่มีพลังขับเคลื่อน เป็นการรวมเอาความดีงามในอดีต ผสมผสานกับแนวคิดใหม่ในการมองอนาคตขององค์กรร่วมกัน เป็นกลยุทธ์ที่มีความมุ่งมั่นแน่วแน่เป็นแก่นแกนเพื่อสร้างความเป็นไปได้จากการค้นพบคุณค่าความดีงาม
การสืบสาน (Destiny ) • จาก การสรรค์สร้าง จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรก้าวไปสู่ การสืบสาน ไปยังอนาคตข้างหน้าด้วยแนวคิดใหม่และด้วยการลงมือปฎิบัติของสมาชิกในองค์กร เมื่อทุกคนที่เกี่ยวข้องค้นพบคุณค่าความดีงามและร่วมกันสานฝันตลอดจนร่วมกันสรรค์สร้างวิถีทางที่มองเห็นร่วมกันไปสู่อนาคต และเนื่องจากอนาคตที่ร่วมกันมอง ร่วมกันกำหนดนั้นมาจากพื้นฐานของความเป็นจริง ความเป็นไปได้ แนวทางของ วิถีเชิงบวกจึงเป็นแนวทางที่ก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันอย่างเต็มที่ด้วยความเชื่อมั่นในการนำพาองค์กรไปสู่จุดหมายปลายทาง
หนทางสู่การเปลี่ยนแปลงในทางบวกหนทางสู่การเปลี่ยนแปลงในทางบวก เรารู้จักต้นไม้แต่ละต้นได้จากผลของต้นไม้นั้น เราย่อมไม่เก็บผลมะเดื่อเทศจากพงหนาม หรือเก็บผลองุ่นจากกอหนาม คนดีย่อมนำสิ่งที่ดีออกจากขุมทรัพย์ที่ดีในใจของตน..... (ลูกา 6 : 44-45)
วิถีเชิงบวก สามารถนำไปใช้เพื่อ การสร้างองค์กรในรูปแบบใหม่ การวางแผนกลยุทธ์ การพัฒนาผู้นำและการบริหาร วางแนวทางใหม่ในการบริหารงาน สร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ สร้างระบบการสื่อสารในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
วิถีเชิงบวก สร้างความสัมพันธ์อันดีในทุกระดับ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด การวิจัยและการประเมิน การวางแผนอภิบาล การเข้าเงียบหรือการฟื้นฟูจิตใจ การโยกย้ายตำแหน่งหรือนำสู่การเปลี่ยนแปลง
ใครบ้างที่นำ วิถีเชิงบวก ไปใช้ • Avonเม็กซิโก เริ่มใช้แนวคิดการให้ความเท่าเทียมกันทางเพศ เป็นที่แรก และมีโครงการขยายไปใช้ในประเทศอื่นๆ ได้รับรางวัลเป็นสถานที่ที่ดีที่สุดประจำปี 1997 สำหรับผู้หญิงในการทำงาน • BAE Systemsพัฒนาแผน 5 ปี โดยมีกลุ่มบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมตลอดไปถึงกลุ่มลูกค้า โดยใช้วิธีการ SOAR (Strengths, Opportunities, Aspirations, Results )
ใครบ้างที่นำ วิถีเชิงบวก ไปใช้ • Hunter Douglas Window Fashions Divisionนำเอาจุดเด่นเชิงบวกของบริษัทมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น ด้านความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการปรับเปลี่ยน ความใกล้ชิดในการทำงาน การรับผิดชอบต่อสังคม และการสร้างความเป็นผู้นำ ทำให้ได้รับรางวัล หนึ่งในสิบบริษัทที่น่าทำงานที่สุดในเมือง เดนเว่อร์ โคโลราโด ในปี 2004 และ ปี 2006 • Imagine Chicagoองค์กรนี้เป็นหน่วยงานแรกที่ใช้วิธีการของ วิถีเชิงบวก ในการสัมภาษณ์แบบต่างวัย คือคนอายุน้อยกว่าไปสัมภาษณ์ผู้สูงอายุถึงความคิดเห็นต่อการร่วมกิจกรรมของเมืองและความคาดหวังในอนาคต ทำให้องค์กรนี้ได้รับรางวัลมากมาย เป็นต้นแบบของโครงการที่จะขยายไปใช้ทั่วโลก
ใครบ้างที่นำ วิถีเชิงบวก ไปใช้ • World Visions Relief and Developmentใช้วิถีเชิงบวกในการประชุมวางแผนในการประชุมใหญ่ทั่วโลก โดยจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ โดยต้องการศึกษาปรับปรุงด้านต่างๆ เช่น ความร่วมมือ การสื่อสาร โครงการต่างๆ การสร้างสรรค์ คุณภาพ ฯลฯ
ในแวดวงคาทอลิก ใครบ้างที่นำ วิถีเชิงบวก ไปใช้ • องค์กรที่ชื่อว่า Catholic Relief Services ( CRS)ได้ใช้กระบวนการ วิถีเชิงบวกในการปรับเปลี่ยนการทำงานร่วมกับองค์กรอื่นๆ ซึ่งนอกจากจะได้ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรที่ดีขึ้นอย่างมากแล้ว ยังช่วยจุดประกายความตื่นตัวในการทำงานให้กับพนักงานขององค์กรเป็นอย่างมาก
ในแวดวงคาทอลิก ใครบ้างที่นำ วิถีเชิงบวก ไปใช้ • ที่เมือง Garfield Heights’ในรัฐ Ohioอเมริกา สังฆมณฑล คลีฟแลนด์ โดยท่านสังฆราช Anthony Pillaได้ใช้กระบวนการ วิถีเชิงบวก เป็นส่วนหนึ่งของแผนงาน ในปฎิบัติการที่เรียกว่า The Church in the City • โดยมอบให้เด็กนักเรียนจากโรงเรียนในเมืองนั้น ออกไปใช้ คำถามแบบ วิถีเชิงบวกกับชาวเมือง ซึ่งปรากฎว่าได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดีจากชาวเมือง ร่วมกันแสดงข้อคิดเห็นต่อการสร้างเมืองให้น่าอยู่ และเกิดโครงการต่อเนื่องตามมามากมาย
ในแวดวงคาทอลิก ใครบ้างที่นำ วิถีเชิงบวก ไปใช้ • นอกจากนั้น สังฆมณฑล คลีฟแลนด์ ยังได้ใช้ วิถีเชิงบวก กับบรรดาฆราวาสในเขตสังฆมณฑลในหลายๆด้าน เช่น จุดเริ่มแรกที่เข้ามาเป็นคาทอลิก การรับศีลมหาสนิท การสอน การแพร่ธรรม การมีส่วนร่วม ทั้งนี้เพื่อร่วมกันสร้าง Vibrant Parish Life
ในแวดวงคาทอลิก ใครบ้างที่นำ วิถีเชิงบวก ไปใช้ • องค์กรด้านการดูแลสุขอนามัยของแคนาดาที่ชื่อว่า TheCatholicHealth Association of Canada (CHAC)ต้องการให้มีการปรับองค์กรเพื่อความอยู่รอด ได้นำคณะผู้บริหารไปเข้าเงียบเป็นเวลาสองวัน โดยใช้กระบวนการของ วิถีเชิงบวก และสามารถเลือกหัวข้อได้ 5 เรื่องเพื่อนำไปใช้ในการทำ วิถีเชิงบวก ระดับชาติ มีคนเข้าร่วมถึง 360 คน และมีการพัฒนาจัดแบ่งไปทำ ในระดับเขตต่อไป
ในแวดวงคาทอลิก ใครบ้างที่นำ วิถีเชิงบวก ไปใช้ • อัครสังฆมณฑล ลอสแองเจลิส มีเขตวัดคาทอลิกมากถึง 286 เขตได้มีการนำ วิถีเชิงบวก ไปใช้ในขณะมีการเข้าเงียบร่วมกันประจำปี ทำให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ได้รับรู้เรื่องราวดีๆจากเขตอื่น ได้พบวิถีทางบวกอันดีงาม • โดยเฉพาะสำหรับชาวคาทอลิกอะไรจะดีไปกว่ากระบวนการที่ทำให้มีการ เกิดใหม่
ในแวดวงคาทอลิก ใครบ้างที่นำ วิถีเชิงบวก ไปใช้ • St. Mary Parishที่เมือง Painesvilleรัฐ Ohioมีความแตกต่างของสภาพทางภูมิศาสตร์มาก เพราะมีทั้งเขตเมือง เขตชนบท อีกทั้งยังมีความต่างในด้านชนชาติด้วย คุณพ่อเจ้าวัดองค์ใหม่ที่เพึ่งมารับหน้าที่จึงเห็นว่าการนำเอาวิธีการ วิถีทางบวก ไปใช้ในการทำแผนอภิบาล (Pastoral Planning)ซึ่งปรากฎว่าได้รับการร่วมมืออย่างดีจากบรรดาฆราวาส
ในแวดวงคาทอลิก ใครบ้างที่นำ วิถีเชิงบวก ไปใช้ • ที่ Benedictine Universityซึ่งอยู่ในการดูแลของคณะนักบวช Benedictine ทางคณะใช้ วิธีการ วิถีเชิงบวก ในการยืนยันและมองหาอัตลักษณ์ ( Identity )ของคณะ ซึ่งได้พบว่าคุณค่าที่ยึดถือของคณะ ( Value )นั้นยังดำรงอยู่เป็นจุดเด่นเชิงบวก การผ่านกระบวนการ วิถีเชิงบวก ช่วยทำให้สมาชิกของคณะตระหนักในคุณค่ามากยิ่งขึ้น มีชีวิตชีวามากขึ้น มีความผูกพันกันมากขึ้น และมีกิจกรรมต่างๆเกิดขึ้นตามมามากมาย
สรุป ใครบ้างที่นำ วิถีเชิงบวก ไปใช้ • ในฟิลิปปินส์ก็มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งในภาคธุรกิจ ทางด้านการทหาร องค์กรศาสนา และคณะนักบวชต่างๆมากมาย • ในประเทศไทยเองก็มีการนำมาใช้บ้างแล้ว ในด้านวิศวกรรม (Productivity)ด้านการศึกษา ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การพยาบาล การขาย การปรับปรุงร้านอาหาร
We must continuelearning throughout our lives in order to remain competitive, competent, and productive people.