1 / 22

โรคที่เกิดจากความผิดปกติ ของฮอร์โมน

โรคที่เกิดจากความผิดปกติ ของฮอร์โมน. โรคเบาจืด ( Diabetes Insipidus ).

tallis
Télécharger la présentation

โรคที่เกิดจากความผิดปกติ ของฮอร์โมน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนโรคที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน

  2. โรคเบาจืด (Diabetes Insipidus) ความผิดปกติที่แสดงออกในรูปความกระหายอย่างมากและการมีปัสสาวะออกมามาก ส่วนมากเกิดจากที่ร่างกายไม่สามารถสร้าง เก็บสะสม หรือปล่อยฮอร์โมนตัวสำคัญนี้ แต่อาจจะเกิดจากไตไม่สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมนนี้ก็ได้ มีเพียงเล็กน้อยที่เกิดระหว่างการตั้งครรภ์ (gestational diabetes insipidus) เป็นโรคที่มีการสูญเสียหน้าที่การดูดกลับของน้ำที่ไต เนื่องจากระดับของฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมการดูดกลับของน้ำลดลง ทำให้ร่างกายไม่สามารถเก็บรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายได้ ทำให้มีอาการถ่ายปัสสาวะออกบ่อยและมีปริมาณมาก ร่วมกับมีอาการกระหายน้ำมากคล้ายโรคเบาหวาน แต่ปัสสาวะจะมี รสจืด จึงเรียกว่า เบาจืด โรคนี้พบได้น้อยมาก พบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

  3. โรคเบาจืด (Diabetes Insipidus) อาการทั่วไปได้แก่ กระหายอย่างมาก และปัสสาวะที่เจือจางปริมาณมาก ปริมาณปัสสาวะอาจมีมากตั้งแต่ 2.5 ลิตรต่อวัน จนถึง 15 ลิตรต่อวัน (ปริมาณปัสสาวะปกติต่อวันประมาณ 1.5-2.5 ลิตร) อาการอื่นๆได้แก่ ปัสสาวะกลางคืน (nocturia) หรือปัสสาวะรดที่นอน

  4. โรคเบาจืด (Diabetes Insipidus)ADH • ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะออกบ่อยและมีปริมาณมาก ร่วมกับมีอาการกระหายน้ำและดื่มน้ำมาก ชอบดื่มน้ำเย็นมากเป็นพิเศษ ปากมักจะแห้งอยู่เสมอ จะมีอาการอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน แม้นอนหลับตอนกลางคืนก็มักจะลุกขึ้นมาปัสสาวะและดื่มน้ำคืนละหลายครั้ง ผู้ป่วยมักถ่าย ปัสสาวะวันละเกิน 5 ลิตร (ถ้าเป็นรุนแรงอาจมากถึงวันละ 20 ลิตร) ปัสสาวะมักจะไม่มีกลิ่น ไม่มีสีและมีรสจืด • เนื่องจากการสูญเสียของน้ำไปทางปัสสาวะมาก ถ้าไม่ได้ดื่มน้ำตามที่ต้องการ จะกระวนกระวาย คอแห้ง ท้องผูก อ่อนเพลียมาก และอาจหมดสติ อาการที่เกิดอาจเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันได้

  5. โรคเบาจืด (Diabetes Insipidus)ADH สาเหตุ • โดยปกติแล้วไตของมนุษย์ทำหน้าที่กำจัดของเหลวส่วนเกิดในร่างกายออกไปเป็นปัสสาวะ และสงวนของเหลวไว้เมื่อร่างกายขาดน้ำ โดยไตอาศัยฮอร์โมนแอนตีไดยูเรติก(ADH) หรือเรียกกว่า vasopressin ในการควบคุมการขับของเหลวออกจากร่างกาย • ฮอร์โมนแอนตีไดยูเรติกสร้างจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส(hypothalamus) ถูกเก็บไว้ที่ต่อมใต้สมอง(pituitary gland) และปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด ฮอร์โมนจะทำหน้าที่ทำให้ปัสสาวะเข้มข้น โดยเพิ่มการดูดกลับของน้ำที่ท่อไต

  6. โรคเบาจืด (Diabetes Insipidus)ADH

  7. โรคเบาจืด (Diabetes Insipidus)ADH โรคเบาจืดเกิดจากการขัดขวางระบบฮอร์โมนADHสามารถแบ่งได้เป็น 1.การรบกวนการสร้าง เก็บสะสม และการปล่อยฮอร์โมน(central diabetes insipidus) เกิดจากการทำลายสมองส่วน hypothalamusหรือ ต่อมใต้สมอง ส่วนใหญ่เกิดจากการผ่าตัด เนื้องอก ความเจ็บป่วยที่ไม่ทราบสาเหตุ 2.ความผิดปกติที่ท่อไตไม่สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมน(Nephrogenic diabetes insipidus) อาจจะเกิดจากโรคทางพันธุกรรม หรือโรคเรื้อรังของไตเอง ยาบางชนิดสามารถชักนำให้เกิดโรคนี้ได้ เช่น ยาลิเธียม(lithium)ยาปฏิชีวนะเท็ดตร้าไซคลิน(tetracycline) 3.โรคเบาจืดระหว่างตั้งครรภ์(Gestational diabetes insipidus)เกิดปฏิกิริยาที่ฮอร์โมนที่สร้างโดยรกมีผลทำลายฮอร์โมนADH

  8. โรคเอ๋อ (cretinism) โรคเอ๋อหรือเครทินิซึม (cretinism) การขาดไทรอกซินในทารกแรกเกิดมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตมากโดยเฉพาะการเจริญเติบโตของสมองพัฒนาการทางด้านสติปัญญาด้อยมาก ปัญญาอ่อน แขน ขาสั้น หน้าและมือบวม ผิวหยาบแห้ง ผมบาง ไม่เจริญเติบโต รูปร่างเตี้ยแคระซึ่งแตกต่างจากเด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมน

  9. โรคเอ๋อ (cretinism) ทารกจะมีอาการ เซื่องซึม เอาแต่นอน ไม่ค่อยกิน ท้องผูก ท้องอืด สะดือจุ่น มีภาวะตัวเหลืองหลังคลอดนานกว่าปกติ นอกจากนี้เด็กจะร้องเสียงแหบ ดูลิ้นใหญ่จุกปาก ผิวแห้งเย็น เติบโตช้า มีพัฒนาการช้ากว่าเกณฑ์อายุในทุกๆ ด้าน เช่น เด็กอายุ 3 เดือน ควรจะชันคอได้ดีแล้ว แต่เด็กที่มีปัญหาโรคเอ๋อคอจะไม่แข็ง ไม่สามารถยกศีรษะให้ตั้งอยู่ได้นาน เกิดจากการขาดไทรอยด์ฮอร์โมนภายหลัง เช่น มีการติดเชื้อของต่อมไทรอยด์ หรือการที่เด็กได้รับยาบางชนิดที่รบกวนต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ทำให้มีการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนน้อยลง จนทำให้เกิดโรคเอ๋อได้

  10. โรคเอ๋อ(cretinism)

  11. คอพอกไม่เป็นพิษ Simple goiter • Simple goiter ถ้าร่างกายได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอจะส่งผลให้มีการผลิตไทรอกซินได้น้อย (hypothyroidism) ทำให้ต่อมใต้สมองส่วนหน้าหลั่งไทรอยด์สติมิวเลติงฮอร์โมน ( TSH ) เพิ่มมากขึ้นเพื่อไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้างฮอร์โมนไทรอกซินเพิ่มมากขึ้นจนต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ต่อมจะขยายขนาดโตขึ้นทำให้เกิดเป็นโรคคอพอก (simple goiter)

  12. คอพอกไม่เป็นพิษ Simple goiter การรักษา1. คอพอกเนื่องจากขาดสารไอโอดีนให้กินอาหารที่มีสารไอโอดีน หรือแพทย์อาจให้กินยาไอโอไดด์2. คอพอกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายโดยทั่วไปคอจะโตไม่มาก แทบจะสังเกตไม่เห็น ไม่ต้องรักษาอย่างไร เพราะจะยุบหายไปได้เอง เมื่อพ้นระยะวัยรุ่น หรือหลังคลอดแล้ว3. คอพอกชนิดไม่ทราบสาเหตุจะไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยแต่อย่างใด แพทย์อาจพิจารณาให้ไทรอยด์ฮอร์โมน เพื่อกดการเจริญเติบโตของต่อมไทรอยด์ แต่ผลการรักษามักไม่ดี หากคอโตมากๆ มีอาการหายใจลำบากหรือกลืนอาหารลำบาก แพทย์อาจให้การรักษาโดยการผ่าตัด

  13. Simple goiter

  14. คอพอกเป็นพิษ toxic goiter ถ้าฮอร์โมนไทรอกซินผลิตออกมามากเกินไป( hyperthyroidism) จะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่าไทรอยด์เป็นพิษหรือโรคคอพอกเป็นพิษ (toxic goiter) จะทำให้ร่างกายมีอัตราการเกิดเมแทบอลิซึมสูงกว่าปกติอาการเหมือนมีการสร้างพลังงานหรือกระตุ้นประสาทซิมพาเทติกทำงานมากเกินไปได้แก่ หงุดหงิด นอนไม่หลับ ตื่นเต้นง่าย มีการเผาผลาญโปรตีนมากทำให้อ่อนเพลีย เนื่องจากมีอัตราการเผาผลาญมากจึงทำให้มีเส้นเลือดไปเลี้ยงที่ผิวหนังมากเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้กินจุ น้ำหนักลด มีการเคลื่อนไหวของลำไส้มาก ตัวอุ่นชื้นเนื่องจากเส้นเลือดแดงคลายตัว อาจมีอาการคอพอกแต่ไม่มากและตาโปน เนื่องจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหลังลูกตาอ่อนกำลังลง

  15. คอพอกเป็นพิษ toxic goiter อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ มือสั่น ใจสั่นหวิว ชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติและอาจไม่สม่ำเสมอ ขี้ร้อน(ฝ่ามือจะมีเหงื่อชุ่มตลอดเวลา) น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่หิวบ่อย หรืออาจกินจุกว่าเดิม เนื่องจากร่างกายมีการเผาผลาญอาหารมาก แต่ในคนแก่บางคนกลับกินได้น้อยลง ผู้ป่วยมักมีลักษณะลุกลี้ลุกลน หรืออาจหงุดหงิดโมโหง่าย บางคนถ่ายเหลวบ่อย อาจพบประจำเดือนมาน้อยหรือมากผิดปกติได้

  16. คอพอกเป็นพิษ toxic goiter วิธีรักษา : ทำได้โดย - กินยายับยั้งการสร้างฮอร์โมน - ผ่าตัดเอาบางส่วนของต่อมออก - กินไอโอดีนที่เป็นสารกัมมันตรังสีเพื่อทำลายเซลล์ที่สร้างฮอร์โมน

  17. Toxic goiter

  18. dwarfism • ภาวะเตี้ย หรือเคระ เกิดจากร่างกายขาย ฮอร์โมน GH (Growth Hormone) มาตั้งแต่เด็ก ๆ ทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายนั้นมีผลน้อย ส่งผลให้ร่างกายเตี้ยแคระ แต่ร่างกายก็ยังเป็นสัดส่วนที่ถูกต้องอยู่ รวมถึงความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ

  19. dwarfism • ส่วนใหญ่สาเหตุของโรค Dwarfism เกิดจากโรค Achondroplasiaกระดูกเติบโตอย่างผิดปกติ ซึ่งเป็นถึง70%ของ ผู้ป่วยโรค Dwarfism แต่ในกรณีของโรค Achondroplasiaจะมีรูปร่างที่ไม่สมสัดส่วน ช่วงแขนหรือขาจะดูสั้นๆเล็กๆ เมื่อเทียบกับลำตัว (บริเวณท้อง) โดยมีหัวขนาดใหญ่กว่าปกติและใบหน้าที่มีลักษณะพิเศษ หากร่างกายเกิดความไม่สมส่วน มักจะเกิดจากหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งยีนที่ควบคุมลักษณะหรือความผิดปกติในการพัฒนากระดูกอ่อน การที่ร่างการมนุษย์เกิดการผิดปกติอย่างมาก มักจะมีสาเหตุเกี่ยวกับ ฮอร์โมน เช่น การเจริญเติบโตฮอร์โมนบกพร่องซึ่งรู้จักกันในชื่อของ “Pituitary Dwarfism” ซึ่งการเติบโตที่ผิดปกตินี้เกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของ Growth Hormone จากแหล่งที่ผลิตฮอร์โมนชนิดนี้ คือต่อมใต้สมองส่วนหน้า

  20. dwarfism • ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรค Dwarfism บุคคลที่ความผิดปกติเช่นกระดูกเติบโตผิดปกติ บางครั้งพวกเขาสามารถแก้ไขได้คือการ ศัลยกรรม และบางฮอร์โมนที่ผิดปกติจะสามารถรักษาได้โดยแพทย์แต่ใน กรณีส่วนใหญ่จะมักเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้โรค Dwarfismหายขาด เมื่ออายุยิ่งมากขึ้น ก็ต้องทนรับมือกับโรค Dwarfism อุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ภาย ในบ้านจะสามารถช่วยให้ร่างกายในผู้ป่วย Dwarf ทำงานต่างๆได้อย่างปกติ ของหลายกลุ่มมีการสนับสนุนที่จะช่วยให้ ผู้ป่วยโรค Dwarfism รับมือกับความท้าทายต่อหน้าพวกเขาและเพื่อช่วยให้พัฒนาขึ้นไปเพื่อที่จะทำให้พวกเขาสามารถพึ่งตนเองได้

  21. dwarfism

  22. ผู้จัดทำ 1.นางสาวรมย์รวินท์ จันทร์ลี เลขที่ 12ก 2.นายจิตรภาณุ หลายประสิทธิ์ เลขที่ 4ข 3.นายณัฐธัญ ต.รุ่งเรือง เลขที่ 5ข 4.นางสาวอรณิชจันทร์ศิริวัฒนา เลขที่ 9ข ชั้นม.5/2

More Related