1 / 59

การบรรยายพิเศษ

การบรรยายพิเศษ. “ แนวนโยบายการพัฒนาสตรีและการส่งเสริม ความเสมอภาคหญิงชายในประเทศไทย ”. วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 ณ โรงแรมจอมเทียน ปาล์ม บีช จ.ชลบุรี โดย นายสมชาย เจริญอำนวยสุข ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

tana-guerra
Télécharger la présentation

การบรรยายพิเศษ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบรรยายพิเศษ “แนวนโยบายการพัฒนาสตรีและการส่งเสริม ความเสมอภาคหญิงชายในประเทศไทย” วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 ณ โรงแรมจอมเทียน ปาล์ม บีช จ.ชลบุรี โดย นายสมชาย เจริญอำนวยสุข ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

  2. สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว วิสัยทัศน์ เป็นหน่วยงานหลักระดับชาติ ในการเสริมสร้างความเสมอภาคหญิงชายและความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว

  3. ภารกิจของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวภารกิจของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (ด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย) • เสนอแนะ ผลักดันกฎหมาย นโยบาย มาตรการ และกลไก • ส่งเสริมการบูรณาการมิติหญิงชายในนโยบาย แผน / โครงการ • ส่งเสริมการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิสตรี • เป็นศูนย์ประสานข้อมูลและสารสนเทศมิติหญิงชาย • ส่งเสริมการรวบรวม การใช้ และวิเคราะห์ข้อมูลแยกเพศ • ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน

  4. ความเสมอภาค.....หมายถึง ไม่ใช่ความเหมือนกัน หรือเท่ากัน ... แต่ หมายถึง การคำนึงถึง ความแตกต่าง ในปัญหา ความต้องการ โอกาส ศักยภาพ ของเพศหญิงและเพศชาย เพื่อให้ทั้งสองเพศอยู่ด้วยกัน อย่างปรองดองและได้รับประโยชน์อย่างสมดุลกัน

  5. ความเสมอภาค คือ..... ความเท่าเทียมกัน ใน..... สิทธิ โอกาส การเข้าถึง การได้รับประโยชน์ ทางเลือก

  6. สถานการณ์ด้านสตรีในประเทศไทยสถานการณ์ด้านสตรีในประเทศไทย การเลือกปฏิบัติ ขาดสิทธิและโอกาส อคติทางเพศ ปัญหาความไม่เสมอภาค ขาดการมีส่วนร่วม ในการพัฒนา ถูกกระทำความรุนแรง กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม

  7. กระแสสากล :พันธกรณี ที่เกี่ยวข้อง • อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี • ในทุกรูปแบบ CEDAW • ปฏิญญาและแผนปฏิบัติการปักกิ่ง • เพื่อความก้าวหน้าของสตรี Beijing • เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ MDG

  8. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ของสหประชาชาติ(Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women – CEDAW) ปี 2522 ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี 2528 เสมอภาคด้านโอกาส ตระหนักว่าหญิงชายแตกต่าง ต้องมีมาตรการที่แตกต่าง เพื่อให้ได้รับประโยชน์ที่เท่าเทียมกัน เสมอภาคในการเข้าถึง เสมอภาคในผลที่ได้รับ

  9. หลักการของอนุสัญญา CEDAW มีหลักการพื้นฐาน 3 ประการ 1. ความเสมอภาค 2. การไม่เลือกปฏิบัติ 3. พันธกิจของรัฐ

  10. พันธกรณีระหว่างประเทศ (ต่อ) • ปฏิญญาปักกิ่งและแผนปฏิบัติการ เพื่อความก้าวหน้าของสตรี • เป็นผลมาจากการประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องสตรีครั้งที่ 4 ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อปี 2538

  11. ประเด็นห่วงใย 12 ประเด็น จากปฏิญญาปักกิ่ง

  12. ประเด็นห่วงใยเพิ่ม ปี 2543 โลกาภิวัฒน์ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเคลื่อนย้ายแรงงาน ภาวะประชากรผู้สูงอายุ การแพร่ระบาดของโลกเอดส์ ภัยพิบัติธรรมชาติ การแบ่งภาระความรับผิดชอบระหว่างหญิงชาย

  13. พันธกรณีระหว่างประเทศ (ต่อ) • เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ • (Millennium Development Goal – MDG)

  14. เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals– MDGs) ปี 2543เพื่อลดช่องว่างในการพัฒนาระหว่างประเทศต่างๆให้บรรลุเป้าหมายในปี 2558 1) ขจัดความยากจนและหิวโหย 2) ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา 3)ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและส่งเสริมบทบาทสตรี*(ประเทศไทยกำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย เพิ่มสัดส่วนผู้หญิงในรัฐสภา อบต. และตำแหน่งผู้บริหารสตรีในระดับสูง เป็น 2 เท่า)* 4) ลดอัตราการตายของเด็ก 5) พัฒนาสุขภาพสตรีมีครรภ์ 6) ต่อสู้กับโรคเอดส์ มาเลเรีย และโรคสำคัญอื่นๆ 7) รักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 8) ส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในประชาคมโลก

  15. การขับเคลื่อนความเสมอภาคหญิงชายในหน่วยงานภาครัฐการขับเคลื่อนความเสมอภาคหญิงชายในหน่วยงานภาครัฐ • ศูนย์ประสานงานด้าน การส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย (Gender Focal Point - GFP) • ผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาท หญิงชาย (Chief Gender Equality Officer - CGEO) คณะกรรมการ กยส. และ กสส. • แผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ • มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๔ • มาตรฐานการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย • ข้อมูลจำแนกเพศ/งานวิจัย

  16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) แผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) นโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา 29 ธันวาคม 2551

  17. รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 • มาตรา 30 ... ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน ... การเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องเพศ จะกระทำมิได้ • มาตรา 80 รัฐต้อง ... ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย • มาตรา 87 รัฐต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นและการจัดทำบริการสาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในมาตรานี้ให้คำนึงถึงสัดส่วนของหญิงและชายในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน • มาตรา 114 (เรื่อง ส.ว.)... ให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ดำเนินการสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสม ... ในการสรรหา ให้คำนึงถึงองค์ประกอบจากบุคคลที่มีความรู้ โอกาสและความเท่าเทียมกันทางเพศ

  18. แผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554) ยุทธศาสตร์หลักการเสริมสร้างและปรับเปลี่ยนเจตคติในสังคมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างเจตคติด้านความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสตรี ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มโอกาสการมีส่วนร่วม ในการตัดสินใจทางการเมืองและการบริหาร เป้าประสงค์ สังคมไทยเป็นสังคมที่มี ความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตและร่างกาย ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมสุขภาวะและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์สตรี

  19. แผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) ยุทธศาสตร์หลัก สร้างสังคม เสมอภาค เป็นธรรม และยุติธรรม ที่สตรีไทยอยู่อย่าง มีศักดิ์ศรี มั่นคงปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุทธศาสตร์ที่ 1 เสริมสร้างเจตคติและการยอมรับด้านความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพกลไกและองค์กรสตรีทุกระดับ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มศักยภาพและเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ และสังคมของสตรีไทย เป้าประสงค์ สังคมไทยเป็นสังคมที่มี ความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาศักยภาพสตรีเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าร่วมทางการเมือง การบริหารและการตัดสินใจในระดับต่างๆ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาสุขภาวะคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความมั่นคง ในชีวิต

  20. มติคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2544 ดังนี้ 1. รับทราบการมีผลใช้บังคับของอนุสัญญา CEDAW 2. เห็นชอบ ดังนี้ 2.1 ให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม มอบหมายผู้บริหารระดับ รองปลัดกระทรวงหรือรองอธิบดีขึ้นไป จำนวน 1 คน ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย (CGEO) 2.2 มอบหมายหน่วยงานระดับสำนัก / กอง ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย (Gender Focal Point) และจัดทำแผนแม่บทการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย

  21. บทบาทหน้าที่ของ CGEO • ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชายในส่วนราชการ • ริเริ่มและจัดให้มีกิจกรรมสร้างความเข้าในแนวคิดบทบาทหญิงชายให้กับข้าราชการ • ติดตาม ตรวจสอบ รับฟังและให้คำปรึกษาแนะนำในการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการให้เป็นไปตามหลักความเสมอภาค • สร้างเครือข่ายการดำเนินการเกี่ยวกับบทบาทหญิงชายระหว่างส่วนราชการ 21

  22. บทบาทหน้าที่ ศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย มีหน้าที่ดำเนินการให้แก่ผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย (CGEO) ในกิจกรรมที่เกี่ยวกับแผนแม่บทด้านการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่าหญิงชาย ติดตามประเมินผลและจัดทำรายงานการดำเนินการด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย และความเสมอภาคระหว่างหญิงชายของส่วนราชการ 22

  23. นโยบายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชายที่นายกรัฐมนตรีมอบให้หน่วยงานนำไปปฏิบัติจำนวน 3 ข้อ ข้อ 1. การสร้างความตื่นตัว ความเข้าใจในเรื่องมิติ หญิงชาย ความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ภายในหน่วยงาน และให้นำไปใช้ประกอบการทำงาน

  24. นโยบายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย (ต่อ) ข้อ 2. การกำหนดเป็นนโยบายของหน่วยงานในเรื่องที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ โดยคำนึงถึงมิติหญิงชาย เช่น การจัดให้มีศูนย์รับเลี้ยงเด็ก (Day Care Center) ห้องให้นมแม่ในที่ทำงาน จัดให้มีอุปกรณ์สำหรับคนพิการ เป็นต้น

  25. นโยบายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย (ต่อ) ข้อ 3. การดูแลปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบไว้ในกฎ ก.พ.

  26. แนวทางการดำเนินงานที่นายกรัฐมนตรีมอบให้ CGEO นำไปดำเนินการ จำนวน 4 ข้อ 1. การนำมิติหญิงชายไปใช้เป็นหลักในการบริหารจัดการภายในองค์กร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความโปร่งใส

  27. แนวทางการดำเนินงาน (ต่อ) 2. การกำหนดภารกิจและนโยบายที่มีผลกระทบต่อประชาชน ให้มีการวิเคราะห์ผลกระทบที่แตกต่างกันจากความหลากหลายทางเพศหรือสถานะทางสังคม เพื่อให้เป็นการสอบทานอยู่ตลอดเวลา และทำให้มีผลในการลดช่องว่างระหว่างหญิงชาย รวมทั้งไม่เป็นการตอกย้ำ ในเรื่องเหลื่อมล้ำ

  28. แนวทางการดำเนินงาน (ต่อ) 3. การจัดทำแผนงานและงบประมาณ ต้องมีการปรับหรือกำหนดให้สอดคล้องกับความต้องการของหญิงและชาย ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกัน และโดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส

  29. แนวทางการดำเนินงาน (ต่อ) 4. การสร้างความชัดเจนในการกำหนดนโยบายของหน่วยงาน ขอให้มีการประกาศเจตนารมณ์ที่ชัดเจน มีการสร้างผู้เชี่ยวชาญในเรื่องมิติหญิงชายของหน่วยงาน เพื่อเป็นผู้ผลักดันในเรื่องความเสมอภาคระหว่างหญิงชายต่อไป

  30. การดำเนินงานของ สค. • 1. การพัฒนาบุคลากรให้มีความตระหนักและมีองค์ความรู้เรื่องความเสมอภาคภาคระหว่างหญิงชาย • 2. การสนับสนุนผลักดันการดำเนินการตามแผนแม่บทการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย

  31. การดำเนินงานของ สค. (ต่อ) 3. การยกย่องประกาศเกียรติคุณหน่วยงานภาครัฐดีเด่นด้านการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย 4. โครงการจัดทำงบประมาณที่มีมุมมองมิติหญิงชาย (Gender Budgeting)

  32. การดำเนินงานของ สค. (ต่อ) 5. โครงการ CGEO Visitเพื่อประชุมหารือร่วมกันระหว่าง CGEOสค. กับ CGEOกรมต่างๆ

  33. แผนการดำเนินการในปีงบประมาณ 2555 เป้าหมาย : สร้างสังคม เสมอภาค เป็นธรรม และยุติธรรม ที่สตรีอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี มั่นคงปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี • การติดตามการดำเนินการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย • การจัดทำสื่อ สารสนเทศ • การจัดประชุม/สัมมนา ที่ส่งเสริมการดำเนินงานด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย • การพัฒนาศักยภาพแกนนำสตรีในชุมชน • เพื่อเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ • การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรีในทางการเมือง • การขับเคลื่อนการวางระบบป้องกันและช่วยเหลือสตรี • การผลักดันการดำเนินการตามอนุสัญญา • CEDAW • นายกพบ CGEO • พัฒนามาตรฐาน • การขับเคลื่อนแผนสตรีฯ • การประชุมสมัชชาสตรี • การประชุมระหว่างประเทศ • การส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายในหน่วยงาน • การส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายในครอบครัว • จัดกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญของสตรี การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ การพัฒนากลไก วิจัย พัฒนา และองค์ความรู้ เสริมพลังสตรี เพื่อพัฒนา การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ

  34. ภาพกิจกรรม การดำเนินงานด้านสตรีของสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

  35. 1. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรีในทางการเมือง

  36. 2. การฝึกอบรมหลักสูตรสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์

  37. 3. การจัดคาราวานด้านสตรีและครอบครัว

  38. 4. การส่งเสริมความรู้เรื่องกฎหมาย

  39. 5.การวางระบบป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในชุมชน5.การวางระบบป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในชุมชน

  40. 6. วางระบบป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

  41. 7.การขับเคลื่อนอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี7.การขับเคลื่อนอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี - การจัดทำรายงานการอนุวัติอนุสัญญา CEDAW - การจัดประชุมระดมความคิดเห็น ยกเลิกข้อสงวน ข้อที่ ๑๖

  42. 8. ผลักดันในการแก้ไขกฎหมายที่เลือกปฏิบัติ และยกร่าง พ.ร.บ.ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ พ.ศ. ...

  43. กลไกระดับชาติในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายกลไกระดับชาติในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย 1. การประชุมคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ (กยส.) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน (พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ)

  44. กลไกระดับชาติในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายกลไกระดับชาติในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย 2. การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาสถานภาพสตรี (กสส.) ซึ่งมีรองศาสตราจารย์จุรี วิจิตรวาทการ เป็นประธาน

  45. การขับเคลื่อนการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายการขับเคลื่อนการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย 3. การจัดประชุมมอบนโยบายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย “นายกรัฐมนตรี พบ CGEO” 45

  46. 4.กิจกรรม CGEO VISIT เพื่อประชุมหารือร่วมกับระหว่าง CGEO สค. กับ CGEO กรมต่างๆ

  47. MOU ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ในการบูรณาการเรื่องความเสมอภาคหญิงชายในหลักสูตร การเรียนการสอน

  48. MOU ระหว่าง สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เรื่องการจัดการภัยพิบัติ : มุมมองมิติหญิงชาย

  49. การพัฒนาบุคลากรให้มีความตระหนักและมี องค์ความรู้เรื่องความเสมอภาคภาคระหว่างหญิงชาย

  50. การสนับสนุนผลักดันการดำเนินการตามแผนแม่บทการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย 50

More Related