1 / 12

หลักธรรมทางศาสนาแก้ปัญหาความรุนแรง

หลักธรรมทางศาสนาแก้ปัญหาความรุนแรง. โดย วชิรวิทย์ ประกอบยา อารจารย์ ที่ปรึกษา ครู ทัศนีย์ ไชยเจริญ ครู ศราวุธ ไชยเจริญ โรงเรียนวัดพวงนิมิต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สระแก้วเขต 1. ปัญหาชีวิตเกิดขึ้นได้ ๒ ทาง คือ.

Télécharger la présentation

หลักธรรมทางศาสนาแก้ปัญหาความรุนแรง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักธรรมทางศาสนาแก้ปัญหาความรุนแรงหลักธรรมทางศาสนาแก้ปัญหาความรุนแรง โดย วชิรวิทย์ ประกอบยา อารจารย์ ที่ปรึกษา ครู ทัศนีย์ ไชยเจริญ ครู ศราวุธ ไชยเจริญ โรงเรียนวัดพวงนิมิต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สระแก้วเขต 1

  2. ปัญหาชีวิตเกิดขึ้นได้ ๒ ทาง คือ • ๑. ปัญหาชีวิตเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น เมื่อเศรษฐกิจทรงตัวหรือซบเซา ทำให้รายได้ของเราลดน้อยลง ยามเศรษฐกิจเฟื่องฟูทำให้รายได้เพิ่มมากกว่าเดิม เศรษฐกิจไม่ดีนักจะมีการจี้การปล้นการลักขโมยมากกว่าปกติ ซึ่งก็มีผลกระทบด้านความปลอดภัยต่อชีวิตเรา ที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างปัญหาชีวิตที่เกิดจากปัจจัยภายนอก๒. ปัญหาชีวิตเกิดจากปัจจัยภายใน ปัจจัยภายในคือตัวเราเอง สิ่งที่ทำให้ตัวเราเองเกิดปัญหา คือ กิเลส ซึ่งมีกิเลสตัวใหญ่หรือตัวสำคัญ ๓ ตัว

  3. กิเลส ซึ่งมีกิเลสตัวใหญ่หรือตัวสำคัญ ๓ ตัว • กิเลสตัวแรก โลภะ ความอยากได้ อยากมี ความอยากเป็น มากขึ้นกว่าเดิมเมื่อมีความโลภก็ต้องดิ้นรนแสวงหาต่อไปไม่สิ้นสุด ไม่มีวันจบสิ้น ต้องเหนื่อยยากลำบากตลอดกาล บางคนแสวงหาด้วยวิธีสุจริตไม่ได้ผล เลยแสวงหาด้วยวิธีทุจริตก็มี จึงหาความสงบสุขในชีวิตไม่ได้ จนกว่าเราจะลดความโลภลงได้จึงจะพบความสงบสุข

  4. กิเลส ซึ่งมีกิเลสตัวใหญ่หรือตัวสำคัญ ๓ ตัว • กิเลสตัวที่สอง โทสะ ความโกรธ ความคิดประทุษร้ายคนอื่น ความอาฆาตพยาบาทคนอื่น ความปองร้ายคนอื่น การอยู่ร่วมกันย่อมมีการกระทบกระทั่งกันบ้างเหมือนลิ้นกับฟัน เราต้องให้อภัยซึ่งกันและกัน เพราะส่วนมากคนเราจะไม่มีเจตนาในการทำความชั่ว ไม่ตั้งใจทำความผิดพลาด ทุกคนมีโอกาสทำผิดพลาดกันได้ เหมือนสุภาษิตที่ว่า สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง มีสองขาโด่เด่คงต้องโซเซไปบ้าง เราต้องให้โอกาสแก่คนอื่น หากเป็นผู้บังคับบัญชาต้องแนะนำตักเตือน เป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ต้องสั่งสอน

  5. กิเลส ซึ่งมีกิเลสตัวใหญ่หรือตัวสำคัญ ๓ ตัว • ตัวที่สาม โมหะ ความเขลา ความไม่รู้ รู้ไม่แจ่มชัด ภาษาพระรู้ไม่จริง รู้ไม่ชัด รู้ไม่แจ้ง หรือเข้าใจไม่ชัดแจ้งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าไม่ฉลาด ความเขลา ความไม่ฉลาดเป็นปัญหาต่อชีวิตคนเรามาก ถ้าแก้ไม่หาย ชีวิตนี้อาจไม่พบความสุขความเจริญก้าวหน้าเลย เป็นผู้ที่ต้องปรับปรุงพัฒนาตัวเองมาก

  6. แก้โทสะ ความโกรธด้วยเมตตา คิดช่วยให้คนอื่นมีความสุข ปรารถนาดีต่อคนอื่น มองคนอื่นในแง่ดี เราควรคิดเสมอว่าไม่มีใครทำถูกทุกอย่างโดยไม่ผิดพลาด คนที่ทำอะไรไม่ผิดพลาดคือคนที่ไม่ทำอะไรเลย ฉะนั้น เมื่อมีการทำงานก็ต้องมีความผิดพลาด เราควรให้อภัยซึ่งกันและกัน คนขี้โกรธ ขี้อิจฉาริษยา ชอบมองคนอื่นในแง่ร้าย มองไม่เห็นคุณงามความดีของคนอื่น พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนคนมีไฟอยู่ในหัวใจ โดยตรัสเป็นภาษาบาลีว่า โทสัคคิ กิเลสตัวโทสะนี้ทำให้เราร้อนรุ่มอยู่ตลอดเวลา บางคนมองคนอื่นว่าเป็นศัตรูไปหมด หรือมองเห็นแต่ความผิดพลาดของคนอื่น

  7. แก้โมหะ ความเขลาความไม่ฉลาดด้วยการเจริญจิตภาวนา ปฏิบัติธรรมกรรมฐานหรือการฝึกสมาธิ ท่านที่ฝึกสมาธิเป็นประจำจะได้รับผล ๓ อย่าง คือ ได้สติ สมาธิ ปัญญา สิ่งแรกที่เราได้จากการฝึกสมาธิคือตัวสติ เป็นคนมีสติ ไม่หลงไม่ลืมง่าย อยากทราบเรื่องอะไรระลึกได้เสมอ ที่สำคัญคือเราเป็นคนรู้ตัวอยู่เสมอว่าเรากำลังทำอะไร ต่อมาเกิดสมาธิ มีความตั้งใจแน่วแน่ในสิ่งที่กำลังทำอยู่แล้วเกิดปัญญาว่า สิ่งที่เราทำอยู่นั้นผิดหรือถูก เพราะฉะนั้นการฝึกสมาธิทำให้เกิดสติปัญญา คนมีสติปัญญาย่อมไม่โง่เขลา ย่อมแก้ไขปัญหาชีวิตได้ แก้โมหะด้วยการฝึกสมาธิหรือเจริญภาวนา จึงเป็นการแก้กิเลสตัวโมหะที่ถูกวิธีและได้ผล

  8. การแก้ปัญหาชีวิตด้วยธรรมะอีกนัยหนึ่งคือ แก้ด้วยหลักศีล แก้ด้วยหลักสมาธิ แก้ด้วยหลักปัญญา • การแก้ปัญหาชีวิตด้วยหลักศีลคือ เอาศีล ๕ มาช่วยตัดสินปัญหา ไม่ใช้ความรุนแรงตัดสินปัญหา ยามโกรธยามทะเลาะกับคนอื่นก็ไม่ทำร้ายเขา พยายามแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ยามยากจนก็ไม่ลักขโมยสิ่งของคนอื่นมาเลี้ยงชีพ หรือไม่โกหกหลอกลวงคนอื่น ที่สำคัญคือ ไม่แก้ปัญหาชีวิตด้วยการดื่มสุรา ซึ่งมีหลายท่านชอบแก้ปัญหาชีวิตด้วยสุรา เสียใจดื่มเหล้า จึงเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะคนเมาเหล้าคือคนขาดสติ เมื่อขาดสติ สมาธิ ปัญญาก็ไม่เกิด ไม่มีสติปัญญาก็แก้ปัญหาชีวิตไม่ได้ ต้องแก้ด้วยหลักศีลคือไม่ดื่มเหล้า จะได้มีสติปัญญาไปแก้ปัญหาชีวิต

  9. การแก้ปัญหาชีวิตด้วยปัญญา ปัญญานั้นมี ๓ ระดับ คือ  • ๑. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการศึกษาเล่าเรียน การได้ยินได้ฟังมามาก จากประสบการณ์ชีวิต๒. จินตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากความคิด การใช้วิจารณญาณเรื่องที่พบเห็น๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฝึกฝน การฟังบ่อยๆ การทำให้ชำนาญ หรือการฝึกฝนอบรมจนชำนาญ การทำบ่อยๆ จนเกิดผลปรากฎ เป็นปัญญาความรู้ที่เกิดจากการทดลองหรือผ่านการพิสูจน์มาแล้ว

  10. “ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นย่อมมีสาเหตุหรือต้นเหตุ เราต้องค้นหาต้นเหตุของปัญหานั้นให้พบ แล้วแก้ปัญหาที่ต้นเหตุนั้น จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้ถูกต้องและถูกจุด”  • เป็นลักษณะของการแก้ปัญหาแบบอริยสัจ ๔ เป็นคุณธรรมระดับปัญญา คือศึกษาให้รู้ข้อมูลและต้นเหตุแห่งทุกข์เสียก่อน จึงจะรู้วิธีดับทุกข์ คือดับที่ต้นเหตุของมันจึงจะพ้นทุกข์ 

  11. การแก้ปัญหาแบบอริยสัจ ๔ สามารถนำมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ลักษณะนี้เป็นการแก้ปัญหาด้วยปัญญา  • สัจธรรมหรือความจริงอันประเสริฐประการแรก ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบจากการตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ คือ ชีวิตนี้เป็นทุกข์ ไม่มีมนุษย์หรือว่าสัตว์เหล่าใดเลยที่จะพบกับความสุขล้วนๆ เพียงอย่างเดียว ความทุกข์เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญ ไม่เว้นใครแม้แต่คนเดียว จะต่างกันที่ทุกข์มากหรือน้อยเท่านั้นเอง สาเหตุที่ทำให้มนุษย์ต้องเป็นทุกข์เกิดมาจาก กิเลสที่แอบแฝงติดอยู่ในใจเราตั้งแต่ปฎิสนธิในครรภ์มารดานั่นเอง เมื่อใดก็ตามที่กิเลสมีอำนาจเหนื่อจิตใจมนุษย์ ก็จะบังคับให้เขาคิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำไม่ดี ผลของการประกอบกรรมชั่วดังกล่าวก็คือความทุกข์ทรมานในรูปแบบต่างๆ ซึงเป็นไปตามกฎแห่งกรรม

  12. คำคม เมา เมาเพศหมดราคา เมาสุราหมดสําคัญ เมาพนันหมดตัว เมาเพื่อนชั่วหมดดี

More Related