1 / 10

การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานผลิตและนำเสนอสื่อ

การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานผลิตและนำเสนอสื่อ.

tavarius
Télécharger la présentation

การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานผลิตและนำเสนอสื่อ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานผลิตและนำเสนอสื่อการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานผลิตและนำเสนอสื่อ การผลิตและพัฒนาสื่อเพื่อนำมาใช้งานทางการศึกษาตามปกติแล้ว จะต้องผ่านกระบวนการที่จำเป็นทั้ง 3 ขั้นตอน คือการวางแผนการผลิต การผลิตทางเทคนิค และการทดสอบสื่อก่อนนำไปใช้จริง ซึ่งเป็นขั้นตอนการวัดผล – ประเมินผล เพื่อดูประสิทธิภาพของสื่อทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ อาจกล่าวได้ว่าสามารถนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ได้ทุกขั้นตอน แต่ขั้นตอนที่จำเป็นต้องใช้มากที่สุด คือ ขั้นตอนการผลิตทางเทคนิค ซึ่งต้องอาศัยคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยสร้างตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งเสียงที่จะถูกออกแบบมาในรูปของสัญญาณดิจิตอล (Digital Data) รวมทั้งการทำข้อมูลดิจิตอลทั้งหมดมาผสมผสานกันในรูปของ มัลติมีเดีย(Multimedia) ในที่นี้จะกล่าวถึง งานผลิตและพัฒนาสื่อต่างๆ ที่สามารถนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ดังต่อไปนี้

  2. 1. พิมพ์งานเอกสาร (Printed material) เป็นงานเตรียมต้นฉบับด้วยคอมพิวเตอร์ แทนการพิมพ์แล้วเลย์เอาท์ลงบนกระดาษ ซึ่งมีความล่าช้าและมีข้อเสียหลายประการ คือ เนื่องจากต้องใช้เวลาและความชำนาญในการเลย์เอาท์เป็นพิเศษ และหากมีข้อผิดพลาดจะแก้ไขได้ยากกว่า เช่นการแก้ไขคำผิดการจัดคอลัมน์และหน้าใหม่ การแก้ไขตำแหน่งของภาพ การบีบข้อมูลให้ลงในตำแหน่งที่ต้องการ ฯลฯ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ การใช้คอมพิวเตอร์สามารถทำได้ดีกว่า

  3. สรุปการใช้คอมพิวเตอร์ในงานออกแบบเอกสารสิ่งพิมพ์อาจทำได้ดังต่อไปนี้สรุปการใช้คอมพิวเตอร์ในงานออกแบบเอกสารสิ่งพิมพ์อาจทำได้ดังต่อไปนี้ • ใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบพิมพ์ตัวอักษร • ใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบทั้งตัวอักษรและภาพทั้งหมด • การสร้างหนังสืออิเลคทรอนิคส์ • ***โปรแกรมสำเร็จ (software) ที่นำมาใช้เพื่องานออกแบบและจัด • หน้าที่นิยมมากที่สุด คือ โปรแกรม Page Maker เนื่องจากสามารถ • จัดหน้าได้สะดวก การกำหนดคอลัมน์และตัวอักษรได้ง่ายและรวดเร็ว • ส่วนโปรแกรมอื่นๆ ที่นิยมใช้กันแต่มีลูกเล่นน้อยกว่า เช่น Microsoft • word หรือ Word Perfect ซึ่งปกตินิยมใช้กับการสร้างเอกสาร • ทั่วๆ ไปมากกว่า ส่วนโปรแกรมสร้างแฟ้มข้อมูล .pdfใช้กับโปรแกรม • Adobe Acrobat

  4. งานออกแบบศิลปกรรม (Artwork desing) การออกแบบศิลปกรรมเป็นสื่อประเภทกราฟิกต่างๆ เช่น ภาพโปสเตอร์ ชาร์ท แผนภูมิหรือภาพนิ่ง งานศิลปกรรมที่สามารถสร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ได้แก • - งานกราฟิก ภาพลายเส้น กรอบ ระบายสีภาพและตัวอักษร • - งานกราฟิก 3 มิติ ที่สร้างเงาหรือพื้นผิวให้เว้าหรือนูนเข้าไปภายในภาพ • - ภาพถ่ายหรือภาพที่มีโทนสีต่อเนื่อง *** โปรแกรมที่นำมาใช้ออกแบบงานศิลปกรรมที่นิยม ได้แก่ โปรแกรม Corel Draw, Ilustrater, freehand ฯลฯ ซึ่งสามารถสร้างานได้หลายรูปแบบ ส่วนภาพถ่ายหรือภาพนิ่งนั้น จะใช้โปรแกรม Photoshop ซึ่งนิยม นำมาใช้ในงานตกแต่งภาพถ่าย

  5. 3. งานออกแบบโปรแกรมการนำเสนอข้อมูลเป็นสื่อที่เปลี่ยนรูปแบบที่เคยนำเสนอโดยสไลด์ หรือแผ่นโปร่งใสออกมาทางจอฉายภาพทางเครื่องฉายวีดิโอ (Video Projecter) หรือ ดาต้าโชว์ (Data shoe Projecter) การผลิตสื่อเพื่อการนำเสนอนี้เป็นการสร้างงานกราฟิก – ภาพถ่าย และเสียงเพื่อนำเสนอร่วมกันหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า Multimedia โปรแกรมที่นำเสนอข้อมูลนี้ได้แก่ Power point Persuation ส่วน Macromind director เป็นโปรแกรมสร้างภาพและนำเสนอแบบ Video – animation ที่มีภาพเคลื่อนไหว

  6. การผลิตและใช้โปรแกรมนำเสนอ (Presentstrion Program) - แนวความคิดเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ใน Presentation - การเตรียมข้อมูลและการเขียน สตอรี่บอร์ด - โปรแกรม Presentation ที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูล (Action, Direction, PowerPoint) - การใช้โปรแกรม PowerPoint เพื่อการนำเสนอ

  7. ลำดับขั้นตอนในการผลิตโปรแกรมนำเสนอลำดับขั้นตอนในการผลิตโปรแกรมนำเสนอ • ศึกษาเนื้อหา เรื่องที่จะผลิต • กำหนดเป็นหัวข้อและประเด็นย่อยๆ เพื่อนำมาใช้ทำภาพ • สร้างบทหรือสตอรี่บอร์ดหยาบๆ ลงบนกระดาษโดยการร่างภาพในกรอบว่ามีตัวอักษรและภาพอย่างไร หรือมีเสียงประกอบหรือไม่ • ดำเนินการออกแบบภาพ – ตัวอักษร – เรื่อง ตามที่ได้ออกแบบไว้ในสตอรี่บอร์ด ซึ่งอาจเป็นภาพที่มีอยู่แล้วหรือภาพที่สร้างขึ้นเอง • สร้าง effect ต่างๆ เช่น การสร้าง Transition ของเฟรมสไลด์ หรือสร้างBuild สำหรับการเคลื่อนที่ของตัวอักษรและภาพภายในเฟรม

  8. ข้อควรระวังในการออกแบบข้อควรระวังในการออกแบบ 1. พื้นกับตัวอักษร มีการตัดกันอย่างเหมาะสม เช่น ตัวอักษรสีดำบนพื้นสีเหลือง อักษรขาวบนพื้น สีน้ำเงิน ฟ้าอ่อนบนพื้นสีม่วง เป็นต้น 2. ตัวอักษรควรมีขนาดใหญ่และอ่านง่าย ถ้าเลือกได้ควรใช้ตัวอักษรที่มีความหนา ขนาดตัวอักษรที่พอเหมาะถ้าเป็นภาษาไทยควรมีขนาดประมาณ 50 Point ขึ้นไป แบบตัวอักษรที่ใช้ได้ดี เช่น Eucrosia, Freesia UPC, หรือ DelIinea UPC และBrowallia UPC 3. ในสไลด์ เฟรม ไม่ควรใช้ตัวหนังสือหลายบรรทัดเกินไป เช่น ใช้ประมาณ 5 – 10 บรรทัด ก็เพียงพอ มิฉะนั้นตัวอักษรจะเล็กลงทำให้อ่านบาก

  9. 4. พยายามใช้ภาพประกอบให้มาก เช่น ภาพกราฟิก ที่เป็นชาร์ท กราฟ Clip art หรือเป็นภาพถ่าย ที่ Scan มา หรือถ่ายจากกล้องดิจิตอล แต่ภาพกราฟิกสีหรือภาพถ่ายที่นำมาใช้ ควรมีความสัมพันธ์กับเรื่องที่นำเสนอ มิฉะนั้นแล้วส่วนสำคัญในสไลด์อาจถูกแย่งความสำคัญไป 5. ระวังไม่ใช้สีที่ตัดกันมากจนเกินไป อาจทำให้ดูไม่สบายตา เช่น สีแดงเข้ม กับสีน้ำเงินเข้ม จะทำให้ดูแล้วปวดตามาก 6. ไม่ควรสร้างการเคลื่อนไหวให้กับตัวอักษรหรือภาพในสไลด์มากจนเกินไป ผลที่ออกมาจะทำให้ดูสับสน แล้วยังอาจสร้างความรำคาญให้คนดูอีกด้วย

  10. การใช้ระบบมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาการใช้ระบบมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา โครงสร้างของดิจิตอล - ภาพวาด เป็น Vector เกิดจากการลากเส้นเชื่อมระหว่างจุดโดยกำหนดเป็นจุด x, y ภาพที่เกิดจากโปรแกรม Ilustrator, freehand หรือ Corel Draw - ภาพถ่าย เป็น Raster เกิดจากจุดวางเรียงกันไป เรียกว่า pixel หรือเป็น Bitmap เช่น โปรแกรม Photoshop หรือโปรแกรมอื่นๆ - Pixel คือ หน่วยของภาพที่มีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมประกอบกันเพื่อให้เกิดเป็นภาพถ่ายขึ้น ภาพที่เกิดขึ้นแบบ Raster จึงต้องให้ความสำคัญต่อความละเอียดของภาพ (Resolution) มากกว่าภาพที่เป็นแบบ Vector

More Related