1 / 80

แหล่งสารสนเทศอ้างอิง

แหล่งสารสนเทศอ้างอิง. Reference resources. อยากทราบว่า คำว่ายา-เสพ-ติด เขียนอย่างไรกันแน่นะ ?. ยาเสพติด เขียนอย่างนี้นะถูกแล้ว เราว่า เขียนอย่างงี้นะ “ยาเสพย์ติด” เราจะตรวจสอบจากไหนดีนะ จาก.........................ซิจ๊ะ แล้วจะเจอมั๊ยนี่ .

tayten
Télécharger la présentation

แหล่งสารสนเทศอ้างอิง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แหล่งสารสนเทศอ้างอิง Reference resources

  2. อยากทราบว่า คำว่ายา-เสพ-ติด เขียนอย่างไรกันแน่นะ ? • ยาเสพติด เขียนอย่างนี้นะถูกแล้ว • เราว่า เขียนอย่างงี้นะ “ยาเสพย์ติด” • เราจะตรวจสอบจากไหนดีนะ • จาก.........................ซิจ๊ะ • แล้วจะเจอมั๊ยนี่

  3. คำว่า เสพ เป็นคำกริยา แปลว่า ดื่ม กิน บริโภค เช่น นายจำลองเสพสุราถ้าเป็นอาการนาม ใช้ว่า การเสพเช่น การเสพสุราเป็นสิ่งไม่ดี • คำว่า เสพย์ แปลว่า พึงเสพ ใช้เป็นคำวิเศษณ์เช่น นายนิกรเสพยาเสพย์ติด ซึ่งแปลว่า นายนิกรเสพยาที่พึงเสพแล้วทำให้ติด

  4. อยากทราบว่า อังคาส แปลว่า อะไรนะ ? • คำว่า อังคาส แปลว่า เลี้ยงพระ ,ถวาย เขียนว่า อังคาด ก็มี อังคาส ก็คือ การเลี้ยงพระอังคาสด้วยมือ หมายความว่าอย่างไร

  5. ต้องการชื่อ ที่อยู่ของนักวิจัยด้านการศึกษา • จะหาจากไหนดีละ • ชื่อที่อยู่นี่มันคุ้น ๆ นะ • ใช่ไหม คิดเหมือนกันเลย • สมุดโทรศัพท์ แต่จะมีหรือเปล่านะ ทำเนียบนักวิจัย

  6. แหล่งสารสนเทศอ้างอิง reference resources • เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาคำตอบเฉพาะเรื่องราวที่ตรงต้องการ • ให้สารสนเทศที่เป็นจริง เชื่อถือได้ • จัดทำอย่างเป็นระบบ • มีรูปแบบทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

  7. ประเภทของแหล่งสารสนเทศอ้างอิง • จำแนก ได้ 2 ประเภท คือ 1. จำแนกตามลักษณะการให้สารสนเทศ2. จำแนกตามลักษณะของเนื้อหา

  8. 1. จำแนกตามลักษณะการให้สารสนเทศ • แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ 1.1 ให้สารสนเทศโดยตรง เช่น พจนานุกรมสารานุกรม นามานุกรม รายปี คู่มือ สิ่งพิมพ์รัฐบาล...1.2 ให้สารสนเทศทางอ้อมหรือแนะนำแหล่งสารสนเทศ เช่น หนังสือบรรณานุกรม ดรรชนี..

  9. 2. จำแนกตามลักษณะของเนื้อหา • แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ 1.1 สารสนเทศอ้างอิงทั่วไป ให้ความรู้ ข้อเท็จจริงทั่วๆไป ไม่เน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นพจนานุกรมหรือสารนุกรม ฉบับราชบัณฑิตฯ 1.2 สารสนเทศอ้างอิงเฉพาะสาขาวิชา เน้นให้สารสนเทศเฉพาะวิชาอย่างละเอียด สมบูรณ์ เช่น พจนานุกรมคอมพิวเตอร์ หรือศัพท์ศาสนา

  10. รูปแบบของแหล่งสารสนเทศอ้างอิงรูปแบบของแหล่งสารสนเทศอ้างอิง • แบ่งได้ 2 รูปแบบ ตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการค้นหา คือ 1. หนังสืออ้างอิง2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์

  11. หนังสืออ้างอิง • ใช้หาคำตอบเฉพาะเรื่องที่ต้องการ ไม่ใช่เพื่ออ่านตลอดเล่ม • แยกจากหนังสือทั่วไป • อ หรือ R บนเลขเรียกหนังสือ • ให้บริการเฉพาะในห้องสมุดเท่านั้น

  12. ลักษณะของหนังสืออ้างอิง • เนื้อหา ขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมสารพัดเรื่อง • ผู้แต่ง มีความรู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เขียน • การจัดเนื้อหา เป็นระบบ คือ • เรียงลำดับอักษรของหัวข้อเรื่อง • จัดหัวข้อเรื่องเป็นหมวดหมู่ • เรียงตามลำดับเหตุการณ์ • จัดหัวข้อเป็นกลุ่มทางภูมิศาสตร์

  13. ลักษณะของหนังสืออ้างอิง • มีเครื่องมือช่วยค้น • อักษรกำกับเล่ม

  14. ลักษณะของหนังสืออ้างอิง • มีเครื่องมือช่วยค้น • อักษรกำกับเล่ม • คำกำกับหน้า

  15. ลักษณะของหนังสืออ้างอิง • มีเครื่องมือช่วยค้น • อักษรกำกับเล่ม • คำกำกับหน้า • ดรรชนีข้างเล่มหรือดรรชนีหัวแม่มือ • ดรรชนี (Index) หรือสารบัญช่วยค้นอย่างละเอียด มักอยู่ท้ายเล่ม หรือแยกเล่มต่างหาก

  16. แหล่งสารสนเทศอ้างอิง อิเล็กทรอนิกส์ • จัดเก็บในรูปแบบฐานข้อมูลดิจิทัล ใช้คอมฯเป็นเครื่องมือ ในการสืบค้น • นำเสนอข้อมูลคล้ายหนังสืออ้างอิง แต่อาจมีขอบเขตกว้างงขวาง ครอบคลุมมากกว่าตามความสามารถในการบันทึกข้อมูล • สามารถปรับปรุงเพิ่มเติมข้อมูลให้ทันสมัยได้ง่ายและตลอดเวลา • บริการสารสนเทศได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งพจนานุกรมและ สารานุกรม อื่นๆ

  17. ลักษณะและวิธีใช้แหล่งสารสนเทศอ้างอิงลักษณะและวิธีใช้แหล่งสารสนเทศอ้างอิง

  18. พจนานุกรม • ให้ความรู้เกี่ยวกับคำที่มีอยู่ในภาษา • เรียงตามลำดับอักษร • ให้คำอธิบายรายละเอียดของคำนั้นๆ เช่น ตัวสะกด การออกเสียง ความหมายของคำ คำจำกัดความ ประวัติที่มาของคำ รากศัพท์ วิธีใช้คำ ตัวอย่างประโยค คำพ้อง คำตรงข้าม ตัวย่อต่างๆ

  19. ประเภทพจนานุกรม • พจนานุกรมภาษา • พจนานุกรมเสริมพจนานุกรมภาษา • พจนานุกรมเฉพาะวิชา

  20. วิธีใช้พจนานุกรม • ดูคำที่ต้องการค้น ภาษาหรือ เฉพาะวิชา • เลือกพจนานุกรมให้ตรงข้อมูลที่ต้องการ • อ่านข้อแนะนำการใช้ • ใช้เครื่องมือช่วยในการค้นหา อักษรกำกับเล่ม ดรรชนีหัวแม่มือ คำกำกับหน้า

  21. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

  22. http://rirs3.royin.go.th/ridictionary/lookup.html

  23. สารานุกรม (Encyclopedia) • รวบรวมความรู้สารพัดอย่างในรูปของบทความ • มีขอบเขตครอบคลุมเนื้อหาสาระในสาขาวิชาต่างๆ และเรื่องราวที่น่าสนใจทั่วไปอย่างกว้างขวาง • จัดเรียงเนื้อหาอย่างมีระบบ เรียงลำดับอักษรของ หัวข้อวิชา มีดรรชนีช่วยค้นเรื่องย่อยอย่างละเอียด • เสนอความรู้ที่ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ • เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา

  24. ประเภทของสารานุกรม • สารานุกรมทั่วไป รวบรวมความรู้พื้นฐาน ทุกแขนงวิชาไว้ในเล่มเดียวกันหรือชุดเดียวกัน เช่น สารนุกรมไทยฉบับเยาวชน • สารานุกรมเฉพาะวิชา รวบรวมเรื่องราว ความรู้ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น สารานุกรมวิทยาศาสตร์ ฯลฯ

  25. สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ความรู้ต่าง ๆ เช่น บุคคลสำคัญ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ภูมิภาค ประเทศ นครและเมืองสำคัญ ดาราศาสตร์ เชื้อชาติของมนุษย์ ศาสนา ปรัชญา ลัทธินิกาย วรรณกรรมสำคัญ ตำนาน นิทาน นิยายโบราณ ตัวละครสำคัญในวรรณคดี การเมือง สังคม เศรษฐกิจ สถาบัน วันสำคัญ วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม

  26. สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งถือเป็นแหล่งรวมความรู้เล่มใหญ่ของคนไทย • เล่มแรกในหมวดอักษร ก เริ่มจัดทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2497 • ท้ายบทความจะมีชื่อย่อของผู้เขียนกำกับไว้ และใส่ชื่อเต็มของผู้เขียน วุฒิ ตำแหน่ง ท้ายเล่ม

  27. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน • จัดทำขึ้นตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะให้มีสารานุกรมที่เหมาะสมกับคนไทย เพื่อหาความรู้อย่างต่อเนื่อง • มุ่งหมายส่งเสริมให้เยาวชนให้มีความรู้พื้นฐานในสาขาวิชาต่างๆ เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ • แบ่งเป็น 3 ระดับ เด็กเล็ก (8-11 ปี) เด็กรุ่นกลาง (12-14 ปี) และเด็กโต(15 ปีขึ้นไป) เนื้อหา 3 ตอน แยกด้วยขนาดตัวพิมพ์และเนื้อเรื่อง • เนื้อเรื่องไม่ได้เรียงตามลำดับอักษร ใช้ค้นเรื่องจากสารบัญ • ท้ายเล่มทุกเล่มมีรายชื่อผู้เขียนบทความและดรรชนีช่วยค้นเรื่อง

  28. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

  29. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฉบับอิเล็กทรอนิกส์สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฉบับอิเล็กทรอนิกส์

  30. สารานุกรมออนไลน์ แบบเสรี วิกิพีเดีย

  31. สารานุกรมต่างประเทศที่น่าสนใจสารานุกรมต่างประเทศที่น่าสนใจ

  32. สารานุกรมต่างประเทศที่น่าสนใจสารานุกรมต่างประเทศที่น่าสนใจ

  33. สารานุกรมเฉพาะวิชา • สารานุกรมวัฒนธรรมไทย.(2542) มี 63 เล่ม.รวบรวมความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและวัฒนธรรมพื้นบ้านทุกแขนงของไทย ภูมิปัญญาพื้นบ้านจาก 4 ภาคให้ข้อมูล 18 หมวดวัฒนธรรม เช่น ความเชื่อและประเพณี อาชีพ เครื่องมือเครื่องใช้ อาหารการกิน • สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย. (2539-ปัจจุบัน)อธิบายศัพท์ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติบุคคล สถานที่ เหตุการณ์ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ • Macmillan encyclopedia of chemistryสารานุกรม 4 เล่มจบ เป็นบทความขนาดสั้น ทางด้านเคมีเรียงตามลำดับอักษร เล่มสุดท้ายมีรายชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี

  34. หนังสือรายปี Yearbook • หนังสือที่จัดพิมพ์เป็นรายปี รวบรวมความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ บุคคลสำคัญและความก้าวหน้าของวิทยาการสาขาต่างๆ ในรอบปีที่ผ่านมา • เสนอข้อความสั้นๆในรูปของทำเนียบนาม ตารางสถิติและปฏิทินเหตุการณ์

  35. ประเภทหนังสือรายปี • หนังสือรายปีสารานุกรม (Encyclopedia Yearbook) • หนังสือรายปีสรุปข่าว (New Summary) • หนังสือสมพัตรสร (Almanac) • รายงานประจำปี (Subject Record of Progress)

  36. หนังสือรายปีสารานุกรมหนังสือรายปีสารานุกรม • เพื่อเสริมเนื้อหาของสารานุกรมชุดแม่ ให้มีเนื้อหาทันสมัยอยู่เสมอ จัดเรียงรายการตามลำดับอักษร เช่น The Britannica book of the year เสริม The New Encyclopedia Britannica

  37. หนังสือรายปีสรุปข่าว • เป็นจดหมายเหตุบันทึกเหตุการณ์สำคัญด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยประมวลจากข่าวประจำวัน ตรวจสอบความถูกต้องแล้วเสนอในรูปสรุปความ ออกเป็นวารสารรายสัปดาห์ เช่น สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวและเหตุการณ์ ...

  38. สมพัตสร • เสนอความรู้เบ็ดเตล็ดต่างๆ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงในเรื่องทั่วๆไปอย่างสั้นๆ เหตุการณ์ในรอบปีที่ผ่านมา เรื่องราวของประเทศต่างๆ ภัยพิบัติ สภาพภูมิศาสตร์เด่นๆ เสนอความรู้ในรูปของปฏิทินเหตุการณ์ ตารางสถิติ ทำเนียบนาม และพรรณนาความ สถิติต่างๆ เชื่อถือได้เพราะมีแหล่งอ้างอิง เช่น สยามแอลมาแนค หรือ The world almanac and book of fact

More Related