1 / 98

ความรู้เกี่ยวกับสัญญา / การทำสัญญา การบริหารสัญญา และ หลักประกันสัญญา

ความรู้เกี่ยวกับสัญญา / การทำสัญญา การบริหารสัญญา และ หลักประกันสัญญา. รวีวัลย์ แสงจันทร์ นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง โทร. ๐๒ ๒๗๓๙๐๒๔ ต่อ ๔๕๕๑-๔๕๕๓ www.gprocurement.go.th (สงวนลิขสิทธิ์). สัญญา คืออะไร. สัญญา เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง

tekli
Télécharger la présentation

ความรู้เกี่ยวกับสัญญา / การทำสัญญา การบริหารสัญญา และ หลักประกันสัญญา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรู้เกี่ยวกับสัญญา /การทำสัญญา การบริหารสัญญา และ หลักประกันสัญญา รวีวัลย์ แสงจันทร์นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง โทร. ๐๒ ๒๗๓๙๐๒๔ ต่อ ๔๕๕๑-๔๕๕๓ www.gprocurement.go.th(สงวนลิขสิทธิ์)

  2. สัญญา คืออะไร สัญญา เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๔๙ ให้ความหมายไว้ว่า • “การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย และด้วย ใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการ ผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ

  3. (ตัวอย่าง)การซื้อหรือจ้างจากส่วนราชการเดียวกัน ไม่อาจทำได้ถือเป็นงานจัดทำเอง(มติกวพ.ครั้งที่๓๐/๒๕๕๐ ) • กรณีขอให้หน่วยงานเดียวกัน ทำการผลิตหรือจัดหาพัสดุให้ มิใช่การซื้อ หรือจ้าง กับบุคคลอื่น แต่ถือว่าเป็นงานจัดทำเอง • งานจัดทำเอง หมายความว่า หน่วยงานที่จัดหาจะนำเงินไปจัดหาเฉพาะพัสดุ หรือสิ่งของแล้วมาดำเนินการเอง โดยไม่มีการจ่ายค่าจ้าง หรือ ไม่มีการจ้างบุคคลอื่นเข้ามาดำเนินการอีก หรือจะให้หน่วยงานเดียวกันเป็นผู้จัดทำ หรือจัดหาพัสดุให้ • วิธีปฏิบัติ เจ้าหน้าที่พัสดุจะต้องจัดทำรายงานขอให้หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้พิจารณาสั่งการด้วย โดยออกเป็นใบสั่งของหรือใบสั่งงาน เป็นต้น

  4. การทำสัญญา ตามระเบียบฯพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ มี ๓ แบบ ๑.ทำตามตัวอย่าง(แบบ) ที่ กวพ. กำหนด (ข้อ๑๓๒) ๓.ไม่ทำเป็นหนังสือ ไว้ต่อกันก็ได้ (ข้อ ๑๓๓วรรคท้าย) ๒.ทำข้อตกลง เป็นหนังสือ ไว้ต่อกัน (ข้อ ๑๓๓) • สัญญาที่มีข้อความแตกต่างไปจากแบบที่กวพ.กำหนด • ให้ส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อน

  5. สัญญาที่จำเป็นต้องทำเป็นภาษาต่างประเทศ(ข้อ ๑๓๒ วรรคห้า/วรรคหก) ๑.ให้ทำเป็นภาษาอังกฤษ แต่ต้องมีคำแปลเป็นภาษาไทยเฉพาะที่สำคัญไว้ด้วย ยกเว้น แบบสัญญาที่ กวพ. กำหนด ไม่ต้องแปลเป็นภาษาไทย ๒.การทำสัญญาของส่วนราชการในต่างประเทศ -จะทำเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาของประเทศที่หน่วยงานตั้งอยู่ โดยผ่านการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้รู้กฎหมายของส่วนราชการนั้น ๆ ก็ได้

  6. กรณีทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกัน (ข้อ ๑๓๓) หลัก -เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ จะทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกัน โดยไม่ต้องทำ สัญญาตามแบบในข้อ ๑๓๒ ก็ได้ ในกรณีดังนี้ ซื้อ/จ้าง/แลกเปลี่ยนโดยวิธีตกลงราคา /การจ้างปรึกษา • คู่สัญญาส่งของได้ครบถ้วน ภายใน ๕ วันทำการ นับจากทำข้อตกลง • การซื้อ/จ้าง โดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๓หรือ ๒๔ (๑)-(๕) การเช่า ที่ไม่ต้องเสียเงินอื่นใดนอกจากการเช่า

  7. กรณีที่ไม่ต้องทำข้อตกลงเป็นหนังสือ ไว้ต่อกันก็ได้ (ระเบียบข้อ ๑๓๓ วรรคท้าย) ได้แก่ (๑)การจัดหาซึ่งมีราคาไม่เกิน ๑ หมื่นบาท หรือ (๒) การซื้อ/จ้าง ซึ่งใช้วิธีดำเนินการตาม ระเบียบข้อ ๓๙ วรรคสอง (ได้แก่ วิธีตกลงราคา กรณีจำเป็นเร่งด่วน ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน และ ไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน)

  8. (ตัวอย่าง)การซื้อ/จ้างกับส่วนราชการด้วยกันหนังสือโต้ตอบ ถือเป็นข้อตกลงเป็นหนังสือ ตามข้อ ๑๓๓ แล้ว • แนววินิจฉัยของ กวพ.กค๐๔๐๘.๔/๖๙๓ ลว.๑๙ ธ.ค.๔๘ • ส่วนราชการ ก. จ้างกรมประชาสัมพันธ์ จัดทำโครงการประชาสัมพันธ์ สัมภาษณ์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ และถ่ายทอดสดโดยใช้วิธีพิเศษ • คำวินิจฉัย ระเบียบฯ ข้อ ๑๓๒กำหนดให้การจ้างโดย วิธีพิเศษ ตามข้อ ๒๔(๓) สามารถทำเป็นบันทึกข้อตกลงได้ • โดยหนังสือโต้ตอบระหว่างส่วนราชการ กับ ส่วนราชการด้วยกันนั้น ถือเป็นข้อตกลงเป็นหนังสือตามข้อ ๑๓๓ แล้ว

  9. ใคร ? เป็นผู้มีอำนาจลงนามในสัญญา หรือใบสั่งซื้อ /ใบสั่งจ้าง • สัญญาหัวหน้าส่วนราชการ (ข้อ ๑๓๒) • ใบสั่งซื้อ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ • ใบสั่งจ้าง (ในวิธีตกลงราคาข้อ๓๙วรรคแรก)

  10. สาระสำคัญของสัญญา (ในแบบสัญญา) ๑. ข้อตกลงเกี่ยวกับสิ่งของที่ซื้อขาย/งานที่จ้าง ปริมาณ จำนวน และราคาแบบรูป (งานซื้อต้องเป็นของแท้ ของใหม่ ไม่เคยใช้งานมาก่อน) ๒. เงื่อนไขการส่งมอบ การตรวจรับ(ทั้งหมด/บางส่วน) ๓. เงื่อนไขการชำระเงิน (เงินล่วงหน้า /งวดเงิน) ๔. เงื่อนไขการรับประกัน ความชำรุดบกพร่อง ๕. การวางหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา ๖. เงื่อนไขการบอกเลิกสัญญา /ค่าปรับ ๗. การรับผิดชอบค่าเสียหาย/การขยายเวลาส่งมอบ

  11. รูปแบบสัญญาตามตัวอย่างที่ กวพ.กำหนด ๑. สัญญาซื้อขาย ๒. สัญญาจะซื้อจะขายแบบราคาคงที่ไม่จำกัดปริมาณ ๓. สัญญาซื้อขายคอมพิวเตอร์ ๔. สัญญาซื้อขายและอนุญาตให้ใช้สิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ๕. สัญญาจ้าง ๖. สัญญาจ้างบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขคอมพิวเตอร์

  12. แบบสัญญาตามตัวอย่างที่ กวพ.กำหนด (ต่อ) ๗. สัญญาเช่าคอมพิวเตอร์ ๘. สัญญาเช่ารถยนต์ ๙. สัญญาแลกเปลี่ยน ๑๐. สัญญาจ้างผู้เชี่ยวชาญรายบุคคล หรือ จ้างบริษัทที่ปรึกษา ๑๑. สัญญาจ้างที่ปรึกษาออกแบบและควบคุมงาน

  13. แบบสัญญา ตามตัวอย่างที่เคยผ่านการพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด • ๑. สัญญาจ้างให้บริการรักษาความปลอดภัย • ๒. สัญญาจ้างทำความสะอาดอาคาร ฯลฯ

  14. การทำสัญญาจ้างก่อสร้างทุกประเภท ต้องมีเงื่อนไขให้มีการปรับราคาได้(ค่าK) • มติคณะรัฐมนตรี หนังสือของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร ว ๑๐๙ ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๒กำหนดให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพก่อสร้าง • โดยให้ทุกส่วนราชการมีข้อกำหนดในประกาศสอบราคา ประกวดราคา ไว้ด้วยว่าจะทำสัญญาแบบปรับราคาได้ และในขั้นตอนทำสัญญาต้องการทำสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่าK) • กรณีมีปัญหา ให้หารือสำนักงบประมาณ

  15. สัญญาที่มีข้อตกลงให้มีการจ่ายเงินล่วงหน้า ให้ระบุในสัญญาได้ไม่เกินอัตราดังนี้(ข้อ ๖๘) • ๑.ซื้อ/จ้าง กับส่วนราชการ ,รัฐวิสาหกิจฯ จ่าย ๕๐ % • ๒. ซื้อจากต่างประเทศ จ่ายตามที่ผู้ขายกำหนด ๓. การบอกรับวารสาร,/สั่งจองหนังสือ/ ซื้อข้อมูล E /บอกรับสมาชิกInternetจ่ายเท่าที่จ่ายจริง ๔.ซื้อ/จ้าง วิธีสอบราคา/ประกวดราคา จ่าย ๑๕% (ต้องกำหนดเงื่อนไขไว้ในประกาศสอบ/ประกวด ด้วย) • ๕. ซื้อ/จ้าง โดยวิธีพิเศษ (แจ้งขณะเจรจาราคา) จ่าย ๑๕%

  16. อัตราค่าปรับ ที่ต้องกำหนดไว้ในสัญญา(ข้อ ๑๓๔) การซื้อ/จ้าง –ให้กำหนดอัตราค่าปรับเป็นรายวันในอัตรา ตายตัวระหว่าง ร้อยละ ๐.๐๑-๐.๒๐ของราคา พัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ งานจ้าง-ที่ต้องการผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกัน ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวัน เป็นจำนวนตายตัว ในอัตราร้อยละ๐.๐๑-๐.๑๐ ของราคาค่าจ้างนั้น แต่ต้องไม่ต่ำกว่าวันละ ๑๐๐ บาท

  17. งานก่อสร้างสาธารณูปโภค- ที่มีผลกระทบต่อการจราจร ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวัน ในอัตราร้อยละ๐.๒๕ การจ้างที่ปรึกษา –หากเห็นว่าจำเป็นต้องกำหนดค่าปรับไว้ ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวัน หรือในอัตราตายตัวในอัตราร้อยละ๐.๐๑-๐.๑๐ ของราคาค่าจ้างนั้น ได้ตามความเหมาะสม การจัดหาสิ่งของที่ประกอบกันเป็นชุด ถ้าขาดส่วนใด ส่วนหนึ่งแล้วไม่อาจใช้งานได้ หากส่งมอบเกินกำหนดสัญญา ให้ถือว่าไม่ส่งมอบสิ่งของนั้นเลย -ให้ปรับเต็มราคาของทั้งชุด

  18. การจัดหาสิ่งของ-ที่คิดราคารวมค่าติดตั้ง/ทดลองด้วย •  ถ้าส่งของเกินกำหนดสัญญาเป็นจำนวนวันเท่าใด • ให้ปรับเป็นรายวัน ในอัตราที่กำหนดของราคาทั้งหมด เมื่อครบกำหนดส่งมอบพัสดุตามสัญญา/ข้อตกลง • ให้ส่วนราชการรีบแจ้งการเรียกค่าปรับจากคู่สัญญา และ • เมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุให้ส่วนราชการบอกสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย

  19. ระเบียบข้อ ๑๓๕สัญญา/ข้อตกลง มูลค่า ๑ ล้านขึ้นไป ส่งสำเนาให้สตง.และกรมสรรพากรด้วย • สัญญา หรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่มีมูลค่าตั้งแต่ ๑ ล้านบาทขึ้นไป • ให้ส่งสำเนา ให้สตง. หรือสตง.ภูมิภาค และกรมสรรพากรภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันทำสัญญา หรือ ข้อตกลง

  20. ผลของสัญญา หลักการ • สัญญามีผลนับตั้งแต่วันที่คู่สัญญาได้ลงนาม ในสัญญา ยกเว้น • คู่สัญญามีข้อตกลงกำหนดเงื่อนไขกันไว้ในสัญญาเป็นอย่างอื่น

  21. ระเบียบฯ พัสดุ อนุมัติเป็นหลักการ ให้สัญญาเช่า หรือสัญญาจ้าง มีผลย้อนหลัง ? หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) ๐๔๐๘.๔/ ว ๓๕๑ ลงวันที่ ๙ กันยายน๒๕๔๘ • อนุมัติยกเว้นเฉพาะสัญญาเช่า หรือสัญญาจ้างที่จำเป็นต้องเช่า/จ้างต่อเนื่องไปในปีงปม.ใหม่ ภายหลังจากสัญญาเดิมสิ้นสุดลง • แต่ส่วนราชการไม่สามารถลงนามสัญญาได้ทันภายในวันที่ ๑ ตุลาคม เนื่องจาก • ๑. พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี ยังไม่มีผลใช้บังคับ หรือ • ๒. ยังไม่ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณ

  22. ระเบียบฯ พัสดุ อนุมัติเป็นหลักการให้สัญญาเช่าหรือสัญญาจ้าง มีผลย้อนหลัง ได้(ต่อ) • ผลให้สัญญามีผลย้อนหลังได้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม อันเป็นวันเริ่มต้นปีงบประมาณ หรือวันที่มีการเช่าหรือจ้างจริง • โดยมีเงื่อนไขว่า:- • ๑.) ส่วนราชการได้ดำเนินการจัดหาไว้แล้วก่อนสิ้นปีงบประมาณ และรู้ตัวผู้ให้เช่า หรือผู้รับจ้างที่จะลงนามเป็นคู่สัญญา แล้ว ไม่ว่าจะเป็นรายเดิม หรือรายใหม่ ก็ตาม • ๒.)ผู้มีอำนาจอนุมัติ ได้อนุมัติให้เช่า หรือจ้างจากรายที่ได้จัดหา ไว้แล้วก่อนสิ้นปีงบประมาณ เพียงแต่อยู่ในขั้นตอนไม่อาจ ลงนามในสัญญาได้ทันในวันที่ ๑ ตุลาคม เท่านั้น

  23. การบริหารสัญญา

  24. ใคร ? เป็นผู้มีหน้าที่บริหารสัญญา คำวินิจฉัยกวพ.ด่วนที่สุด ที่ กค(กวพ)๐๔๐๘.๔/๒๘๕๑๔ลว.๑๒ ต.ค.๔๘ • เจ้าหน้าที่พัสดุ/ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือ คณะกรรมการตรวจการจ้าง • โดยปกติ ต้องมีหน้าที่บริหารสัญญา กล่าวคือ เมื่อสัญญา ครบกำหนด จะต้องแจ้งให้ผู้ขายหรือรับจ้างส่งมอบงาน ตามสัญญา • เจ้าหน้าที่ดังกล่าว จะต้องเสนอหัวหน้าส่วนราชการให้มี หนังสือแจ้งเตือน แจ้งปรับ แล้วแต่กรณี “”” • หากมิได้ดำเนินการ จะถือว่าละเลยไม่ดำเนินการตามหน้าที่

  25. กรณีจำเป็นต้องแก้ไข/เปลี่ยนแปลงสัญญา(ข้อ ๑๓๖) • หลัก*สัญญาที่ลงนามแล้ว ห้ามแก้ไขเปลี่ยนแปลง • ข้อยกเว้น -กรณีจำเป็นต้องแก้ไข • เป็นอำนาจหัวหน้าส่วนราชการพิจารณา • การแก้ไขจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ราชการ หรือไม่ทำให้ทางราชการเสียประโยชน์ • ระยะเวลาที่จะแก้ไข :- “จะแก้ไขเมื่อไดก็ได้ แต่ต้องก่อนการตรวจรับงวดสุดท้าย”

  26. การแก้ไข/เปลี่ยนแปลงสัญญา(ต่อ)การแก้ไข/เปลี่ยนแปลงสัญญา(ต่อ) • การแก้ไขสัญญา ถ้าจำเป็นต้อง:- -เพิ่ม /ลดวงเงิน /ขยายเวลาการส่งมอบ/ ก็ให้ตกลงไปพร้อมกัน • กรณีงานเกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง/งานเทคนิคเฉพาะอย่าง -ต้องได้รับการรับรองจากสถาปนิก/วิศวกรฯ ที่รับผิดชอบ ก่อนการแก้ไข

  27. (ตัวอย่าง)คู่สัญญาขอแก้ไขสัญญา เพื่อเปลี่ยนพัสดุใหม่ เนื่องจากบริษัทเลิกผลิตแล้ว • ปัญหาบริษัทแจ้งขอแก้ไขสัญญาโดยเปลี่ยนพัสดุใหม่ จากรุ่นที่ทำสัญญาไว้ เป็น รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพเท่าเดิม หรือดีกว่าเดิม ราคา และเงื่อนไขเดิม หรือดีกว่าเดิม • แนวทางแก้ไข • หากส่วนราชการพิจารณาเห็นควรแก้ไขสัญญา • เพื่อประโยชน์ราชการ • และมิได้ทำให้ทางราชการเสียประโยชน์ ก็สามารถกระทำได้

  28. (ตัวอย่าง) คู่สัญญาส่งของไม่ได้ตามสัญญา จะขอเปลี่ยนพัสดุ เนื่องจากบริษัทเลิกผลิตแล้ว (ต่อ) แต่การแก้ไขสัญญา (๑) จะต้องระบุการสงวนสิทธิ์เรียกค่าปรับจากผู้ขาย/ผู้รับจ้าง (๒) ต้องกำหนดระยะเวลาการส่งมอบใหม่ให้ชัดเจนใน สัญญาที่แก้ไขใหม่ด้วย (หากไม่เขียน จะเรียกค่าปรับไม่ได้ เพราะไม่มีวันส่งมอบที่จะนำมาคำนวณค่าปรับได้ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ ถือว่าเป็นการยกเลิกสัญญาเดิมหรือแปลงหนี้ใหม่ สัญญาเดิมย่อมระงับไป แม้จะสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับไว้ก็ตาม แต่ขณะที่บริษัทขอแก้ไขสัญญานั้น ค่าปรับยังไม่เกิดขึ้น)

  29. (ตัวอย่าง) การแก้ไขสัญญาหลังจากผิดสัญญาแล้ว เมื่อไม่กำหนดวันส่งมอบไว้ในสัญญาที่แก้ไขใหม่ จึงไม่อาจคิดค่าปรับได้ กรมฯ แก้ไข /เปลี่ยนแปลงสัญญาในส่วนขั้นตอนที่ผู้รับจ้างต้อง ดำเนินการกับแบบแสดงรายการภาษีบางประการ -ภายหลังจากครบกำหนดส่งมอบงานตามสัญญาแล้ว -โดยไม่ได้กำหนดเวลาส่งมอบกันใหม่ • ถือได้ว่า สัญญาจ้างดังกล่าวไม่มีกำหนดวันส่งมอบเมื่อใดไว้ด้วย • อันมีผลทำให้ ยังถือไม่ได้ว่าผู้รับจ้างผิดนัดชำระหนี้ในการส่งมอบงาน • ประกอบกับตามสัญญาที่แก้ไขเพิ่มเติม กรมฯ ก็มิได้มีการตกลงในการสงวนสิทธิ์เรียกค่าปรับจากผู้รับจ้างไว้ในสัญญาที่แก้ไขใหม่ด้วย • กรณีนี้กรมฯ จึงไม่อาจเรียกค่าปรับในส่วนของการที่ส่งมอบงานล่าช้าจากผู้รับจ้างได้

  30. (ตัวอย่าง) การแก้ไขสัญญา เพื่อเปลี่ยนหลักประกันสัญญา • คู่สัญญาขอเปลี่ยนหลักประกันสัญญา เป็นอย่างใดตามข้อ ๑๔๑(๑)-(๔)ย่อมแก้ไขสัญญาได้ ทางราชการมิได้เสียประโยชน์ • เนื่องจากระเบียบข้อ ๑๔๑ กำหนดว่า “หลักประกันซองหรือหลักประกันสัญญาให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่ง อย่างใด ดังต่อไปนี้เงินสด /เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่ายซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ใช้เช็คนั้น ชำระต่อเจ้าหน้าที่ หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน ๓ วันทำการ/ หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศตามตัวอย่างที่ กวพ.กำหนด/ หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ตามรายชื่อที่ธปท.แจ้งเวียน/ พันธบัตรรัฐบาล

  31. (ตัวอย่าง) กรณีงานก่อสร้างที่คู่สัญญาทำสัญญาหรือข้อตกลง โดยถือราคาแบบเหมารวมเป็นเกณฑ์ • ระหว่างสัญญาจะคิดค่างานที่เพิ่ม-ลด เกินกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงไม่ได้ • เว้นแต่ คู่สัญญามีข้อตกลงกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

  32. ใคร ?เป็นผู้เสนอความเห็นต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อ แก้ไข/เปลี่ยนแปลงสัญญา หรือข้อตกลง การงด ลดค่าปรับ/ขยายเวลาสัญญา/ข้อตกลง • หนังสือแจ้งเวียนของสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ) ๑๓๐๕/ว ๑๑๙๔๘ ลว.๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๓ ข้อ ๓ กำหนดให้เป็นหน้าที่ของ :- • “คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือ • คณะกรรมการตรวจการจ้าง • แล้วแต่กรณีเป็นผู้เสนอความเห็นในแต่ละครั้งด้วย”

  33. การงด ลดค่าปรับ หรือการขยายเวลาทำการตามสัญญา (ข้อ๑๓๙) • ให้พิจารณาได้เฉพาะเหตุดังต่อไปนี้ • (๑) เหตุเกิดจากความผิด/ความบกพร่องของส่วนราชการ (๒) เหตุสุดวิสัย • (๓) เหตุเกิดจากพฤติการณ์ ที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิด • เงื่อนไข • คู่สัญญาของทางราชการจะต้องมีหนังสือแจ้งเหตุ • ที่เกิดขึ้นตาม ข้อ ๑๓๙ (๒)หรือ(๓) ให้ทราบ • ภายใน ๑๕ วัน นับแต่เหตุนั้นสิ้นสุดลง • นับแต่เหตุสิ้นสุด • ให้พิจารณาให้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง • อำนาจอนุมัติ • หัวหน้าส่วนราชการ

  34. (ตัวอย่าง) การพิจารณาอนุมัติให้งด/ ลดค่าปรับ หรือการขยายระยะเวลาสัญญา ไม่ต้องทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม • วิธีปฏิบัติ เมื่อหัวหน้าส่วนราชการพิจารณาให้งด หรือลดค่าปรับ หรืออนุมัติให้คู่สัญญาขยายระยะเวลาการส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างตามสัญญาแล้ว • ข้อควรจำ • ส่วนราชการไม่จำต้องแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นสัญญาฝ่ายเดียว ไม่จำต้องให้คู่สัญญายินยอม • เพียงแต่ให้เจ้าหน้าที่พัสดุนำคำอนุมัติให้แก้ไขสัญญาของหน.ส่วนราชการแนบติดไว้ในสัญญา พร้อมกับแจ้งให้คู่สัญญาทราบการงด /ลดค่าปรับ /หรือการขยายเวลาว่าอายุสัญญาสิ้นสุดเมื่อใด • เพื่อให้คู่สัญญาทราบเท่านั้น

  35. (ตัวอย่าง) ผู้รับจ้างของดค่าปรับ อ้างว่า ส่วนราชการใช้เวลาพิจารณาอนุมัติขยายเวลา ทำการตามสัญญา ล่าช้า • ปัญหา • กรมฯ ใช้เวลาพิจารณาอนุมัติให้ขยายเวลาสัญญาล่าช้า • แต่ในระหว่างที่ กรม ฯ.ใช้เวลาพิจารณาคำขอขยายเวลา กรม ฯ มิได้สั่งให้บริษัทหยุดงานแต่อย่างใด บริษัทยังคงสามารถทำงานตามสัญญาได้ตามปกติ • การใช้เวลาพิจารณาขยายเวลา มิได้มีส่วนสัมพันธ์ หรือส่งผลกระทบต่อการดำเนินการตามสัญญาแต่อย่างใด • ดังนั้น กรณีนี้จึงมิไช่เหตุที่จะนำมาอ้างให้งด ลดค่าปรับ ตามระเบียบฯข้อ ๑๓๙ (๑) แต่อย่างใด

  36. (ตัวอย่าง) ส่วนราชการจ่ายเงินล่าช้า ทำให้บริษัทขาดสภาพคล่องทางการเงิน จะอ้างเป็นเหตุที่จะงด ลดค่าปรับ ขยายเวลาสัญญาไม่ได้ • เหตุที่กรม ส. จ่ายเงินล่าช้า มิไช่ผลกระทบโดยตรงต่อการปฏิบัติงานตามสัญญาที่ทำให้ผู้รับจ้างต้องหยุดการทำงาน • เนื่องจาก ในระหว่างการปฏิบัติงานตามสัญญา ผู้รับจ้างมีหน้าที่จะต้องเตรียมความพร้อมในการจัดหาเงินทุนหมุนเวียนมาใช้ในการทำงานให้เพียงพอ • ดังนั้น ปัญหาที่ผู้รับจ้างขาดสภาพคล่องทางการเงิน ในกรณีนี้ จึงไม่อาจนำมาอ้างเป็นเหตุที่จะงด หรือลดค่าปรับ ตามระเบียบฯ ข้อ ๑๓๙(๑)

  37. (ตัวอย่าง) คณะกก. ตรวจรับงานล่าช้า/หากมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของผู้รับจ้างโดยตรง /งดค่าปรับได้ • คำวินิจฉัยกวพ. • คณะกรรมการตรวจการจ้างมิได้ตรวจรับให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดไว้ตามนัยหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๑๓๐๕/๕๘๕๕ ลว.๑๑ ก.ค.๒๕๔๔ • ผู้รับจ้างมิได้รับเงินค่างานในวงเงินที่สูงเป็นระยะเวลานานเป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้การก่อสร้างไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาได้ ย่อมถือว่ามีส่วนสัมพันธ์ และมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของผู้รับจ้างโดยตรง • กรม ส. จึงชอบที่จะพิจารณางด ลดค่าปรับให้แก่ผู้รับจ้างได้ ตามนัยระเบียบฯ ข้อ ๑๓๙(๑)

  38. (ตัวอย่าง) คู่สัญญาส่งมอบไม่ตรงงวดงาน ในสัญญา ยังไม่ถือว่าผิดสัญญา จึงปรับระหว่างงวดงานไม่ได้ • สัญญากำหนดเงื่อนไขการปรับว่า “หากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้รับจ้างนับถัดจากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญา” คำวินิจฉัย • การแบ่งงวดงานแต่ละงวดในสัญญา เป็นเงื่อนไขที่คู่สัญญาตกลงแบ่งงวดงาน เพื่อประโยชน์ในการ จ่ายเงินค่าจ้างเป็นงวด ตามผลงานที่ดำเนินการไปแล้ว • มิใช่เป็นการกำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานตามสัญญา ►เมื่อผู้รับจ้างส่งงานไม่เป็นไปตามงวด จึงไม่อาจนำมาคิดค่าปรับตามสัญญาได้

  39. (ตัวอย่าง) คู่สัญญาส่งมอบหลังจากผิดสัญญาแล้ว ต้องแจ้งสงวนสิทธิ์การปรับ • เมื่อคู่สัญญาส่งมอบพัสดุตามสัญญา ภายหลังผิดสัญญาแล้ว • โดยส่วนราชการมิได้บอกเลิกสัญญา • ต้องแจ้งสงวนสิทธิ์ การปรับไว้ด้วย • ให้คิดค่าปรับนับถัดจากวันครบกำหนดสัญญา/ข้อตกลง • การปรับต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา เช่น -สัญญาซื้อขายเป็นชุด ให้ปรับทั้งชุด -สิ่งของที่ซื้อรวมติดตั้ง/ทดลอง/ให้ปรับตามราคาของทั้งหมด

  40. วิธีคิดค่าปรับงานซื้อและจ้างทำของวิธีคิดค่าปรับงานซื้อและจ้างทำของ • ตัวอย่าง สัญญามูลค่า ๑ ล้านบาท อัตราค่าปรับร้อยละ๐.๑๐ กำหนดส่งมอบพัสดุ/งาน ไว้ ๓ งวด งวด๑,๒งวดละ ๒.๕ แสน งวดสุดท้าย ๕ แสน คิดค่าปรับตามจำนวนสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ • ผู้ขาย/ผู้รับจ้างส่งมอบทั้ง ๓งวด หลังจากผิดสัญญาแล้ว งวดที่๑ ๑ล.X ๐.๑๐Xจำนวนวันนับถัดจากครบกำหนดสัญญาถึงวันส่งมอบ๑๐๐ งวดที่๒ ๗.๕แสนX๐.๑๐Xจำนวนวันนับถัดจากส่งมอบงวด ๑ถึงวันส่งมอบงวด ๒ ๑๐๐ งวดที่๓ ๕แสนX๐.๑๐X จำนวนวันนับถัดจากส่งมอบงวด ๒ ถึงวันส่งมอบงวด ๓ ๑๐๐

  41. วิธีคิดค่าปรับงานจ้างก่อสร้างวิธีคิดค่าปรับงานจ้างก่อสร้าง ตัวอย่าง • สัญญามูลค่า ๑ ล้านบาท อัตราค่าปรับวันละ๑,๐๐๐บาท กำหนดส่งมอบไว้ ๓ งวด งวด ๑, ๒ งวดละ ๒.๕ แสน งวดสุดท้าย ๕ แสน ผู้รับจ้างส่งมอบทั้ง ๓ งวด หลังจากที่มีการผิดสัญญาแล้ว งวดที่๑ ๑,๐๐๐ X จำนวนวันนับถัดจากครบกำหนดสัญญา ถึงวันส่งมอบ งวดที่๒ ๑,๐๐๐X จำนวนวันนับถัดจากส่งมอบงวด ๑ ถึงวันส่งมอบ งวด ๒ งวดที่๓ ๑,๐๐๐ X จำนวนวันนับถัดจากส่งมอบงวด ๒ ถึงวันส่งมอบงวด ๓

  42. หลักประกันสัญญา

  43. แบบสัญญาตามตัวอย่างที่กวพ.กำหนด มีเงื่อนไขสัญญากำหนดให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าทำสัญญาต้องวางหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา • ในขณะทำสัญญานี้ ผู้ขายได้นำหลักประกันเป็น...............เป็นจำนวน.......บาท(.........)ซึ่งเท่ากับร้อยละ........(.......%) ของราคาทั้งหมด ตามสัญญามามอบให้แก่ผู้ซื้อ เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญานี้

  44. หลักประกันสัญญา มี๕ อย่างคู่สัญญาสามารถนำหลักประกันสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งมาวางได้ดังต่อไปนี้(ระเบียบฯข้อ ๑๔๑)

  45. มูลค่าหลักประกันสัญญา (ข้อ ๑๔๒) • อัตราจำนวนเต็ม๕%ของวงเงินที่ทำสัญญา • เว้นแต่ การจัดหาที่มีความสำคัญพิเศษ จะกำหนดสูงกว่าได้ไม่เกิน ๑๐% กรณีส่วนราชการ / รัฐวิสาหกิจ เป็นคู่สัญญา • - ยกเว้นไม่ต้องวางหลักประกัน • คู่สัญญาจะวางหลักประกันสูงกว่าที่กำหนด ให้อนุโลมรับได้

  46. สัญญาที่มีระยะเวลาเกิน ๑ ปี และไม่มีการประกันความชำรุดบกพร่อง เช่น พัสดุใช้สิ้นเปลือง(ข้อ๑๔๒ว.๒) • ให้กำหนดหลักประกันในอัตรา ๕%ของราคาพัสดุที่ส่งมอบ ในแต่ละปี โดยให้ถือว่าหลักประกันนี้เป็นการค้ำประกัน ตลอดอายุสัญญา • หากปีต่อไปราคาพัสดุเปลี่ยนไป ให้ปรับปรุงหลักประกันตามอัตราส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นก่อนครบรอบปี • หากหลักประกันที่เพิ่มขึ้น และคู่สัญญาไม่นำหลักประกันมาวางให้ครบภายใน ๑๕ วัน ก่อนการส่งมอบพัสดุงวดสุดท้ายของปีนั้น --ให้หักจากเงินค่าพัสดุงวดสุดท้ายของปีนั้นที่ทางราชการต้องจ่าย มาเป็นหลักประกันที่เพิ่มขึ้นนั้น

  47. วิธีปฏิบัติในการ รับหลักประกันสัญญาที่เป็นพันธบัตรรัฐบาลวิธีปฏิบัติในการ รับหลักประกันสัญญาที่เป็นพันธบัตรรัฐบาล • หนังสือกระทรวงการคลัง ที่กค๐๕๐๗/๔๘๔๐๕ลว. ๒๗ กันยายน ๒๕๒๖ • ให้ผู้รับพันธบัตรรัฐบาลไว้เป็นหลักประกัน มีหนังสือแจ้งธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ทราบ -เพื่อธปท.จะได้ลงทะเบียนบันทึกการรับหลักประกันไว้ แล้วมี หนังสือตอบรับการแจ้งให้ทราบ ๒. การถอนหลักประกัน ให้ผู้รับหลักประกันมีหนังสือแจ้งธปท. ทราบ เพื่อจะได้ลงทะเบียนบันทึกการถอนหลักประกัน • เมื่อคู่สัญญาผิดสัญญา กรรมสิทธิ์ในพันธบัตรยังไม่ตกเป็นของผู้รับหลักประกัน จะต้องฟ้องบังคับตามสัญญาค้ำประกันก่อน

  48. วิธีปฏิบัติในการรับหลักประกันที่เป็นพันธบัตรรัฐบาล (กรณีเป็นพันธบัตรของบุคคลธรรมดา) • มติกวพ.ครั้งที่ ๒๖/๒๕๕๒ พ.ย.๕๒ • กรณีพันธบัตรที่เป็นชื่อของบุคคลธรรมดา ซึ่งมิใช่ชื่อของนิติบุคคลผู้เสนอราคา หรือ คู่สัญญา ที่ผู้เสนอราคา หรือคู่สัญญานำมาวางเป็นประกัน ระเบียบยังไม่เคยวางหลักเกณฑ์ไว้ • อย่างไรก็ดี เพื่อป้องกันปัญหาโต้แย้งกันในภายหลัง เห็นควรจะต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ทรงพันธบัตร ให้นำมาวางเป็นหลักประกันได้โดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ

  49. วิธีปฏิบัติในการนำหลักประกันซอง มาใช้เป็นหลักประกันสัญญา • หนังสือคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ด่วนที่สุด ที่กค(กวพ) ๐๔๐๘.๔/ว ๑๓๐ ลว.๒๐ ต.ค.๒๕๔๙ กำหนดวิธีการไว้ดังนี้:-

  50. หนังสือค้ำประกันสัญญาต้องมีระยะเวลา ครอบคลุมถึงวันสิ้นสุดสัญญา แบบสัญญาซื้อขายตามตัวอย่างที่กวพ. กำหนดข้อ ๓ มีว่า ********* ””+ หนังสือค้ำประกันนี้ ใช้บังคับตั้งแต่วันทำสัญญา ซื้อขายจนถึงวันที่ภาระหน้าที่ทั้งหลายของผู้ขาย จะได้ปฏิบัติลุล่วงไป และ ข้าพเจ้าจะไม่เพิกถอนการค้ำประกันไม่ว่ากรณีใด ๆ ตราบเท่าที่ผู้ขายยังต้องรับผิดชอบต่อผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายอยู่+

More Related