1 / 19

การประเมินเทียบระดับการศึกษา (แนวใหม่)

การประเมินเทียบระดับการศึกษา (แนวใหม่). สำนักงาน กศน.จังหวัดมหาสารคาม http://sarakham.nfe.go.th. แนวคิดและความเป็นมา.

tender
Télécharger la présentation

การประเมินเทียบระดับการศึกษา (แนวใหม่)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประเมินเทียบระดับการศึกษา (แนวใหม่) สำนักงาน กศน.จังหวัดมหาสารคาม http://sarakham.nfe.go.th

  2. แนวคิดและความเป็นมา การดำเนินงานประเมินเทียบระดับการศึกษา ได้นำแนวคิดของการยอมรับความรู้และประสบการณ์ที่มีมาก่อนมาประยุกต์ใช้ (Recognition of Prior Learning Assessment) โดยประเมินเพื่อให้ได้รับการรับรองวุฒิการศึกษาทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายประกอบกัน ซึ่งการให้คุณค่า ของผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจาก วิถีชีวิต จากประสบการณ์ทางอาชีพ การฝึกอบรม การทำงาน การให้คุณค่าของผลการเรียนดังกล่าว จะกระตุ้นและสนับสนุนให้ประชาชนรักการเรียนรู้ แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของประชาชนที่ประเทศต้องการ

  3. วัตถุประสงค์ของการเทียบระดับการศึกษาวัตถุประสงค์ของการเทียบระดับการศึกษา 1. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และคุณธรรม จริยธรรม ได้รับการรับรองคุณวุฒิทางการศึกษา และมีหลักฐานการศึกษา เพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ แสดงสถานะในสังคมหรือการศึกษาต่อ 2. เพื่อสร้างแรงจูงใจให้บุคคลทั่วไปมีความกระตือรือร้นในการที่จะแสวงหา ความรู้ เพิ่มทักษะและสั่งสมประสบการณ์อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 3. เพื่อตอบสนองความต้องการการยอมรับความรู้และประสบการณ์ของ ผู้เข้าประเมินเทียบระดับการศึกษา ซึ่งจะทำให้มีความมั่นใจในตนเอง มั่นใจ ในสถานภาพทางสังคม

  4. ความเป็นมา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งระดับและการเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2546 ข้อ 3 และระเบียบระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินเทียบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา พ.ศ. 2551 ข้อ 9 ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาจำนวนไม่เกินห้าคน ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาของการศึกษาระดับนั้น จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน และผู้มีความรู้ประสบการณ์ด้านวัดผลและประเมินผลจำนวนหนึ่งคน ดำเนินการประเมินเทียบระดับการศึกษา คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาของสถานศึกษาอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

  5. ความเป็นมา (ต่อ) ตามกฎกระทรวงข้อ 3 วรรคสอง กำหนดว่า คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาจำนวนไม่เกินห้าคนนั้น ให้เลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการและให้หัวหน้าสถานศึกษาตามวรรคหนึ่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษานั้นจำนวนหนึ่งคน เป็นเลขานุการ และกรรมการจะอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้

  6. ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. การประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้เข้าประเมิน 2. แนะแนวและรับสมัคร 3. ปฐมนิเทศผู้เข้าประเมิน 4. ดำเนินการประเมินมิติความรู้ ความคิด และมิติประสบการณ์ 5. ประมวลผลการประเมิน 6. คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบ ผลการประเมิน 7. การสัมมนาวิชาการ/ปัจฉิมนิเทศ 8. สถานศึกษาออกหลักฐานการศึกษาให้กับผู้ผ่านการประเมินเทียบระดับ การศึกษา

  7. คุณสมบัติของผู้สมัครเทียบระดับการศึกษาคุณสมบัติของผู้สมัครเทียบระดับการศึกษา 1. สัญชาติไทยหรือเป็นบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย 2. มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ประจำ หรือสถานที่ประกอบอาชีพในเขตบริการ การเทียบระดับการศึกษาของสถานศึกษา 3. ไม่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษา ในระบบหรือการศึกษานอกระบบที่แบ่งระดับเช่นเดียวกับการศึกษาในระบบ 4. มีพื้นความรู้ในระดับที่ต่ำกว่าระดับที่ประสงค์จะขอเทียบระดับการศึกษา หนึ่งระดับ (ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย)

  8. ขอบข่ายการประเมินเทียบระดับการศึกษาขอบข่ายการประเมินเทียบระดับการศึกษา การประเมินเทียบระดับการศึกษาจึงมีขอบข่ายเนื้อหาการประเมิน 4 องค์ประกอบ 1. ความรู้พื้นฐาน เป็นความรู้ทางด้านวิชาสามัญ ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาหา ความรู้ด้วยตนเอง จากสื่อและแหล่งวิทยาการต่าง ๆ ต่อไป เช่น ทักษะภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนความรู้ที่เป็นฐานความรู้ของ เรื่องอื่น ๆ ได้แก่ ความรู้ทางด้าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งความรู้ พื้นฐานเหล่านี้ต้องเป็นความรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่กำหนด และ สอดคล้องกับสภาพวิถีชีวิตของบุคคลที่จะมาขอเทียบระดับการศึกษา

  9. ขอบข่ายการประเมินเทียบระดับการศึกษา (ต่อ) 2. ความรู้และทักษะด้านพัฒนาอาชีพ เป็นความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านการงานอาชีพ ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการงานอาชีพ มีการพัฒนากระบวนการ การทำงาน หรือ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีวิสัยทัศน์ในการวางแผน การเลือกใช้เทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ดำเนินงานและพัฒนาการ งานอาชีพไปสู่เป้าหมายได้อย่างสมเหตุสมผลรวมทั้งการมีคุณธรรม จริยธรรม ในการงานอาชีพ

  10. ขอบข่ายการประเมินเทียบระดับการศึกษา (ต่อ) 3. ความรู้และทักษะด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นความรู้ความสามารถที่สะท้อนให้เห็นว่าเป็นผู้ที่มีความเข้าใจและ เห็นคุณค่าของชีวิตครอบครัว มีทักษะในการดำเนินชีวิต การมีสุนทรียภาพ สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีทักษะในการเสริมสร้างสุขภาพทั้งทางกาย และจิตใจตลอดจนยึดหลักธรรมตามศาสนาที่ตนนับถือเป็นแนวทางในการ ดำเนินชีวิต

  11. ขอบข่ายการประเมินเทียบระดับการศึกษา (ต่อ) 4. ความรู้และทักษะด้านพัฒนาสังคมและชุมชน เป็นความรู้ที่เกี่ยวกับสังคมรอบ ๆ ตัว และทักษะในการนำความรู้ ความสามารถที่มีมาใช้ในการดำเนินชีวิตครอบครัว ให้มีความมั่นคง เข้มแข็ง อบอุ่น ตลอดจนนำศักยภาพของตนเองมาช่วยส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่เป็น ประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมเพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม ทั้ง ด้านอาชีพ ชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งส่งเสริมให้สังคมและชุมชนมีความ กระตือรือร้นในการศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่อง

  12. เครื่องมือและวิธีการประเมินเทียบระดับการศึกษาเครื่องมือและวิธีการประเมินเทียบระดับการศึกษา สำนักงาน กศน. ร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การ มหาชน) พิจารณาปรับปรุงมาตรฐานการเรียนรู้ โดยสำนักงาน กศน. เป็น ผู้จัดทำเครื่องมือประเมินเทียบระดับการศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวบ่งชี้ โดยใช้เครื่องมือการประเมินที่หลากหลาย แบ่งการประเมินเทียบ ระดับการศึกษา เป็น 2 มิติ คือ มิติความรู้ ความคิด และมิติประสบการณ์

  13. มิติที่ 1 มิติความรู้ ความคิด มี 6 มาตรฐาน 1) ความสามารถในการสื่อสาร 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และตัดสิน 3) ความสามารถในการแสวงหาความรู้และการใช้เทคโนโลยี 4) ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพกายและจิตของตน 5) ความเป็นไทย สากล และพลเมืองดี 6) ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิต • วิธีการประเมิน ใช้เครื่องมือที่เป็นแบบทดสอบ ซึ่งมีทั้งแบบปรนัยและอัตนัย

  14. มิติที่ 2 มิติประสบการณ์ มี 3 มาตรฐาน คือ 1) ด้านการพัฒนาอาชีพ 2) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3) ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน • วิธีการประเมิน ผู้เข้าประเมินต้องนำเสนอแฟ้มประมวลประสบการณ์ และ เข้ารับการสัมภาษณ์ โดยมีคณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาที่ได้รับ การแต่งตั้งจากผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการประเมิน

  15. การตัดสินผลการประเมินเทียบระดับการศึกษาการตัดสินผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา 1. ผลการประเมินมิติความรู้ ความคิด ต้องได้คะแนนรวมทุกมาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 2. ผลการประเมินมิติประสบการณ์ ต้องได้คะแนนรายมาตรฐานไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ผู้เข้าประเมินต้องผ่านการประเมินทั้ง 2 มิติ จึงจะตัดสินผลว่า “ผ่าน” การประเมินเทียบระดับการศึกษานั้น ๆ ผลของการผ่านและไม่ผ่านจะไม่มี ระดับคะแนนและไม่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX)

  16. การอนุมัติผลการประเมินเทียบระดับการศึกษาการอนุมัติผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้อนุมัติผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา การออกหลักฐานการประเมินเทียบระดับการศึกษา เมื่อหัวหน้าสถานศึกษาอนุมัติผลการประเมินเทียบระดับการศึกษา แล้วให้สถานศึกษาจัดทำเอกสารหลักฐานการประเมินเทียบระดับการศึกษา

  17. การติดตามผลการเทียบระดับการศึกษาการติดตามผลการเทียบระดับการศึกษา การดำเนินงานเทียบระดับการศึกษาของแต่ละสถานศึกษา ผู้มีบทบาท สำคัญ คือ คณะกรรมการประเมินเทียบระดับการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาที่ ทำหน้าที่เทียบระดับการศึกษาจะต้องเข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนของการดำเนินงาน โดยเฉพาะขั้นตอนของการประเมินมิติประสบการณ์ ที่จะต้องติดตาม ให้กำลังใจแก่ ผู้เข้าประเมินในการจัดทำแฟ้มประมวลประสบการณ์ และเมื่อการประเมินเทียบระดับ การศึกษาแต่ละครั้งดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งสำคัญประเด็นหนึ่ง นั่นก็คือ ควร มีการติดตามผลผู้ที่ผ่านการประเมินเทียบระดับการศึกษาไปแล้วว่าผู้นั้นได้ดำเนินการ พัฒนาคุณภาพชีวิตดีขึ้นหรือไม่อย่างไร มีการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นหรือไม่ มีการ นำวุฒิการศึกษาไปพัฒนาหน้าที่การงานของตนเองหรือไม่

  18. การเงินและงบประมาณ ผู้สมัครเข้าประเมินเทียบระดับการศึกษา ต้องชำระ ค่าธรรมเนียมเพื่อขอเทียบระดับการศึกษา ระดับการศึกษา ละ 1,500 บาท ต่อคน และรายได้ที่ได้รับนี้สถานศึกษาสามารถนำไป เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานประเมินเทียบระดับการศึกษา เช่น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสอบมิติความรู้ ความคิด และค่าตอบแทน คณะกรรมการประเมินมิติประสบการณ์ (ค่าอ่านแฟ้ม ค่าสัมภาษณ์)

  19. สวัสดี " แม้ไม่ได้ทุกอย่างที่หวังไว้ ก็มั่นใจในคุณค่ามหาศาล หนึ่งส่วนจากเศษฝันเมื่อวันวาน อาจสร้างงานเกียรติยศปรากฎไกล..."

More Related