1 / 8

บัญชีกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร

บัญชีกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. โดย นางสาว พีร รัตน์ อังกุรรัต อดีตอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ที่ปรึกษางานโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. หลักการพัฒนา ตามพระราชดำริ.

terrel
Télécharger la présentation

บัญชีกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บัญชีกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร • ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี • โดยนางสาวพีรรัตน์ อังกุรรัต • อดีตอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ • ที่ปรึกษางานโครงการตามพระราชดำริ • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

  2. หลักการพัฒนา ตามพระราชดำริ • 1. เป้าหมายสูงสุด เด็กและเยาวชนมีโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ใฝ่เรียนรู้ ซื่อสัตย์ ประหยัด และอดทน มีความรู้และทักษะทางวิชาการและการอาชีพ เพื่อเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต รักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ภาคภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นและความเป็นไทย และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติได้ • 2. “คน” เป็นศูนย์กลางการพัฒนา 3. ใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based) • 4. การพัฒนาอย่างองค์รวม (Holistic Approach)

  3. หลักการพัฒนา ตามพระราชดำริ (ต่อ) 5. ความสมดุลในการพัฒนาทั้ง 6 องค์ประกอบ 6. แต่ละองค์ประกอบ ประกอบด้วยโครงการต่าง ๆ โดยมีหน่วยงาน มืออาชีพร่วมกับโรงเรียนและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง จัดทำเป็น กระบวนการทำงาน ให้องค์ประกอบนั้น ๆ ประสบผลสำเร็จ 7. การบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้วยการบูรณาการ (Integration) การดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วน 8. สสท. เป็นหน่วยงาน ดำเนินการบูรณาการ และประสานงาน ตามพระราชดำริ

  4. “บัญชี” เป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการพัฒนากลุ่มเป้าหมายตามพระราชดำริ • กตส. ได้เข้ามาสนองงานตามพระราชดำริ เมื่อเดือนตุลาคม 2540 ร่วมปฏิบัติงานในการวางระบบบัญชี และให้ความรู้การบัญชีที่เหมาะสมแก่ครูและนักเรียนในองค์ประกอบด้านการส่งเสริมการอาชีพ ด้วยโครงการส่งเสริมสหกรณ์ (เริ่มปี พ.ศ.2534) ต่อมาทรงให้ขยายไปสู่องค์ประกอบด้านโภชนาการและสุขภาพอนามัย ด้วยโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน (เริ่มปี พ.ศ.2523) โดยการพัฒนาโรงเรียนให้สามารถจัดการเรียนการสอน การทำบัญชีฟาร์ม หลังจากนั้น ทรงมีพระราชดำริให้นักเรียน เรียนรู้การทำบัญชีรับ – จ่าย ส่วนตัวพร้อมทั้งการส่งเสริมให้ครัวเรือนในชุมชน ทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีประกอบการงานอาชีพของตนเองได้ ด้วยการเรียนรู้จากบุตรหลาน และจากโรงเรียน

  5. “บัญชี” เป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการพัฒนากลุ่มเป้าหมายตามพระราชดำริ “บัญชี” ทำไม? • บัญชีช่วยพัฒนาอุปนิสัยของคน ให้รู้จักค่าของเงิน ใช้เงินอย่างคุ้มค่า ให้รู้จัก • การออม มีความซื่อสัตย์ มีวินัยทางการเงิน มีความละเอียดถี่ถ้วน มีความเพียร • พยายาม • บัญชีช่วยพัฒนาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาไทย และอื่น ๆ • บัญชีช่วยให้คนรู้จักการวิเคราะห์ การเงินการบัญชีของตนเอง ครอบครัว และ • พัฒนาอาชีพด้วยการทำบัญชีรับ – จ่าย ส่วนตัว บัญชีครัวเรือนและบัญชี • ประกอบการอาชีพ ที่จะช่วยให้การพัฒนาตนเอง ครอบครัว และอาชีพให้เจริญ • อย่างยั่งยืน

  6. ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การทำบัญชีผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การทำบัญชี ในโรงเรียน ตามพระราชดำริที่ผ่านมา 400 โรงเรียน ได้จัดการเรียนการสอน การทำบัญชีกิจกรรมสหกรณ์ ปรากฏผล : - • โรงเรียนร้อยละ 80 สามารถสอนสาระการเรียนรู้ การจัดทำเอกสารประกอบ การบันทึก • การทำบัญชี การทำบัญชีรับ – จ่าย การทำบัญชีย่อย และนำข้อมูลทางบัญชีไปใช้ในการประชุมได้ • โรงเรียนร้อยละ 44.53 สามารถสอนการจัดทำงบการเงิน (บัญชีกำไร – ขาดทุน และงบดุล) ได้ - โรงเรียนร้อยละ 91.50 หรือ 366 โรงเรียน ได้จัดการเรียนการสอนการทำบัญชีฟาร์ม ปรากฏผล :- • โรงเรียนร้อยละ 48.36 สามารถสอนการทำบัญชีฟาร์มได้ทุกกิจกรรมการเกษตร • โรงเรียนร้อยละ 6.28 ทำการสอนการทำบัญชีฟาร์มได้เพียงบางกิจกรรม • โรงเรียนร้อยละ 45.36 ยังไม่ได้สอนการทำบัญชีฟาร์ม

  7. ผลที่คาดหวัง (Targets) ในการจัดการเรียนรู้การทำบัญชี ในโรงเรียนตามพระราชดำริ : - 1. การพัฒนาศักยภาพของครู ครูสามารถทำการสอนการทำบัญชีกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน และการทำบัญชีฟาร์มแก่นักเรียนได้ทุกสาระการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง • 2. การพัฒนาคุณภาพของนักเรียน • นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ทฤษฎีการบัญชีอย่างง่าย • นักเรียนสามารถคิดตามจนสามารถตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการบัญชี • ประโยชน์ของการทำบัญชี • นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้การบัญชีเข้ากับภาคปฏิบัติ • นักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ได้แก่ ความซื่อสัตย์ มีวินัยทางการเงิน • มีการประหยัดการออม เป็นคนมีน้ำใจช่วยให้เพื่อนทำบัญชีได้ ฯลฯ 3. ผลกระทบ (Impact) เกิดผลกระทบที่ดี ในการส่งเสริมการทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีประกอบการอาชีพ ทั้งครัวเรือนของนักเรียน และประชาชนในชุมชน

  8. แนวทางพัฒนาที่จะบรรลุผลที่คาดหวังแนวทางพัฒนาที่จะบรรลุผลที่คาดหวัง • ยกระดับความสามารถของครูสอนการทำบัญชีให้สูงขึ้น • สร้างทัศนคติที่ดีในการเรียนทำบัญชี • การวัดผล ประเมินผลที่นักเรียนได้รับในระดับผลผลิต (Output) ข้อเสนอแนะ กตส. ควรตั้งคณะทำงานกำหนดผลงานหลักที่ต้องประเมิน กำหนดตัวชี้วัด วิธีการประเมิน กำหนดเกณฑ์การประเมิน และทำการประเมิน แล้วรายงานผลการประเมินต่อผู้บริหาร เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้การทำบัญชีในโรงเรียน ให้ทราบว่ามีจุดอ่อนตรงไหน ? ที่ควรติดตาม และทำการนิเทศ ช่วยให้ทำการปรับปรุงแก้ไขได้อย่างถูกจุด และทันเวลา

More Related