1 / 39

ประชุมชี้แจง การสมัครขอรับทุนโครงการ ระหว่างวันที่ 17-24 มิถุนายน 2556

ประชุมชี้แจง การสมัครขอรับทุนโครงการ ระหว่างวันที่ 17-24 มิถุนายน 2556. งบ 50,000 บาทต่อ ร.ร . ระยะเวลาดำเนินการ 1 ส.ค.56 - 28 ก.พ.57. ). ความเป็นมา. สถานการณ์เด็กอีสาน กินผัก ผลไม้น้อยลง. เฉลี่ย 84.3 % ทานผักผลไม้ ไม่เพียงพอ ( <400 กรัมต่อวัน ) ผักและผลไม้ 400 กรัมต่อวันช่วยชะลอความแก่

Télécharger la présentation

ประชุมชี้แจง การสมัครขอรับทุนโครงการ ระหว่างวันที่ 17-24 มิถุนายน 2556

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประชุมชี้แจง การสมัครขอรับทุนโครงการ ระหว่างวันที่ 17-24 มิถุนายน 2556

  2. งบ 50,000 บาทต่อร.ร. ระยะเวลาดำเนินการ 1 ส.ค.56 - 28 ก.พ.57 )

  3. ความเป็นมา สถานการณ์เด็กอีสานกินผักผลไม้น้อยลง เฉลี่ย 84.3 % ทานผักผลไม้ไม่เพียงพอ (<400กรัมต่อวัน) ผักและผลไม้ 400 กรัมต่อวันช่วยชะลอความแก่ เพิ่มความจำ ลดความเสี่ยงของโรคร้ายแรง • อ้างอิงจากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ในปี 2551 -2552 • โดยสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพและองค์การอนามัยโลก

  4. การเลือกกินผักผลไม้ตามหลัก 4 เลือก 1) เลือกกินผักผลไม้ที่เหมาะสมกับปริมาณที่ควรบริโภคในแต่ละวัน 2) เลือกกินผักผลไม้จากแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ 3) เลือกกินผักผลไม้ที่สะอาดและปลอดภัย 4) เลือกกินผักผลไม้ที่มีผลดีต่อสุขภาพ เป็นต้น

  5. วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อกระตุ้นให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนเป้าหมายกินผักผลไม้ วันละ 400 กรัม/วัน มากขึ้น เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อการกินผักผลไม้ เพื่อสร้างทีมแกนนำผู้ทำโครงการ (ครู แม่ครัว เจ้าของร้านค้า ผู้ปกครองหรือตัวแทนชุมชน และนักเรียนรุ่นพี่) ให้เข้มแข็ง เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และทักษะจากการทำโครงการจริง (Project –Based Learning) เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงประโยชน์ของการกินผักผลไม้ที่จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหาร และหลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่มีสารพิษ

  6. เป้าหมายโครงการ

  7. ร้อยละ 80 ตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ • เกิดเป็นโรงเรียนนำร่องของสำนักงานเขตพื้นที่ที่ดำเนินโครงการเรื่องกินผักผลไม้ของนักเรียน • โรงเรียนมีรายงานผลการดำเนินโครงการในโรงเรียนนำร่องและผ่านการประเมินตนเองระดับโรงเรียน • โรงเรียนมีผลการดำเนินงานทำได้ตามแผนกิจกรรม • เกิดความรู้ปฏิบัติด้านการกินผักผลไม้ • ร.ร.มีการบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 80 เป้าหมายอื่นๆ • ร้อยละ 100 เกิดทีมแกนนำ 25 คน/ร.ร. ที่สามารถจัดกิจกรรมรณรงค์การกินผักผลไม้ในโรงเรียน 400 กรัมต่อวัน • อย่างน้อย 15 ครอบครัว มีแปลงพืชผักสวนครัวในครัวเรือน • มีเมนูผักผลไม้ที่ดึงดูดใจนักเรียนให้กินผักผลไม้มากขึ้น • บันทึกความร่วมมือในการทำโครงการระหว่าง EDF กับ สพป. จำนวน 7 แห่ง • จำนวนผู้นิเทศโครงการหรือผู้รับผิดชอบโครงการแต่งตั้งโดยสพป. เพื่อสนับสนุนการทำโครงการ จังหวัดละ 2 คน • เกิดเป็นนโยบายไปสู่โรงเรียนนำร่องเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนกินผักผลไม้ 400 กรัม/วัน • นร.ได้รับความรู้ ความเข้าใจประโยชน์และตระหนักเรื่องการกินผักผลไม้มากขึ้น โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้จากการลงมือทำด้วยตนเอง • นร.กินผักผลไม้ 400 กรัมต่อวัน • มีแปลงเกษตรปลอดสารพิษในโรงเรียน • กลุ่มแม่ครัวสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในประกอบอาหารกลางวันที่ปลอดภัยและถูกหลักโภชนาการ

  8. พื้นที่ดำเนินการภาคอีสาน 7 จังหวัด

  9. เป้าหมายและผู้รับผลประโยชน์เป้าหมายและผู้รับผลประโยชน์ รวมทั้งสิ้น 9,200คน

  10. คุณสมบัติโรงเรียนเป้าหมายคุณสมบัติโรงเรียนเป้าหมาย 1. ประถมศึกษาขยายโอกาส (อนุบาล – ม.3) 2. มีนักเรียนที่มีพฤติกรรมกินผักผลไม้ไม่ถึง 400 กรัมต่อวัน 3. ผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียนและชุมชนเห็นความสำคัญของโครงการ เต็มใจและมีความพร้อมที่จะดำเนินโครงการเพื่อให้เกิดความสำเร็จ 4. มีความพร้อมในระดับที่สามารถจัดการโครงการได้ เช่น กำลังคนและทรัพยากร

  11. กำหนดคุณสมบัติโรงเรียนเป้าหมายกำหนดคุณสมบัติโรงเรียนเป้าหมาย คัดเลือกโรงเรียนเป้าหมายร่วมกับ สสส. เวทีคัดกรองโดยสพป.และคณะกรรมการจาก EDF เวทีพิจารณาโครงการตามแนวทางการสนับสนุนทุนของ สสส. (คัดเลือกรอบสุดท้าย (100 ร.ร.) ประชาสัมพันธ์โครงการไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนที่สนใจสมัครและเสนอโครงการ (จำนวนประมาณ 150 โรงเรียน) ประชุมทีม EDF เพื่อนำเสนอข้อมูลแต่ละโรงเรียนและ คัดเลือกรอบแรก (130 ร.ร.)

  12. สสส. ผู้รับผล ประโยชน์ นร.ใน รร. สพป. โรงเรียน (แกนนำทำโครงการ) EDF • 1. หากลุ่มเป้าหมาย/คัดเลือก รร. • เตรียมการคัดเลือกโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย • ประชาสัมพันธ์โครงการ • จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ • โรงเรียนส่งใบสมัครโครงการ • คัดกรองรร.เป้าหมายโดย สพป. EDF และ สสส. • แจ้งผลการคัดเลือกร.ร. • ทำ MOU กับร.ร. • โอนเงิน 2. EDF จัดการปฐมนิเทศ 3. ขั้นดำเนินการตามแผน 5. ประเมินผลโครงการ 6. เสนอรายงานต่อ สสส. ภาพรวมการบริหารโครงการ 4. ติดตาม จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  13. บทบาท สพป.ใน โครงการเท่ห์กินผัก น่ารักกินผลไม้

  14. แผนการปฏิบัติงาน

  15. กลยุทธ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกินผักผลไม้กลยุทธ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกินผักผลไม้ • สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ ให้เด็กได้ลงมือปลูกผักผลไม้ จัดหาแหล่งผักผลไม้ หรือคิดเมนูผักผลไม้ด้วยตนเอง • ให้ความรู้ ชี้ให้เห็นความสำคัญ ประโยชน์ของการกินผักผลไม้ • จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการกินผักผลไม้ เช่น จัดแปลงปลูกผักผลไม้ที่โรงเรียนและครอบครัว พ่อแม่ผู้ปกครองกินผักผลไม้ให้เด็กเห็นเป็นตัวอย่าง • โรงเรียนจัดให้มีเมนูผักผลไม้ คุณครูและทีมงานในโรงเรียนเป็นผู้คอยช่วยกระตุ้นให้เด็กนักเรียนกินผักผลไม้ แม่ครัวปรุงอาหารกลางวันที่มีเมนูผักและผลไม้ทุกวัน เปลี่ยนรูปแบบเมนูผักให้มีความหลาก หลายและน่ากิน ทำให้เด็กรู้สึกอร่อยกับกินผักผลไม้ • คอยกระตุ้นให้นักเรียนกินผักและผลไม้อยู่เสมอ • สร้างค่านิยมรักสุขภาพให้เกิดขึ้นในโรงเรียน • เปลี่ยนชื่อผัก เป็นไอเดียให้เด็กกินผักเพิ่มขึ้น เป็นต้น

  16. เชิญชมวีดีโอ 1 เรื่อง เกี่ยวกับ ทักษะในศตวรรษที่ 21

  17. ทักษะในศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรเปลี่ยนเป้าหมายจากความรู้ไปสู่ทักษะ เปลี่ยนจากการเน้นครูเป็นหลักเป็นนักเรียนเป็นหลัก การเรียนแบบ Project Based Learning (PBL) เป็นการเน้นให้นักเรียนรู้จักการทำงานเป็นทีม และครูทำหน้าที่เป็นครูฝึก ครูมีหน้าที่กระตุ้นด้านจิตใจ อารมณ์ และสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กมีพลัง มีชีวิตชีวา และสนุกกับการเรียนรู้

  18. ขึ้นตอนหรือกระบวนการทำงานแบบ PBL ควรจะเป็น • ให้เด็กตีโจทย์ตั้งแต่แรก • ค้นหาข้อมูลกันเอง • หัดตรวจสอบและนำสิ่งที่เหมาะสมมาใช้กับโครงการ • ฝึกปฏิบัติจริง • เพิ่มทักษะการสื่อสารระหว่างทีม • นำเสนออย่างสร้างสรรค์ • ทำงานเป็นทีม • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อต่อยอดความรู้ตนเองต่อไป

  19. การเขียนโครงการ

  20. รายละเอียดโครงการย่อยรายละเอียดโครงการย่อย “เท่ห์กินผัก น่ารักกินผลไม้” เป้าหมายโครงการ>> 1.ร้อยละ 80 ของนักเรียนในโรงเรียนกินผักผลไม้โดยเน้นในมื้อกลางวันเพิ่มมากขึ้น (400 กรัมต่อวัน) 2.ผู้ปกครอง/ตัวแทนชุมชนเห็นความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วม  ระยะเวลาดำเนินงาน 1 สิงหาคม 56-28 กุมภาพันธ์ 57  งบประมาณ 50,000 บาทต่อโรงเรียน วัตถุประสงค์(โครงการใหญ่) เพื่อกระตุ้นให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนกินผักผลไม้ วันละ 400 กรัม/วัน มากขึ้น เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อการกินผักผลไม้ เพื่อสร้างทีมแกนนำผู้ทำโครงการ (ครู แม่ครัว เจ้าของร้านค้า ผู้ปกครองหรือตัวแทนชุมชน และนักเรียนรุ่นพี่) ให้เข้มแข็ง เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และทักษะจากการทำโครงการจริง (Project –Based Learning) เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงประโยชน์ของการกินผักผลไม้ที่จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหาร และหลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่มีสารพิษ ผู้ดำเนินโครงการ แกนนำทีม 25 คน >> แกนนำผอ.+ครู 5 คน แกนนำนักเรียนรุ่นพี่ 10 คน แม่ครัว/ร้านค้า/ผู้ปกครองนักเรียน 10 คน พื้นที่ดำเนินงาน>>ในโรงเรียนและขยายสู่ 15 ครอบครัวต่อโรงเรียน ผู้เข้าร่วมโครงการและรับผลประโยชน์>>นักเรียนประมาณ 200 คนต่อโรงเรียน

  21. รายละเอียดโครงการย่อยรายละเอียดโครงการย่อย ตัวชี้วัดผลลัพธ์(โครงการใหญ่) 1. นักเรียนร้อยละ 80 ได้รับความรู้ ความเข้าใจประโยชน์และตระหนักเรื่องการกินผักผลไม้มากขึ้น โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้จากการลงมือทำด้วยตนเอง 2. นักเรียนร้อยละ 80 กินผักผลไม้ 400 กรัมต่อวัน 3. เกิดทีมแกนนำ 25 คน/ร.ร. ที่จัดกิจกรรมรณรงค์การกินผักผลไม้ในโรงเรียน 400 กรัมต่อวัน 4. มีแปลงเกษตรปลอดสารพิษในโรงเรียน และอย่างน้อย 15 ครอบครัว มีแปลงพืชผักสวนครัวในครัวเรือน 5. กลุ่มแม่ครัวสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในประกอบอาหารกลางวันที่ปลอดภัยและถูกหลักโภชนาการ 6. มีเมนูผักผลไม้ที่ดึงดูดใจนักเรียนให้กินผักผลไม้มากขึ้น 7. โรงเรียนมีผลการดำเนินงานทำได้ตามแผนกิจกรรมที่วางไว้และผ่านการประเมินตนเองระดับโรงเรียน 8. เกิดความรู้ปฏิบัติด้านการกินผัก ผลไม้ อย่างน้อย 1 เรื่อง/ร.ร.

  22. กรอกใบสมัคร ข้อเสนอโครงการย่อย • ศึกษา แนวทางการสนับสนุนทุนให้เข้าใจก่อนกรอกใบสมัคร • ส่วนที่ 1 : ข้อมูลคณะทำงาน 5 คน • ชื่อโรงเรียน ที่อยู่ ชื่อผู้บริหารโรงเรียน • ชื่อครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 4 คน

  23. กรอกใบสมัคร ข้อเสนอโครงการย่อย • ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโรงเรียน • ประเภทโรงเรียน • จำนวนครู จำนวนนร.แยกรายชั้นเรียน • สภาพพื้นที่โรงเรียนที่เหมาะกับการเกษตร • ความร่วมมือของหน่วยงานในชุมชน • เมนูอาหารกลางวันเดือนมิถุนายน เป็นต้น

  24. กรอกใบสมัคร ข้อเสนอโครงการย่อย ส่วนที่ 3 : ข้อมูลแผนงาน / โครงการ 1. ชื่อโครงการ เท่ห์กินผัก น่ารักกินผลไม้ 2. ความเป็นมา ให้โรงเรียนอธิบายถึงสภาพปัญหา สถานการณ์การกินผักผลไม้กลุ่มเด็กในโรงเรียนและสภาพครอบครัวและชุมชน เป็นต้น 3. วัตถุประสงค์โครงการ ตัวชี้วัดเขียนให้สอดคล้องกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดโครงการใหญ่ 4. กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ดำเนินการ 5. ระยะเวลา(1 สิงหาคม 2556-28 กุมภาพันธ์ 2557)

  25. 6. ข้อเสนอโครงการย่อย : กิจกรรมดำเนินการ

  26. ข้อเสนอโครงการย่อย 7. กรณีที่มีการสนับสนุนทรัพยากรจากหน่วยงานอื่น 8. องค์กรภาคีที่ร่วมดำเนินงาน 9. การติดตาม/การประเมินผล

  27. ข้อเสนอโครงการย่อย 10. งบประมาณโครงการ (ตัวอย่าง)

  28. ข้อเสนอโครงการย่อย 10. งบประมาณโครงการ (ตัวอย่าง)

  29. การสนับสนุนโครงการ • 1.กำหนดให้ทุกโรงเรียน ทำอย่างน้อย 2 เรื่อง • การเกษตร (ปลูกผักผลไม้ปลอดสารพิษ และเลี้ยงสัตว์อย่างน้อย 1 อย่าง) เพื่อเป็นอาหารกลางวันของนักเรียน • ให้นักเรียนชั้นสูงสุดของแต่ละโรงเรียน ทำ Project-based learning (PBL) เรื่อง “ทำอย่างไรให้นร.กินผักผลไม้มากขึ้น (400 กรัมต่อวัน)” โดยมีเป้าหมายเป็นนร.ทั้งโรงเรียน และติดตามผลจนเห็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินผักผลไม้ว่าเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ • 2.กิจกรรมส่งเสริมการกินผักผลไม้ เป็นกิจกรรมเปิดให้โรงเรียนคิด ออกแบบกิจกรรมได้เองอย่างอิสระ แต่กิจกรรมเหล่านั้นจะต้องสามารถบรรลุถึงเป้าหมายโครงการ ก็คือ “นักเรียนกินผักผลไม้มากขึ้น 400 กรัมต่อวัน” • 3. การคิดงบประมาณ 50,000 บาท นั้น มีแนวทาง ดังนี้ • *แปลงเกษตร(พืช+สัตว์) ไม่เกิน 20,000 บาท ใช้เป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าพันธุ์พืช ค่าพันธุ์สัตว์ เป็นต้น • *ส่วนที่เหลือ 30,000 บาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่าย • -กิจกรรมส่งเสริมการกินผักผลไม้ในโรงเรียนและครอบครัว • -ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงการ เช่น ค่าจัดประชุม การเก็บข้อมูลในโรงเรียน ติดตามประเมินผล การเขียนรายงาน และถ่ายภาพกิจกรรมส่ง สพป./EDF • -ค่าเดินทาง (ค่าน้ำมันรถ) เข้าร่วม 3 กิจกรรมกับสพป.และ EDF1. เข้าร่วมปฐมนิเทศ (ก.ค.) 2. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1(ก.ย.) 3. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2 (ม.ค.) (จะจัดในพื้นที่จังหวัดนั้นๆ)

  30. เชิญชมวีดีโอ 1 เรื่อง เกี่ยวกับ การประยุกต์ PBL

  31. Workshop(1/2) • แบ่งเป็นกลุ่มย่อย • นำเข้าสู่ workshop ทำให้สนใจและเกิดความตระหนักว่าทุกวันนี้เด็กๆ กินผักผลไม้น้อย เช่น นักเรียนชอบกินผักไหม ใครชอบบ้าง ชอบผักอะไร ทำไมจึงชอบอาหารเย็นมีอะไรบ้าง มีผักไหม รวมแล้วทั้งวันกินผักผลไม้มากน้อยเท่าไร รู้ไหมว่าเราควรกินผักผลไม้วันละแค่ไหนจึงจะดีต่อสุขภาพ **สรุปแล้วพวกเรากินผักผลไม้ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุผลแล้วเราควรจะกินผัก และผลไม้เพิ่มขึ้นไหม เล่าสถานการณ์การกินผักผลไม้น้อยลง ทำให้เกิดโรคร้ายแรงถึงชีวิตอะไรบ้าง • Brainstorm เพื่อกรอกในส่วนที่ 3 การนำเสนอโครงการ พูดคุยกันในกลุ่มย่อยตามโจทย์ - วิเคราะห์สถานการณ์ความเป็นจริงในเรื่องการกินผักผลไม้ของเด็กในโรงเรียน - ช่วยกันมองหาว่า “ทำไมเด็กๆ ถึงไม่ชอบกินผักผลไม้” - ช่วยกันหา “วิธีทำอย่างไรให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น 400 กรัมต่อวัน”

  32. Workshop(2/2) • ทดลองเขียนโครงการตามแบบเสนอโครงการ • ทดลองทำ งบประมาณ ทั้งหมด 50,000 บาทต่อโครงการ • ส่งตัวแทนออกมานำเสนอต่อกลุ่มใหญ่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน • ช่วยกันแสดงความคิดเห็นเพื่อช่วยกันพัฒนาข้อเสนอโครงการให้ดีขึ้น

  33. การประยุกต์ใช้ PBL (1/3) • การนำเข้าสู่บทเรียน • ทำให้เด็กสนใจและเกิดความตระหนักว่าทุกวันนี้เด็กๆ กินผักผลไม้น้อย • นำไปสู่ ความอยากรู้ (Need to Know) เช่นนักเรียนชอบกินผักไหม • ใครชอบบ้าง ชอบผักอะไร ทำไมจึงชอบอาหารเย็นมี • อะไรบ้าง มีผักไหม อะไรบ้างที่เป็นผัก กินผักมากน้อยแค่ไหน กี่คำ • รวมแล้วทั้งวันกินผักผลไม้มากน้อยเท่าไร • รู้ไหมว่าเราควรกินผักผลไม้วันละแค่ไหนจึงจะดีต่อสุขภาพ • สรุปแล้วพวกเรากินผักผลไม้ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุผลแล้วเราควรจะกินผัก • และผลไม้เพิ่มขึ้นไหม เล่าสถานการณ์การกินผักผลไม้น้อยลง ทำให้เกิดโรคร้ายแรงถึงชีวิตอะไรบ้าง • ให้เด็กตีโจทย์ตั้งแต่แรก • “ทำอย่างไรให้นักเรียนกินผักผลไม้เพิ่มมากขึ้น (400 กรัมต่อวัน)”

  34. การประยุกต์ใช้ PBL (2/3) • แบ่งนักเรียนในชั้นเรียนเป็นกลุ่มเพื่อค้นหาข้อมูลกันเองแบบเจาะลึก ตามคำถามย่อยที่ได้รับ เช่น • จริงหรือที่ว่านักเรียนกินผักผลไม้น้อยไป • กินผักผลไม้แค่ไหนจึงจะ “พอดี” • ทำไมจึงต้องกินผักให้มากพอ • ทำไมเด็กๆ ถึงไม่ชอบกินผักผลไม้ • มีวิธีอย่างไรที่จะช่วยให้เด็กกินผักผลไม้

  35. การประยุกต์ใช้ PBL (3/3) • ฝึกปฏิบัติจริงในกลุ่มย่อย มีการเพิ่มทักษะการสื่อสารระหว่างทีม การทำงานเป็นทีมเพื่อค้นหาคำตอบอย่างมีเหตุมีผล • นำเสนอกลุ่มใหญ่ถึงผลงานที่ได้จากการคิดและทำงานร่วมกันกับทีมอย่างสร้างสรรค์ การนำเสนอและรับฟังความคิดเห็นที่สะท้อนกลับจากเพื่อนร่วมห้องและครูจะทำให้ได้คิดทบทวนและพัฒนาให้งานดีขึ้น โดยครูมีบทบาทหน้าที่ดูแลไม่ให้ออกไปไกลจากขอบเขตที่วางไว้และทำหน้าที่คอยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ • แลกเปลี่ยนเรียนรู้และหารือร่วมกันเพื่อพิจารณาเลือกวิธีการหรือกิจกรรมที่จะทำเพื่อทำให้ เด็กกินผักผลไม้เพิ่มมากขึ้นในโรงเรียน • นำเสนอผลงานต่อสาธารณะ ได้แก่ นำเสนอในชั้นเรียน และนำเสนอให้ทุกคนในโรงเรียนรับทราบถึงโครงการที่จะทำ

  36. ระยะเวลาของการส่งโครงการและการพิจารณาระยะเวลาของการส่งโครงการและการพิจารณา ดาวน์โหลดใบสมัครโครงการได้ที่ www.edfthai.org

  37. การส่งโครงการ ส่งที่ • ส่งที่ คุณ • Email

  38. ใบสมัคร “เกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาวะ”สำหรับชุมชน ส่งให้สสส.โดยตรง • กรอกตามแบบเสนอโครงการ • ติดต่อขอรับไฟล์ได้ที่ สพป.ของท่าน

  39. ขอเชิญมาร่วมโครงการด้วยกันนะคะขอเชิญมาร่วมโครงการด้วยกันนะคะ ขอบคุณค่ะ

More Related