1 / 32

วีดีโอ Vedio

บทที่ 8. วีดีโอ Vedio. อ.ชนิดา เรืองศิริวัฒนกุล สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. ทำความรู้จักกับวีดีโอ.

tobias
Télécharger la présentation

วีดีโอ Vedio

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 8 วีดีโอVedio อ.ชนิดา เรืองศิริวัฒนกุล สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

  2. ทำความรู้จักกับวีดีโอทำความรู้จักกับวีดีโอ • วีดีโอ สามารถใช้เป็นสื่อกลางในการเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่าย และถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ใช้เชื่อมต่อกับองค์ประกอบต่างๆ ภายในมัลติมีเดีย วีดีโอเป็นสื่อที่นิยมใช้ในงานมัลติมีเดีย สามารถเสียงผลภาพเคลื่อนไหวและเสียงไปพร้อมๆ กัน • ด้านบันเทิง • ด้านการนำเสนองาน • ด้านการศึกษา • ด้านงานสะสม

  3. ขั้นตอนการผลิตวิดีโอ • 1. การวางแผน เป็นการกำหนดเรื่องราวที่จะถ่ายทำว่าต้องการถ่ายทำสิ่งใด และกำหนดความยาวของเรื่องเพื่อเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม • 2. การถ่ายทำ เป็นการบันทึกภาพเคลื่อนไหวภาพนิ่งหรือเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ที่ผู้ผลิตต้องการจะถ่ายทำเพื่อนำข้อมูลนั้นเก็บไว้ • 3. แคปเชอร์ (Capture) เป็นการถ่ายโอนข้อมูลที่เป็นภาพหรือเสียงหรือทั้งภาพและเสียงที่ได้จากเทปวิดีโอ (VHS) มาบันทึกลงใน Hard disk โดยทำการจัดเก็บเป็นไฟล์ .AVI หลายๆ ไฟล์ ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ และสามารถนำไฟล์ .AVI นี้ไปใช้ในการตัดต่อภาพได้

  4. ขั้นตอนการผลิตวิดีโอ • 4. การตัดต่อ เป็นการนำไฟล์หลายๆ ไฟล์ที่จัดเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์มาต่อเรียงกัน โดยทำการเลือกภาพและเสียงที่ต้องการ จากนั้นทำการตกแต่งภาพ โดยการเพิ่มเติมข้อมูลต่างๆ เช่น สีสัน ความสวยงาม ข้อความ เพิ่มความเร็วหรือลดความเร็วในการแสดงภาพเคลื่อนไหว ลดเหลี่ยมของภาพ หรือปรับเปลี่ยนความยาวของข้อมูลก็ได้

  5. คุณภาพของวิดีโอ เฟรมเรต(Frame Rate)หมายถึง อัตราความถี่ในการแสดงภาพ มีหน่วยเป็น เฟรมต่อวินาที (fps) โดยทั่วไปเฟรมเรตที่ใช้กับภาพยนตร์คือ 24 fps ความละเอียด (Resolution) หมายถึง ความคมชัดของภาพที่แสดงผลออกทางจอภาพ โดยขึ้นอยู่กับจำนวนจุดทั้งหมดที่เกิดบนจอ (Pixel) หากมีความละเอียดมาก จะมีความคมชัดมากขึ้นด้วย

  6. ชนิดของวิดีโอ • วิดีโออนาลอก (Analog Video) เป็นวิดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงให้อยู่ในรูปของสัญญาณอนาลอก ได้แก่ VHS (Video Home System) เป็นเทปวีดีโอที่ใช้ตามบ้าน เมื่อทำการตัดต่อหรือคัดลอกข้อมูล จะทำให้คุณภาพลดน้อยลงและต้องแปลงไฟล์ให้อยู่ในรูปของดิจิตอลก่อน จึงจะนำมาใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้

  7. ลักษณะการทำงานของวิดีโออนาลอกลักษณะการทำงานของวิดีโออนาลอก • กล้องวิดีโอแบบอนาลอกเป็นการนำเอาหลักการของแสงที่ว่า“แสงตกกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนสู่เลนส์ในดวงตาของมนุษย์ทำให้เกิดการมองเห็น” มาใช้ในการสร้างภาพร่วมกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพที่ได้จะถูกเก็บบันทึกเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า“สัญญาณอนาลอก (Analog Signal)” ประกอบด้วยข้อมูลสี 3 ชนิด คือ แดง เขียว น้ำเงิน (Red, Green, Blue : สี RGB) และสัญญาณสำหรับเชื่อมความสัมพันธ์ของข้อมูล (Synchronization Pulse : สัญญาณ Sync) สี RGB

  8. ลักษณะการทำงานของวิดีโออนาลอก(ต่อ)ลักษณะการทำงานของวิดีโออนาลอก(ต่อ) • สัญญาณวิดีโอจะถูกส่งไปบันทึกยังตลับเทปวิดีโอ (Video Cassette Recorder : VCR) โดยแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัญญาณดิจิตอลและบันทึกลงบนสื่อบันทึกข้อมูลด้วยหลักการของสนามแม่เหล็ก โดยกระทำผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า“หัวเทปวิดีโอ” ที่สามารถบันทึกได้ทั้งภาพ (Video Track) เสียง (Audio Track) และข้อมูลควบคุมการแสดงภาพ (Control Track) • นอกจากการบันทึกเป็นม้วนเทปวิดีโอแล้ว ยังสามารถบันทึกในรูปของสัญญาณวิทยุ FM (Frequency Modulation) โดยอาศัยสัญญาณ NTSC, PAL หรือ SECAM (เป็นมาตรฐานการแพร่ภาพที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน) เพื่อช่วยในการส่งสัญญาณให้สามารถแพร่ภาพทางโทรทัศน์ได้ เครื่องบันทึกแถบวีดิทัศน์และลักษณะการเก็บข้อมูลในแถบวีดิทัศน์

  9. ชนิดของวิดีโอ • วิดีโอดิจิตอล (Digital Video) เป็นวิดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงที่ได้จากกล้องวิดีโอดิจิตอล ให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอล ข้อมูลของภาพและเสียงที่ได้จะแตกต่างกับวีดีโอแบบอนาล็อก เพราะข้อมูลที่ได้จะยังคงคุณภาพความคมชัดเหมือนกับข้อมูลต้นฉบับ สามารถแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ได้สะดวก แต่ต้องใช้ทรัพยากรการประมวลผลสูงเพื่อลดขนาดของวีดีโอ

  10. แหล่งที่มาของวิดีโอ • แผ่นวิดีโอซีดี (VCD) • กล้องดิจิตอล (Digital Camera) • แผ่นดีวีดี (DVD) • เทปวิดีโอที่ใช้ดูกันตามบ้าน (VHS) แล้วนำมาแปลงเป็นไฟล์วิดีโอสำหรับเล่นบนคอมพิวเตอร์ • เว็บไซต์ต่างๆ

  11. มาตรฐานการแพร่ภาพวิดีโอมาตรฐานการแพร่ภาพวิดีโอ • National Television System Committee (NTSC) NTSC เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตั้งมาตรฐานโทรทัศน์และวิดีโอในสหรัฐอเมริกา มาตรฐาน NTSC กำหนดให้สร้างภาพด้วยเส้นในแนวนอน 525 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 30 เฟรมต่อวินาที มีสี 16 ล้านสีที่แตกต่างกันและอัตรารีเฟรช (Refresh Rate) เป็น 60 Frame (Interlaced) ต่อวินาที ด้วยวิธี Interlacingคือสแกนเส้นคู่และสลับกันไปแต่จอภาพบางรุ่นนั้นจะใช้วิธีการที่เรียกว่า“Progressive-Scan” คือสแกนทุกเส้นพร้อมกัน ทำให้ภาพกระพริบน้อยลง มาตรฐาน NTSC ใช้กันในประเทศสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก และญี่ปุ่น

  12. มาตรฐานการแพร่ภาพวิดีโอ (ต่อ) • Phase Alternate Line (PAL) PALเป็นมาตรฐานของโทรทัศน์และวิดีโอที่นิยมใช้กันในประเทศแถบยุโรป อังกฤษ ออสเตรเลีย อาฟริกาใต้ รวมถึงไทย เป็นการสร้างภาพจากเส้นแนวนอน 625 เส้นต่อเฟรม ด้วยอัตรา 25 เฟรมต่อวินาที และทำการแสดงภาพด้วยวิธี Interlacing เช่นกัน แต่จะแสดงภาพในอัตรารีเฟรช 50 Frame ต่อวินาที ข้อดีคือ ให้ความละเอียดของภาพสูง มีความคมชัดสูงกว่า NTSC แต่ภาพจะกระพริบมากกว่า

  13. มาตรฐานการแพร่ภาพวิดีโอ (ต่อ) • Sequential Color And Memory (SECAM) SECAM เป็นมาตรฐานของการแพร่สัญญาณโทรทัศน์และวิดีโอที่ใช้กันในประเทศฝรั่งเศส รัสเซีย ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และประเทศในพื้นที่ใกล้เคียง SECAM จะทำการแพร่สัญญาณแบบอนาลอก ส่วนการสร้างภาพจะเป็น 819 เส้น ด้วยอัตราการรีเฟรช 25 เฟรมต่อวินาที ซึ่งจะแตกต่างจากมาตรฐาน NTCS และ PAL ในเรื่องเทคโนโลยีการผลิต วิธีการแพร่ภาพออกอากาศ และจากสาเหตุที่ระบบนี้ไม่แตกต่างจากระบบ PAL มากนัก เครื่องรับโทรทัศน์ในยุโรปจึงทำการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ทั้งระบบ PAL และ SECAM

  14. มาตรฐานการแพร่ภาพวิดีโอ (ต่อ) • High Definition Television (HDTV) HDTV เป็นเทคโนโลยีของการแพร่ภาพโทรทัศน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อแสดงภาพที่มีความละเอียดสูง คือ 1280 X 720 พิกเซล (Wide Screen)มาตรฐาน HDTV กำหนดให้มีความละเอียดของจอภาพเป็น 1280 X 720 พิกเซล และมีวิธีการสแกนภาพแบบ Interlaced และ Progressive Scanพัฒนาออกสู่ตลาดโลกในปี 1998 เป็นต้นมา โทรทัศน์ความชัดสูง

  15. มาตรฐานการแพร่ภาพวิดีโอ (ต่อ) ความแตกต่างของขนาดจอภาพ

  16. การผสมผสานระหว่างคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์การผสมผสานระหว่างคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์ • การแสดงภาพวิดีโอบนเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอล และจะต้องติดตั้งการ์ดแสดงผลหรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์สำหรับแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นดิจิตอลให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย Computer-Based Training (CBT)

  17. ความแตกต่างระหว่างคอมพิวเตอร์วิดีโอและโทรทัศน์วิดีโอความแตกต่างระหว่างคอมพิวเตอร์วิดีโอและโทรทัศน์วิดีโอ • ปกติขนาดจอภาพของคอมพิวเตอร์จะใช้อัตราส่วน 4 : 3 เท่ากับจอภาพโทรทัศน์ แต่การสร้างภาพด้วยเส้นในแนวนอนจะใช้ 480 เส้นไม่เท่ากับจอภาพโทรทัศน์ และอัตราการรีเฟรชเป็น 66.67 Hz หรือมากกว่า เมื่อส่งสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดจอภาพโทรทัศน์ ขอบของภาพจะขยายเรียบไปตามขอบโค้งของขนาดจอโทรทัศน์ (Overscan) โดยตรงข้ามกับขนาดจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะแสดงภาพที่มีขนาดเล็กกว่าภาพบนจอโทรทัศน์ (Underscan) ดังนั้นเมื่อแปลงภาพจากจอคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลบนจอโทรทัศน์ ขนาดของภาพจะไม่เต็มจอภาพโทรทัศน์

  18. ความแตกต่างระหว่างคอมพิวเตอร์วิดีโอและโทรทัศน์วิดีโอความแตกต่างระหว่างคอมพิวเตอร์วิดีโอและโทรทัศน์วิดีโอ • นอกจากนี้การแสดงสีของจอคอมพิวเตอร์จะใช้องค์ประกอบสี RGB ด้วยการสร้างภาพเป็นดิจิตอลวิดีโอที่มีความชัดเจนมากกว่าจอโทรทัศน์ที่จะต้องทำการแปลงสัญญาณภาพเป็นอนาลอกวิดีโอ เพื่อแสดงผลออกมาบนจอภาพ ดังนั้นเมื่อจะสร้างมัลติมีเดียด้วยคอมพิวเตอร์จะต้องแสดงภาพด้วยองค์ประกอบสี RGB หรือแปลงสัญญาณก่อนที่จะแสดงผลบนจอภาพโทรทัศน์ เช่น เกมเพลย์สเตชั่น และ VCD เป็นต้น

  19. รูปแบบไฟล์วิดีโอ • AVI (Audio/Video Interleave) สามารถใช้งานกับแพล็ตฟอร์มของ Windows MacOS, Linux โดยไฟล์มีขนาดใหญ่ เนื่องจากไม่มีการบีบอัดข้อมูลก่อนจัดเก็บ สามารถเล่นไฟล์ได้จาก Browser และ Windows Media Player • MOV (Quick Time Movie) พัฒนาโดยบริษัท Apple สามารถใช้งาน กับแพล็ตฟอร์มของ Windows และ Macintosh วัตถุประสงค์หลักคือ ทำให้คลิปวีดีโอสามารถทำงานข้ามแพล็ตฟอร์มและดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตได้ • MPEG ; Moving Picture Experts Group เป็นมาตรฐานการบีบอัดสัญญาณภาพและเสียง เป็นระบบที่ใช้กับระบบวิดีโอคุณภาพสูงทั่วไป จะมีความคล้ายคลึงกับการบีบอัดข้อมูลแบบ JPEG แต่จะลดจำนวนข้อมูลที่ซ้ำกันของภาพต่อไปด้วย การบีบอัดข้อมูลแบบ MPEG นี้ เป็นแบบไม่สมมาตร เนื่องจากขั้นตอนในการเข้ารหัสสัญญาณวิดีโอนานกว่าขั้นตอนการถอดรหัสข้อมูล MPEG ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องดังนี้

  20. รูปแบบไฟล์วิดีโอ • MPEG-1 ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานกับวิดีโอที่ดูตามบ้าน หรือเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ VHS (Video Home System) ที่ใช้อัตราการส่งผ่านข้อมูลเพียง 1.5 MBPS ซึ่งไฟล์ที่ได้จากการบีบอัดข้อมูลแบบนี้สามารถใช้เครื่องเล่น CD ทั่วไป อ่านหรือเขียนข้อมูลได้ แต่ยังให้ภาพที่ค่อนข้างหยาบ สัญญาณสีแต่ละจุดไม่สามารถกำหนดเป็นสีที่ถูกต้องได้ ถ้าเป็นระบบที่ใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ช่วยในการถอดรหัส จะสามารถแสดงภาพที่ชัดเจนได้เต็มจอภาพ แต่ถ้าใช้ซอฟต์แวร์อย่างเดียวจะแสดงภาพที่ชัดเจนได้เพียงครึ่งจอภาพ แผ่นวงจรเอ็มเพ็ก-1

  21. รูปแบบไฟล์วิดีโอ • MPEG- 2 เป็นไฟล์ที่สามารถนำไปใช้งานในรูปแบบ DVD มีคุณภาพมากกว่า VHS โดยเฉพาะการบีบอัดข้อมูลแบบนี้ก่อนที่ คอมพิวเตอร์จะคำนวณผลเพื่อแทนค่าจุดสีต่างๆ ภาพจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ และจะคำนวณทีละหลายๆภาพเรียกว่า“GOP (Group Of Picture)”ซึ่งเป็นการมองภาพครั้งละ 8 - 24 ภาพ โดยจะดูจากภาพที่หนึ่งของ GOP เป็นหลัก จากนั้นจะทำการเข้ารหัสภาพ แล้วมองภาพถัดไปว่ามีความแตกต่างจากภาพแรกที่จุดใด จากนั้นจะทำการเปรียบเทียบและเก็บเฉพาะข้อมูลที่แตกต่างของภาพไว้ในเฟรมนั้น ส่วนภาพต่อไปก็ทำการเปรียบเทียบกับภาพ ติดกัน แล้วเก็บส่วนต่างไว้เช่นกัน ทำให้สามารถลดจำนวนข้อมูลที่ต้องการเก็บ และเก็บบันทึกข้อมูลที่ต้องทำการถอดรหัสได้

  22. รูปแบบไฟล์วิดีโอ • MPEG - 3 ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานกับโทรทัศน์ที่มีความคมชัดสูง หรือเรียกว่า HDTV (High-Definition Television) เป็นโทรทัศน์ดิจิตอลชนิดใหม่ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา แต่ไม่ได้นำมาใช้งานเนื่องจากผู้ผลิต HDTV หันไปใช้ MPEG-2 แทน จึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าใดนัก • MPEG - 4 เป็นมาตรฐานที่ใกล้เคียงกับ Quick Time ที่พัฒนาโดย Apple เพื่อใช้งานทางด้านมัลติมีเดียที่มีแบนด์วิดท์ (Bandwidth) ต่ำ ซึ่งสามารถรวมภาพ เสียง และส่วนประกอบอื่นที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นได้ ที่สำคัญก็คือ MPEG - 4 ถูกออกแบบให้มีความสามารถในเชิงโต้ตอบกับวัตถุต่างๆ ในภาพได้ • MPEG - 7 เป็นตัวเชื่อมรายละเอียดเนื้อหาของมัลติมีเดียเข้าด้วยกันโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างมาตรฐานการอธิบายข้อมูลข่าวสารของมัลติมีเดีย เพื่อใช้ในการสนับสนุนความหมายของข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนสื่อ

  23. รูปแบบไฟล์วิดีโอ • Microsoft Video ทำการบีบอัดข้อมูลที่อัตราส่วนการบีบอัดต่ำ เหมาะสำหรับภาพที่มีการเคลื่อนไหวมาก แต่ความละเอียดต่ำ (240 X 180 พิกเซล) • Microsoft RLE ใช้อัตราส่วนในการบีบอัดต่ำ เหมาะสำหรับภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ที่มีความชัดเจน แต่ไม่เหมาะกับงานวิดีโอ • DV Format เป็นการสร้างระบบการเข้ารหัสเพื่อบันทึกเป็นสัญญาณดิจิตอลโดยตรง เพื่อใช้กับกล้องถ่ายวิดีโอแบบดิจิตอล เรียกการเข้ารหัสแบบนี้ว่า“DV Format” โดยสัญญาณที่ถูกบันทึกจะผ่านการบีบอัดข้อมูลแล้ว ส่งผ่านเข้าสู่คอมพิวเตอร์โดยตรง ไม่สูญเสียความคมชัดของภาพ ข้อมูลของภาพค่อนข้างใหญ่ การส่งผ่านข้อมูลจะใช้เวลานาน จึงได้มีการพัฒนามาตรฐาน IEEE 1394 หรือที่เรียกว่า “Fire Wire” มารองรับการส่งข้อมูลแบบ DV จนกระทั่ง “Fire Wire” ได้กลายเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อสำหรับกล้องดิจิตอลวิดีโอ (DV) ในที่สุด

  24. รูปแบบไฟล์วิดีโอ • DivXเป็นไฟล์วีดีโอที่มีคุณภาพสูง สามารถบีบอัดสัญญาณจาก DVD ลดเหลือประมาณ 650 MB ที่ความละเอียด 640 X 480 พิกเซล หรือย่อภาพยนตร์ยาวๆ หนึ่งเรื่องเก็บในแผ่น CD-R เพียงแผ่นเดียว และยังสามารถเปิดชมภาพยนตร์ด้วยโปรแกรมธรรมดา เช่น Media Player ได้ • DVI เป็นเทคโนโลยี CODEC ที่ถูกพัฒนาโดย Intel ซึ่งมีมาตรฐานในการแสดงภาพที่มีอัตรา 30 เฟรมต่อวินาที สามารถบันทึกและแสดงภาพวิดีโอที่มีการเคลื่อนไหวที่สมจริงเหมือนในโทรทัศน์ แต่มักเกิดปัญหาเพราะเนื้อที่ของ Hard disk ไม่เพียงพอ DVI จึงแก้ปัญหานี้โดยการบีบอัดข้อมูลและคลายข้อมูล DVI ด้วยอุปกรณ์ที่เป็นฮาร์ดแวร์ทั้งหมด

  25. รูปแบบของไฟล์วิดีโอที่ใช้บนเว็บรูปแบบของไฟล์วิดีโอที่ใช้บนเว็บ

  26. รูปแบบไฟล์วิดีโอ กล้องแบบดีวีและการเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ด้วยไฟร์ไวร์

  27. ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการผลิตวิดีโอซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการผลิตวิดีโอ

  28. ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเข้ารหัสซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเข้ารหัส • Ligos LSX-MPEG :สนับสนุนโปรแกรม Adobe Premiere 6 ใช้ในการเข้ารหัส MPEG-1 และ MPEG-2 อีกทั้งยังสนับสนุนการ์ดตัดต่อหลายชนิด เช่น DV500 เป็นต้น • Panasonic MPEG Encoder :เป็นโปรแกรมของบริษัท Panasonic Digital Networkserve Inc มีสองรุ่นคือ Stand Alone และเป็นปลั๊กอินบน Adobe Premiere • SoftMPEGEncoder :ซึ่งหลังจากติดตั้งการ์ดเสร็จแล้ว จึงติดตั้งปลั๊กอินเพิ่มเติมให้กับ Adobe Premiere 6 หลังจากนั้นก็สามารถใช้งานได้ • XingMPEG Encoder :โปรแกรมนี้เป็นแบบ Stand Alone สามารถเข้ารหัสข้อมูลได้หลายแบบ สามารถเขียนข้อมูลวิดีโอทำเป็น VCD ได้เช่นเดียวกับโปรแกรม Adobe Premiere • Cleaner 5 EZ :เป็นโปรแกรมจากบริษัท Discreet สามารถบีบอัดข้อมูลวิดีโอได้หลายแบบ โดยเฉพาะรูปแบบที่ใช้งานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งปลั๊กอินแบบนี้จะแถมมากับโปรแกรม Adobe Premiere ฉบับลิขสิทธิ์

  29. โปรแกรมพานาโซนิคเอ็มเพ็กเอนโคเดอร์โปรแกรมพานาโซนิคเอ็มเพ็กเอนโคเดอร์

  30. โปรแกรมซอฟต์เอ็มเพ็กเอนโคเดอร์โปรแกรมซอฟต์เอ็มเพ็กเอนโคเดอร์

  31. โปรแกรมซิงเอ็มเพ็กเอนโคเดอร์โปรแกรมซิงเอ็มเพ็กเอนโคเดอร์

  32. แบบฝึกหัดท้ายบท 1. จงอธิบายมาตรฐานการแพร่ภาพวิดีโอต่อไปนี้ - NTSC - PAL - SECAM - HDTV 2. จงอธิบายว่าทำไมจึงต้องมีการบีบอัดไฟล์วิดีโอ และยกตัวอย่างรูปแบบไฟล์วีดีโอที่มีการบีบอัดและนิยมใช้ 3. จงยกตัวอย่างซอฟแวร์ที่ใช้ในการรับชมวิดีโอ มาไม่น้อยกว่า 5 โปรแกรม

More Related